แถลงการณ์ด่วน ร้องรัฐบาลไทย-คสช. ยกเลิก ‘พิจารณาคดีพลเรือนในศาลทหาร’

แถลงการณ์ด่วน ร้องรัฐบาลไทย-คสช. ยกเลิก ‘พิจารณาคดีพลเรือนในศาลทหาร’

16 มี.ค. 2558 มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ออกแถลงการณ์ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและคสช. ยกเลิกการพิจารณาคดีพลเรือนในศาลทหาร มีเนื้อหาดังนี้

เผยแพร่วันที่ 16 มีนาคม 2558
ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

20151703013211.png

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

แถลงการณ์

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council) เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2558 ได้รับข้อมูลจากองค์กรระหว่างประเทศว่า ประเทศไทยใช้ศาลทหารสำหรับการดำเนินการกับพลเรือนในข้อหาเกี่ยวกับการแสดงออกทางความคิดเห็น การรวมกลุ่มและการชุมนุม โดยมีจำนวนคดีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางสำนักงานข้าหลวงใหญ่ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้บันทึกข้อเท็จจริงว่า มีพลเรือนอย่างน้อย 202 คน  ถูกดำเนินคดีในศาลทหารตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557   นับเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปีที่ประเทศไทยเลือกที่จะใช้ศาลทหารดำเนินคดีต่อพลเรือน เพื่อการปราบปราม ประชาชนที่เห็นต่างจากรัฐและใช้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงออก

โดยแถลงการณ์ทางวาจาโดยคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council) ในการประชุมครั้งที่ 28 ระหว่างวันที่ 2-27 มีนาคม 2558 ณ กรุงเจนีวา ทางคณะผู้แทนประเทศไทยแห่งองค์การสหประชาชาติประจำ ณ นครเจนีวาใช้สิทธิในการตอบกลับโดยระบุว่า “การใช้ศาลทหารนั้น เราใช้ในเฉพาะคดีที่มีข้อหาร้ายแรงเท่านั้น ข้อหาความผิดรวมถึงครอบครองอาวุธและคดีฆาตกรรม จำเลยพลเรือนในคดีศาลทหารได้รับสิทธิในกระบวนการยุติธรรมเหมือนกับในศาลพลเรือน รวมทั้งสิทธิที่จะมีทนายความและได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์”

คำแถลงดังกล่าวเป็นการอ้างอิงการใช้ศาลทหารที่ไม่ตรงกับสภาพปัญหาและข้อเท็จจริงในปัจจุบันโดยนับแต่มีการรัฐประหาร มีการจับกุมนักกิจกรรมที่แสดงออกทางสัญลักษณ์ เช่น การถือป้ายกระดาษ การรณรงค์เพื่อให้มีการเลือกตั้ง การกินแซนวิช การชูสามนิ้ว เป็นต้น เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธุ์ 2558 มีทนายความนักสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมทางสังคม 4 คน ถูกจับกุมและตั้งข้อหาว่าฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 7 /2557 ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน ในวันที่ 16 มีนาคมนี้ พนักงานสอบสวนที่ส่งสำนวนพร้อมพลเรือนทั้ง 4 คนไปยังอัยการศาลทหารเพื่อสั่งฟ้อง โดยมีการคาดการณ์ว่าพลเรือนทั้ง 4 อาจจะไม่ได้รับการประกันตัว

การใช้กลไกยุติธรรมและศาลทหารต่อพลเรือนที่แสดงออกทางความคิดเห็นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มว่ารัฐบาลปัจจุบันจัดตั้งโดยฝ่ายทหารคณะรัฐประหารจะใช้กลไกศาลทหารและกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวต่อเนื่องและติดต่อกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวหาว่ากระทำการนอกกฎหมาย หากแต่กลไกยุติธรรมในปกติ โดยเฉพาะการใช้ศาลทหารพิจารณาคดีต่อพลเรือนไม่มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง ไม่มีความจำเป็น เห็นได้อย่างชัดเจนว่ามุ่งประโยชน์เพื่อโต้ตอบโจมตีต่อนักกิจกรรมทางการเมือง รวมทั้งทนายความสิทธิมนุษยชน การพิจารณาคดีในศาลทหารเป็นการละเมิดสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม ซึ่งขัดกับพันธกรณีที่ประเทศไทยมีต่ออนุสัญญาว่าด้วย สิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง

ตัวแทนมูลนิธิผสานวัฒนธรรมและศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนที่ขณะนี้เดินทางมาร่วมเวทีคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council) ณ กรุงเจนีวารระหว่างวันที่ 16-18 มีนาคม 2558 ด้วยนั้น ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและ คสช. ประกาศยกเลิกประกาศ คสช. 37/2557 และ 38 /2557 ที่ประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพลเรือนในข้อหาความผิดบางประเภทโดยทันที รวมทั้งประกาศที่จำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบทั้งหมด อีกทั้งการพิจารณาคดีในศาลทหารในเวลาที่ประกาศกฎอัยการศึกทำให้ไม่สามารถ อุทธรณ์หรือฎีกา โดยเราเชื่อว่าศาลพลเรือนปกติในสถานการณ์ปัจจุบันสามารถใช้พิจารณาอรรถคดีต่างๆ ได้ และเชื่อมั่นว่าจะได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมกว่าการพิจารณาคดีในศาลทหาร

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ