ออกอากศ 05/02/2557
จะพาไปรู้จักกับตุ้มโมง เป็นเพลงบรรเลงที่ร้องยากที่สุดบรรดาเพลงพื้นบ้านซึ่งเล่นเฉพาะในงานศพเท่านั้น ในปัจจุบันการสืบทอดค่อนข้างน้อยลง บ้านฉันวันนี้จะพาไปดูศิลปินพื้นบ้านจังหวัดสุรินทร์ ที่รื้อฟื้นเพลงตุ้มโมงให้กับมาอีกครั้ง
เสียงปี่ “สไลตู๊จ” หรือ ปี่ขนาดเล็กที่ครูดัด สังข์ขาว เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงเพลง ตุ้มโมง ใช่เล่นในงานศพ ซึ่งโดยคนสมัยก่อนเชื่อว่า หากพ่อแม่ ญาติที่ล่วงลับได้วงตุ้มโมงไปเล่นประโคมศพ ถือว่าเป็นวาสนา เสียงของดนตรีตึ๊อมุงจะส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สรวงสวรรค์
ครูดัด สังข์ขาว ครูภูมิปัญญาเพลงตุ้มโมงเมืองสุรินทร์
ตุ้มโมงนี้ ถือว่าสำคัญมาก หากว่าใครที่เสียชีวิตไปแล้ว ได้วงตุ้มโมงไปเล่นในงานศพ ถือว่าบุคคลนั้น เป็นผู้มีบุญมีบุญวาสนาสูงส่ง สำหรับคนที่มาเล่นก็มีความภาคภูมิใจ ที่ได้รื้อฟื้นวงตุ้มโมงมาเล่น ผมเองก็ภาคภูมิใจมากเช่นกัน
ปัจจุบัน ชาวสุรินทร์ส่วนใหญ่จะรู้จักเพียงกันตรึมเพลงพื้นบ้านของคนไทยเชื้อสายเขมร แต่น้อยคนนักที่จะรู้จัก “ตุ้มโมง” เพราะหายไปร่วม ๓๐ ปีแล้ว วันนี้กลุ่มศิลปินพื้นบ้านที่บ้านปอยตะแบงและสุรินทร์สโมสร ได้ร่วมกันรื้อฟื้นเพลงตุ้มโมงให้กลับมา โดยค้นหาครูเพลงที่ยังคงเหลืออยู่ ค้นหาเครื่องดนตรี และฝึกฝนทวนวิชากันอีกครั้ง เพื่อถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลัง
อัษฏางค์ ชมดี สุรินทร์สโมสร
เราเก็บข้อมูล 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งคือเดินสัมภาษณ์คนในชุมชนทั้งหมดว่ารู้สึกอย่างไร สองจะช่วยกันดูแลยังไงเพราะว่าตุ้มโมงอยู่ด้วยตัวเองไม่ได้อาจจะต้องอยู่กับขนมฝักบัว อยู่กับสาวไหมอยู่ในวิถีชีวิตคนจนแล้วอันนี้คือเป็นศักศรีของชุมชนเองว่าเราจะดูแลกันอย่างไรในอนาคต หลายคนก็น้ำตาไหลทุกคนภูมิใจมากที่มีเรื่องแบบนี้ในชุมชนเสร็จแล้วเราก็ขยายผลการคุยต่อไปชุมชนที่อยู่ในละแวกนี้
ชุมชนชาวปอยตะแบง มีศิลปินพื้นบ้านยังคงสืบสานเพลงโบราณจากครูรุ่นก่อนไว้อย่างเหนียวแน่น และกลับมารื้อฟื้น ตึ๊อมุง ให้ยังคงอยู่ต่อไป ซึ่งไม่ใช่เพียงเพื่อการสืบทอดแต่เพียงอย่างเดียว ยังเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมเขมรสุรินทร์ ความเจริญรุ่งเรืองของวัฒนธรรมชุมชน และคุณค่าทางจิตใจ ที่ต้องร่วมกันสืบทอดต่อไป