อโนชา – ยังไม่สิ้นหวังที่จะตามหาเธอ

อโนชา – ยังไม่สิ้นหวังที่จะตามหาเธอ

อโนชา – ยังไม่ล้า ที่จะตามหาเธอ

ชื่อของ อโนชา ปันจ้อย กลับมาอยู่ในความเคลื่อนไหวของสื่อมวลชนไทยอีกครั้ง เมื่อญาติของเธอและกลุ่มช่วยเหลือผู้ที่ถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือเปิดแถลงข่าวว่า   5 ปีที่ผ่านไป ทั้งๆ ที่มีเบาะแสว่าเธอคือผู้หญิงไทยที่มีหลักฐานว่าถูกลักพาตัวไปเกาหลีเหนือ  แต่ไม่ได้มีความคืบหน้าในระดับทางการเพื่อติดตามหาเธอเลย
 
คุณโทโมฮารุ  เอบีฮาระ  นักวิชาการอิสระ  และ ประธานกลุ่มช่วยเหลือผู้ที่ถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือ (เชียงใหม่) ร่วมกับนายบรรจง  ปันจ้อย หลานชายของ น.ส.อโนชา  ปันจ้อย  ชาวอำเภอสันกำแพงที่ถูกลักพาตัวโดยรัฐบาลเกาหลีเหนือ ได้ส่งหนังสือไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อขอให้ติดตามหาอโนชาอีกครั้งกับรัฐบาลนี้
 
 
กลุ่มช่วยเหลือผู้ที่ถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือ(เชียงใหม่) ระบุว่าสังคมอาจทราบกันมานานแล้วว่า มีชาวญี่ปุ่นและชาวเกาหลีใต้จำนวนมากถูกลักพาตัวไปประเทศเกาหลีเหนือ  โดยการปฏิบัติการที่ผิดกฎระเบียบของรัฐบาลเกาหลีเหนือ  ตั้งแต่อย่างน้อยในปี 1950
เมื่อก่อน  เรายังเชื่อว่าผู้ที่ถูกลักพาตัวคือประชาชนในสองประเทศนี้เท่านั้น  แต่จากคำยืนยันของนาย Charles Robert Jenkins [อดีตทหารอเมริกันในสงครามเกาหลีและอยู่ในเกาหลีเหนือระหว่างปี2508 ถึงปี2547  ได้แต่งงานกับ นางฮิโทะมิ โซกะ ชาวญี่ปุ่นที่ถูกลักพาตัวมาจากญี่ปุ่นเมื่อปี2521] ได้ระบุว่า มีชาวต่างชาติหลายคนถูกลักพาตัวมาจากหลายประเทศ

นาย Charles Robert Jenkins เป็นชาวอเมริกัน  เกิดที่รัฐ North Carolina ปี2483 
และไปอยู่ที่เกาหลีใต้  ได้ร่วมรบในสงครามเกาหลีในตำแหน่งสิบโทของทหารบกอเมริกัน  แต่เมื่อวันที่ 4 มกราคม 1965 นาย Charles Robert Jenkins ได้หนีทหารออกจากกองทัพ และข้ามชายแดนเข้าไปเกาหลีเหนือ เพราะกลัวว่าตนเองจะถูกส่งไปรบต่อในสงครามเวียดนาม  และคิดว่าถ้าหนีไปที่เกาหลีเหนือแล้วอาจได้ถูกส่งไปที่สหภาพโซเวียต และจะได้รับการส่งตัวกลับสหรัฐอเมริกา
แต่ปรากฏว่า หลังจากหนีเข้าไปในเกาหลีเหนือแล้ว ก็ไม่ได้ออกไปไหน
จนกระทั่งปี 2004  ซึ่งปีที่ได้ไปญี่ปุ่นพร้อมกับลูกสาวสองคน
ที่เกาหลีเหนือ นาย Charles Robert Jenkinsอาศัยอยู่กับทหารหนีทัพชาว
อเมริกันอีก  3 คน ซึ่งต่างคนต่างก็หนีมา  และมีชีวิตอยู่อย่างยากลำบากโดยเฝ้าดูทุกสิ่งทุกอย่างจากรัฐบาลเกาหลีเหนือ
เนื่องจากรัฐบาลเกาหลีเหนือยอมรับการลักพาตัวชาวญี่ปุ่น จำนวน 12 คน
โดยรวมนางฮิโทะมิ โซกะ ภรรยาของนาย Charles Robert  ในการประชุมสุดยอดระหว่างนาย Junichiro Koizumi นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น กับนาย Kim Jong Il ผู้มีอำนาจสูงสุดของเกาหลีเหนือ  นางฮิโทะมิ โซกะได้กลับไปที่ญี่ปุ่นอย่างเป็นการถาวรเมื่อปี 2002  ต่อมาเมื่อปี 2004 นาย Charles Robert Jenkins และลูกสาวอีก 2 คนที่เกิดในเกาหลีเหนือ  ก็ได้ย้ายตามอยู่ไปที่ญี่ปุ่น ปัจจุบันนี้ ทั้งหมดได้อาศัยอยู่ที่บ้านเกิดของนางฮิโทะมิ โซกะ  ณ  เกาะซาโดะ  จ.นีงาตะ

นาย Charles Robert Jenkins ได้ถ่ายทอดชีวิตกว่า 40 ปีของตนในเกาหลีเหนือ
อย่างละเอียด  โดยเขียนหนังสือ To Tell the Truth  หรือ   คำสารภาพ เมื่อปี 2005 ที่ญี่ปุ่น
เนื้อหาในหนังสือ To Tell the Truth  นาย Charles Robert Jenkins ได้เขียนเล่า
เรื่องราวว่า  ทหารอเมริกัน 4 คนนั้น ได้แต่งงานกับผู้หญิงชาวต่างชาติที่ถูกลักพาตัวโดยรัฐบาลเกาหลีเหนือ โดยรวมถึงชาวไทยที่ชื่อ  อโนชา  แต่ไม่ทราบนามสกุลอย่างถูกต้อง

เมื่อหนังสือเล่มนี้ฉบับภาษาญี่ปุ่นได้เผยแพร่  ทั้งรัฐบาล  NGO และผู้สื่อข่าว
ต่างก็เริ่มติดตามข้อมูลของชาวต่างชาติที่ถูกลักพาตัวที่ปรากฏในหนังสือ  สำหรับภรรยา 4 คนดังกล่าว นอกจาก Hitomi Soga ซึ่งเป็นภรรยาของ นาย Jenkins และได้กลับมาที่ญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว  นาย Jenkins ทราบเพียงแต่ชื่อ แต่ไม่ทราบนามสกุลที่ถูกต้อง แต่เราก็สามารถระบุบุคคลทั้ง 3 คนได้อย่างชัดเจน ถูกต้องโดยมีคำยืนยันจากครอบครัวและข้อมูลต่างๆ  ดังต่อไป



การเจรจาและท่าทีของรัฐบาลไทยและเกาหลีเหนือ

   จำนวนประเทศที่มีผู้ที่ถูกลักพาตัว  สมาคมช่วยเหลือชาวญี่ปุ่นที่ถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือ (National Association for the Rescue North Korean abductees) NGO ญี่ปุ่น และ NGO ขนาดใหญ่ที่สุดในด้านการลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือ ประกาศข้อมูลว่า ปัจจุบันนี้ มีชาวต่างชาติที่ถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนืออย่างน้อยจาก 12 ประเทศ(รายละเอียดโปรดดูหน้าสุดท้าย) ในจำนวนนั้น ประเทศที่มีการเจรจาเพื่อขอคืนผู้ที่ถูกลักพาตัวจากรัฐบาลเกาหลีเหนืออย่างเป็นทางการ  มีเพียง 3 ประเทศ คือ  ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้  และไทย  ดังนั้น ความพยายามของประเทศไทยค่อนข้างมีความสำคัญมาก เพราะมีอิทธิพลต่อความช่วยเหลือของคนชาติอื่นด้วย
   ตั้งแต่สามารถระบุตัวคุณอโนชา ปันจ้อย ได้เมื่อเดือนพฤษภาคม 2005 แล้ว  รัฐบาลไทยเริ่มติดต่อเจรจาเรื่องนี้กับทางเกาหลีเหนือผ่านช่องทางการทูต โดยไม่เรียกคุณอโนชา ว่า   ผู้ที่ถูกลักพาตัว เรียกว่า  ผู้สูญหาย แทน  และรัฐบาลเกาหลีเหนือได้ตอบกลับมาอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม 2005 ว่า รัฐบาลเกาหลีเหนือติดตามข้อมูลของคุณอโนชาแล้ว  ไม่พบข้อมูลแต่อย่างใด พร้อมกันนี้ สำนักข่าวของรัฐบาลเกาหลีเหนือได้ตำหนิ นาย Charles Robert Jenkins อย่างเป็นทางการในข่าวของ Korean News Service ซึ่งหน่วยข่าวสารของรัฐบาลเกาหลีเหนือ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

วันที่ 2 ธันวาคม 2548  Korea News Service ของเกาหลีเหนือ   กล่าว ถึงคดีการลักพาตัวชาวไทยโดยเกาหลีเหนือ  ซึ่งนางฮิโทะมิ โซงะ  เป็นผู้ที่เคยถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือมาก่อน  และสิ่งที่ นายชาล์ส เจนกิ้นส์ สามีของฮิโทะมิเล่านั้น  คือ  การโกหก
   นี่เป็นครั้งแรกที่ทางเกาหลีเหนือออกมาพูดถึงคดีการลักพาตัวของชาวไทย   Korea News Service ระบุว่า  นายชาล์ส เจนกิ้นส์  เคยได้รับการดูแลอย่างดีเป็นพิเศษ  และอาศัยอยู่อย่างมีความสุข   แต่เมื่อไปอยู่ที่ญี่ปุ่น  กลับกล่าวหาว่าถูกทางการเกาหลีเหนือกดขี่ และมีชีวิตที่ยากลำบาก
    เรื่องที่ นายชาล์ส เจนกิ้นส์ กล่าวถึงคดีการลักพาตัวของชาวไทยนั้น    Korea News Service กล่าวว่า  เรานับว่าเป็นเรื่องไร้สาระที่ไม่มีความน่าเชื่อถือเลย
(คำแปลของข่าวหนังสือพิมพ์ Yomiuri ของญี่ปุ่นเมื่อ วันที่ 3 ธันวาคม 2548)

การเสนอการจัดตั้งคณะทำงานรวมระหว่างไทยกับเกาหลีเหนือ
   ในการประชุมระหว่าง ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ(ในขณะนั้น) กับรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของเกาหลีเหนือ ในที่ประชุม ARF (ASEAN Regional Forum) เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2549 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย            ดร.กันตธีร์  ได้เสนอต่อทางเกาหลีเหนือว่าให้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมไทย-เกาหลีเหนือ  เพื่อติดตามความคืบหน้าในเรื่องนี้ แต่จนถึงบัดนี้  ก็ยังไม่ได้รับคำตอบจากฝ่ายเกาหลีเหนือ

การฝากจดหมายของพี่ชายของอโนชาให้นายคิม จอง อิล
   ในการประชุมระหว่าง นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ(ในขณะนั้น)  กับรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของเกาหลีเหนือ  ในการประชุม ARF เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2550 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์  , นายนิตย์ พิบูลสงคราม ได้ฝากจดหมายของพี่ชายของอโนชาที่เขียนขอให้น้องสาวกลับบ้านเร็วๆ ให้นายคิม จอง อิล แต่จนถึงบัดนี้ ก็ยังไม่ได้รับคำตอบจากฝ่ายเกาหลีเหนืออีกเช่นกัน

ARF ปี 2551 ณ ประเทศสิงคโปร์
   ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2551  จะมีประชุม ARF ที่ประเทศสิงคโปร์  แต่สำหรับปีนี้ ไม่มีกำหนดการประชุมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยกับเกาหลีเหนือ
   เกรงว่า  การไม่มีการประชุมร่วมกันจะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดให้กับทางเกาหลีเหนือ  อาจทำให้เกาหลีเหนือเข้าใจได้ว่า ประเทศไทยยอมรับสภาพ ณ ปัจจุบันนี้แล้ว หรือ ละทิ้งเรื่องนี้ไปแล้ว

แนวทางต่อไปในอนาคต
     การเจรจาการแก้ปัญหาของอโนชา ระหว่างไทยกับเกาหลีเหนือ ดูเหมือนจะไม่มีความคืบหน้า  ท่าทีของเกาหลีเหนือยังเหมือนเดิม คือ ปฏิเสธความเป็นอยู่ของอโนชา ไม่ตอบอะไรกับข้อเสนอจากรัฐบาลไทยสักอย่าง  ทำให้ตั้งข้อสังเกตได้ว่า มาตรการการเจรจาธรรมดาโดยอาศัยหลักศีลธรรมที่รัฐบาลไทยเลือกใช้ ได้เข้าสู่ทางตันแล้ว และอาจไม่ได้ผล
   การเจรจากับทางเกาหลีเหนือเข้าสู่ระดับที่ทางประเทศไทยใช้มาตรการการแลกอะไรบางอย่างกับทางเกาหลีเหนือ โดยเฉพาะรูปแบบที่  ถ้าเกาหลีเหนือไม่ยอมการแก้ปัญหา เกาหลีเหนือจะเสียประโยชน์บางอย่างจากไทย
   สำหรับการค้าระหว่างประเทศของเกาหลีเหนือ ยอดเงินการค้ากับประเทศไทยเป็นลำดับที่ 3  ต่อจากจีน และเกาหลีใต้ ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีอิทธิพลต่อเกาหลีเหนือมากพอสมควร  และการรักษาสิทธิของประชาชนชาวไทยที่ถูกลักพาตัวไปโดยรัฐบาลเกาหลีเหนือนั้น ไม่ควรละทิ้งโดยรักษาสิทธิประโยชน์ในการค้าขายระหว่างไทยกับเกาหลีเหนือ

 
สายลับเกาหลีเหนือที่หนีออกไปยังต่างประเทศ เคยยืนยันว่า เกาหลีเหนือดำเนินการลักพาตัวชาวต่างชาติตั้งแต่ปี 2503 และยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นหลังจากปี 2517 เมื่อ นาย คิม จอง อิล ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดปัจจุบัน สั่งการให้มีการลักพาตัวมากขึ้น เพี่อส่งเสริมการผลิตสายลับที่ปลอมตัวเป็นชาวต่างชาติให้สมบูรณ์แบบ

จำแนกเป้าหมายของกรณีการลักพาตัวที่เกิดขึ้น
1.   เพื่อปิดปากคนที่เห็นการปฏิบัติการของสายลับเกาหลีเหนือ ในประเทศที่แอบเข้าไป
2.   เพื่อใช้เป็นครูสอนสำหรับการผลิตสายลับ
3.   เพื่อผลิตหนังสือเดินทางปลอม
4.   เพื่อให้สายลับปฏิบัติการโดยใช้สถานภาพของผู้ที่ถูกลักพาตัว
5.   เพื่อให้ได้บุคคลที่มีทักษะเฉพาะทางสำหรับเกาหลีเหนือ
6.   เพื่อให้เป็นคู่สมรสของชาวต่างชาติที่อยู่ในเกาหลีเหนือในลักษณะไม่ปกติ เช่น ทหารหนีทัพ

ผู้ที่ถูกลักพาตัวที่ได้กลับออกมาจากเกาหลีเหนือ
   
   ปัจจุบัน ผู้ที่ถูกลักพาตัวที่ได้กลับออกมาจากเกาหลีเหนือ เมื่อปี2002  คือชาวญี่ปุ่น จำนวน  5 คน และชาวเลบานอน จำนวน 3 คน  โดยมีการประท้วงจากรัฐบาลเลบานอน และ PFLP(กลุ่มของ Palestne) เมื่อปี2522 เท่านั้น
   ในการเจราจาการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีเหนือโดยระหว่างนาย Junichiro Koizumi นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น กับ นาย คิม จอง อิล ผู้นำเผด็จการของเกาหลีเหนือ ในเดือนกันยายน 2002  ณ กรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ  รัฐบาลญี่ปุ่นยื่นรายชื่อของชาวญี่ปุ่นที่ถูกลักพาตัวที่รัฐบาลญี่ปุ่นรับรอง จำนวน 16 คน นาย คิม จอง อิล ยอมรับการลักพาตัวจำนวนเพียง 12 คน โดยบอกว่า 4 คนยังมีชีวิต ส่วนอีก 8 คนเสียชีวิตแล้วโดยไม่ได้แสดงหลักฐานการเสียชีวิตอย่างชัดเจน  แต่กลับแสดงชื่อชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง ซึ่งไม่อยู่ในรายชื่อของรัฐบาลญี่ปุ่น  โดยยอมรับว่าลักพาตัวมาจากญี่ปุ่น คือ นางฮิโทะมิ โซกะ
   เนื่องจากชาวญี่ปุ่นที่รัฐบาลญี่ปุ่นรับรองว่าถูกลักพาตัวยังกลับมาไม่หมด รัฐบาลญี่ปุ่นยังคงต้องเจรจาต่อกับเกาหลีเหนือต่อไป

     ความเคลื่อนไหวครั้งนี้จะยังผลหรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าติดตามอีกครั้ง  หากยังไม่อ่อนล้ากับการตามหาความจริง

อโนชา06 08 51 (Embedding disabled, limit reached)
เรื่องของอโนชา ในงานของนักข่าวพลเมือง

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ