ครั้งแรกของการมานครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมืองสวรรค์ของคนเอเซีย เมืองที่น่าอยู่ เมืองที่มีอากาศดี เมืองที่ผู้คนเป็นมิตร แต่ตอนนี้หลายๆ อย่างในเมืองเปลี่ยนไป ไหมลองอ่านกันดู
ผมเดินทางมาที่ซานฟรานซิสโก 1 สัปดาห์ กับประสบการณ์แปลกใหม่ อีกมุมหนึ่ง ตอนแรกเตรียมเสื้อกันหนาวมาเข้าใจว่าอากาศน่าจะหนาวเย็น แต่ปรากฏว่าระหว่างวันแทบไม่มีวันไหนได้ใส่เสื้อคลุมเลย อากาศตอนเช้าเย็นสบายคล้ายกับฤดูหนาวของจังหวัดเชียงใหม่ (ในเขตเมือง) และมีอากาศเย็นตลอดทั้งวันเรียกได้ว่าเดือนแล้วเหงื่อไม่ออก แต่ไม่ถึงกับหนาวมาก แต่ช่วงกลางวันไปจนถึงบ่ายแดดร้อน แต่ไม่ถึงกับแดดเผาแสบร้อนเหมือนช่วงหน้าร้อนของเชียงใหม่หรือหน้าหนาวของเชียงใหม่ตอนบ่ายโมง
แน่นอนว่าที่จะต้องไปสัมผัสไปเห็นให้ได้ของเมืองนี้ ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์นึงเลยก็ว่าได้ที่หลายคนมาเที่ยวแล้วไม่พลาดที่จะไปคือสะพานโกลเด้นเกต โลเคชั่นคู่กับหนังฮอลลีวู้ดหลายเรื่อง
โกลเดนเกตเคยเป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลกมีความยาว 2.7 กิโลเมตรข้ามอ่าวทางตอนเหนือ ของเมืองท่าซานฟรานซิสโกสู่เมืองมาริน ทาสีส้มออกแดงทั่วสะพาน เพื่อป้องกันไม่ไห้เหล็ก ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของสะพานเกิดสนิม
อัลคาทราซ ที่เป็นเกาะกลางระหว่างอ่าวซานฟรานซิสโกกลับมหาสมุทรแปซิฟิก มารอบนี้ไม่ได้ไปดูใกล้ ๆ แต่ใช้วิธีการซูมเลนส์มือถือให้พอเห็น เกาะแห่งนี้เคยเป็นสถานที่คุมขังนักท่องเที่ยวสุดโหดของประเทศอเมริกา และยังเป็นเกาะที่เก่าแก่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์อันโหดร้ายของสงคราม ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในอเมริกา ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชมจำนวนมาก
https://www.nps.gov/alca/index.htm
ป่าเมียร์วูดส์ อุทยานแห่งชาตินี้ที่อยู่ห่างจากดาวน์ทาวน์ของซานฟรานซิสโก ไม่มากนัก เหมือนนั่งรถขึ้นดอยสุเทพที่เชียงใหม่ประมาณนั้น ผมได้เดินเข้าไปสัมผัสถึงบรรยากาศเย็นสบายมีเสียงธรรมชาติให้เราได้สัมผัส ต้นไม้ที่นี่ไม่เหมือนป่าดิบชื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ป่าจะคนละแบบ แต่มีการจัดการที่ดีที่จัดระบบระเบียบให้คนได้เดินเข้าไปดูต้นไม้และสัมผัสธรรมชาติ เป็นสิ่งที่น่าสนใจคือจุดทางออก ร้านขายของที่ระลึก ที่พบว่าของที่ระลึกบางอย่างทำมาจากต้นไม้ที่ล้มอยู่ในป่าแห่งนี้ ดูราคาแล้วสามารถสร้างมูลค่าได้เยอะเลยทีเดียวซึ่งแน่นอนว่าเมืองไทยน่าจะปรับเอาสิ่งนี้ไปเป็นจัดขายได้ดีเลยทีเดียว (ถ้าทำได้)
ย่านไซนาทาวน์ ย่านชุมชนชาวจีนที่เป็นจีนแท้อยู่ดั้งเดิมมีอาหารจีนขายหลายร้าน แน่นอนว่าเรามาที่นี่กันบ่อยมากที่สุดเนื่องจากว่าของกินราคาไม่แพงและรสชาติใกล้เคียงกับอาหารไทยที่เราคุ้นชินไม่ว่าจะเป็นโจ๊กบะหมี่เกี๊ยวน้ำใส เส้นหมี่ผัด ข้าวผัด
ไชนาทาวน์ของซานฟรานฯ เขาว่าใหญ่ที่สุดในโลก และเก่าแก่ที่สุดในอเมริกา เพราะซานฟรานฯ เป็นประตูของอเมริกาเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ล่องเรือมาแต่เมืองจีนก็ต้องมาขึ้นท่าที่ซานฟรานซิสโก ไกด์ที่มาเราชมเมืองบอกว่า คนจีนที่เข้ามามาเป็นงานขุดทอง ก่อสร้าง ทำงานได้ปริมาณมากกว่าชนชาติอื่น
นอกจากนั้นยังมีจุดสวย ๆ ของเมืองนี้ เช่น ถนนลอมบาร์ดเป็นถนนที่ชันและคดเคี้ยวมากที่สุดมีความลาดชันและเอียงถึง 40 องศา ยาว 800 เมตร มีทั้งหมด 8 โค้งหักศอก พื้นถนนปูด้วยอิฐแดง คนนินมมาขับรถถ่ายรูปจุดนี้กัน
และต่อกันมา คือ ดาวน์ทาวน์ย่านเศรษฐกิจการค้าการลงทุน ที่มีระบบขนส่งมวลชนคอยให้บริการอย่างครบถ้วนแต่แน่นอนว่าช่วงยุคหลังโควิดการจราจรเริ่มกลับมาติดขัดอีกครั้งเนื่องจากว่าควรให้ความสำคัญกับสุขลักษณะและหันไปใช้รถส่วนตัวเป็นจำนวนมาก โครงสร้างพื้นฐานของเมืองซานฟรานซิสโก ดูแลโดยรัฐบาลท้องถิ่น หรือนายกเทศมนตรีนครซานฟรานซิสโกซึ่งมาจากการเลือกตั้งนั่นเอง แต่มารอบนี้เรายังไม่มีโอกาสได้พูดคุยกับนายกเทศมนตรีนครซานฟรานซิสโกแต่เราได้มีโอกาสได้คุยกับตัวแทนนายกเทศมนตรี
มาร์ค แชนด์เลอร์ ผู้อำนวยการสำนักงานนายกเทศมนตรี ด้านการค้าระหว่างประเทศและพาณิชย์ (MARK CHANDLER : Director of Myyor’s Office of International Trade & Commerce ) ที่จะอธิบายเอกลักษณ์และความสำคัญของเมืองแห่งนี้ให้เราได้เข้าใจอย่างนี้เพิ่มขึ้นนอกจากแหล่งท่องเที่ยวที่ผมได้เขียนจากความรู้สึก และได้สัมผัสในช่วงต้น
นายมาร์ค กล่าวว่า ซานฟรานซิสโกแตกต่างจากเมืองอื่น ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ละเมืองก็มีความแตกต่างกันอยู่แล้วทั้งประชากรที่มีความหลากหลายมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวเอง
แต่เมืองซานฟรานซิสโกเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้มหาสมุทรแปซิฟิกมากที่สุดหนึ่งใน3 ของประชากรเป็นคนอเมริกัน เอเชีย มีประชากรจากทุกมุมโลกมาอยู่อาศัย ที่นี่เป็นจุดหมายปลายทางสำคัญที่เหล่าบรรดา สตาร์ทอัพจากทั่วทุกมุมโลกให้ความสนใจเนื่องจากซานฟรานซิสโกมีความโดดเด่นในเรื่องของการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและมีความล้ำหน้าโดยเฉพาะไบโอเทคโนโลยี และยังเป็นศูนย์กลางทางด้านการค้าและการลงทุนโดยเฉพาะศูนย์กลางในด้านการเงิน
เมืองนี้เป็นเมืองแรกก็จริงเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ก่อนโควิดจะระบาดมีอัตราการว่างานเพียง 2% เมื่อทุกอย่างชัดดาวทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงักไม่ต่างจากเมืองอื่น แต่ด้วยความที่เป็นเมืองที่มีความไฮเทคและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีทำให้ฟื้นตัวได้เร็วกว่าเมืองอื่นซานฟรานซิสโกถือเป็นเมืองแรกของ สหรัฐที่ประกาศล็อคดาวน์เมืองของตัวเอง และประชากรให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเนื่องจากว่าคนที่อยู่ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีการศึกษาและมีความเชื่อในวิทยาศาสตร์ ทำให้สามารถควบคุมการระบาดและจัดการกับระบบเศรษฐกิจแบบค่อนข้างดี ช่วงการระบาดไวรัส โควิด ทุกบริษัทต่างให้พนักงานทำงานที่บ้าน
สิ่งที่ตามมาหลังโควิดคลี่คลายจะเห็นได้ว่าปัจจุบันตึกหรืออาคารพาณิชย์ว่างเปล่า เนื่องจากคนนิยมทำงานที่บ้านกันมากขึ้นเช่นสำนักงานศาลากลางรัฐซานฟรานซิสโก ก็ให้พนักงานมาทำงานที่นี่บางคนเสียง2 วันต่อสัปดาห์ เพราะฉะนั้นทำให้ภาพรวมปัญหาตึกว่างจากเดิมที่เคยมีตึกว่างในเมืองแห่งนี้ 6% เพิ่มเป็น 20% อัตราการเช่าบ้านเพิ่มขึ้น ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นไม่เคยมีใครคิดมาก่อนทำให้มีการเตรียมตัวรับมือ อีกประการหนึ่งที่ของปัญหาที่ตามมาคือทำให้ที่อยู่อาศัยไม่เพียงพอเนื่องจากซานฟรานซิสโกเป็นเมืองขนาดเล็กมีพื้นที่จำกัด คนที่นี่ไม่ชอบอยู่ตึกสูงและไม่ชอบความแออัดอยากมีพื้นที่เป็นของตัวเอง
ธุรกิจก่อนหน้าโควิดจนถึงปัจจุบันยังมีการให้ความสำคัญเกี่ยวกับการลงทุนใหม่หรือกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่อให้สามารถมีทุนลงทุนและสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
ปี 2021 หลังสถานการณ์โควิดธุรกิจเติบโตขึ้น 35% อัตราการว่างานอยู่ที่ 1.9% ต่ำกว่าประวัติศาสตร์ ซึ่งช่วงสถานการณ์ โควิด-19 ระบาดอัตราการว่างานอยู่ที่ 12% โดยเฉพาะธุรกิจด้านการเงิน ธุรกิจที่เติบโตในเมืองแห่งนี้ต่อได้เพราะการสนับสนุนด้านการเงินของเอกชน 50% เป็นธุรกิจจากนอกอเมริกาแต่มาเติบโตที่เมืองนี้
เศรษฐกิจของเมืองซานฟรานซิสโกขับเคลื่อนด้วยอุตสาหกรรม จะสังเกตได้ว่าธุรกิจใหญ่ใหญ่จะอยู่ในเมืองนี้มากกว่า 2000 บริษัท ยกตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักกันในสากลก็อย่างเช่น บริษัท Google บริษัททวิตเตอร์ บริษัทเทสล่า
ระบบเงินทุนของไฟแนนซ์เชียลที่นี่ให้ความสำคัญกับกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยมองเรื่องการลงทุนเป็นเรื่องสำคัญยกตัวอย่าง เช่น กลุ่มสตาร์ทอัพ 10 บริษัทหรือ 10กลุ่ม การให้ทุนสนับสนุนของไฟเเนนซ์เซียล เชื่อว่า5 บริษัทสามารถล้มเหลวได้ หมายถึงการปล่อยทุนสนับสนุนไปแล้วอาจจะไม่ได้รับเงินกับคืนมา อีก2บริษัทยอมให้เท่าทุนหรือ เสมอตัว และต้องมี 3 บริษัท ที่สามารถสร้างกำไรกับคืนมาได้แบบมหาศาลอันนี้คือหลักการและความเชื่อเป็นอันดับแรก
เมื่อถามถึงบทบาทของภาครัฐในพื้นที่ช่วยหนุนเสริมกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างนี้ได้อย่างไร “คุณมาร์ค” ตอบว่าอย่าเอาตัวเองไปแทรกแซงกลุ่มธุรกิจปล่อยให้ธุรกิจแข่งขันกันเองอย่างอิสระตรงไปตรงมา รัฐไม่เข้าไปยุ่งกำกับเพียงแค่กฎระเบียบและกฎหมายที่เป็นธรรม เท่านั้น ส่วนใหญ่ภาครัฐจะทำหน้าที่ในการเชื่อมประสานเครือข่ายทั้งภายในประเทศและทั่วโลกให้กลุ่มนักธุรกิจได้เชื่อมต่อกันเป็นที่รู้จัก สำหรับภายในเมืองซานฟรานซิสโกหน้าที่ของภาครัฐคือทำโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อการอยู่อาศัยของผู้คน ทำให้เมืองนี้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่ผู้คนอยากจะมาอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากด้วยเทคโนโลยีทำให้คนที่ฉลาดหรือมีความคิดที่ดีเขาอยู่ไหนก็ได้เขาสามารถเลือกอยู่ได้ถ้าเมืองนั้นตอบโจทย์ ซานฟรานซิสโก ให้ความเคารพในสิทธิและเสรีภาพและดูแลทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ยกตัวอย่างเช่นที่ศาลากลางแห่งนี้เมื่อปี 2006 มีการเปิดพื้นที่ให้สำหรับการแต่งงานสำหรับเพศเดียวกัน ซึ่งน่าจะเป็นเมืองแรกๆ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ นี่คือหน้าที่ของรัฐที่จะทำให้กับผู้ที่มาอาศัยอยู่ในเมือง การเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เมืองซานฟรานซิสโก สร้างความร่วมมือ ทางการค้าอย่างต่อเนื่อง 75 ประเทศ
แต่น่าเสียใจใน 75 ประเทศนั้นไม่มีไทย
แล้วทำอย่างไรไทยจะสามารถ เชื่อมความสัมพันธ์ทางการค้าและเทคโนโลยีกับซานฟรานซิสโกได้ ?
… สถานกงสุลของประเทศไทยไม่มีที่ซานฟรานซิสโกแต่มีที่แอลเอ ประเทศไทยให้ความสำคัญกับเมืองหลวงเมืองใหญ่ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาไม่ใช่ที่วอชิงตันดีซีหรือนิวยอร์ก เช่นเดียวกันกับประเทศไทยเราก็คงไม่นึกถึงแค่กรุงเทพมหานคร แน่นอนว่าการพาตัวเองหรือธุรกิจมาให้รู้จักให้กลุ่มธุรกิจในซานฟรานซิสโกได้รู้จักได้เห็นนี่ก็จะเป็นหนึ่งการเชื่อมความสัมพันธ์ในเชิงธุรกิจในอนาคตได้ ตลอดเวลาที่ผ่านมาเมืองซานฟรานซิสโกมีรัฐมนตรีจากประเทศไทยมาเยือนแค่ 1 คนและครั้งเดียว ขณะที่ประเทศมาเลเซียจะส่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มาจัดงานโชว์เคสกลุ่มสตาร์ทอัพทุกปี เวียดนามมีกงสุลอยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโกมีบริษัทมาตั้ง เช่น บริษัทขายรถวินฟาส และสร้างแคมเปญใครซื้อรถหนึ่งคันได้ตั๋วบินไปเที่ยวชมเวียดนามแบบบิสเนสคลาสไปกับ2 ใบ หรือโมเดลของรัฐบาลอิสราเอลส่งให้สตาร์ทอัพมาเรียนรู้และเริ่มต้นธุรกิจที่เมืองซานฟรานซิสโก กับกลุ่มธุรกิจที่นี่ 8 ถึง 9 เดือนให้เขาสามารถเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองได้และเป็นที่รู้จักในนานาชาติ นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่ ประเทศ อื่นเขาทำกัน
ในเมื่อมีกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพเยอะแยะขนาดนี้กลุ่มทุนใหญ่จะเป็นอุปสรรคหรือไม่ที่จะทำให้กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กไม่เติบโต
…ประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายมีกฎหมายป้องกันการผูกขาดของประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกว่า Anti Trust Law และมีกฎของสหภาพยุโรปที่เข้มงวดและมีการปรับปรุงกฎหมายอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก็จะคอยดูเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างความสมดุลย์ในกลุ่มธุรกิจเพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาด และธุรกิจขนาดใหญ่ต้องไม่ไปทำลายธุรกิจขนาดเล็ก
นอกจากเเหล่งท่องเที่ยว เเหล่งธุรกิจสำคัญเเล้ว อีกเรื่องที่สังเกตเห็นได้เยอะและมากกว่าเมืองไทยคือ คนไร้บ้าน Homeless จะมีอยู่ทุกถนนก็ว่าได้รวมถึงสวนสาธารณะที่ใช้สำหรับการออกกำลังกายก็เจอะคนไร้บ้านนอนกางเต้นท์ค้างคืนกันอยู่หลายจุด ด้วยกฏหมายของเมืองที่ให้สิทธิทุกคนเท่าเทียมกันเจ้าหน้าที่ไม่มีสิทธิ์ไปไล่คนเหล่านี้ หรือจับเขาดำเนินคดีตราบใดที่เขายังไม่กระทำความผิดเช่น การปล้น ถนนที่คนที่นี่ไม่แนะนำให้เดินตอนกลางคืนซึ่งเสี่ยงเกิดอาชญากรรมคือถนนเทนเดอน์ลอยน์ ซึ่งเป็นย่านที่มีอาชญากรรมสูงโดยเฉพาะอาชญากรรมบนท้องถนนคนไร้บ้านที่นี่ดูแล้วมีหลายกลุ่มวัยรุ่นวัยทำงานและคนแก่ทุกเพศเลยนี่เป็นอีกมุมหนึ่งจากซานฟรานซิสโก