บทเรียนคนหายที่ชายแดนใต้

บทเรียนคนหายที่ชายแดนใต้

บิลลี่  พอละจี รักจงเจริญ แกนนำกะเหรี่ยงบางกลอย ที่จังหวัดเพชรบุรี  นับเป็นกรณีล่าสุด ของบุคคลที่สูญหายและยังอยู่ระหว่างการค้นหา  แต่ในสังคมไทยมีผู้ที่กลายเป็น “บุคคลสาบสูญ” จำนวนไม่น้อย  โดยเฉพาะที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งเป็นบทเรียนที่เครือข่ายภาคประชาสังคมพยายามผลักดันเรื่องนี้ให้มีมาตรการติดตามที่ชัดเจน เพื่อป้องกันการสูญเสียที่อาจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

ตลอดระยะเวลาที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้   มีกรณีบุคคลสูญหายไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งครอบครัวยังไม่สามารถที่จะคลี่ปมปัญหาการหายไปในแต่ละรายได้   มีแต่ความคลางแคลงใจว่าหายไปได้อย่างไร  ใครเป็นผู้กระทำ และยังมีชีวิตอยู่หรือไม่

 

                

อนุกูล อาแวปูเตะ ประธานศูนย์ทนายความมุสลิม ประจำจังหวัดปัตตานี พูดถึงกรณีการสูญหายของคนในพื้นที่สามจังหวัด

           “เรื่องของคนหาย ถ้าจะให้เจ้าหน้าที่ดูแลทุกคนคงไม่ได้ แต่ถามว่ากลไกของกฏหมายต้องเอื้อต่อเจ้าหน้าที่ให้หาตัวผู้กระทำได้ แต่ที่ผ่านมาเมื่อมีผู้ร้องเรียน มันไม่มีแอคชั่นจากเจ้าหน้าที่ออกมาความจริงมันก็มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการบังคับให้สูญหาย ซึ่งเป็นอนุสัญญาของสหประชาชาติ แต่ว่ามันไม่มีกฎหมายรองรับภายในดำเนินการอะไรไม่ได้ อย่างน้อยก็มาบอกว่า ลูกชายได้หายออกไปจากบ้าน เจ้าหน้าที่ก็บันทึกข้อมูลและเป็นการร้องเรียนประจำวันเท่านั้นเอง แต่กลไกของเจ้าหน้าที่จะทำอย่างไรต่อนั้น เจ้าหน้าที่มองว่าไม่ใช่หน้าที่ของเขาที่จะต้องตามหา ทำให้ชาวบ้านขาดที่พึ่ง มันไปไหนไม่ได้ พอมาที่ศูนย์ทนายความมุสลิม จริงๆก็ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงที่จะต้องหาคนที่หาย แต่ว่าเราต้องพยายามให้เขามีทางออกในเรื่องนี้ เช่น มีการดำเนินการกับคนที่เกี่ยวข้องให้ตามหาตัว เร่งรัด ที่จะทำให้เจ้าหน้าที่มีความเดือดร้อน ว่าชีวิตของเขา ชะตากรรมของญาติเขาเป็นอย่างไร

         ฉะนั้นเพียงแค่มาตรการช่วยเหลือในเบื้องต้นเท่านั้น ไม่สามารถเห็นผลในรูปธรรมได้ พอสถานการณ์มันเป็นอย่างนี้ รัฐต้องพยายามใช้กฎหมายที่ไม่ใช่กฏหมายปกติเข้ามา เช่น หน่วยงาน DSI ที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบทางโทรศัพท์อะไรต่างๆ  สิ่งเหล่านี้มันเป็นประโยชน์ต่อการติดตามหาได้ แต่เหมือนกับว่าส่วนกลางมันอยู่ที่กรุงเทพฯ ก็ยางที่จะเข้าถึง  

         การถ่วงดุลมาตรการทางกฎหมาย ที่จะต้องบังคับใช้อย่างเข้มข้น คือตามหาคนที่กระทำความผิดให้ได้ หรือสามารถที่จะมีกลไกที่เกิดเคสเหมือนรถหาย สามารถติดตามได้ คือจะทำยังไง คือกลไกที่แจ้งแล้วก็สามารถติดตามได้เลย หรือ ถ้าหายไปเลย คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำให้เห็นบ้างว่าถูกลงโทษ เพราะที่ผ่านมามันไม่มี หายก็คือหาย แล้วก็ไม่รู้ว่าใครเป็นคนทำ มันทำให้สะท้อนว่าเราไม่ได้ตระหนักถึงสิทธิมนุษยชน ทั้งที่สามจังหวัดและกรณีของบิลลี่ เพราะชีวิตคนคนหนึ่งมีต้นทุนมหาศาล มีคุณค่ามหาศาล ถ้าเรายังมองไม่เห็นคุณค่าของคน ผลว่าเราจะอยู่ในวังวนของความขัดแย้งอีกนาน”

 

              

โซรยา จามจุรี เครือข่ายสตรีชายแดนใต้ กับการให้ความช่วยเหลือภรรยาและแม่ของผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นมองว่ 

           “ผลกระทบที่เกิดจากครอบครัวหรือต่อชุมชนต่อสังคมและเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึง และเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่สงสัยว่าจะเป็นขบวนการบ้าง ผู้ก่อเหตุบ้าง และเกิดกระแสขึ้นมาขับข้องใจและเป็นคำถามและเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่ความไม่ยุติธรรมที่เกิดขึ้นถ้ามีกระแสความรู้สึกแบบนี้เยอะๆมันก็จะทำให้เกิดการตอบโต้เพราะเขาเห็นว่าไม่เป็นธรรมจากรัฐ อันนี้เป็นสถานการณ์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผู้สูญหายจากเหตุการณ์จนมาถึงทุกวันนี้ก็ประมาณ ที่ฝ่ายรัฐยอมรับ 26 คน  ที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัวและสังคม ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

         ระยะแรกของการหายสิ่งที่จะช่วยเยียวยาครอบครัวได้ดีที่สุดและเป็นการเยียวยาสังคมด้วยและมีประเด็นในการตั้งคำถามและมีบทบาทมากของสังคมเรื่องของการค้นหาความจริงว่าเราหายไปไหนเขาหายไปเพราะอะไร สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด ที่เป็นการเยียวยาให้กับสังคมและครอบครัวที่ตั้งคำถามต่อเรื่องนี้ซึ่งเราคิดว่าการค้นหาความจริงมันเป็นในแง่กฎหมายต้องปรับปรุงและแก้ไขเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ที่ถูกกระทำและ อีกอย่างเป็นป้องปราบไม่ให้ผู้ที่ กระทำการ เพราะบทลงโทษจะหนัก ในแง่ของการรณรงค์ ในชุมชนและในสังคมรวมถึงประเทศในกรณีของบิลลี่ คนในสังคมเห็นว่าเป็นเรื่องที่ต้องมาช่วยกันในเรื่องของการผลักดันและเรียกร้อง ในกรณีของสามจังหวัดหายไปแล้ว 26 คน ตัวเลขยังไม่เป็นทางการการ การไปแล้วก็เยอะแต่ช่วงหลังคลี่คลายไปเยอะแต่ช่วงหลังเราก็ยังได้รับแจ้งอยู่บางครอบครัว ตอนหลังก็กลับมาแล้ว ในสามจังหวัดเองมันจะคลี่คลายมากมันเป็นประเด็นที่เราให้ความสนใจติดตามช่วยเหลือ”

บทเรียนของผู้หายสาบสูญในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาคประชาสังคมและคนในชุมชน เห็นถึงความสำคัญในการผลักดันข้อกฏหมายและกลไกการทำงานของภาครัฐ  ที่จะส่งผลต่อการป้องกัน แก้ไข และให้เกิดบทลงโทษต่อการกระทำความผิด โดยตระหนักถึงความเป็นมนุษย์ของทุกคนอยู่เสมอว่า ทุกชีวิตต่างก็มีคุณค่า และหากมีการจัดการกับปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง ก็จะช่วยป้องกันกับการสูญเสียในอนาคตได้

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ