สมัชชาคนจนเขื่อนหัวนาและสมาคมคนทาม ยื่นหนังสือพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เร่งแก้ปัญหาเขื่อนหัวนาและทบทวนขุดลอกแม่น้ำมูล

สมัชชาคนจนเขื่อนหัวนาและสมาคมคนทาม ยื่นหนังสือพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เร่งแก้ปัญหาเขื่อนหัวนาและทบทวนขุดลอกแม่น้ำมูล

20172402113434.jpg

ตัวแทนสมัชชาคนจนเขื่อนหัวนาและ สมาคมคนทาม  ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในโอกาสเดินทางตรวจราชการจังหวัดศรีสะเกษ  โดยขอให้เร่งรัดดำเนินการกรณีการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากฝายหัวนา และทบทวนการขุดลอกแม่น้ำมูลและริมตลิ่งแม่น้ำมูลเขตพื้นที่เชื่อมต่อจังหวัดศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด และสุรินทร์

วันนี้ (24 ก.พ.60)  เวลาประมาณ 10.00 น.ตัวแทนสมัชชาคนจนเขื่อนหัวนาและ สมาคมคนทาม เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่เดินทางพร้อมคณะเพื่อตรวจราชการและติดตามขับเคลื่อนนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล ณ โรงเรียนราษีไศล  ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ  โดยมีนายสมภาษ นิลพันธ์  รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นตัวแทนรับหนังสือ

ซึ่งตัวแทนสมัชชาคนจนเขื่อนหัวนา เรียกร้องให้เร่งรัดการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา ที่ยาวนานมากว่า 20 ปี ให้มีผลทางการปฏิบัติจริงและเกิดความต่อเนื่อง หลังจากช่วงกลางเดือนมกราคม  2560  สมัชชาคนจนเขื่อนหัวนาได้ส่งตัวตัวแทนติดตามความคืบหน้ากับรองอธิบดีกรมชลประทาน นายณรงค์ ลีลานนท์ กรรมการและเลขานุการการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา และทราบว่าทางกรมชลประทานได้มีหนังสือด่วนที่สุด เลขที่ กษ.0307/10422 วันที่ 22 พ.ย.2559 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ศรีสะเกษ ในฐานนะประธานคณะอนุกรรมการการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาจังหวัดศรีสะเกษ ให้นำส่งผลการดำเนินการของคณะอนุกรรมการจังหวัดศรีสะเกษ แต่ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ  ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเตรียมข้อมูลเอกสารประกอบการประชุมได้ครบเสร็จสมบูรณ์แล้ว รวมทั้งฝ่ายวิชาการทั้ง 2 ฝ่าย ได้ประชุมได้หารือกันทั้งสองฝ่ายมีความเห็นที่ตรงกันแล้ว รอเพียงการประชุมคณะการกรรมแก้ไขปัญหา (ชุดใหญ่)

และในส่วนของสมาคมคนทาม  ซึ่งก่อตั้งขึ้นจากองค์กรภาคประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริม สนับสนุนสมาชิกในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศแม่น้ำมูล ได้เรียกร้องให้ทบทวนการดำเนินโครงการของหน่วยงานรัฐในการขุดลอกแม่น้ำมูลและริมตลิ่งแม่น้ำมูลเขตพื้นที่เชื่อมต่อจังหวัดศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด และสุรินทร์ ซึ่งดำเนินการตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 ที่ผ่านมา  3 ข้อ คือ

1.ขอให้มีการทบทวนความคุ้มค่ากรณีโครงการขุดลอกแม่น้ำมูลและริมตลิ่งแม่น้ำมูลในเขตพื้นที่เชื่อมต่อลุ่มน้ำมูลตอนกลางจังหวัดศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด และสุรินทร์

2.ให้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมย้อนหลัง เพื่อฟื้นฟูผลกระทบที่เกิดขึ้น อย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ

3.โครงการอื่นๆ ที่กำลังจะมีการดำเนินการด้วยงบประมาณรัฐบาลของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ทั้งหน่วยงานกรมเจ้าท่า กรมชลประทาน กรมกรมโยธาธิการและผังเมือง ขอให้มีกระบวนการวางแผนการจัดการน้ำโดยประชาชนมีส่วนร่วม โดยยึดเอาวิถีชีวิตที่ดำรงอยู่ของชุมชนท้องถิ่นที่ได้พึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ ป่าทาม แม่น้ำมูล ระบบนิเวศบุ่งทามที่ละเอียดอ่อนและมีคุณประโยชน์ทางนิเวศวิทยาและประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ให้อุดมสมบูรณ์ไปจนถึงลูกหลาน

20172402114134.jpg

20172402114143.jpg

20172402113534.jpg

20172402113550.jpg

20172402113600.jpg

 

20172402113727.jpg

20172402113736.jpg

20172402113742.jpg

ภาพ/ข่าว : นักข่าวพลเมืองกลุ่มสื่อเสียงคนอีสาน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ