หมู่บ้านมอวาคี เป็นหมู่บ้านชนเผ่ากะเหรี่ยงกลุ่ม สะกอ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 16 แม่วิน อำเภอ แม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
โรงเรียนมอวาคี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๕ โดยสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย ( ศ.ว.ท.หรือ IMPECT) ได้ประสานความร่วมมือจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ ใช้ชื่อว่า ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาบ้านมอวาคี ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์การเรียนชุมชน “ แม่ฟ้าหลวง” บ้านหนองมณฑา(มอวาคี)
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๗ มีการวิจัยเก็บรวบรวมองค์ความรู้ของชนเผ่าปกาเกอะญอ และจัดร่างเนื้อหาหลักสูตรท้องถิ่นของกะเหรี่ยง ๒ เล่ม คือ หนังสือหลักสูตรท้องถิ่น และแผนการสอนหลักลักสูตรท้องถิ่นโดยได้นำร่องในพื้นที่ ๕ ชุมชน คือ โรงเรียนบ้านหนองเต่า โรงเรียนบ้านทุ่งหลวง ศศช.บ้านห้วยเกี๋ยง ศศช.บ้านห้วยยาว และ ศศช.บ้านมอวาคี ( หนองมณฑา)
ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ชุมชนสรุปบทเรียน “๑๐ ปีการจัดการศึกษาบ้านมอวาคี” ผลโดยภาพรวม ชุมชนให้ความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาของชุมชนค่อนข้างสูง เนื่องจากชุมชนเห็นว่าเด็กที่จบออกไปได้เรียนรู้ทั้งหลักสูตรแกนกลาง และหลักสูตรท้องถิ่น สามารถออกไปเรียนต่อชั้นที่สูงขึ้นไปได้ และเป็นการวางฐานที่สำคัญที่ชุมชนต้องการให้ลูกหลานได้นำความรู้และประสบการณ์ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และสามารถทำหน้าที่แทนผู้ใหญ่ในอนาคตได้เป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครองมีความตื่นตัว และสนใจเข้าร่วมกระบวนการรื้อฟื้นวัฒนธรรม และจัดการศึกษาระดับชุมชนด้วยวิธีการต่างๆมากขึ้น ตั้งแต่ระดับครัวเรือน ชุมชน และในโรงเรียนที่ต่อเนื่องเป็นรูปธรรม ในขณะเดียวกันชุมชนได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นที่ยังเป็นข้ออ่อนเพื่อนำไปสู่การพัฒนายกระดับโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การเข้มงวดในด้านวิชาการการพัฒนาหลักสูตรองค์ความรู้ท้องถิ่น และความรู้ทั่วไป การส่งเสริมกิจกรรมทางด้านพื้นฐานอาชีพ พื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษ ฯลฯ เป็นต้น เพื่อเป็นพื้นฐานให้กับเด็กทั้งผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนให้สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และนักเรียนที่ออกไปเรียนต่อในขั้นที่สูงขึ้นได้มีการเตรียมความพร้อมทั้งวิชาการ องค์ความรู้ภูมิปัญญา มีความเข้าใจในความเป็นชนเผ่า มีความภาคภูมิใจ มีความมั่นใจ และสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข
จากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญพุทธศักราช ๒๕๕๐ ด้านสิทธิเสรีภาพและโอกาสด้านการศึกษาที่ว่า การศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่คนไทยและผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยต้องได้รับการบริการจากรัฐอย่างเท่าเทียม มีคุณภาพและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่หลากหลาย ประสบการณ์และบทเรียนของการจัดการศึกษาโดยชุมชนบ้านมอวาคีที่ต่อเนื่องกว่า ๑๙ ปี จึงนับเป็นความงดงามและความก้าวหน้าในทางปฏิบัติของการจัดการศึกษาโดยชุมชนตามบทบัญญัติที่กล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ
แต่เช่นเดียวกับประชาชนทุกคนในประเทศไทย โรงเรียนชุมชนบ้านมอวาคี พบกับปัญหาอุปสรรคในเชิงนโยบายและการปฏิบัติ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายที่จะรองรับการจัดการศึกษาโดยชุมชนที่มีผลต่อแนวทางการปฏิบัติ การตัดสินใจรวมถึงการสนับสนุนทรัพยากรด้านต่างๆของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อันเป็นผลต่อความก้าวหน้าและยั่งยืนของหลักคิดและทิศทางการจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมโดยชุมชน รวมถึงขวัญกำลังใจในการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน
อนึ่งในฐานะของเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรของสังคมไทย บทเรียนสำคัญของการเรียนรู้เพื่อความเข้าใจชุมชน การอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างมีความสุขและที่สำคัญคือการเรียนรู้เพื่อรับใช้ชุมชนของบ้านมอวาคี ด้วยกระบวนการการจัดการศึกษาที่ลุ่มลึกสามารถนำมาซึ่งความเคารพตนเองและผู้อื่น ภูมิใจในวัฒนธรรมประเพณี ภาษา ท้องถิ่นของตนเอง สามารถต่อยอดองค์ความรู้และคุณค่าเดิมของชนเผ่าปกาเกอะญอ ที่สำคัญคือนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตปัจจุบัน ดังผลที่เกิดขึ้นต่อเด็กและเยาวชนและคนในชุมชนบ้านมอวาคี จึงเป็นแนวปฏิบัติ ที่สาธารณชนควรได้มีโอกาสร่วมเรียนรู้ถึงความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรค แนวทางคลี่คลายและแก้ไขการจัดการศึกษาโดยชุมชนดังกล่าวรวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดการศึกษาของชุมชนต่างๆและที่สำคัญคือแนวทางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชนจากในและต่างประเทศ องค์กร ชุมชน และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
ดังนั้น สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท.) โรงเรียนชุมชนบ้านมอวาคี ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่วางจังหวัดเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง สำนักงานการศึกษาเขตพื้นที่เขต ๔ จังหวัดเชียงใหม่ เครือข่ายการศึกษาเพื่อเด็ก จึงได้ร่วมจัดเวทีความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัด การศึกษาของโรงเรียนชุมชนมอวาคี อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ เพื่อนำเสนอบทเรียนและข้อเสนอการจัดการศึกษาโดยชุมชน และเพื่อให้หลายภาคส่วนได้มีโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือในการจัดการศึกษาโดยชุมชนอย่างต่อเนื่องที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นในแนวทางปฏิบัติจริงของการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยชุมชนและรูปแบบการจัดการสถานศึกษาในชุมชนขนาดเล็ก ที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของบุคคลากรของสังคมไทยอย่างแท้จริง
(ร่าง)กำหนดการเวทีความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของโรงเรียนชุมชนมอวาคี
๑๐ มีนาคม ๒๕๕๔
ณ โรงเรียนชุมชนมอวาคี(หนองมณฑา)ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
พิธีกรประจำวัน: เด็กนักเรียน และPEICY
เวลา เนื้อหา โดย
๐๘.๐๐-๐๘.๓๐ น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม Peicy /นักเรียนบ้านมอวาคี
๐๘.๓๐ – ๐๙.๓๐น. “ต่า เก่อ โต ตู่ เลาะ ด๊อ ต่า แต พลา ต่า หมื่อ หล่า กว่า โจ” กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดงาน
นายบุเจ้ ไศลทองเพริศ : นายกอบต.ตำบลแม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
“ต่า โหล่ แกวะ ต่า โด ต่า แทะ “ การแสดงละคร เด็กและเยาวชนบ้านมอวาคี
๐๙.๓๐ -๑๐.๓๐ น. นำเสนอ :
๑. "มอวาคี อะ ต่า แฮ แก ถ่อ อะ ซา” ความเป็นมาของโรงเรียนชุมชนมอวาคี ดร.ประเสริฐ ตระการศุภกร
๒. “โส่ โล เก โพ ลี” การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ลูกหลาน ผู้รู้ชุมชน /ครูมอวาคี/
๓. “lix maz loz giv geif luv laf” หลักสูตรวิถีวัฒนธรรมปกาเกอะญอ ครูมอวาคี
๔. “อะพอ อะส่า แก ถ่อ โหล่ ถ่อ ต่า ” ดอกผลต้นกล้าแห่งขุนเขาชุมชนมอวาคี (ผลสัมฤทธิ์) ตัวแทนครูโรงเรียนชุมชนบ้านมอวาคี เด็ก และเยาวชน
๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. “ต่า กว่า โจ” แนวทางสู่เป้าหมายของโรงรียนชุมชนมอวาคี
นำเสนอ : ข้อคิดเห็นต่อกรณีศึกษาโรงเรียนชุมชนบ้านมอวาคี
ผู้ดำเนินรายการ : ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๑.นายประกิต พลายแก้ว : นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง
อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
๒. นายชูพินิจ เกษมณี :ประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายการศึกษาและวัฒนธรรมเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง
๓. คณบดีคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่**(อยู่ระหว่างประสาน)
เวลา เนื้อหา วิทยากร
๑๓.๐๐- ๑๕.๓๐ น. เวทีนำเสนอความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆกับการสนับสนุนโรงเรียนชุมชน
ผู้ดำเนินรายการ: อาจารย์ชัชวาล ทองดีเลิศ เลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือก
๑. ตัวแทนสภาการศึกษา **(อยู่ระหว่างประสาน)
๒.ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ(สพฐ.)* *(อยู่ระหว่างประสาน)
๓. ตัวแทนสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่
๓.ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชน
๔.ตัวแทนสพป.เขต 4 จ.เชียงใหม่ *(อยู่ระหว่างประสาน)
๕.ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน
๖. ตัวแทนศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอแม่วาง
๗. ตัวแทนเครือข่ายการศึกษาเพื่อเด็ก : ตัวแทนเครือข่ายโรงเรียนตักวา จ.ปัตตานี
๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ประมวลสรุปผลการประชุม อาจารย์ชูพินิจ เกษมณี
๑๖.๐๐ – ๑๖.๑๕ น. กล่าวปิดการประชุม พะติจอนิ โอ่โดเชา : ที่ปรึกษาเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง
ฮี่โข่(ผู้นำชุมชนตามประเพณี) : “กี่ จือ” สู่ขวัญ