เรื่องของเรื่อง – กรณี ม๊อบปิดถนนกลุ่มกระเทียม อำเภอเวียงแหง ถูกจับ

เรื่องของเรื่อง – กรณี ม๊อบปิดถนนกลุ่มกระเทียม อำเภอเวียงแหง ถูกจับ

กรณี ม๊อบปิดถนนกลุ่มกระเทียม อำเภอเวียงแหง  จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2548

ที่มาของการตั้งกลุ่มกระเทียม

มีสมาชิกทั้งหมด 300 คน เป็นผู้กระเทียมที่มีอยู่ในตำบลซึ่งมาจากแต่ละหมู่บ้านโดยเกษตรตำบล แล้วคัดเลือกผู้นำขึ้นมาเป็นประธาน คือ นายจันทร์แก้ว โปธา ในปี พ.ศ. 2548 (วันที่ 28 เดือนมิถุนายน) ดำรงตำแหน่งกำนันตำบลแสนไห
วัตถุประสงค์เพื่อให้รัฐช่วยเหลือผู้ปลูกกระเทียม หากเกิดปัญหาราคาตกต่ำ มีการประชุมกันทุกเดือนๆละครั้ง พร้อมกับเกษตรตำบลเข้ามาร่วม เนื้อหาการประชุมส่วนใหญ่ ดูว่า แต่ละคนปลูกกระเทียมกันมากน้อยขนาดไหนในแต่ละปี พร้อมกับเทียบราคากลาง นโยบายของรัฐที่ลงมา ช่วง ณ เวลานั้นต่างคนต่างขาย แต่ช่วงปีพ.ศ. 2548 ที่ทางรัฐบาลมีการประกันราคากระเทียมขึ้นมา ต่างคนต่างเก็บกระเทียมไว้ในขณะที่กลุ่มปรึกษาหารือกันอย่างต่อเนื่อง ประการสำคัญที่ไม่ขายเพราะว่า รัฐให้เก็บราคาผลผลิตไว้ก่อนโดยเชื่อว่า จะทำให้ราคาจะดีขึ้นกว่าเดิม ช่วงนั้นเป็นช่วงของการหาเสียงของพรรคไทยรักไทย
   
ช่วงที่รอนั้นเห็นว่านานมากแล้ว ทางกลุ่มจึงเดินทางเข้าปรึกษากับนายอำเภอโดยคณะกรรมการกลุ่มบ้านละ 2 คน รวม 10 คน เนื้อหาการปรึกษาเรื่องกระเทียม ว่าชาวบ้านเก็บไว้แล้วจะทำอย่างไร โดยคุณมานพ เป็นผู้เจรจา แต่เข้าร่วมในฐานะประธานกลุ่ม

ช่วงรอคำตอบ ชาวบ้านหลายคนว่าจะเดินทางไปปิดถนน บริเวณห้วยฮ้องจุ๊ เริ่มทยอยจากอำเภอออกไป มากขึ้นเรื่อยๆจากตำบลแสนไห ชาวบ้านจากเปียงหลวง และเมืองแหงเข้ามาร่วม

เหตุการณ์ปิดถนนม๊อบกระเทียม 

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2548 มีข่าวการปิดถนนบริเวณห้วยฮ้องจุ๊ ตำบลเมืองแหง จังหวัดเชียงใหม่ โดยชาวบ้านจาก 3 ตำบล (แสนไห,เปียงหลวง,เมืองแหง) รวมกว่า 300 คนเคลื่อนจากที่ว่าการอำเภอเวียงแหงหลังจากเข้าพบนายอำเภอเพื่อปรึกษาหารือว่า ทางรัฐบาลได้ให้สัญญาในการประกันราคากระเทียม โดยให้ชาวบ้าน สมาชิกกลุ่ม เก็บกระเทียมไว้ตามสัญญาว่าจะมาประกันราคาให้ ชาวบ้านรอนานเกินไป จึงต้องทวงถามขึ้นมา เมื่อไม่ได้คำตอบ ชาวบ้านจาก 3 ตำบลเริ่มเดินทางมาสมทบที่อำเภอเดินทางไปรวมตัวกันเพื่อปิดถนนบริเวณห้วยฮ้องจุ๊

ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2553 เวลาเช้า  ช่วงนั้นทางคุณคำ ตุ่นหล้า คุณณัฐนิติ วุฒิธรรมปัญญา และชาวบ้านอีกสอบคนเดินทางไปประชุมที่อำเภอเชียงดาว กลับคืนมาพบว่ามีม๊อบปิดถนนเกิดขึ้น ณ เวลาช่วงเย็นประมาณ 1 ทุ่ม  ด้วยความเป็นผู้นำ ทั้งสองท่านจึงลงจากรถและได้พูดคุย พบปะกับชาวบ้านที่มาชุมนุมประมาณหนึ่งทุ่มครึ่ง พูดทำนองให้กำลังใจชาวบ้าน เมื่อชาวบ้านต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องกระเทียม ส่วนใหญ่คนเข้าร่วมครั้งนั้นเป็นชาวบ้านทั้งหมด ไม่มีการเจรจา แต่มีโทรศัพท์มาคุยจากคุณสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ว่าให้สลาย  ม๊อบก่อน แล้วรับปากว่าจะประกันราคาชดเชยให้ในราคากก.ละ 2 บาทแต่ยังไม่สลายเนื่องจากเป็นเพียงคำพูด ไม่มีลายลักษณ์อักษร ชาวบ้านไม่ยอมสลายม๊อบ

วันที่ 28 กรกฎาคม 2553 แกนนำหลายคนเริ่มเข้าร่วมเวทีชุมนุม ซึ่งช่วงนั้นมีเกษตรอำเภอ ตัวแทนสส. มงคล อำพันธุ์ พรรคไทยรักไทย  สังวร  สุขสามัคคี เกษตรอำเภอ (ปัจจุบันอยู่ อ.แม่แตง)  และนายอำเภอเวียงแหง (นายเชาว์ เปล่งวิทยา) พันตำรวจเอกมณฑป แสนจำนงค์ และเจ้าหน้าที่จราจรร่วมเจรจากับชาวบ้าน ส่วนชาวบ้านที่ร่วมเจรจาคือนายมานพ หลวงคำ ,กำนันแก้ว พ่อหลวงพิมพ์ กาใจ ประเด็นสำคัญในการเจรจาสืบเนื่องมาจากการหาเสียงสส. ครั้งนี้ที่รับปากว่าจะมาชดเชยให้ แต่ไม่มีการตอบรับกลับมา ในขณะที่ชาวบ้านเก็บกระเทียมไว้ (เดือนมีนาคม 48) หากต่ำกว่า 20 บาท ไม่ต้องขาย(จากการหาเสียงของพรรคไทยรักไทย เสียงทักษิณ รับฟังสถานีวิทยุชุมชนว่า ทั้งกระเทียมแห้ง กระเทียมสด ราคาไม่ต่ำกว่า 20 บาท ไม่ต้องขายเพื่อรอรัฐมาสนับสนุน ชาวบ้านจึงเก็บไว้ แต่ก็มีชาวบ้านหลายรายที่ขายออกไป เพราะรอไม่ไหว บางส่วนยังเก็บไว้เพราะรอราคา) สุดท้ายยุติเจรจายอมประกันราคาให้เกษตรกรกิโลกรัมละ 2 บาท ทางชาวบ้านเคลื่อนย้ายจากห้อยฮ้องจุ๊ มาที่ว่าการอำเภอเวียงแหง เพื่อร่วมลงนามตามมติการเจรจา ทางชาวบ้านจึงสลายม๊อบไป

ปี พ.ศ. 2553 (ต้นเดือนกันยายน)

เมื่อเกิดเหตุการณ์ม๊อบแล้ว ทางตำรวจแจ้งหมายศาลมายังผู้ต้องหา ให้เตรียมหลักทรัพย์เพื่อประกันตัวสำหรับแกนนำ 9 คน ได้สร้างความไม่แน่ใจจึงโทรหาพันตำรวจเอกมณฑป แสงจำนงค์ เพื่อขอทราบหมายจับ พบว่า ผู้แจ้ง คือ กำนันธร และสารวัตรจราจร พบว่ามีหลายคนที่ถูกหมายจับรวมถึงนายคำ ตุ่นหล้า ที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองแหง รวมแล้ว 9 คนหากจะดำเนินการจับกุมในช่วงเวลาไหนก็ได้ แต่ไม่จับ เพราะเห็นอยู่ว่าเป็นคนในพื้นที่นี้อยู่แล้ว จนกระทั่งกระแสการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองแหงโดยมีนายคำ ตุ่นหล้า หนึ่งในผู้ต้องหาลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้  กลายเป็นการออกบัตรสนเท่ห์ออกมาโดยไม่ลงนาม พูดคุยกันทั่วในอำเภอเวียงแหง และเกรงว่าอาจจะมีการกระทำจับกุมในวันเลือกตั้งดังกล่าว ซึ่งทางกฎหมายและหมายศาล หากพบเจอที่ไหนจับได้ทันที ทางตำรวจบอกว่า กรณีคุณคำ ตุ่นหล้า อาจจะจับในวันเลือกตั้งคือ ในวันที่ 2 ตุลาคม 2553  ซึ่งที่ผ่านมากรณีนายคำ ตุ่นหล้า ได้เข้ามอบตัวเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2553 พร้อมกันนี้จะเข้าสู่ศาลในวันที่ 10 กันยายน 2553 นี้และมอบเอกสาร

ผู้ถูกหมายเรียก 9 คน (ถูกจับคุก 2 คน คดีอื่น) ดังนี้
   1. นายคำ ตุ่นหล้า บ้านกองลม หมู่ที่ 2 ต.เมืองแหง
   2. นายณัฐนิติ วุฒิธรรมปัญญา บ้านเปียงหลวง หมู่ที่ 1 ต.เปียงหลวง
   3. นายศรีทน จันทร์คำ บ้านม่วงป๊อก หมู่ที่ 3 ต.แสนไห
   4. นายบุญยืน กาใจ บ้านสันดวงดี หมู่ที่ 1 ต.แสนไห
   5. นายจ๋อม กาใจ (ติดคุก) บ้านสันดวงดี หมู่ที่ 1 ต.แสนไห
   6.  นายสุ่ม โปธา (ติดคุก) บ้านสันดวงดี หมู่ที่ 1 ต.แสนไห
   7. นายมานพ หลวงคำ บ้านสันดวงดี หมู่ที่ 1 ต.แสนไห
   8. นายวัน ทาดวงแก้ว บ้านสามปู หมู่ที่ 2 ต.แสนไห
   9. นางขันทอง ต๊ะนาง บ้านสามปู หมู่ที่ 2 ต.แสนไห
 
ให้ข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง นายจันทร์แก้ว โปธา  ประธานกลุ่มผู้ปลูกกระเทียมตำบลแสนไห

ช่วงที่เกิดเหตุการณ์ปิดถนน ได้ถือไมล์ขึ้นพูดช่วงกลางคืนวันที่ 27 ก.ค.48 เพื่อเจรจาฟังคำตอบจากนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เวลา 19.31น. ผ่านทางผู้ประสานงานพรรคในพื้นที่ (ดาบตุ๋ย) และมีการโทรกลับมาเพื่อเจรจา “ขอสลายม๊อบก่อน อย่างไรก็จะช่วยเหลือ”  เมื่อวางสายโทรศัพท์แล้ว จึงพูดให้ชาวบ้านฟังต่อ แต่ชาวบ้านไม่สลายม๊อบ เนื่องจากไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน เป็นลายลักษณ์ เป็นเพียงแค่คำพูดเท่านั้น ชาวบ้านยังอยู่ที่นั่นจนถึงรุ่งเช้า ประมาณ 200 กว่าคน ทางพ่อกำนันจึงกลับมาบ้านก่อน

รุ่งเช้าของวันที่ 28 ก.ค.53 เข้าบริเวณม๊อบเพื่อดูแลความเรียบร้อย ช่วงตอนบ่ายสองโมง  ทางเจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัด  ตำรวจ  มาเจรจา แต่ไม่ได้มีบทบาทอะไร นั่งฟังการเจรจาโดยมีตัวแทนนายศรีทน จันทร์คำ (กรรมการกลุ่ม) และนายมานพ ทำหน้าที่เป็นผู้เจรจา โดยข้อตกลงคือ การยอมประกันราคาที่กก.ละ 2 บาท เวลา 14.06 น. จากนั้น ชาวบ้านกลับมายังอำเภอ ทำข้อตกลงร่วมกันที่อำเภอเวียงแหง จึงสลายม๊อบไปในเวลา 15.31 น.

(จากคำบอกเล่า นายจันทร์แก้ว โปธา ประธานกลุ่มฯ บ้านเลขที่ 147 หมู่ที่ 3 ตำบลแสนไห อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่  มือถือ. 080-1313650)

นางขันทอง ต๊ะนาง อายุ 49 ปี ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 94 หมู่ที่ 2 ตำบลแสนไห อำเภอเวียงแหง มีอาชีพทำสวน ปลูกกระเทียม

การเข้าร่วมเหตุการณ์ ไม่ได้เข้าอยู่วงเจรจาการพูดคุย การไปอยู่ในเหตุการณ์ เนื่องจากเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกกระเทียม แต่การไปครั้งนี้ไปทุกหลังคาเรือน (บ้านสามปู) เหตุผลที่ไปเพื่อขอประกันราคาและให้ราคากระเทียมมีราคาสูงขึ้น ส่วนในเวทีไม่รู้เหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง นอกจากการรับฟังจากผู้ดำเนินการมาบอกเล่าให้ฟังเป็นระยะ 

ที่มา: ศูนย์ประสานงานเครือข่ายทรัพยากรลุ่มน้ำแม่แตงตอนบน ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ