“เครือข่ายเพื่อนผู้บริโภคสื่อภาคเหนือ แถลงการณ์ ทักท้วง ร่าง พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ที่มีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนของบอร์ด”
เช้านี้ (27 ส.ค. 2559) ที่จังหวัดเชียงใหม่ เครือข่ายเพื่อนผู้บริโภคสื่อภาคเหนือ ยื่นข้อเสนอต่อตัวเเทน กสทช.เรื่องงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ฯ ว่าด้วย ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และการกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ฉบับใหม่ของ กสทช. ที่มีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนของบอร์ด จาก 11 คนเหลือ 7 คน ซึ่งไม่มีอะไรรับประกันว่า จะมีตัวแทนของผู้บริโภคเหมือนเช่นเดิม ดังนั้น เครือข่ายด้านผู้บริโภคสื่อ จึงร่วมกันออกแถลงการณ์ และยื่นข้อเสนอให้กับ คุณสุภิญญา กลางรณงค์ กสทช.และอนุกรรมการชุดปัจจุบัน
สาระสำคัญเป็นร่างที่คณะรัฐมนตรีเสนอ ซึ่งร่างฉบับนี้ออกมาเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดตั้งคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศษฐกิจและสังคม
*****************************
แถลงการณ์เครือข่ายประชาชน ภาคเหนือ พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ “ต้องสนับสนุนการทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอย่างแท้จริง” วันที่ 27 สิงหาคม 2559 ในนามเครือข่ายประชาชนภาคเหนือขอให้กำลังใจ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมและกิจการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ (กสทช.) ชุดปัจจุบัน และคณะอนุกรรมการชุดต่างๆที่เกี่ยวข้อง ที่มีความตั้งใจดีที่จะทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน ตามแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ ดังนั้นพลเมืองที่มีคุณภาพที่ดีและสังคมที่ดำรงด้วยคุณธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญของการพัฒนาประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาล ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ ซึ่งอาจไม่สร้างความสมดุลย์อีกทั้งยังคงบั่นทอนและกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความมุ่งมั่นและความตั้งใจในการทำงานของเครือข่าย และ กสทช. ที่จะทำงานด้านการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกคน ในนามเครือข่ายภาคประชาชนภาคเหนือ จึงขอเรียกร้องให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.กสทช.ชุดใหม่ ได้ปฎิบัติตามข้อเสนอและข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้ 1) ให้คงรูปแบบการมีอนุกรรมการในชุดต่าง ๆ เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนภาคประชาชน 2) ในสัดส่วนของ บอร์ด กสทช. 7 คนชุดใหม่ที่จะต้องมีการแต่งตั้งตาม พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่นั้น ต้องมีผู้เชียวชาญงานคุ้มครองผู้บริโภคที่มาจากตัวแทนภาคประชาชน 3) สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสภาผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม โดยมีองค์ประกอบที่กลุ่มองค์กรผู้บริโภคที่หลากหลาย เพื่อให้เป็นตัวแทนและเป็นปากเสียงสำคัญแทนผู้บริโภคในการทำงานคุ้มครองสิทธิร่วมกับกสทช.อย่างต่อเนื่อง 4) ให้ความสำคัญจัดและการมีส่วนร่วมด้านให้มีการทำแผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนให้ชัดเจน 5) ให้คงรูปแบบการมีอนุกรรมการในชุดต่าง ๆ เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนภาคประชาชน 6) ในสัดส่วนของ บอร์ด กสทช. 7 คนชุดใหม่ที่จะต้องมีการแต่งตั้งตาม พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่นั้น ต้องมีผู้เชียวชาญงานคุ้มครองผู้บริโภคที่มาจากตัวแทนภาคประชาชน 7) สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสภาผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม โดยมีองค์ประกอบที่กลุ่มองค์กรผู้บริโภคที่หลากหลาย เพื่อให้เป็นตัวแทนและเป็นปากเสียงสำคัญแทนผู้บริโภคในการทำงานคุ้มครองสิทธิร่วมกับกสทช.อย่างต่อเนื่อง 8) ให้ความสำคัญจัดและการมีส่วนร่วมด้านให้มีการทำแผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนให้ชัดเจน เครือข่ายประชาชนภาคเหนือ ประกอบด้วย ♣ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคเหนือ ♣ เครือข่ายเพื่อนสื่อสาธารณภาคเหนือ ♣ เครือข่ายคนทำงานด้านเด็กและเยาวชนภาคเหนือ ♣ เครือข่าย 17 ชาติพันธุ์ ♣ เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนภาคเหนือ ♣ เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคเหนือ ♣ เครือข่ายผู้พิการภาคเหนือ ♣ เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคเหนือ ♣ สถาบันปวงผญาพยาว ♣ สมาคมสื่อจังหวัดพะเยา |