เวทีงาน “เสียงสะท้อนฝ่าวิกฤติการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก”
จากข่าว “จี้สพป.ทำแผนยุบโรงเรียนขนาดเล็ก” ของ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ) เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าจากการประชุมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้เร่งรัดการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัด สพฐ ที่มีทั้งสิ้น ๑๔,๓๙๗ โรง และมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาว่าจะดำเนินการยุบรวมโรงเรียน หรือ การยุบเลิกโรงเรียนจำนวน๗,๐๐๐แห่งนั้น
ทางสภาการศึกษาทางเลือกซึ่งเป็นกลุ่มคนทำงานด้านการศึกษาทางเลือก เห็นว่าการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก จะส่งผลกระทบต่อเด็ก ผู้ปกครองและชุมชนอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นครอบครัวมีปัญหาความยากจน และต้องการให้ลูกอยู่ใกล้ชิดครอบครัวและชุมชน การยุบโรงเรียนขนาดเล็กของกระทรวงศึกษาธิการ โดยไม่มีกระบวนการรับฟังสียงเด็ก ผู้ปกครอง ชุมชน จึงไม่มีความเป็นธรรมและยิ่งก่อให้เกิดปัญหาสังคมมากยิ่งขึ้น
สภาการศึกษาทางเลือก ได้หารือกับ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร สกว ฝ่ายวิจัยท้องถิ่นมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคมและเครือข่ายเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา มีความเห็นร่วมกันว่าโรงเรียนชุมชนมีความสำคัญในฐานะที่เป็นฐานการเรียนรู้ด้านสังคมวัฒนธรรมขั้นพื้นฐานของเด็กและเยาวชน ควรจะได้มีการวิเคราะห์และหาทางออกอย่างรอบด้าน จึงเห็นควรจัดเวที “เสียงสะท้อนฝ่าวิกฤติการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก” ขึ้นในวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๐๐ น. ณ หอประชุมศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมตามกำหนดการ
กำหนดการ
วันที่ 21 พค.2554
8.00 – 9.00 ลงทะเบียน
9.00 – 9.30 ชี้แจง กล่าวต้อนรับโดย นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ
คณะกรรมการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรและเลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือก
9.30 – 10.30 ปาฐกถา “โรงเรียนชุมชนการศึกษาทางเลือก ทางรอดของสังคมไทย”
โดย รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม คณะกรรมการที่ปรึกษาศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
10.30 – 12.30 “เสียงสะท้อน พื้นที่วิกฤติการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก” โดย – ผู้แทนกรณีโรงเรียนวัดท่าสะท้อน อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช
– ผู้แทนกรณีโรงเรียนมอวาคี ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
– ผู้แทนกรณีโรงเรียนปากบุ่ง อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด
– ผู้แทนกรณีโรงเรียนบ้านสามชุก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี
– ผู้แทนโรงเรียนเอกชน สถาบันโรสแมรี่และความสำเร็จ
ดำเนินการโดย อ.สุรพล ธรรมร่มดี สถาบันอาศรมศิลป์
12.30 – 13.30 รับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 15.30 ทางออกโรงเรียนขนาดเล็ก และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และความสำเร็จการพัฒนา
คุณรัชนี ธงชัย ร.ร.หมู่บ้านเด็ก
รศ.ประภาภัทร นิยม โรงเรียนรุ่งอรุณ
อ.บัญชร แก้วส่อง ผอ.สกว..ฝ่ายวิจัยท้องถิ่น
อ.ชูพินิจ เกษณี คณะศึกษาศาสตร์ศรีนครินทร์วิโรจน์ประสานมิตร
นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น
นายเทศมนตรีสามชุก
ดำเนินการโดย คุณนาตยา แวววีระคุปต์
15.30 – 16.00 สรุปการประชุมและปิดการประชุม
ข้อมูลจำเพาะ
จากข้อมูลสถานการณ์ที่โรงเรียนขนาดเล็กมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากจำนวนโรงเรียนทั้งหมดมีจำนวน 30,000 กว่าแห่ง ปี 2536 โรงเรียนขนาดเล็กมีจำนวน 10,741 แห่ง คิดเป็น 33.48% ปี 2547 มีจำนวน 11,599 แห่ง คิดเป็น 35.88% ปี 2554 มีจำนวน 14,056 แห่ง คิดเป็น 44.78% โดยทางกระทรวงศึกษาธิการมองว่าโรงเรียนขนาดเล็กมีคุณภาพการศึกษาต่ำ ใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง จึงได้มีนโยบายที่จะดำเนินการยุบและควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 7,000 แห่ง ภายในปี พ.ศ.2561
ทางสภาการศึกษาทางเลือก ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มการศึกษาทางเลือกทั้งเครือข่ายบ้านเรียน เครือข่ายโรงเรียนไทยไท เครือข่ายการศึกษาทางเลือกและเครือข่ายเยาวชนสืบสานภูมิปัญญาทั้ง 4 ภูมิภาค ได้ยื่นจดหมายถึงรัฐมนตรีศึกษาธิการให้ยุตินโยบายการยุบและควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กและควรมีการศึกษาวิจัย รวมทั้งการจัดเวทีประชาคมให้ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในการสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก การวิเคราะห์ของสภาการศึกษาทางเลือกมองว่าการศึกษาของรัฐมีเป้าหมายผลิตคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน จึงเน้นที่ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการเพื่อการสอบแข่งขัน โดยละเลยการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพตามธรรมชาติอันหลากหลายไปตามบริบทของวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม และความเป็นชาติพันธุ์อันหลากหลาย โรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในชุมชนเมืองและชุมชนชนบทเหล่านี้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้ที่มีฐานะยากจนเป็นคนชายขอบซึ่งกระทรวงศึกษาธิการทอดทิ้งมาอย่างยาวนาน การยุบและควบรวมจึงมิใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุกลับเป็นการซ้ำเติมปัญหา ยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมทางการศึกษาเพิ่มขึ้น จากการปรึกษาหารือ ร่วมกันระหว่างสภาศึกษาทางเลือก สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย ฝ่ายวิจัยท้องถิ่น มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร มีความเห็นว่าโรงเรียนชุมชนมีความสำคัญในฐานะที่เป็นฐานการเรียนรู้ด้านสังคมวัฒนธรรมขั้นพื้นฐานของเด็กและเยาวชน จึงควรจะได้มีการพูดคุย วิเคราะห์และหาทางออกในปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กอย่างรอบด้าน กระทรวงศึกษาธิการไม่ควรใช้อำนาจตัดสินใจยุบและควบรวมเพียงฝ่ายเดียวโดยมิได้ฟังเสียงจากผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่นและองค์กรภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องข้อมูลติดต่อเพื่อตอบรับการร่วมเวทีภาคเหนือ เครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคเหนือ โทรศัพท์053-306611 ภาคใต้ กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ (ครูอู๊ด) โทรศัพท์ 081-6776301 ศูนย์พลเมืองเด็ก (ครูหวอด) โทรศัพท์ 08-5080-4414 ภาคอีสาน นางสาวธีรดา นามไห (ครูแล่ม) โทรศัพท์ 081-546-0252 ภาคกลาง นายสถาปนา ธรรมโมรา โทรศัพท์ 081-594-4389 นายชัยณรงค์ ฉิมชูใจ โทรศัพท์ 018-571-5455 นางจงรักษ์ ศรีใส โทรศัพท์ 083-8491122หรือตอบรับทาง email ส่วนประสานงานกลางที่ จงรักษ์ ศรีใส (นก) : noktonpai07@gmail.com
อ่านข่าวเกี่ยวข้อง
http://tvthainetwork.com/2010/board/index.php?topic=768.msg835;topicseen#newhttp://tvthainetwork.com/2010/board/index.php?topic=770.msg837;topicseen#new