หมอโกมาตร กับปฏิบัติการสร้างทางเลือกศูนย์พักพิงในชุมชนคลองมหาสวัสดิ์

หมอโกมาตร กับปฏิบัติการสร้างทางเลือกศูนย์พักพิงในชุมชนคลองมหาสวัสดิ์

          หมอโกมาตร กับปฏิบัติการสร้างทางเลือกศูนย์พักพิงในชุมชน ณ ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์
                                ถ้าเราไม่อพยพ – จะอยู่กับน้ำอย่างไร ?

                     ทันทีที่ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ เขตทวีวัฒนา    ถูกประกาศแจ้งเตือนว่า  ให้อพยพออกจากบ้านเรือน เพราะมวลน้ำเหนือจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ของประเทศ ได้ไหลเข้ามาถึงอ.บางใหญ่   และบางกรวยมากขึ้นส่งผลให้น้ำในคลองมหาสวัสดิ์ และคลองทวีวัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าจะท่วมหลังเขื่อนภายใน 3 วัน นับจากบ่ายวันที่ 23 ตุลาคม 2554  สิ่งที่ชาวบ้านควรทำตามข้อเสนอของประกาศคือ ไปอยู่ที่ศูนย์พักพิงที่สำนักงานประกาศ

                    ท่ามกลางการประโคมข่าวให้ “อพยพ” และจินตนาการภาพเลวร้ายที่สุดในกรุงเทพมหนาครว่าได้เกิดน้ำท่วมเบ็ดเสร็จ  ทิศทางข้อเสนอให้ผู้คนในพื้นที่เสี่ยง “อพยพ”ออกไปจากกรุงเทพ  แต่การที่ผู้คนจำนวนหนึ่งเลือกที่จะไม่อพยพไปไกลล้วนแต่มีเหตุและปัจจัยแตกต่างกัน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ต้นทุนชีวิตที่แตกต่างกัน

         ….. ยังมีทางเลือก และวิธีการจัดการให้สามารถอยู่กับน้ำในสถานการณ์เช่นนี้ได้หรือไม่ ?

            http://tvthainetwork.com/2010/board/index.php?topic=1869.0  ลิงค์ข่าวแจ้งเตือนอพยพชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2554

   ในวันนั้น  คนในชุมชนส่วนมาก ยังไม่อพยพหรือจัดการใดใดกับสถานการณ์นี้ ขณะที่โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นศูนย์พักพิงของชุมชน ก็ไม่ได้เตรียมการอะไรมากนักนอกจากมีที่นอนบางส่วน   นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ นักมานุษยวิทยา และทีมสื่ออิสระอาสา รวมทั้งทีมงานจากสำนักเครือข่ายสื่อพลเมือง ThsiPBS จึงลงพื้นที่ชวนชุมชนค้นคิดเตรียมความพร้อม

                                     
 ชาวบ้านไม่ได้แตกตื่นกับเรื้องน้ำมากนัก พ่อหนุ่มคนนี้ยังนอนคุยโทรศัพท์กับเพื่อน แต่พอเราเรียกหาอาสาสมัคร แกก็รีบมาช่วยทันที (ภาพจากFBคุณหมอโกมาตร)

            นพ.โกมาตร  มองว่า วิธีคิด 2 กรณี คืออพยพออกไปไกล กับไม่ยอมออกจากที่อยู่เลย เป็นการคิดแบบสุดขั้ว ยังมีรายละเอียดให้ตระหนัก  หากเลือกที่จะอยู่กับน้ำ สิ่งสำคัญคือการรู้ที่จะอยู่ให้ได้  จึงตัดสินใจเข้าสำรวจชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ ภายใต้เวลา 3 วันที่มีอยู่ก่อนน้ำจะพ้นหลังเขื่อนมาตามประกาศ
   
           โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ จุดที่ให้ประชาชนอพยพอยู่ติดริมคลองไม่ต่างจากบ้านของชาวบ้าน หากเป็นอาคารสูงกว่าที่อื่น   แต่การจัดการเตรียมเพิ่อเป็นศูนย์พักพิงยังไม่มีอะไรรองรับ  “แผนที่เดินดิน” คือสิ่งที่คุณหมอโกมาตร ใช้ปฏิบัติการชวนคนในชุมชนคิด  ผ่านการหารือกับครู และผู้นำในชุมชน เพื่อช่วยกันค้นหาทรัพยากรในชุมชนสร้างศูนย์ฯให้เป็นที่อยู่รอดให้ได้

              
ผู้นำชุมชนรู้จักจุดเปราะบางต่างๆ ของชุมชนดี แต่สำหรับลุงตุ้ย แกทำงานเหนื่อยและหนักมานานแล้ว จนอ่อนล้า การมีทีมจากภายนอกเข้าไปช่วยในสถานการณ์นี้ ทำให้แกไม่โดดเดี่ยวและไม่ท้อครับ (ภาพจาก FB คุณหมอโกมาตร)

             “ข้อเสนอของผมในสถานการณ์นี้คือ หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยง   1.คนที่เสี่ยงควรออกมาเลยคือ เด็ก คนป่วย คนแก่ คนพิการ คนเหล่านี้ต้องการการดูแล ต้องการแพทย์ ที่พักพิงที่ปลอดภัยไม่ต้องย้ายซ้ำ ควรออกมาเลย 2. คนที่ออกเพราะมีทางเลือกหนีน้ำท่วม จะไปเที่ยวไปพักบ้านญาติ ไปเลย 3.สร้างศูนย์พักพิงในชุมชน ซึ่งคือสิ่งที่เรากำลังช่วยกันทำ  และ 4  จะต้องอยู่นานอยู่กับน้ำอย่างไรไม่ให้เป็นภาระของผู้อื่น   ทั้งหมดนี้จะช่วยกันให้เกิดทางเลือกที่หลากหลาย  ไม่เกิดความโกลาหล”นพ.โกมาตรกล่าวระหว่างหารือกันก่อนออกรายการฝ่าวิกฤตน้ำท่วมทาง ThaiPBS

               ปฏิบัติการทำแผนที่เดินดินค้นหาสิ่งต่างๆ ในชุมชนเพื่อช่วยกันจัดการกับศูนย์พักพิงฯ    วันแรกที่ไปถึง หมอโกมาตรจึงร่วมกับผู้นำชุมชน และครูชวนชาวบ้านจัดระบบน้ำและไฟกันก่อน  โดยเข้าตรวจสอบอาคารโรงเรียนว่า  สามารถตัดกระแสไฟชั้นล่างได้หรือไม่ หากน้ำเข้ามาถึงชั้นแรก  และจัดเตรียมไฟสำรอง  โดยค้นหาเครื่องปั่นไฟซึ่งโชคดีที่ชุมชนมีคนทำธุรกิจเครื่องเสียงกำลังหาที่ไว้เครื่องปั่นไฟ จึงช่วยกันนำมาไว้ที่โรงเรียนให้เป็นเครื่องปั่นไฟสำรอง และจัดเตรียมน้ำมันไว้   
         
               25 10 54 คลองมหาสวัสดิ์ 1 (Embedding disabled, limit reached)

               การชวนเตรียมพื้นที่วันแรกที่ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ ออกอากาศ ThaiPBS วันที่ 25 ตุลาคม 2554

               ศูนย์พักพิงชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์ (Embedding disabled, limit reached)

              คลิปบันทึกการชวนชุมชนเตรียมความพร้อมในวันแรก ถ่ายภาพและัตัดต่อโดย โกวิท โำพธิสาร สำนักเครือข่ายสื่อพลเมือง  ThaiPBS


ถังน้ำที่ไม่ได้ใช้ถูกทิ้งอยู่ท้ายโรงเรียนถูกถอดและมีอาสาสมัครมายกขึ้นไปไว้ที่ชั้น ๓ เพื่อเป็นระบบน้ำสำรอง (ภาพจากFBคุณหมอโกมาตร)


ยกขึ้นไปถึงชั้น ๓ เพราะที่ชั้น ๓ มีก๊อกน้ำสำหรับเด็กนักเรียนดื่มน้ำ ที่โรงเรียนในกทม. มีขัอดีคือมีระบบน้ำกรองให้ใช้ในโรงเรียน จึงสะดวกมาก โดยเฉพาะถ้าไม่มีการตัดน้ำประปา (ภาพจาก FB คุณหมอโกมาตร)

               
           วันที่สอง  น้ำเริ่มขึ้นสูง  ชาวบ้านทะยอยพาเด็กและคนชราเข้ามาพักในโรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์มากขึ้นอีก วันนี้คุณหมอได้ให้คำแนะนำคนในชุมชนหาวิธีที่จะเชื่อมต่อกับภายนอก     
     
          “ที่เราเข้ามาคือ มาดูระบบต่อจากเมื่อวานนี้ คือระบบภายในซึ่งมีการจัดการเรื่องน้ำสำรอง ไฟสำรอง และสุขาเคลื่อนที่จาก กทม. ก็ถือว่าระบบภายในสมบูรณ์พอสมควร ที่จะต้องทำคือ ระบบจัดการเชื่อมต่อจากภายนอก ซึ่งได้ทำท่าน้ำริมคลองมหาสวัสดิ์ ซึ่งคิดว่าต่อไปเมื่อน้ำท่วมแล้วเนี่ย การสัญจรทางรถคงใช้ไม่ได้อีกต่อไป  เราจะยังสามารถส่งอาหารสิ่งสนับสนุนเข้ามาทางคลองมหาสวัสดิ์ได้ไม่ยากนัก คือเป้าหมายสำคัญที่ทำให้ศูนย์นี้อยู่ได้ แม้น้ำจะท่วมก็ตาม “

                           

บ้านหลังนี้อยู่ติดพนังกั้นน้ำครับ เจ้าของบ้านเป็นชาวสวน อาศัยทำร่องน้ำรอบบ้านทำสวน พอน้ำทะลักก็เอาไม่อยู่ครับ แต่ข้า่วของก็ขนหนีน้ำไว้ก่อนแล้ว ในทีุ่สุดก็ออกมาอยู่ที่ศูนย์พักพิงที่โรงเรียนครับ  (ภาพจาก FB คุณหมอโกมาตร)
         
            ชาวชุมชนคลองมหาสวัสดิ์อยู่ริมน้ำ  เคยใช้เรือเป็นพาหนะและมีเรืออยู่ในชุมชน  และในสถานการณ์เช่นนี้พวกเขามองว่าการเดินทางและขนส่งทางเรือเป็นสิ่งที่จำเป็นในสถานการณ์นี้ จึงร่วมกันทำโป๊ะเรือไว้สำรอง ในกรณีระดับน้ำสูงขึ้นจนไม่สามารถใช้รถยนต์ได้
               “เป้าหมายของเราคือการจัดระบบรองรับการสนับสนุนจากภายนอก ซึ่งอาจมีคนพักอยู่ 400 – 600 คน ภายนอก ตอนนี้ที่เราเตรียมก็คือเตรียมรับการสนับสนุนจากภายนอก โดยการรื้อเอารั้วเหล็กออกบางส่วน ทำเป็นโป๊ะขึ้น ที่บริเวณเชื่อมกับคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อรองรับเรือที่มาส่งอาหารก็จะสามารถเทียบท่าตรงนี้ก็จะสามารถส่งขึ้นและส่งเขามาได้ต่อไปครับ”
              นอกจากการเตรียมความพร้อมเรื่องสถานที่และการเดินทางแล้ว    กติกาการอยู่ร่วมกันในศูนย์อพยพแห่งนี้ก็เป็นสิ่งจำเป็น ที่จะช่วยให้คนในชุมชนได้ดูแลซึ่งกันและกันอย่างทั่วถึง   ทั้งร่างกายและจิตใจโดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณะสุข มาให้บริการและให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพในช่วงน้ำท่วม   

                 26 10 54 ศูนย์อพยพคลองมหาสวัสดิ์ 2 (Embedding disabled, limit reached)

                การจัดการความพร้อมในวันที่สอง น้ำเริ่มเข้า แต่การจัดการยังเดินหน้า ออกอากาศ ThaiPBS วันที่ 26 ตุลาคม 2554
                 
                คุณหมอโกมาตร โพสต์ไว้ในเฟสบุ๊คของตนเองว่า   ในแต่ละพื้นที่หรือแต่ละเขตของ กทม. ต้องมีศูนย์พักพิงที่ไม่ไกลจากชุมชน และต้องเป็นอาคารหลายชั้นอยู่ได้แม้ว่าน้ำจะท่วมชั้นล่าง เพราะเป็นไปได้ยากที่จะจัดหาศูนย์พักพิงให้กับทุกคนนอกชุมชนที่น้ำท่วม และดูเหมือนจะไม่เหลือพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วมอยู่แล้ว

ระบบที่ต้องเตรียมให้พร้อมได้แก่
1. ระบบไฟ ต้องตรวจสอบว่าสามารถตัดกระแสไฟชั้นล่างได้ เพื่อความปลอดภัย และต้องจัดให้มีไฟฟ้าสำรองในกรณีที่การไฟฟ้าตัดไฟ เช่น มีเครื่องปั่นไฟสำรอง
2. ระบบน้ำ ต้องมีระบบน้ำสำรอง ที่สะอาดปลอดภัย ทั้งน้ำดื่ม น้ำใช้ (องค์การอนามัยโลกกำหนดให้มีน้ำสะอาด 5 ลิตรต่อคนต่อวัน แต่ในสถานการณ์วิกฤต อาจลดน้อยลงกว่านั้น)
3. ระบบอาหาร เมื่อน้ำท่วมรอบศูนย์พักพิง จะต้องมีระบบจัดหา ส่งอาหารโดยหน่วยกู้ภัย และต้องมีระบบสต็อกอาหารและวัตถุดิบ
4. ระบบสุขาภิบาล เช่น ห้องสุขา (สุขาลอยน้ำ เก้าอี้สุขา) ระบบการกำจัดขยะ (อาจต้องมีเรือขนขยะเข้าไปเก็บขยะเป็นระยะ)
5. ระบบการรักษาพยาบาล ต้องมีหน่วยดูแลผู้ป่วย แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลต่อเนื่องจากแพทย์ ควรออกมาอยู่ทีศูนย์พักพิงใหญ่ที่มีบุคลากรและเครื่องมือทางการแพทย์
6. ระบบความปลอดภัย เช่น การป้องกันอุบัติเหตุ คนร้าย หรือภัยซ้ำเติมอื่นๆ ควรถ่ายรูปผู้เข้าพักทั้งครอบครัว เพื่อให้รู้ว่าใครเป็นใคร และหากมีเด็กพลัดหลงหรือสูญหาย ก็จะมีรูปไว้สำหรับการติดตามต่อไปด้วย
7. ระบบการสื่อสารที่ดีภายในศูนย์และที่เชื่อมโยงกับภายนอก เพื่อขอการสนับสนุนและความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น
8. ระบบการจัดการ ได้แก่ การจัดการคน (อาสาสมัคร รปภ. ผู้ดูแลศูนย์) การจัดการของ (มีระบบสต็อกของบริจาค ยา อาหาร ที่นอน หมอน ฯลฯ)
จัดการพื้นที่ (นอกจากห้องพักของผู้มาพักพิง ที่ต้องแบ่งเป็นสัดส่วน คนแก่ ผู้ป่วย ให้อยู่ในบริเวณที่สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ใกล้ห้องน้ำ ใกล้ห้องพยาบาลแล้ว ยังต้องเตรียมพื้นที่คือ ครัวหนีน้ำ ห้องพยาบาล ห้องเก็บสต็อกของ ฝ่ายต้อนรับและลงทะเบีย และฝ่ายบริหาร) และการจัดระเบียบที่พักอาศัย (ต้องมีกฎระเบียบที่ชัดเจน และสื่อกับผู้เข้าพักให้ได้รู้ตั้งแต่ต้น)
              ทั้งหมดนี้เป็นการถอดบทเรียนจากปฏิบัติการที่ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ ที่ผม คุณฐิตินบและทีมงาน ThaiPBS ได้อาสาช่วยเตรียมความพร้อมร่วมกับชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ และศูนย์พักพิงที่โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์

       
ครอบครัวนี้มาจากชุมชนธรรมสพน์ แม่นอนไม่หลับเพราะเสียงน้ำดังน่ากลัว พากันมาพักที่ศูนย์ คุณครูถ่ายรูปไว้ทั้งครอบครัว เพื่อเป็นหลักฐานบุคคล ที่อาจเป็นประโยชน์หากเกิดพลัดหลงหรือมีคนมาลักพาเด็ก (มองโลกในแง่ป้องกันครับ) (ภาพจาก FB คุณหมอโกมาตร)

    “การอพยพออกไปที่ห่างไกลทั้งหมดอาจส่งผลเกิดปัญหาด้านการรองรับไม่เพียงพอ  แถมบางจุดยังไม่สามารถมั่นใจได้ว่าจะต้องย้ายซ้ำหรือไม่   อีกประการเราไม่ได้คุ้นกับคำว่า ศูนย์พักพิง คำนี้เพิ่งเกิดขึ้นมาในระยะ 1 เดือนนี้เอง นอกจากนั้นความรู้สึกคนที่ไม่อยากออกเพราะมันมีความผูกพันกับพื้นที่ ความห่วงใยทรัพย์สิน  สายสัมพันธ์กับชุมชน  แต่ถ้าไม่ออกจากจุดที่มีปัญหาเลย  เวลาจะช่วยเหลือก็เป็นเรื่องยาก  ค่าใช้จ่ายมาก  เกิดความเสี่ยงอื่น เช่นไฟฟ้าช็อต การพิจารณาว่าจะออกหรือไม่ออกจะต้อพิจารณาให้ชัด”
 
   27 ต.ค. น้ำเริ่มไหลเข้ามาในโรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์ ศูนย์พักพิงของชุมชนแล้ว   ภารกิจของคนที่นี่คือต้องอยู่กับน้ำให้ได้

3010 54 คลองมหาสวัสดิ์ 3 (Embedding disabled, limit reached)

27 10 54 คลองมหาสวัสดิ์ 4 (Embedding disabled, limit reached)    

 

ชุมชนริมน้ำแถวนี้มีพรานปลาอยู่มากครับ น้ำหลากอย่างนี้มีปลามากมายในคลองนี้ พรานปลาเหล่านี้เอาฉมวกมาต่อเข้ากับสายเบ็ดและรอกเบ็ด ยิงได้ปลาก็ปล่อยสายเอ็นและสาวปลาขึ้นมาครับ (ภาพจาก FB คุณหมอโกมาตร)


ลุงตุ้ย ผู้นำชุมชนคลองมหาสวัสดิ์์ กับลุงอู๊ด ผู้นำชุมชนธรรมสพน์ ลุงอู๊ดพาครอบครัวผู้สูงอายุมาส่งที่ศูนย์และบอกว่าที่ธรรมสพน์ การอพยพทำได้ยากมากเพราะทางเดินเป็นช่องแคบๆ รถและเรือเข้าไม่้ได้ บางบ้านต้องเดินเข้าไปถึง ๓๐๐ เมตร ยังไม่ีรู้จะวางแผนอพยพอย่างไรครับ เราบอกกับลุงอู๊ดไปว่า ศูนย์พักพิงตอนนี้ก็พร้อมพอสมควรแล้ว ถ้าชาวชุมชนยังไม่อยากออก เราคงต้องกำหนดเวลาการขนย้ายที่แน่นอน เช่น มีรถออกตอนสี่โมงเช้า เที่ยง บ่ายสอง บ่ายสี่โมง เพื่อให้ชาวบ้านที่ต้องการออกมา รู้ตารางเวลาที่ชัดเจน จะไ้ด้ไม่โกลาหลเกินจำเป็นครับ
ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้นำชุมชนทั้งสอง และคณะครูที่โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์ครับ  (ภาพจาก FB คุณหมอโกมาตร)

วันที่ 31 ตุลาคม เดินทางเข้าพื้นที่อีกครั้งเพื่อส่งการสนับสนุนให้แก่ศูนย์พักพิงชุมชนที่โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อที่จะให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ ระบบนำ้ โดยเฉพาะน้ำสะอาดสำหรับดื่ม ระบบไฟฟ้าสำรอง และระบบการขนส่งลำเลียงมีความสำคัญมาก การเดินทางไปคราวนี้ เข้าชุมชนไม่ได้แล้ว พี่น้องชาวคลองมหาสวัสดิ์นัดหมายเราที่พุทธมณฑลสาย 3 โดยอาสาสมัครชาวชุมชนเดินทางออกมาพบกับพวกเรา (ภาพจาก FB คุณหมอโกมาตร)

5410242330 ฝ่าวิกฤติ (Embedding disabled, limit reached)
"ทางเลือกใช้ชีวิตอยู่กับน้ำ" คุณหมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ นักมานุษยวิทยา และ ผศ.ทวิดา กมลเวชช (24 ต.ค. 54 :23.30 น.)

  เฟสบุ๊คคุณหมอโกมาตร  http://www.facebook.com/loxlix
 

หมายเหตุ – ดิฉันทำหน้าที่เพียงเก็บความส่วนหนึ่งจากการฟังการพูดคุยของคุณหมอโกมาตร ระหว่างการเตรียมออกรายการของ ThaiPBS / รวบรวมแนวคิดและชิ้นงานของทีมเครือข่ายสื่อภาคพลเมือง ที่ลงพื้นที่ร่วมกับคุณแจง ฐิตินบ โกมลนิมิ  สื่ออิสระ    และคุณหมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์   ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่     
รายละเอียดของปฏิบัติการครั้งนี้โดยละเอียดคงได้ถูกถ่ายทอดจากผู้อยู่ในพื้นที่ตามมาอีกครั้งค่ะ

บันทึกจากเฟสบุ๊คของคุณหมอโกมาตร

ศูนย์พักพิงที่ทางการประกาศปิดไปแล้ว หลายแห่งยังมีผู้ประสบภัยพักอาศัยอยู่ เพราะไม่ต้องการอพยพย้ายไปไกลจากบ้านมาก คนเหล่านี้ถูกเรียกว่า "คนตกค้าง" บ้าง ถูกอธิบายว่า "เป็นห่วงทรัพย์สิน" มากกว่าห่วงชีวิต และถูกมองว่าทำตัวเป็นภาระเมื่อขอให้หน่วยกู้ภัยเข้าไปช่วย

 แต่ความจริงก็คือ

 1. ทางการไม่มีทางเตรียมศูนย์พักพิงให้เพียงพอกับจำนวนผู้ประสบภัยทั้งหมดได้ หากทุกคนเชื่อคำแนะำนำว่า "ออกมาเถอะ" แล้วพากันอพยพออกมาทั้งหมด จะมีผู้ประสบภัยหลายหมื่นคน เกินศักยภาพการจัดการและการดูแลของรัฐ

2. ศูนย์พักพิงเกือบทั้งหมดของรัฐปัจจุบันถูกน้ำท่วม ทำให้ต้องอพยพผู้ประสบภัยซ้ำๆ บางคนอพยพมากว่า 5 ครั้ง เพราะวิธีคิดที่ว่า "น้ำท่วมแล้วอยู่ไม่ได้"

3. คนจนนั้น เป็นธรรมดาย่อมห่วงทรัพย์สินมากกว่าคนที่มีเงินทอง คนจนบางคน ทั้งชีวิตมีทรัพย์สมบัติอยู่แค่ที่มีในบ้านเล็กๆ ถ้าน้ำท่วมหรือมีโจรเข้ามายกเค้า ชีวิตก็คงล่มสลาย คนจนจึงต้องเป็นห่วงทรัพย์สินเป็นธรรมดา พวกคนรวยก็ใช่ว่าไม่ห่วงทรัพย์สิน คนรวยพออพยพออกมา หากไปเช่าคอนโด หรืออพาร์ทเม้นต์อยู่ก็มักเลือกที่อยู่ใกล้บ้านที่ถูกน้ำท่วม บางคนถึงกับเช่าเรือกลับเข้าไปดูบ้านของตนเองที่ถูกน้ำท่วมเกือบทุกวัน ศูนย์พักพิงชุมชนขนาดเล็กที่อยู่ใกล้บ้านเป็นทางเลือกสำคัญในสถานการณ์ปัจจุบันครับ รัฐต้องสนับสนุนให้ผู้ประสบภัยอยู่ได้ อยู่ใกล้บ้าน เพราะปัญหายังยือเยื้ออย่างน้อยอีกเป็นเดือนครับ
 
 
 และ

น้ำท่วมกับทุกข์คนไทย

ความทุกข์จากน้ำท่วมนั้นนอกเหนือจากเรื่องที่พักอาศัย อาหาร สุขาภิบาลและเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแล้ว ปัญหาหลักอีกประการหนึ่งคือเรื่องการสัญจร
ทุกข์จากความยากลำบากของการสัญจรไปมานี้ ดูเหมือนรัฐจะไม่สนใจแก้ไขปัญหาเท่าที่ควร ผมมีข้อสังเกตต่อไปนี้ครับ

1. คนที่ไม่อพยพออกจากบ้านนั้น เขาสามารถอยู่ได้ตามบ้านของเขา แต่ทุกข์ของเขาก็คือการที่ต้องเดินทางเข้าๆ ออกๆ เพื่อไปทำงาน ไปซื้อหาอาหาร ไปซื้อบัตรเติมเงิน ไปเยี่ยมลูกหลาน ไปหาหมอ ไปรับถุงยังชีพ ฯลฯ

2. การเดินทางเข้าออกทุกวันนี้ ต้องพึ่งรถทหาร หรือโบกรถสูงๆ ซึ่งก็แล้วแต่ความกรุณาของคนขับ ถ้ารัฐรีบจัดระบบการขนส่ง เช่น จัดเรือขนส่งที่มีตารางการแล่นรับคนที่แน่นอนระดับหนึ่ง มีการส่งต่อจากเรือมาสู่รถที่ทุกคนเดินทางเองได้ ก็จะลดความทุกข์ของประชาชนอย่างยิ่ง

3. แทนที่จะเน้นคนเดินทางเข้าออกเพื่อมาซื้อหาอาหารและของใช้จำเป็น ควรส่งเสริมการนำของใช้จำเป็นเข้าไปจำหน่ายในชุมชน เช่น ที่ตลาดบางใหญ่และบางบัวทองที่ปัจจุบันมีเรือและแพออกเร่ขายผักปลาอาหารตามบ้านคน ก็ทำให้ลดปัญหาการสัญจรไปได้มาก รถทหารอาจเอาอาหารและของใช้จำเป็นไปขายในชุมชนด้วย

4. ในเขตเมืองหรือชุมชนใหญ่ อาจต้องทำสะพาน ทางเดินกระดานพาดที่ทำให้ผู้คนสัญจรได้เป็นปกติ เหมือนที่ตลาดเสนา อยุธยา ที่แม้น้ำจะท่วมสูงเป็นเมตร ผู้คนก็อยู่ได้เพราะการสัญจรไม่เป็นปัญหา

5. ต้องจัดการกับพวกเรือรับจ้างที่ขูดรีดประชาชน กำหนดอัตราค่าโดยสารให้เหมาะสมและมีกำหนดเวลาให้บริการที่ชัดเจน

แค่นี้ก็ลดความทุกข์ของผู้คนได้มากมายครับ เพราะเราอยู่กับน้ำได้ แต่ถ้าเราสัญจรไปไหนมาไหนไม่ได้ เราก็อยู่ไม่ได้ครับ

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์

01 11 54 คลองมหาสวัสดิ์ 5 (Embedding disabled, limit reached)

หลังจากช่วยกันจัดระบบในการอยู่ในชุมชนแล้ว วันนี้พวกเขาเดินเท้าออกมาจากชุมชนกว่า 3 กิโลเมตร
เพื่อเอาเครื่องปั๊มน้ำ เครื่องกรองน้ำ และสิ่งของจำเป็นกลับเข้าไปในชุมชน..ด้วยรอยยิ้มและกำลังใจที่พร้อมสู้เต็มที่
ออกอากาศ ThaiPBS วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ