80 องค์กรไทย-พม่า ร่วมหนุน ‘เสรีภาพสื่อ’ หลังเหมืองไทยในพม่าเดินหน้าฟ้อง ‘ผู้สื่อข่าวเนชั่น’

80 องค์กรไทย-พม่า ร่วมหนุน ‘เสรีภาพสื่อ’ หลังเหมืองไทยในพม่าเดินหน้าฟ้อง ‘ผู้สื่อข่าวเนชั่น’

ผู้สนับสนุนเสรีภาพสื่อและภาคประชาสังคมไทย-พม่า 80 องค์กร ร่วมออกแถลงการณ์ร้องรัฐบาลไทยคุ้มครอง ‘เดอะเนชั่น-ผู้สื่อข่าว’ หลังถูกฟ้องหมิ่นประมาท-ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ จากการรายงานปัญหาเหมืองเฮงดาในพม่าที่มีคนไทยเป็นเจ้าของ ชี้เป็นการใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายละเมิดสิทธิเสรีภาพการแสดงออก สร้างบรรยากาศแห่งความกลัวให้สื่อ-ประชาชน 

ปรัชญ์ รุจิวนารมย์ นักข่าวหนังสือพิมพ์ The Nation

14 พ.ค. 2560 องค์การแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) เผยแพร่แถลงการณ์ร่วมผู้สนับสนุนเสรีภาพสื่อและภาคประชาสังคมเรียกร้องรัฐบาลไทยให้คุ้มครองหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น และผู้สื่อข่าวซึ่งรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นจากเหมืองเฮงดาที่เป็นของคนไทยแต่ประกอบการในพม่า ลงนามโดย 80 องค์กรภาคประชาสังคมทั้งไทยและพม่า รวมทั้งนักกิจกรรมจากทั้งสองประเทศ

จากกรณีที่ปรัชญ์ รุจิวนารมย์ นักข่าวหนังสือพิมพ์ The Nation ถูกฟ้องในคดีหมิ่นประมาท และการละเมิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 จากการเขียนข่าวกรณีความทุกข์ยากของชุมชนในภาคตะนาวศรี ประเทศพม่า จากผลกระทบของการทำเหมืองดีบุกซึ่งดำเนินการโดยบริษัทไทย

คดีนี้ฝ่ายโจทก์อ้างว่าการรายงานข่าวนั้นบิดเบือนให้ร้ายบริษัท ทำให้บริษัทได้รับความเสียหายและอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบเหมืองแร่ดีบุกในประเทศพม่าได้ ต่อมาเมื่อ วันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดนครปฐมได้นัดฝ่ายโจทก์และจำเลยมาไกล่เกลี่ย แต่โจทก์ไม่ประสงค์ที่จะไกล่เกลี่ย คดีจึงต้องเดินหน้าต่อไป ศาลจึงนัดไต่สวนมูลฟ้องล่วงหน้าในวันที่ 29 พ.ค. 2560 แต่ทางจำเลยขอเลื่อนเป็นวันที่ 17 ก.ค. 2560

แถลงการณ์ดังกล่าวระบุรายละเอียด ดังนี้

แถลงการณ์ร่วม
ผู้สนับสนุนเสรีภาพสื่อและภาคประชาสังคมเรียกร้องรัฐบาลไทยให้คุ้มครองหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น และผู้สื่อข่าวซึ่งรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นจากเหมืองเฮงดาที่เป็นของคนไทยแต่ประกอบการในพม่า

กรุงเทพฯ 14 พฤษภาคม 2560 – พวกเราซึ่งมีชื่อด้านท้ายนี้ ขอกระตุ้นให้รัฐบาลไทยคุ้มครองเสรีภาพสื่อ ลดการเอาผิดทางอาญากับการหมิ่นประมาท และปรับปรุงเนื้อหาของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ให้สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศ รวมทั้งสิทธิที่จะมีเสรีภาพด้านความเห็นและการแสดงออก

เราได้รับแจ้งว่าเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2560 บริษัทเมียนมาร์ พงษ์พิพัทธ์ (Myanmar Phongpipat Co. Ltd. – MPC) ซึ่งประกอบกิจการเหมืองแร่ได้ฟ้องคดีต่อปรัชญ์ รุจิวนารมย์ ผู้สื่อข่าว (จำเลยที่ 1) และบริษัท เนชั่น นิวส์ เน็ตเวิร์ค จำกัด (จำเลยที่ 2) ในข้อหาหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59, 83, 91, 326 และ 328 และการละเมิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 เราเรียกร้องให้ทางบริษัท MPC ถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าวโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข สอดคล้องกับหลักการชี้นำแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) ทางบริษัท MPC ควรคุ้มครองและเคารพสิทธิมนุษยชนและจัดให้มีการเยียวยาต่อผลกระทบร้ายแรงใด ๆ ที่เป็นผลมาจากการดำเนินงานของตน

MPC อ้างว่าปรัชญ์ รุจิวนารมย์ และหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของบริษัท โดยได้รายงานการปล่อยหางแร่ออกจากเหมืองดีบุกและไหลลงสู่แม่น้ำโดยตรง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักสำหรับการบริโภคของชาวบ้านที่หมู่บ้านเมืองเพียว เขตตะนาวศรี พม่า

เนื่องจากปรัชญ์ รุจิวนารมย์ และหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นได้เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวทั้งทางสื่อสิ่งพิมพ์และออนไลน์ในวันที่ 1 มีนาคม 2560 เป็นเหตุให้ถูกฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมทั้งข้อหาอื่น ๆ

ในบทความที่ชื่อ “เหมืองแร่ไทยทำลายทรัพยากรน้ำในเมียนมา” ปรัชญ์ได้อ้างข้อมูลที่ได้รับฟังมาโดยตรงจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบที่เมืองเพียว ซึ่งมีการปนเปื้อนของน้ำดื่ม “เราไม่สามารถใช้น้ำนี้ได้เลย แม้แต่ใช้รดน้ำต้นไม้ เพราะเป็นน้ำที่ไหลออกมาโดยตรงจากเหมืองแร่” เอยีเว (Eyi We) กล่าวระหว่างการเยี่ยมของกรรมการสิทธิมนุษยชนไทย

จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความเป็นพิษด้านสิ่งแวดล้อมของ ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ นักวิจัยด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งศึกษาการปนเปื้อนของโลหะหนักในพื้นที่เมื่อปี 2558 ผลการศึกษาพบว่าน้ำที่มาจากบ่อเก็บกักตะกอนของเหมืองเฮงดาปนเปื้อนด้วยแมงกานีส สารหนู และตะกั่วจำนวนมาก จากตัวอย่างน้ำ 34 ตัวอย่างที่มีการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และมีการนำเสนอข้อมูลต่อที่ประชุมของคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และองค์กรพัฒนาเอกชนเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 ที่สำนักงานของ กสม. งานวิจัยของ ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์เผยให้เห็นการปนเปื้อนของแมงกานีสในระดับที่สูงกว่าค่ามาตรฐานที่ปลอดภัยถึง 53-600 เท่าในน้ำตัวอย่างที่ทำการทดสอบใกล้เหมือง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดื่มหลักของชาวบ้าน

การแจ้งความดำเนินคดีและข้อหาที่มีต่อปรัชญ์ รุจิวนารมย์และหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น สะท้อนให้เห็นการใช้ช่องโหว่ทางกฎหมาย ซึ่งละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การเอาผิดทางอาญากับเสรีภาพในการแสดงออกทำให้เกิดบรรยากาศของความหวาดกลัวสำหรับสื่อมวลชนและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งรายงานข่าวของพวกเขาทั้งในประเด็นสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน ล้วนสำคัญต่อการตอบสนองประโยชน์สาธารณะ สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกได้รับการคุ้มครองตามข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ซึ่งไทยเป็นรัฐภาคี ตามกฎหมายระหว่างประเทศ การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้ และให้ทำโดยได้สัดส่วนและจำเป็นเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย

หากศาลตัดสินว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญาตามมาตรา 328 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ผู้สื่อข่าวเดอะเนชั่นอาจได้รับโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เรายังคงกังวลกับการใช้กฎหมายหมิ่นประมาททางอาญาและพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อจำกัดสิทธิที่จะมีเสรีภาพด้านความเห็นและการแสดงออกในประเทศไทย รวมทั้งเพื่อข่มขู่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและผู้สื่อข่าว เราประณามการใช้กฎหมายหมิ่นประมาททางอาญาเพื่อข่มขู่ผู้สื่อข่าว และชุมชนที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากการใช้กลยุทธ์การฟ้องคดีเพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมหรือแสดงความคิดเห็นของประชาชน (strategic act (litigation) against public participation – SLAPP)

โทษจำคุกในคดีหมิ่นประมาท นับว่าไม่ได้สัดส่วนกับการจำกัดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก และเป็นรูปแบบการลงโทษต่อการหมิ่นประมาทที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ตามความเห็นของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นคณะผู้ชำนาญการที่ดูแลการปฏิบัติตามกติกา ICCPR ประเทศไทยควรลดการเอาผิดทางอาญากับการหมิ่นประมาทโดยทันที และปฏิเสธการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งทำให้เกิดข้อกังวลด้านสิทธิมนุษยชน

สิทธิที่จะมีเสรีภาพด้านความเห็นและการแสดงออกเป็นพื้นฐานสำคัญของทุกสังคม เสรีภาพเหล่านี้สนับสนุนให้เกิดความโปร่งใส การตรวจสอบได้ และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ก็ต่อเมื่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ผู้สื่อข่าว และสื่อมวลชน ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพของตนอย่างสงบ และสามารถทำงานโดยไม่กลัวต่อการข่มขู่หรือการคุกคามโดยใช้กระบวนการศาล

นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนสิทธิมนุษยชน ซึ่งครอบคลุมถึงสิทธิที่จะมีชีวิตรอด สิทธิที่จะได้รับอาหารและน้ำ สามารถเข้าถึงมาตรฐานด้านสุขภาพขั้นสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สามารถเข้าถึงที่พักอาศัยที่เพียงพอ การได้รับชื่อและสัญชาติ การได้รับการศึกษา เสรีภาพในการเดินทางและการไม่ถูกเลือกปฏิบัติ เป็นความรับผิดชอบของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่จะต้องรวบรวมข้อมูล รายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน และตรวจสอบโครงการและกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนในท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม และรัฐมีหน้าที่คุ้มครองบุคคลเหล่านี้ ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ไม่ควรมีการใช้กลยุทธ์การฟ้องคดีเพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมหรือแสดงความคิดเห็นของประชาชน เพื่อขัดขวางการวิพากษ์วิจารณ์และปิดปากผู้ทำงานปกป้องสิทธิ ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิและความรับผิดชอบของปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรของสังคมในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างสากล (Declaration on the Right and Responsibility of Individuals, Groups and Organs of Society to Promote and Protect Universally Recognized Human Rights and Fundamental Freedoms)

ประเทศไทย

ลงนามโดยองค์กร

1. Reporters Without Borders
2. เสมสิกขาลัย Spirit in Education Movement (SEM)
3. Earth Rights International
4. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน Community Resource Centre Foundation
5. โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง TERRA
6. สมาคมพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา Kaokuha Community Rights Protection Association
7. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม EnLaw
8. Focus on the Global South
9. มูลนิธิสืบนาคะเสถียร Seub Nakasatien Foundation
10. กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน Land Watch Thai
11. Sustainable Agriculture Foundation Thailand
12. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม Cross Cultural Foundation
13. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก Alternative Agriculture Network
14. สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม Human Rights and Environment Promotion Association
15. โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ Campaign for Public Policy for Mineral Resources
16. โครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม Young Leadership for Social Change Program
17. องค์กรแม่น้ำนานาชาติ Internatioanl Rivers
18. เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง The Network of Thai People in Eight Mekong Provinces
19. Mymekong.org
20. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
21. International Accountability Project (IAP)
22. มูลนิธิบูรณะนิเวศ Ecological Alert and Recovery – Thailand
23. ศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนา Karen Studies and Development Centre)
24. กลุ่มรักษ์เชียงของ Chiang Khong Conservation Group

บุคคล

1. เอกชัย อิสระทะ Eakachai Issaratha
2. อาภา หวังเกียรติ Arpa Wangkiat
3. ไพรินทร์ เสาะสาย Phairin Sohsai
4. พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ Pornpen Khongkachonkiet
5. นภวรรณ งามขำ Noppawan Ngamkame
6. เพียรพร ดีเทศน์ Pianporn Deetes
7. นายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ Suwit Kularbwong
8. ศิริพร ฉายเพ็ชร Siriphorn Chaiphet
9. เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ Lertsak Kumkongsak
10. ธารา บัวคำศรี Tara Buakamsri
11. เรวดี ประเสริฐเจริญสุข Ravadee Prasertcharoensuk
12. ชุมพล คำวรรณะ Chumpol Kamwanna
13. ประสาท นิรันดรประเสริฐ Prasat Nirundornprasert
14. วิชชุกร ตั้งไพบูลย์ Vichukorn Tangpaiboon
15. อำนาจ เกตุชื่น Amnat Ketchuen
16. ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร Teerachai Sanjaroenkijthawon
17. ญาศศิภาส์ สุกใส Yasasipa Suksai
18. ชวิศา อุตตะมัง Chawisa Uttamang
19. จามร ศรเพชรนรินทร์ Jamon Sonpednarin
20. ทวีศักดิ์ เกิดโภคา Taweesak Kerdpoka
21. รพีพัฒน์ มัณฑนะรัตน์ Rapeepat Mantanarat
22. จารยา บุญมาก Jaraya Boonmark
23. ลัลธริมา หลงเจริญ Lantharimar Longcharoen
24. จิตติมา ผลเสวก Jittima Pholsawek
25. สาธิต รักษาศรี Satit Raksasri
26. วิชัย จันทวาโร Wichai Juntavaro
27. จักรกริช ฉิมนอก Chakkrit Chimnok
28. นฤมล ทับจุมพล Assistant Professor Dr.Narumon Thabchumpon
29. สายัณห์ ชื่นอุดมสวัสดิ์ Sayan Chuenudomsavad
30. อารีวัณย์ สมบุญวัฒนกุล Areewan Sombunwatthanakun

ประเทศพม่า

1. Myanmar ICT for Development Organization (MIDO)
2. IFI Watch Myanmar
3. Dawei Watch
4. Dawei Research Association (DRA)
5. Dawei Probono Lawyer Network (DPLN)
6. Tavoyan Women’s Union
7. Dawei Development Association (DDA)
8. Tarkapaw Youth Group
9. Dawei Farmers’ Union
10. Human Rights Watch (Dawei)
11. Karen Environmental and Social Action Network (KESAN)
12. Karen River Watch
13. Save the Salween Network
14. Burma Environmental Working Group
15. Association of Labor right defender
16. Kyunsu Youth Network
17. IFI watch (Kyunsu)
18. 88 Generation Open and Peace Society (Myeik)
19. ေတာင္သူလယ္သမားမ်ားနွင္႔ ေျမယာလုပ္သားမ်ားသမဂၢ ( ျမိတ္ခရိုင္)
20. Green Network Mergui Archipelago
21. ပဲခူးတိုင္း MATA အလုပ္အဖြဲ႕
22. Political and Civil Engagement Group (PACE-G)
23. ျမစ္မခေစာင့္ၾကည့္ေရးအဖြဲ႕
24. Public Network
25. မ်က္၀န္းသစ္ အသိပညာရပ္၀န္း
26. ေရႊရိပ္စစ္ အဖြဲ႕
27. ေရႊက်င္ခ်စ္သူအဖြဲ႕
28. ရိုးမခ်စ္သူ အဖြဲ႕
29. Edu-Wave Foundation
30. ေမာ္ကြန္းသစ္ အရပ္ဘက္လူမႈအဖြဲ႕အစည္း
31. အလင္းေစတမာန္ ေဒသဖြံ႕ၿဖိဳေရးအဖြဲ႕
32. သဲကုန္းလူငယ္အဖြဲ႕ခ်ဳပ္
33. Thuriya Sandra Environmental Watch Group
34. Chinland Natural Resources Watch Group
35. Mwetaung Area Development Group
36. Community Response Group
37. Ayearwaddy West Development Organization (AWDO) (Magway Region)
38. Satotetayar Development Orginization (SDO) (Magway Region)
39. Pwinphu Development Organization-PDO(Magway Region)
40. AWDO (Ngaphe)
41. လြတ္လပ္ေသာအရိႈခ်င္းမ်ားအင္အားစု (နတ္ေရကန္ေတာင္ထိန္းသိမ္းေရး) ငဖဲ။
42. ရိုးမခ်င္းအဖဲြ႕ (ေစတုတၲရာ)။
43. ေက်းလက္လူငယ္ကြန္ယက္ (ေစတုတၲရာ)
44. Myanmar-China Pipeline Watch Committee
45. Peace & Open Society Kyaukse Township
46. Myanmar Alliance for Transparency & Accountability Mandalay Division
47. Mong Pan Youth Association
48. လူထုမဟာမိတ္ ( ရွမ္းျပည္ )
49. Alin Ein Development Centre
50. Green Memo alternative newsletter
51. ေရွ႕ေျပးအသံ အဖဲြ႔
52. Twantay Youth
53. Land in our hand
54. Environmental Conservation And Farmers Development Organization E.C.F.D.O(Southern Shan)
55. Farmers And Land Workers Union (Myanmar)
56. ေပါင္းကူး

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ