วันนี้ (18 พ.ค.58) ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินได้อ่านแถลงการณ์จำนวน 2 ฉบับ ขอให้รัฐบาลมีคําสั่งยกเลิกแผนการดําเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่อันดามัน และแถลงการณ์จากทีมแบ็คแพคปกป้องอันดามันจากถ่านหินที่จะออกเดินทางในวันที่ 20 พ.ค. ที่จะถึงนี้ ไปจนถึงวันที่ 2 มิ.ย
–
แถลงการณ์เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ฉบับที่ ๑ ขอให้รัฐบาลมีคําสั่งยกเลิกแผนการดําเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่อันดามัน
จากนโยบายที่รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานได้ประกาศให้พื้นที่จังหวัดกระบี่เป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินกําลังผลิตติดตั้ง ๘๗๐ เมกะวัตต์และได้เร่งดําเนินการอยู่ในขณะนี้ เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการสร้างวิกฤติครั้งใหม่หลังภัยสึนามิและมีแนวโน้มว่า ภัยครั้งนี้จะรุนแรงและยาวนานกว่าด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
๑. ผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งจากการขนถ่ายหินนําเข้าจากต่างประเทศ และสารพิษร้ายแรงจํานวนมาก เช่น ปรอท ฝุ่นละอองขนาดเล็ก จากการเผาไหม้ถ่านหินในโรงไฟฟ้า งานวิจัยหลายประเทศบ่งชี้ว่าเกิดผลกระทบรุนแรง เมื่อถูกปล่อยสู่บรรยากาศจะสามารถแพร่กระจาย ไปได้ในรัศมี ๑๕ – ๓๐ ไมล์ และยิ่งไปกว่านั้น หากระยะเวลาผ่านไปนานขึ้น มลพิษทางอากาศที่เป็น อันตรายสามารถแพร่กระจายไปในระยะทางจาก ๑๐๐ ถึง ๑,๐๐๐ ไมล์ ระยะทางดังกล่าวจะเกิดขึ้น ครอบคลุมทั้งในพื้นที่อันดามันและพื้นที่รอบข้างอย่างแน่นอน
๒. ฐานอาชีพของคนอันดามันคือการท่องเที่ยวและการเกษตรเป็นหลักซึ่งทั้งสองอาชีพล้วน เกี่ยวเนื่องกับการมีสิ่งแวดล้อมที่ดี หากเราพิจารณาตัวเลขด้านการท่องเที่ยวจากสํานักงานสถิติ จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง จะพบว่าในปี ๒๕๕๕ เศรษฐกิจของกลุ.มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ขึ้นอยู่กับภาคการ ท่องเที่ยว และภาคเกษตรกรรมโดยมีขนาดเศรษฐกิจ ๓.๓๑ แสนล้านบาท โดยมี รายได้จากการท่องเที่ยว ๒.๙๕ แสนล้านบาท สาขาเกษตร ๑.๑๑ แสนล้านบาท การท่องเที่ยวของ อันดามันส่วนใหญ่คือการท่องเที่ยวทะเลและชายหาดซึ่งต้องอาศัยความสวยงามของธรรมชาติเป็นหลัก หากพื้นที่การท่องเที่ยวปกคลุมด้วยควันถ่านหินและมลพิษทางน้ำ การท่องเที่ยวก็จะหายนะ รวมถึงพื้นที่เกษตรกรรมและแหล่งอาหาร ทั้งหมดนี้คือการรื้อฐานชีวิตคนอันดามันไปสู่ความทุกข์ยาก
๓. ความเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจากกระบวนการประเมินผลกระทบ ด้านสุขภาพระดับชุมชน(CHIA) ซึ่งจัดทําที่เกาะลันตา จ.กระบี่จากจํานวนนักท่องเที่ยว ๖๒๔ คนจากทั้งหมด ๓๗ ประเทศพบว่าร้อยละ ๘๘ มีความเห็นว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อถามว่าหากสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแล้วจะกลับมาเที่ยวหรือไม่ พบว่าร้อยละ ๘๕ ตอบว่าจะไม่กลับ มาเที่ยวที่ จ.กระบี่อีก ทั้งนี้ในจํานวนนักท่องเที่ยวที่ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวยุโรป และอเมริกา จะมีจํานวนวันที่มาเที่ยวแต่ละครั้งยาวนานโดยเฉลี่ย ๙๐ วันต่อการมาเที่ยว ๑ ครั้งและ เมื่อถามถึงค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยแล้วนักท่องเที่ยวที่ตอบแบบสอบถามจํานวน๖๒๔คนจะมีการใช้จ่ายทั้งหมด ๑๔๘,๐๗๒,๔๐๐ บาท จากข้อมูลดังกล่าวสามารถเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าหากเกิดโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้น หายนะที่จะมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินจะเกิดขึ้นกับฐานการท่องเที่ยวของคนอันดามันโดยตรง
๔. ทางออกของความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าหากกระทรวงพลังงานยกเลิกมาตรการและข้อจํากัดในการผลิตพลังงานหมุนเวียน ภาคใต้จะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้อีกจํานวนมากและหาก พิจารณาในระดับโลกพบตัวเลขที่น่าสนใจว่าตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๕๖โลกผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ได้มากกว่าพลังงานฟอสซิล เช่น ถ่านหิน นิวเคลียร์ อีกทั้งในสหรัฐอเมริกา เยอรมนี จีน อินเดีย ซึ่งเป็นประเทศมหาอํานาจของโลกได้หันมาสร้างไฟฟ้าจากพลังงหมุนเวียนกันอย่างจริงจัง ปัญหาของพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยจึงไม่ใช่เรื่องของศักยภาพการผลิตแต่เป็นเรื่องของ การผูกขาดและกฎหมายที่ไม่เอื้ออํานวย
เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ซึ่งประกอบด้วยภาคีภาคเอกชนและประชาสังคม จังหวัดสตูล ตรัง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และขอเรียกร้องให้ รัฐบาลประกาศยกเลิกการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่โดยทันที และขอให้จริงจังกับการ ดําเนินการสร้างความั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ซึ่งจะได้รับความร่วมมือจากภาค สังคมของจังหวัดอันดามันในการร่วมขับเคลื่อนกับรัฐบาลให้อันดามันเป็นพื้นที่พลังงานสะอาดแห่งแรกๆของโลก
ผู้แถลง นายอมฤต ศิริจุทาพรกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ ประธานเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน
๑๘ พ.ค.๒๕๕๘ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กรุงเทพมหานคร
แถลงการณ์เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ฉบับที่ ๒ แบคแพ็คปกป้องอันดามันจากถ่านหิน
18 พฤษภาคม 2558
เมื่อรัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานประกาศสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่ ประชาชนในจังหวัดอันดามันโดยเฉพาะจังหวัดกระบี่เริ่มรู้สึกถึงวิกฤติที่กําลังจะมาถึง เนื่องจากเรารับทราบประสบการณ์จากทั่วโลกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินคือหายนะทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพและเมื่อได้ศึกษารายงาน วิจัยของนักวิชาการมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐอเมริกา งานวิจัยมหาวิทยาลัยสตุดการ์ด เยอรมนี พบว่าสารพิษที่เกิดจากโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้นกลายเป็นวิกฤติที่ยากจะเยียวยา เมื่อได้ฟังคําแถลงฉบับ ที่ ๔ ของคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐบาล(IPCC)ที่สนับสนุนโดยสหประชาชาติซึ่งได้ระดมนักวิทยา ศาสตร์ทั่วโลกจํานวน ๒,๐๐๐ คน พบว่าพลังงานฟอสซิลคือตัวการสําคัญของหายนะด้านสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเลขาธิการสหประชาชาติออกมาเรียกร้องให้ผู้นําทั่วโลกตระ หนักถึงภาวะดังกล่าวด้วยการหยุดใช้พลังงานฟอสซิล
แต่ในขณะนี้ผู้นํารัฐบาลไทยกลับดําเนินการตรงกันข้ามเราในฐานะประชาชนอันดามันจึงต้อง ลุกขึ้นมาปกป้องแผ่นดินของเราเองและหวังว่าวันหนึ่งรัฐจะสํานึกหันมาเอาจริงเอาจริงกับการใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดอย่างที่สหรัฐอเมริกา เยอรมนี จีน อินเดีย เกาหลีใต้ กําลังเร่งดําเนินการ
สิ่งที่เราจะทําได้คือการสร้างนโยบายสาธารณะที่ดีด้านพลังงานด้วยการเดินทางไปบอกเล่าให้ คนในอันดามันทราบว่าถ่านหินเป็นหายนะต่อบ้านของเขา และในขณะเดียวกันต้องการนําเรื่องราว บนแผ่นดินอันดามันมาบอกเล่ากับสาธารณะว่าแต่ละจังหวัดมีสิ่งดีดีที่ไม่ควรจะถูกทําลายโดยโรงไฟ ฟ้าถ่านหิน เราจึงใช้แรงกายแรงใจของเราร่วมกันแบกเป้เดินทางไปยังสถานที่สําคัญในฝั่งอันดามัน ในนาม “กิจกรรมแบคแพ็คปกป้องอันดามันจากถ่านหิน” โดยมีเป้าหมายสุดท้ายเพื่อร่วมกันสร้างนโยบายสาธารณะด้านพลังงานที่ปลอดภัยและมั่นคงแก่คนอันดามัน ภาคใต้และของคนทั้งประเทศด้วย
พื้นที่อันดามันได้กลายเป็นพื้นที่สําคัญของโลกด้านการท่องเที่ยวโดยแต่ละปีได้มีนักท่องเที่ ยวจากต่างประเทศมาเยือนพื้นที่อันดามันจํานวนมาก โดยเฉพาะประเทศในยุโรป และนักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งเมื่อทราบข่าวว่าจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้เกิดคําถามที่สําคัญว่าประเทศไทยกําลัง คิดอะไร จึงเอาพื้นที่ที่สวยงามเช่นนี้มาสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งทั้งโลกมีบทสรุปว่ามันเป็นเชื้อเพลิงที่อันตรายอย่างยิ่งต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพซึ่งนักท่องเที่ยวหลายคนกล่าวว่าพวกเขาได้รับประสบการณ์มลพิษของโรงไฟฟ้าถ่านหินมาก่อนแล้วในประเทศของตัวเองจึงได้เกิดปรากฎการณ์ที่นักท่องเที่ยวแสดงสัญลักษณ์และเจตนารมณ์มาจากหลายประเทศทั่วโลกว่าถ่านหินเป็นอันตราย ขอให้หยุดสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่
กิจกรรมแบคแพ็ค (ตามเอกสารประกอบแถลงการณ์) จะเริ่มต้นจาก จากจังหวัด สตูล ตรัง กระบี่ พังงา ภูเก็ต และมาสิ้นสุดที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีการให้ความรู้ กิจกรรมรณรงค์แสดงพลัง ทั้งนี้หวังว่ากิจกรรมครั้งนี้จะช่วยให้รัฐบาลตระหนักว่า การสร้างนโยบายสาธารณะด้านพลังงานที่ผูกขาดนั้นจะนํามาซึ่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง มีผลในการทําลายเศรษฐกิจของ คนอันดามันและประกาศยกเลิกการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่การท่องเที่ยวของโลก
เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินขอเชิญชวนทุกท่านในประเทศมาร่วมกิจกรรมกับเรา และร่วมแสดงพลังปกป้องแหล่งท่องเที่ยวของโลกให้เป็นสมบัติของคนไทยสืบไป อย่าได้ถูกทําลาย ด้วยการสนองตอบทุนผูกขาดถ่านหิน จนนํามาสู่วิกฤติของพื้นที่อันดามันจนยากที่จะเยียวยาและฟื้น ฟูได้ สิ่งที่รัฐบาลควรจะทําคือหันมาสู่การสร้างนโยบายสาธารณะที่ดีด้านพลังงานด้วยการใช้พลังงาน สะอาด กระจายผู้ผลิต กระจายที่มาของไฟฟ้าให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน รวมถึงเรียกร้องถึง สื่อมวลชนทั้งหลายควรเสนอข่าวอย่างเป็นธรรม ถูกต้องตามหลักวิชา ไม่ควรตกอยู่ภายใต้วาทกรรม ถ่านหินสะอาดของ กฟผ.จนลืมงานวิจัยที่ทั้งโลกมีบทสรุปว่าถ่านหินคือหายนะด้านสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพของมนุษย์
ผู้แถลง นายอัครเดช ฉากจินดา ฝ่ายกิจกรรมแบคแพ็ค เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ๑๘ พ.ค. ๒๕๕๘ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬากรุงเทพ
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก Facebook : หยุดถ่านหินกระบี่