วงแลกเปลี่ยน “สื่อสาธารณะจะขับเคลื่อนสังคมไทย เพื่อสร้างจิตสำนึกสังคมได้อย่างไร”

วงแลกเปลี่ยน “สื่อสาธารณะจะขับเคลื่อนสังคมไทย เพื่อสร้างจิตสำนึกสังคมได้อย่างไร”

ชี้กระบวนการสร้าง “ทีวีภูมิภาค”ของ ThaiPBS   สร้างความมั่นใจในสิทธิของประชาชนในการสื่อสารมากขึ้น    ส่งผลทั้งประชาสังคมและคนทีวีไทยเรียนรู้สร้างจิตสาธารณะให้สังคม  ดันพัฒนากลไกให้เกิดวงกว้าง พร้อมเสนอสร้างวัฒนธรรมการสื่อสารใหม่ผ่านบทบาทการเป็นนักสื่อสาร คือมีความกล้าหาญ ไม่เลี่ยงความขัดแย้งจนเกิดความกลัว 

วันนี้  11 มกราคม 2553 ที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์  กรุงเทพมหานคร  กรรมการนโยบาย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย  จัดเวทีเปิดรับฟังความคิดเห็นภาคีสื่อสาธารณะ  เรื่อง “สื่อสาธารณะจะขับเคลื่อนสังคมไทยเพื่อสร้างจิตสำนึกสังคมได้อย่างไร”  โดยมีคณะกรรมการนโยบาย  คณะกรรมการบริหาร  ผู้อำนวยการสำนักต่างๆ ของสสท.  นักวิชาการด้านการสื่อสาร    ตัวแทนภาคประชาสังคม มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านสื่อสาธารณะ โดยมี นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ดำเนินรายการ

นพ. พลเดช ปิ่นประทีป  กรรมการนโยบาย กล่าวเปิดงานว่า  สสท.พยายามทำหน้าที่บุกเบิก  คิดค้นวิธีการเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายภาคประชาสังคมให้หลากหลาย แต่ขณะเดียวกันความเป็นสื่อสาธารณะ  จะรณรงค์แบบไหนที่จะไม่สุดโต่งเกิน  เวทีนี้จึงเป็นการเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อให้องค์กรส.ส.ท.ได้นำไปพัฒนาต่อไป

จากนั้นเป็นการนำเสนองานวิจัย TPBS :Toward Building a “civic mined” societyในการเกิดขึ้นของ “ทีวีจอเหนือ”  โดย ดร.ปาลพล  รอดลอยทุกข์  นักวิชาการอิสระ ที่ได้ศึกษากรณีการก่อกำเนิดเกิดขึ้นของ “ทีวีจอเหนือ”  โทรทัศน์ภูมิภาคของ ส.ส.ท.
โดยกล่าวว่างานวิจัยนี้ได้ค้นพบปรากฏการณ์สำคัญคือการมีส่วนร่วมของประชาชนจากหลังจอสู่หน้าจอ     โดยหน้าจอเป็นจุดที่เกิดหลังสุด   แต่การเกิดความร่วมมือทำงานหลังจอมีผู้คน มีความคิด มีสิ่งที่ร่วมกันสร้างมากมาย 

“ผมเริ่มเข้าสังเกตุการณ์เริ่มจากการอบรมนักข่าวพลเมือง   การเข้าประชุมกองบรรณาธิการร่วมของภาคเหนือ  ทำให้เพิ่งเห็นว่าการทำงานจริงที่มีความหลากหลายมากๆเป็นอย่างไร พบเห็นสิ่งที่ราบรื่นและสดุด  แต่ได้เห็นการเปิดโอกาสของการแสดงความคิดเห็นคือ การมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับล่างจริงๆ  แม้กับการตั้งชื่อรายการ  หรือชื่อช่วงรายการ”

สิ่งที่ ดร.ปาลพลเสนอ คือ ควรสร้างคู่มือคุณสมบัติและตัวชี้วัดที่ชัดเจน เช่น คุณสมบัติของสมาชิกสภาผู้ชมผู้ฟัง โดยการวิจัยเห็นว่าที่มาของสมาชิกสภาผู้ชมผู้ฟังที่เป็นอยู่สะท้อนความหลากหลายมาก แต่ความหลากหลายนั้นทำให้ยากในการดำเนินงาน และแต่ละท่านมีหมวกหลายใบ สิ่งที่ควรทำคือสร้างแนวความคิดที่ทำให้เกิดการทำงานสื่อสาธารณะร่วมกัน  และควรมีแนวทางพัฒนาวิทยุและอินเตอร์เน็ตเพื่อเป็นฐานข้อมูลสู่ประชาอาเซียนได้ 

ศาสตราจารย์ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระ  กล่าวถึงสิ่งที่พบจากการวิจัยคือเห็นว่ากรณีของสภาผู้ชม ที่มีการระดมความคิดเห็นต่อยอดหลากหลาย  น่าจะสรุปบทเรียนว่านำไปสู่อะไร เพราะเท่าที่พบเห็นยังไม่มีความชัดเจน   มีการพูดคุยเสียมาก  แต่การเกิดขึ้นของนักข่าวพลเมืองและทีวีจอเหนือ ได้เห็นกิจกรรมว่ามีรูปธรรมและมีความสอดคล้องกับภารกิจของส.ส.ท. จริง ควรจะทำให้มากขึ้นและสร้างการมีส่วนร่วม

 ทั้งนี้ได้ตั้งคำถามถึงนิยามของความว่า “ประชาสังคม” ที่นิยามไว้แคบ  เช่นในงานวิจัยนิยามว่าประชาสังคมเป็นประชาชนรากหญ้า  ซึ่งตนเห็นว่าแม้จะจริง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด  ส.ส.ท.ควรสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนที่หลากหลายมากกว่านี้ ค้นหาประเด็นใหม่  และหาเทคนิควิธีการนำเสนอใหม่ๆ ด้วย
นักวิชาการท่านนี้ตั้งข้อสังเกตุถึงการสนับสนุนผู้ผลิตภายนอกว่าความเข้าใจของสังคมยังไม่ค่อยชัดเจน และยังเป็นคนเฉพาะกลุ่ม  ซึ่งเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องสื่อสารและสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน หาก ส.ส.ท.ต้องการจะขยายเครือข่ายเพิ่มเติมในการร่วมผลิตสื่อ

อาจารย์จอน อึ้งภากรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสังคม   กล่าวว่าประเด็นที่ชวนพูดคุยวันนี้คือ “สื่อสาธารณะจะขับเคลื่อนสังคมไทยเพื่อสร้างจิตสำนึกสังคมได้อย่างไร” นั้นแต่ตนเห็นว่าควรช่วยกันคิดว่า “ประชานสังคมจะช่วยกันสร้างจิตสำนึกสังคมให้สื่อสาธารณะด้วย” โดยเห็นว่าบทบาทของส.ส.ท.จะต้องกล้าหาญ ไม่โฆษณาชวนเชื่อ และเสนอในสิ่งที่สังคมต้องการปฏิรูปเร่งด่วน เช่นประเด็นการซื้อตำแหน่งในสังคมไทย การสังหารนอกระบบ  เป็นต้น

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ตนสนใจในงานวิจัย คือความหลากหลายของประชาสังคมและการลงมือปฏิบัติร่วมกันเช่นการเกิดขึ้นของ “ทีวีจอเหนือ” ที่เป็นภาคปฏิบัติของความพยายามที่จะทำให้ประชาสังได้มาร่วมผลิตในส.ส.ท. ซึ่งน่าสนใจมากและบทบาทของส.ส.ท.เป็นตัวเชื่อม   

ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ประธานสถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน  กล่าวว่า กรณีของสภาผู้ชมผู้ฟังตนเห็นว่ามีความสอดคล้องกับกฏหมาย  และแสดงให้เห็นถึงรูปธรรม   แต่มีบทบาทภายใต้วิธีคิดอย่างไร  หากบทบาทผิดเป้าหมาย ในส่วนของฝ่ายนโยบายและบริหารก็จะต้องดูแล   
ส่วนของทีวีจอเหนือ  เห็นว่าการวิจัยมองเป็นปรากฏการณ์  แต่ประเด็นคือการเกิดขึ้นของทีวีภูมิภาคเกิดจากนโยบาย  เพื่อสะท้อนว่าไม่ได้ละเลยความเป็นท้องถิ่น และอยากเห็นท้องถิ่นแท้ๆ ในยามที่ส.ส.ท.มีเพียง1 คลื่น  แต่เมื่อกสทช.แล้วเสร็จจะต้องมีการจัดสรรคลื่น   การทำทีวีจอเหนือในขณะนี้คือการสะสมความพร้อม และสร้างสำนึกพลเมืองในการรู้สิทธิและใช้สิทธินั้น 

รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์และสื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม สสส.กล่าวว่างานวิจัยที่นำเสนอนี้พยายามวิเคราะห์กลไก แต่ยังไม่เห็นกระบวนการ  ที่น่าสนใจคือกระบวนการพัฒนาหลังจอสู่หน้าจอที่เกิดขึ้นนั้น น่าสนใจว่าได้นำไปสู่ระดับนโยบายและบริหารของส.ส.ท.อย่างไร   ที่สำคัญคือนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหรือสร้างวาระของสังคมได้อย่างไรด้วย

ผศ.ดร.พิจิตรา  ศุภสวัสดิ์กุล  คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ได้เห็นพัฒนาการของทีวีไทย ว่าแม้ไม่ได้ตอบโจทย์คนหมู่มาก แต่ตอบโจทย์ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ว่าเมื่อผู้ดูและเข้ามามีส่วนร่วมแล้วสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ไม่

อาจารย์จอนห์ ให้ความสนใจกับการเกิดขึ้นของทีวีจอเหนือ และตั้งคำถามกับวงคุยว่า การเกิดขึ้นของทีวีจอเหนือจะสามารถเป็นตัวอย่างของทีวีทั้งประเทศได้หรือไม่    สามารถเป็นตัวอย่างของใช้การผลิตรายการทั้งประเทศได้หรือไม่  เสนอว่าจะสามารถนำตัวอย่างของทีวีจอเหนือมาสุปบทเรียนที่ตัวผลิตจริงๆคือภาคประชาสังคม ทำได้หรือไม่

ดร.ภัทรา  บุรารักษ์  นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยพะเยา  ซึ่งได้เข้าร่วมกับกระบวนการเกิดขึ้นของทีวีจอเหนือว่าได้เริ่มต้นคุยกันของเครือข่ายใน 17 จังหวัดภาคเหนือ พบว่าในช่วงเริ่มต้นมีคำถามมากมาย  วิธีการที่ใช้ดำเนินงานคือการพูดคุยกันบ่อยๆ  2 ปีผ่านไปพบว่ากระบวนการทำงานมีการเรียนรู้และหนุนช่วยกัน  โดยพบว่าได้เกิดนวัตกรรมการมีส่วนร่วม เช่นมีกองบรรณาธิการร่วม โดยคนจากทีวีไทย และเครือข่ายประชาสังคม  ที่ช่วยกันดูแลเนื้อหาของงานหน้าจอ   และมีคณะทำงาน (นำร่อง) ทำหน้าที่กำหนดนโยบายอีกชั้น  ที่จะคอยดูทิศทางในภาพกว้าง     ทั้งนี้เห็นว่าคือสามารถเป็นต้นแบบได้ เพราะนักวิชาการด้านการสื่อสารอยากจะเห็นกระบวการเปลี่ยนคนดูเป็นคนทำ ซึ่งพบเห็นในการทำงานนี้   

ทั้งนี้  2 ปีของการทำงานร่วมกันก็พบว่า ทั้งภาคประชาชนเองก็มีข้อจำกัดในการมาร่วมมือด้วยกัน  แต่ขณะเดียวกันทีวีสาธารณะก็มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถตอบสนองประเด็นระดับเล็กๆ ได้ด้วยความเป็นทีวีสาธารณะที่ต้องมองประเด็นสาธารณะนั่นเอง   อย่างไรก็ตามสิ่งที่พบคือภาคประชาชนเริ่มมองเห็นว่า ทีวีไทยไม่ได้เป็นพื้นที่เดียวที่สื่อสารได้ แต่เป็นพื้นที่เชื่อมโยงที่จะผลักประเด็นให้ขยับได้

สิ่งสำคัญที่พบจากการเกิดขึ้นของกระบวนการ “ทีวีจอเหนือ” คือ ได้เห็นความมั่นใจในการมีสิทธิพูดและสื่อสารของประชาชน   และนำไปใช้ในพื้นที่ของตนแอง เช่นที่พะเยา พยายามสร้างทีวีชุมชนของตนเอง และ  ทีวีไทยกลายเป็นเครื่องมือนำประเด็นเข้าไปสู่ระดับกว้าง
   
ส่วนในประเด็นการมีส่วนร่วมจิตสาธารณะนั้น  ดร.ภัทรากล่าวว่า เกิดคำถามจากผู้ที่มาร่วมปฏิบัติเห็นว่า ทีวีไทยพร้อมหรือไม่  เพราะเห็นว่าได้ติดขัดในโครงสร้างภายในขององค์กรหรือไม่  เช่น เมื่อภาคประชาชนหารือส่งเรื่องเข้ามาจากกระบวนการประชุมแล้ว  การขับเคลื่อนประเด็นต่อของศูนย์ภูมิภาคมีมากน้อยเพียงใด   คำถามคือโครงสร้างองค์กรทีวีไทยเอื้อต่อการสร้างจิตสำนึกหรือไม่  ได้บูรณาการงานด้วยกันอย่างไร  ได้ทำงานแลกเปลี่ยนกันหรือไม่ ทั้งนี้เห็นว่าโครงสร้างที่องค์กร ส.ส.ท.มีอยู่นั้นดี แต่จะบูรณาการทำงานอย่างไรบ้างเท่านั้น
 
  รศ.ดร.วิลาสินี มองว่าการมีส่วนร่วมของทีวีไทย ไม่ใช่ไปบอก แต่ควรไปสร้างเงื่อนไขในสังคมให้มีจิตสำนึกเช่นนั้น  เช่นสร้างให่เกิดกระบวนการตรวจสอบ  สร้างปัจจัยหรือเงื่อนไขอื่นๆ ในสังคมให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง
ประชาสังคมเปลี่ยนแปลงไปมากมาย  คนทีวีไทยที่ทำงานประชาสัวคมก็ต่องปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ ว่าเปขาเปลกี่ยนแปลง แตกกันขนาดนี้ เรื่องใหญ่มากที่จะเคลื่อนประชาสังคม บางที่มีการผลักกฏหมายที่จะแยกพื้นที่ตจัดการตนเอง ที่อาจเป็นเรื่องดี ทีวีสาธารระเตรียมรับที่จะเคลื่อนไปสู่การจัดการตนเองกแค่ไหน

นพ.โกมาศ  ผู้ดำเนินรายการสรุปประเด็นในการแลกเปลี่ยนว่างานวิจัยรายการทีวีจอเหนือที่เสนอมาเป็นการศึกษาปรากฏการณ์หนึ่งของทีวีไทย แต่ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญ  โดยเลือกบางปรากฏการณ์จึงยังไม่เห็นภาพกว้าง

ประเด็นประชาสังคมมาเปลี่ยนแปลงทีวีไทยให้มีจิตสาธารณะมากขึ้น หรือสื่อสาธารณะสร้างจิตสำนึกให้สังคมไทยนั้น ที่ประชุมมองเห็นว่า เป็นทั้งคู่ โดยกระบวนการนี้มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งกันและกัน   และเรียนรู้กันมากขึ้นหรือไม่

กรณีจะสร้างให้ทีวีไทยมีบทบาทเสริมประชาสังคมให้เข้มแข็ง ที่ประชุมพูดถึงการเข้าถึงที่หลากหลาย ว่ามีแนวโน้มจะแคบลง    มีการเสนอบทบาทการสร้างเวทีเช่นสภาผู้ชม ฯ รูปแบบของการจัดรายการ    การมีผู้ผลิตที่หลากหลาย   และคำถามถึงการทำงานของทีวีจอเหนือว่าจะเป็นตัวอย่างของทีวีประเทศได้หรือไม่ 

เป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ตั้งขึ้นนั้นเพื่ออะไร  ที่ประชุมมองว่าหากเรากำหนดเป้าหมายการทำงานจากหลังจอสู่หน้าจอนั้น เพื่อให้เกิดการ  เปิดพื้นที่ เปลี่ยนวาระสังคม  เป็นเกราะให้สสท. และการสร้างเจ้าภาพ (เปลี่ยนคนดูเป็นคนทำ) และการสะสมทุนทางสังคม

ที่ประชุมยังพูดถึงการสร้างวัฒนธรรมการสื่อสารใหม่ผ่านบทบาทการเป็นนักสื่อสารมืออาชีพของส.ส.ท. คือมีความกล้าหาญ ไม่เลี่ยงความขัดแย้งจนเกิดความกลัว ไม่โฆษณาชวนเชื่อ

ที่ประชุมยังพูดถึงบทบาทการเป็นตัวเชื่อม  โดยต้องพิจารณากระบวนการรับฟังที่หลากหลาย  มีการสื่อสารรูปแบบอื่น รวมถึงพิจารณาถึงข้อได้เปรียบ เสียเปรียบ เทียบกับช่องอื่น   และตั้งคำถามว่าทีวีไทยกำลังแข่งขันกับอะไรกันแน่    สุดท้ายคือการหาสมดุลย์ของบทบาทว่า  จะทำหน้าที่ให้เจ้าภาพจริงมาเล่นบทบาท กับการระบุประเด็นของเราที่จะเคลื่อนไหวและกำหนดวาระทางสังคม 2 เรื่องยังเป็นเรื่องต้องพิจารณาชั่งน้ำหนักหาสมดุลย์

อ.สมชัย สุวรรณบรรณ กรรมการนโยบายกล่าวในประเด็นบทบาทของสสท.ว่าจะเป็นเจ้าภาพเองหรือรอเปิดพื้นที่ โดยเห็นว่าสื่อสาธารณะจะต้องสร้างวาระทางสังคม  โดยต้องคิดล่วงหน้าให้สังคมมีวิธีการพัฒนาให้ดีขึ้น และอธิบายถึงกระบวนการทางสภาผู้ชมผู้ฟังฯ ที่ได้นำแนวคิดและข้อเสนอเพื่อนำไปสู่การแผนจัดทำรายการที่อยู่ตามข้อบังคับทางกฏหมาย   ส่วนสิ่งที่สะท้อนมาปรากฏในแผน  และเมื่อออกเป็น out put แล้วจะตอนสนองจริงหรือไม่ก็ต้องมีการfeed back เป็นวงจรต่อไปด้วย  นอกจากนั้นกรณีผู้ผลิตอิสระเขียน ได้มีการเขียนไว้อย่างชัดเจนว่าต้องหลากหลาย  และเอื้อให้กับคนเล็กคนน้อย 

คุณเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยการส.ส.ท.กล่าวว่า เวทีลักษณะนี้เหมือนเป็นเวทีกรรมการนโยบายภาคประชาชนเวทีหนึ่ง สัญญานที่พบคือทุกคนห่วงใยส.ส.ท. และอยากให้ทำให้ได้อย่างที่คาดหวัง ซึ่งคือคำตอบที่ชัดเจนว่า ส.ส.ท.ยังเป็นสิ่งที่ประชาชนเชื่อว่าเป็นทางเลือกที่ดีอยู่  โดยความเห็นที่ได้เสนอเคยได้รับฟังมาและวงนี้มีความชัดเจนขึ้น

 3 ปีที่เกิดขึ้น สสท.มีภารกิจเฉพาะหน้าที่อาจทำให้ภารกิจหลักยังไม่ต่อเนื่อง    ขอบคุณการทำงานของสำนักเครือข่ายสื่อพลเมือง และสำนักการมีส่วนร่วมที่สร้างกลไกที่สร้างขึ้นมา และปฏิกริยาจากเวทีย่อยๆ ที่ไปจัดขึ้นพบว่า มาถูกทาง ประชาชนรู้สึกว่าเป็นทีวีของเขา บางคนเรียกชื่อไม่ถูก แต่บอกว่าทีวีของเรา ที่มีบทบาทได้ สะท้อนวิถีชีวิต ปัญหาสิ่งที่เขาเผชิญอยู่ เป็นจุดแข็งที่สื่ออื่นไม่มี แต่จะทำให้มันระดับใหญ่ได้อย่างไร  เมื่อทีวีจอเหนือเป็นแม่แบบที่ขยายไปสู่การมีส่วนร่วมที่ใหญ่ขึ้นได้หรือไม่  จะทำให้ให้เห็นภาพชัดว่าไม่มีปัญหาไหนที่เล็กจนเรียกว่าเป็นปัญหาท้องถิ่น แต่ต้องทำให้เป็นปัญหาระดับชาติให้ได้ทุกปัญหา  บางเหตุผลที่รายการทำให้เป็นแบบท้องถิ่น เป็นปัญหาของชุมชน ทั้งที่มีปัญหาแบบเดียวกันทั่วทุกหย่อมหญ้า  ถ้าเราจะทำเป็นรูปธรรมหน้าจอ   ความแล้วก็คนดูคิดว่าเป็นปัญหาของสังคมที่ต้องมีส่วนร่วมด้วย  ถ้าเราทำให้สามารถดึงบริบทมาขยายการมีส่วนร่วม  เราจะไปได้ไกลมากขึ้น
 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ