อิสลามคือศาสนา มิใช่การจ่าหน้าผู้ก่อการร้าย

อิสลามคือศาสนา มิใช่การจ่าหน้าผู้ก่อการร้าย

In this Wednesday, Sept. 16, 2015 photo, Maaesa Alroustom, center, is kissed by her mother, Suha, as her father, Hussam, back, sits with her brother Wesam in their apartment in Jersey City, N.J. The Alroustoms are Syrian refugees after fleeing their war stricken country. (AP Photo/Julio Cortez)

Suha กำลังจูบลูกสาวของเธอ Maaesa Alroustom ในขณะที่ Hussam สามีกำลังนั่งอยู่กับ Wesam ลูกชายในอพาร์ทเมนต์เมือง Jersey รัฐนิวเจอร์ซี่ พวกเขาเป็นผู้ลี้ภัยจากสงครามร้ายแรงในประเทศซีเรีย

แปลและเรียบเรียง: ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

ปารีสต้องเผชิญหน้ากับความสูญเสียหลังการก่อวินาศกรรมที่ไม่มีใครตั้งตัวได้ทัน มันคือวันศุกร์ย่ำค่ำที่ผู้คนหดหู่เกินเอ่ยคำว่า TGIF (Thank God It’s Friday – การพูดเพื่อแสดงความโล่งใจจากการงาน) ทั้งนักการเมืองและประชาชนชาวอเมริกันต่างเรียกร้องให้ใครสักคนออกมารับผิดชอบจัดการกับ อะไรสักอย่าง

แต่คำถามคือพวกเขาต้องการให้จัดการอะไร และทำไมถึงต้องมีการจัดการเกิดขึ้น จุดเล็กๆ เหล่านี้ต่างหากที่เป็นปริศนาลอยเคว้งอยู่ในอากาศ

ผู้ว่าการรัฐและผู้สมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีพรรคริพับลิกัน (GOP presidential candidates) จำนวนหนึ่งขวัญผวา และโต้ตอบกับเหตุการณ์ในสัปดาห์นี้โดยพุ่งเป้าไปที่ผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย มีการตั้งมาตรการการปฏิเสธการเดินทางเข้าประเทศของผู้ลี้ภัย แม้พวกเขาจะมีหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ เลยกับการก่อวินาศกรรมที่กรุงปารีส

พนักงานสืบสวนพบหนังสือเดินทางสัญชาติซีเรียตกอยู่ใกล้ๆ กับซากมือระเบิดพลีชีพ (suicide bombers) ถึงแม้พวกเขาออกมาประกาศภายหลังว่า หนังสือเดินทางเป็นของปลอมแปลง ทว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นหน่วยงานยุโรปทั้งหมดและเจ้าหน้าที่ชาวเยอรมันคนหนึ่งก็แสดงทัศนะว่า กลุ่มขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic State) หรือที่เราคุ้นเคยกันในนาม ISIS ที่ควรได้รับบทลงโทษอย่างสาสมกับเหตุการณ์นี้ อาจมีอุบายการใช้หนังสือเดินทางซีเรียเพื่อเป็นเครื่องมือการจัดฉากให้เข้าใจว่า ผู้ก่อการโจมตีกรุงปารีสคือผู้อพยพ ทั้งนี้ก็เพื่อเร่งความหวาดกลัวต่ออิสลาม ที่มีต่อผู้ลี้ภัยให้ลุกโชนขึ้นไปอีก

สมมติฐานนี้ก็ดูเป็นไปได้ หากเดินตามเป้าประสงค์ของขบวนการรัฐอิสลามที่ต้องการให้เกิด ‘การปะทะกันระหว่างอารยธรรม’ (clash of civilizations) ระหว่างโลกมุสลิมกับโลกตะวันตก และไม่ว่าอุบายหนังสือเดินทางจะเป็นเจตนาส่วนหนึ่งของแผนการหรือไม่ เจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการก็เผยแล้วว่า เรากำลังหยิบยื่นสิ่งที่กองกำลังทหารฝ่ายนั้นต้องการโดยการประกาศเป็นศัตรูกับผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย มนุษย์ที่ก็ลี้หนีการก่อการร้ายและสงครามมาไม่ต่างกัน

เจตนาที่ต้องการให้ประชาชนระมัดระวังต่อการก่อการร้ายมากขึ้นนั้นทำความเข้าใจได้ไม่ยาก แต่พื้นที่สื่อยังมีร่องรอยของการใช้วาจาชี้นำต่างๆ จากใครก็ตามที่ตัดสินไปแล้วว่ามันเป็นไปไม่ได้หรอกที่จะรับผู้ลี้ภัยชาวซีเรียจำนวนเป็นหมื่นคน (จากจำนวนผู้ลี้ภัยมากกว่า 4 ล้านคน) เข้ามาสหรัฐฯ ได้อย่างปลอดภัย การกระทำเช่นนี้เหมือนเป็นการสร้างวาทกรรมความเกลียดชังต่อชาวซีเรียมากกว่าการเฝ้าระวังการก่อการร้าย

ในขณะที่เรากำลังถกเถียงกันว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่ชาวซีเรียจะอยู่เบื้องหลังการก่อการร้ายครั้งนี้ Mike Huckabee อดีตผู้ว่าการมลรัฐอาร์คันซอ (former Arkansas Gov.) สมาชิกพรรคริพับลิกันของสหรัฐอเมริกา ก็ได้ชิงกล่าวไว้แล้วว่า ให้ชาวอเมริกัน “ตื่นตัวและตามกลิ่นพวกผู้ลี้ภัยชาวอาหรับได้แล้ว” (ในบทความใช้คำว่า Falafel เป็นอุปมาถึงผู้ลี้ภัยจากตะวันออกกลาง มีความเข้าใจว่า Falafel เป็นอาหารหลักของชาวอาหรับ เขากล่าวเสริมว่ามันมีกลิ่นทะแม่งๆ ในนโยบายการรับคนเข้าเมือง ผมคิดว่าเรากำลังนำเข้าการก่อการร้าย)

Huckabee เชื่อมั่นว่า “เทพีเสรีภาพกล่าวว่า ‘นำความเหน็ดเหนื่อยและความอิดโรยของท่านมาให้แก่ฉัน’ (bring us your tired and your weary) ไม่ใช่ ‘นำผู้ก่อการร้ายเข้ามาและวางระเบิดใส่บ้าน ร้านกาแฟและหอประชุมแห่งมหรสพของเรา’”

การป้ายสีคนกลุ่มหนึ่งด้วยการบอกว่าเพราะพวกเขาเป็นคนอิสลาม พวกเขาจึงมีโอกาสเป็นผู้ก่อการร้ายสูง ไม่ต่างอะไรกับการบิดเบือนการรับรู้ของประชาชนให้คิดว่าผู้ลี้ภัยชาวซีเรียคือศัตรูนับตั้งแต่วินาทีที่พวกเขามาหยุดยืนอยู่หน้าประตูบ้าน เหมือนว่ากองกำลังทหารของขบวนการรัฐอิสลามจะลงทุนปลอมตัวใส่หน้ากากชั่วคราว แล้วแต่งตัวให้เข้ากับประเทศเพื่อสมัครเป็นผู้ลี้ภัยในสหรัฐอเมริกา ผ่านด่านการคัดกรองที่เข้มงวดซึ่งอาจใช้เวลาสูงสุดถึง 2 ปี แล้วจึงเข้ามาสร้างที่ทางในสหรัฐอเมริกา มากไปกว่านั้น พวกเขาจะต้องปฏิบัติภารกิจสายลับต่างๆ ให้พ้นจากสายตาของการตรวจตราในเมืองนั้นๆ อีกด้วย

ถ้าสมมติฐานเหล่านี้ดูเป็นเรื่องไร้สาระ ก็เพราะว่ามันเป็นแบบนั้นจริงๆ ขบวนการรัฐอิสลามจะทำงานง่ายขึ้นเยอะเลย แค่พวกเขาส่งสายลับที่ถือวีซาท่องเที่ยวเข้ามาปฏิบัติการ

แต่ในกรณีที่หลายคนโดนสะเก็ดความหวาดกลัวเหล่านี้และปักใจเชื่อไปส่วนหนึ่งแล้วอย่างที่ชาวอเมริกันหลายๆ คนเชื่อ บทความนี้จะนำเสนอภาพลักษณ์ใหม่ของผู้ลี้ภัยชาวซีเรียเพื่อเปลี่ยนการเหมารวมว่าผู้อพยพชาวซีเรียเป็นพวกสุดโต่งหัวรุนแรง หรือเป็นชายฉกรรจ์ชาวมุสลิมซึ่งหลบเข้ามาในสหรัฐฯ เพื่อทำสงครามศาสนาในประเทศนี้
นี่คือข้อมูลของผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่เรามี พวกเขาหนีออกจากบ้านของตัวเอง และออกจากข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) มาเพื่อเป็นผู้ลี้ภัย

ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่หลบหนีออกมาสามารถแบ่งได้เป็นผู้หญิง 50 คนและผู้ชาย 50 คน เกือบร้อยละ 40 ของผู้ลี้ภัยชาวซีเรียทั้งหมดมีอายุต่ำกว่า 11 ปี และมีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งที่อายุต่ำกว่า 17 ปี อีกร้อยละ 22 ที่เหลือเป็นผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 18-59 ปี

ท่ามกลางผู้ลี้ภัยชาวซีเรียกว่า 800,000 คนที่เดินทางมายุโรป จริงอยู่ที่ส่วนมากเป็นผู้ชาย พวกเขามักต้องเสี่ยงอพยพข้ามทะเลมาทางประเทศกรีซหรืออิตาลี และถึงแม้ว่าผู้ลี้ภัยที่เข้ามาในเขตแดนของยุโรปประมาณร้อยละ 50 จะเป็นชาวซีเรีย แต่สัดส่วนนี้ก็รวมถึงผู้ลี้ภัยจากอัฟกานิสถาน อิรัก เอริเทรีย ไนจีเรีย และชาติอื่นๆ ที่ต่างประสบปัญหาความสั่นคลอนและความรุนแรงจากประเทศของตัวเองด้วยกันทั้งสิ้น

ไม่ว่าสถิติทางประชากรของผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่อพยพเข้ามาจะมากหรือน้อยเพียงใด ชาวอเมริกันก็มีท่าทีหวาดกลัวและไม่พอใจกับความเป็นมุสลิมโดยที่พวกเขาอาจหลงลืมพื้นฐานทางมนุษยธรรมบางข้อที่เป็นแก่นของการโต้เถียงอย่างมีเหตุมีผล

ชาวซีเรียมากกว่า 200,000 คนเสียชีวิตท่ามกลางสงครามกลางเมือง (civil war) ที่ลากยาวกว่า 4 ปีครึ่งในประเทศของตัวเอง สงครามคร่าชีวิตพลเรือนอีกหลายหมื่นคนในนั้นและนั่นคือสาเหตุที่พวกเขาหลบหนีออกมาอย่างสิ้นหวัง

และหากมีใครที่กำลังเคลือบแคลงแนวคิดที่สหรัฐอเมริกากำลังจัดหาที่หลบภัยให้กับผู้ที่เคยอาศัยอยู่ในแถบตะวันออกกลางมาก่อน พวกเขาอาจสนใจตัวเลขร้อยละ 2 นี้ซึ่งคือสัดส่วนของผู้ชายตัวคนเดียวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในสหรัฐอเมริกาได้จากผู้ลี้ภัยชาวซีเรียกว่า 2,000 คนตามข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา (State Department)

15syria1
Nujeen เด็กน้อยผู้ลี้ภัยชาวซีเรียกับ Nisreen พี่สาวของเธอกำลังรอคอยที่จะย้ายจากฝั่งไปที่ถนนหลังจากมาถึงเกาะเลสบอสประเทศกรีก พวกเขาหนีมาจากเมือง Aleppo กับครอบครัวเมื่อ 2 ปีก่อนและตัดสินใจอาศัยอยู่ที่ตุรกีก่อนที่จะย้ายมายุโรปเพื่อหาการดูแลทางการแพทย์ที่ดีกว่าสำหรับ Nujeen การข้ามฝั่งเป็นไปอย่างยากลำบาก ทุกคนหนาวเย็น แต่เธอกลับบอกว่า “หนูชอบมากเลยค่ะ เพราะไม่เคยขึ้นเรือมาก่อน มันสวยงามมากเลย ถึงแม้หนูไม่รู้ว่าต่อจากนี้เราจะมีชีวิตรอดหรือเปล่า แต่ขอบคุณพระเจ้าที่เราได้อยู่ที่นี่เวลานี้”
A migrant, who protects himself from the rain with a plastic trash bag, walks through a mudpath of the "New Jungle" migrant camp in Calais, where thousands of migrants live in the hope of crossing the Channel to Britain, on October 21, 2015. European Commission chief Jean-Claude Juncker has called a mini-summit in Brussels on October 25 to tackle the migrant crisis along the western Balkans route, his office said. AFP PHOTO / PHILIPPE HUGUEN (Photo credit should read PHILIPPE HUGUEN/AFP/Getty Images)
เขากำบังตัวเองจากฝนด้วยถุงพลาสติก แล้วเดินผ่านค่ายผู้อพยพ New jungle ที่ท่าเรือ Calais ประเทศฝรั่งเศส ผู้อพยพเป็น 1,000 คน รอคอยอยู่ที่นั่นด้วยความหวังที่จะผ่านเข้าไปในประเทศอังกฤษ
Mahmud, 28 and his bride Firal, 25, from the Syrian city of Kobane show their rings, as they arrive with other refugees and migrants on the Greek island of Lesbos, after crossing the Aegean sea from Turkey on October 8, 2015. Europe is grappling with its biggest migration challenge since World War II, with the main surge coming from civil war-torn Syria. Greek premier Alexis Tsipras said on October 6, 2015 that Athens would upgrade its refugee facilities by November to tackle the growing influx from Syria as the EU pledged 600 extra staff to help. AFP PHOTO / DIMITAR DILKOFF (Photo credit should read DIMITAR DILKOFF/AFP/Getty Images)
Mahmud ในวัย 28 ปีและคู่หมั้นของเขา Firal ในวัย 25 ปีจากเมือง Kobane ที่ซีเรีย โชว์แหวนหมั้นของพวกเขาตอนที่มาถึงกับผู้อพยพคนอื่นๆ ที่เกาะเลสบอสประเทศกรีก หลังจากข้ามมาจากทะเล Aegean ประเทศตุรกีได้สำเร็จ
HATAY, TURKEY - OCTOBER 28: A Syrian family is seen inside their room in Reyhanli district of Hatay Province in southern Turkey on October 28, 2015. Syrian families who fled the war in their country and took shelter in Turkey live in rental houses, tents set up by the volunteers or derelict buildings in Hatay's districts. The number of Syrians in Hatay's Reyhanli has reached 95,000 as the Syrian civil war continues in its 5th year. (Photo by Burak Milli/Anadolu Agency/Getty Images)
ครอบครัวชาวซีเรีย และห้องของพวกเขาที่ตำบล Reyhanli จังหวัด Hatay ทางตอนใต้ของประเทศตุรกี

ที่มา+ภาพ http://www.huffingtonpost.com/entry/dangerous-syrian-refugees-photos_564baae2e4b08cda348b5499

http://www.businessinsider.com/mike-huckabee-syrian-refugees-paris-falafel-2015-11

http://www.theatlantic.com/magazine/archive/2015/03/what-isis-really-wants/384980/

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ