“เวทีนำเสนอรูปแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชนและพิธีเปิดโครงการไฟฟ้าพลังน้ำบ้านห้วยบะบ้า”
หากมองย้อนยุคการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สมัยก่อน ชุมชน อาศัยจารีตประเพณี ตามแบบวิถีการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย บนฐานความพอเพียง ที่ผูกพันกับการพึ่งพิงทรัพยากรฯไม่เกิดการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน และยุคถัดมาที่รัฐเข้ามามีบาทสำคัญในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยอาศัยอำนาจ ตามประกาศบังคับใช้กฎหมายและพรบ.ต่างๆ มุ่งหวังให้เกิดผลในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ ด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ ไม่ว่านโยบายการพัฒนา แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ การเพิ่มจำนวนประชากร เป็นต้น ด้วยบทเรียนที่ผ่านสะท้อนถึงปัจจัยที่ให้เกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมและความเหลวในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ณ วันนี้ต้องยอมรับความเป็นจริงทรัพยากรป่าไม้ของประเทศเหลือประมาณ28% ต้องมีการทบทวนกันอย่างหนักเรื่องการยอมรับในกระบวนการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม ที่ยุคปัจจุบันที่ทุกฝ่ายต้องหันหน้าเข้าหากันในความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง เพราะทุกคนทุกฝ่ายเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยกันทั้งสิ้น และอีกอย่างสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่อย่างจำกัด นั่นหมายถึง การดูแลรักษา การป้องกัน และการใช้ประโยชน์ที่ต้องระมัดระวังมากที่สุดเพื่อไม่ให้เสียความสมดุล หากสูญเสียความสมดุลผลกระทบก็ตกอยู่ที่ชุมชนโดยตรง มาถึงปัจจุบันพื้นที่อำเภอกัลยาณิวัฒนาซึ่งเป็นอำเภอใหม่ ที่ชุมชนต้องมีการปรับตัวเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แผนการพัฒนาตามนโยบายของแต่ละกระทรวงกรมล้วนแต่มีเจตนาที่ดี ทั้งนี้หากการวางแผนและแนวทางปฏิบัติที่ชุมชนรับไม่ทันก็สามารถที่กลายเป็นดับ2 คมได้ด้วยเช่นเดียวกัน
“ขณะนี้ชุมชนก็พยายามต่อสู้หยัดยืนในความเป็นชุมชนของตนเอง โดยการพยายามพลิกฟื้นวิถีวัฒนธรรมของชุมชนทั้งในด้านการผลิต การจัดการความสัมพันธ์ของคนในชุมชนทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ทิศทางและกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงที่มาจากข้างนอกเองมิเคยหยุดนิ่ง ระบบทุนนิยมได้เน้นเศรษฐกิจแบบการค้าพานิชย์ กระตุ้นให้ชาวบ้านหารายได้เพิ่มขึ้นจากการใช้ทรัพยากรท้องถิ่น ทำให้ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตที่สลับซับซ้อนขึ้น เป็นการผลิตพืชเชิงเดี่ยวซ้อนทับการผลิตอาหารและสิ่งของจำเป็น ตามระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพที่หลากหลาย ส่งผลให้วิถีชีวิตของชุมชนปกาเกอะญอขัดสน มีทางเลือกในการดำรงชีวิตอย่างจำกัด ถูกผูกติดกับเงิน และสินค้ามากกว่าการช่วยเหลือพึ่งพากันเอง
มาวันนี้คนปกาเกอะญอมือเจะคี ต้องเผชิญหน้ากับคลื่นพายุลูกใหญ่ เป็นลูกใหม่ที่กำลังก่อรูปขึ้นมา และพัดมาอย่างฉับพลันจนตั้งตัวแทบไม่ทัน โดยที่คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะรวดเร็วในการดำเนินงานการพัฒนาต่างๆ ยกระดับขึ้นมาเป็นอำเภอ ใช้ชื่อว่า กัลยาณิวัฒนา ซึ่งทัศนะหนึ่งเป็นสิ่งที่ดี ที่จะทำให้พื้นที่ได้รับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ดีขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ การติดต่อสื่อสารกับทางราชการให้มีความสะดวกขึ้นกว่าเดิมที่ต้องเดินทางไปที่ตัวอำเภอแม่แจ่มต้องใช้เวลากว่าหนึ่งวัน เมื่อพื้นที่ยกระดับเป็นอำเภอ ซึ่งเป็นอำเภอที่ได้รับพระราชทานชื่อจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นำความปราบปลื้มมาสู่ประชาชนในพื้นที่ทั้ง 3 ตำบล เป็นที่ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง ” (สภาแอะมือเจะคี หน้า 4)
ด้วยเหตุนี้พี่น้องชนเผ่าปกาเกอะญอก็ตระหนักอยู่เสมอเรื่องความสำคัญและคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ จึงหล่อหลอมด้วยจิตวิญญาณให้กับลูกหลาน จากความเชื่อ/ศรัทธาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ชนเผ่ากะเหรี่ยงเกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องศาสนา แต่วัฒนธรรมก็ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เหมือนเดิม และหากกล่าวถึงการอนุรักษ์ทรัพยากร ชุมชนเกิดการรวมตัว โดยมีโครงการสร้างคณะกรรมการที่ชัดเจน/บทบาทหน้าที่ กฎระเบียบกลุ่ม แผนงานกิจกรรมฯ และกฎระเบียบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ มุ่งหวังเพื่อปกป้องทรัพยากรฯของตนเอง และได้มีโอกาสศึกษาดูงานเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มาปรับใช้กับพื้นที่ จนถึงปัจจุบันมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไว้อย่างเหนี่ยวแน่น โดยที่ชุมชนได้ทำกิจกรรมมากมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การปลูกป่าเสริมในพื้นที่ป่าต่างๆร่วมทั้งพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในวันสำคัญประจำปี, การทำแนวกันไฟพื้นที่อนุรักษ์ต่างๆ การปลูกพืชสมุนไพรท้องถิ่น การสำรวจเฝ้าระวังพื้นที่ป่าต่างๆเป็นต้น
จนถึงขณะนี้ ผลที่เกิดจากกิจกรรมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ(ป่าไม้)ในเขตพื้นที่ป่าชุมชนที่มีการกันขอบเขตเอาไว้ ไม่เพียงเท่านี้การจัดกิจกรรมทุกครั้งก็ได้รับความร่วมมือภาคประชาชน องค์กรหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่อยู่ในและนอกพื้นที่ การป้องกันและการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ ที่ต้องใช้กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ปัจจุบันการใช้ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และฉบับที่ 9 ที่เน้น “คน” เป็นศูนย์กลางการพัฒนา และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่ให้ความสำคัญต่อกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในด้านเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ในการบำรุงรัก และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อพิจารณาในทางปฏิบัติ ยังคงมีปัญหาและขาดปัจจัยสนับสนุนหลายประการ ที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมภายใต้จิตสำนึกทรัพยากรธรรมชาติเป็นทรัพย์สมบัติอันล้ำของทุกคน ที่ต้องหวงแห ดูแลรักษา ให้คงอยู่ต่อไป
สาระที่กล่าวมาข้างต้นก็เกิดรูปแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยองค์กรชุมชน ที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรที่ปรึกษา สะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนาการในการพัฒนาศักยภาพตนเอง ที่ทำให้ข้อเท็จจริงประจักรมากยิ่งขึ้น ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติออกมาเป็นแผนที่ระบบ GIS สำรวจรายแปลงด้วยเครื่อง GPS ฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดิน/ป่าไม้ ที่ชุมชนต้องการนำเสนอความจริง ถึงแม้อาจจะไม่มีการยอมรับในระดับวงกว้างของสังคม แต่ชุมชนเลือกและถือปฏิบัติมาแบบนี้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงเสนอเป็นแนวทางที่ต้องขอความเห็นที่เป็นข้อสรุปเบื้องต้นที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนทุกๆด้าน โดยที่ชุมชนไม่ตกอยู่ในความรู้สึกในสถานภาพที่เป็นจำเลยผิดข้อกฎหมายว่าด้วยระเบียบต่างๆในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ฉะนั้นในการดำเนินงานครั้งมุ่งหวังให้เกิดการยอมรับรูปแบบการจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้/ที่ดิน โดยกลไก กติกาของชุมชน จากภาคส่วนต่างๆที่จะมาพัฒนาในฐานะบทบาทพี่เลี้ยงที่ปรึกษาฝ่ายสนับสนุนชุมชน เปิดใจที่จะเรียนรู้ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในงานพัฒนาชุมชน
ในการนี้ชุมชนบ้านห้วยบบะบ้า หมู่ที่ 4 ตำบลแจ่มหลวง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนเครือข่ายลุ่มน้ำแม่ละอุป เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตทุรกันดาน การคมนาคมไม่สะดวก ไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทางชุมชนจึงได้ร่วมปรึกษาหารือกันในเวทีประชาคม เพื่อช่วยกันนำเสนอทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง โดยแนวทางที่ได้คือ การร่วมกันจัดทำโครงการระบบไฟฟ้าพลังงานน้ำชุมชน เพื่อเสนอของบประมาณในการก่อสร้างจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (UNDP) ซึ่งขณะนี้โครงการได้รับการตอบรับแล้ว และการดำเนินงานได้ประสบผลสำเร็จตามที่วางแผนเอาไว้ ชุมชนบ้านห้วยบะบ้าจะเป็นหนึ่งได้มีพลังงานทางเลือกใช้ยั่งยืนต่อไป จึงเชิญชวนร่วมกันให้กำลังแก่ชุมชนในการจัดงานครั้งนี้ด้วย
- เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน
- เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนหาข้อสรุปเบื้องต้นที่เป็นรูปธรรมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันทั้งชุมชนและองค์กรหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่อำเภอกัลยาณิวัฒนา
- เพื่อนำเสนอแบบอย่างพลังชุมชนกับพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืน
กลุ่มเป้าหมาย นำเสนอฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ตำบลแจ่มหลวง
1. หมู่ที่ 1 บ้านขุนแม่รวม,บ้านแอะเอาะ
2. หมู่ที่ 4 บ้านห้วยบะบ้า ,หมู่ที่ 3 บ้านแม่ละอุป
3. หมู่ที่ 2 บ้านกิ่วโป่ง,บ้านใหม่พัฒนา
ตำบลบ้านจันทร์
1.หมู่ที่ 1 บ้านห้วยฮ่อม
2.หมู่ที่ 2 บ้านสันม่วง
3.หมู่ที่ 3 บ้านจันทร์
ร่างกำหนดการ
วันที่ 28 มีนาคม 2554 ช่วงบ่ายแขกผู้มีเกียรติเดินทางเข้าพักในพื้นที่ บ้านห้วยบะบ้า(โฮมสเตส์)
วันที่ 29 มีนาคม 2554 พิธีกรดำเนินรายการ คุณประวิทย์ สุริยะมณทล ประธานสภาแอะมือเจะคี
08.00-09.30 น. ……….ลงทะเบียน
09.30-10.00 น. ……….เชิญชมนิทรรศการ
10.00-10.15 น. ……….กล่าวต้อนรับ/แนะนำแขกผู้มีเกียรติ/เชิญชมการแสดงวิถีชีวิตชนเผ่า
…………………………….นำทีมโดยอาจารย์พนา พัฒนาไพรวัลย์ และนายอำเภอ เป็นผู้กล่าวต้อนรับและผู้แทนจัดงาน
…………………………….ชี้แจงกำหนดการ/กล่าวรายงาน
10.15-10.30 น. ……….กล่าวเปิดงาน โดย พลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง ประธานคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
…………………………….เสวนาแลกเปลี่ยน เรื่อง ชุมชนกับการจัดการตนเองด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ผู้ร่วมเสวนา
- ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
- คุณอิส่า พนาเกรียงไกร ประธานเครือข่ายลุ่มน้ำแม่ละอุป
- คุณเลเหม่ ศิลป์มิตรภาพ ประธานเครือข่ายลุ่มน้ำต้นแม่แจ่ม อำเภอกัลยาณิวัฒนา
- คุณฉัทธนาตย์ เทียนขาว นายอำเภอกัลยาณิวัฒนา
- คุณชยพล เรือนคำ หน่วยป้องกันรักษาป่า ชม.ที่ 17 (วัดจันทร์)
- คุณพร้อมบุญ พาณิชย์ภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย
- พ่อหลวงจอนิ โอโดเชาว์ ผู้อาวุโส ปรัชญ์ภูมิปัญญาชนเผ่าปกา เกอะ ญอ
11.45-12.00 น. เชิญองค์กร/หน่วยงานลงนามแผนที่ โดย คุณสุดจา ลิขิตเบญจกุล นำเสนอถึงความสำคัญในการจัดการทรัพยากรฯโดยชุมชน ที่มีแผนที่เป็นเครื่องมือในการวางแผนจัดการ
12.00-12.30 น. ……….พิธีเปิดไฟฟ้าพลังน้ำ
- คุณพูนสิน ศรีสังคม ผู้ประสานงานกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก กล่าวถึงที่มาการสนับสนุนโครงการร่วมกันทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ
- ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
- พลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง ประธานคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
- นายฉัทธนาตย์ เทียนขาว นายอำเภอกัลยาณิวัฒนา
- ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถานบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและ การเกษตร(องค์การมหาชน)
- คุณพร้อมบุญ พาณิชย์ภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย
12.30 น. ……..รับประทานอาหาร/เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
หมายเหตุ : กำหนดการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
องค์กรร่วมจัด
1. เครือข่ายลุ่มน้ำแม่ละอุป
2. เครือข่ายลุ่มน้ำต้นแม่แจ่ม อำเภอกัลยาณิวัฒนา
3. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
4.กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกแผนสนับสนุนโครงการขนาดเล็ก (UNDP2GEF Small Grants Programme)
5.ศูนย์ปฏิบัติการจัดระเบียบที่ดินและพัฒนาพื้นที่พิเศษ อำเภอกัลยาณิวัฒนา
6.มูลนิธิรักษ์ไทย
7.สมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาและสิ่งแวดล้อม
8.สภาแอะมือเจะคี
ที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดงาน
พลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง ประธานคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
พ่อหลวงจอนิ โอโดเชาว์ ผู้อาวุโส ปรัชญ์ภูมิปัญญาชนเผ่าปกา เกอะ ญอ
นายฉัทธนาตย์ เทียนขาว นายอำเภอกัลยาณิวัฒนา
ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถานบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
(องค์การมหาชน)
อาจารย์วรเขต ภัทรกายะ ที่ปรึกษาสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
นายสมชัย เบญจชย สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
นายวิชัย กิจมี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นายระพีพล ทับทีมทอง ผู้แทนศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้
นายภุชงค์ อินสมพันธ์ ที่ปรึกษาโครงการภูฟ้า
นายภิชาติ วรรณนะประทีป ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นายมีสุจี สุริยะชัยพันธ์ กำนันตำบลแจ่มหลวง
นายธุรพล สิทธิ์คงตั้ง ผู้นำฮีโข่ บ้านใหม่พัฒนา
ภาคีร่วม
1. ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
2. ปกครองอำเภอกัลยาณิวัฒนา
3. หน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่แจ่มน้อย
4. หน่วยป้องกันรักษาป่า ชม.ที่ 17 (วัดจันทร์)
5. โรงเรียนบ้านห้วยยา
6. สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรกัลยาณิวัฒนา
7. หัวหน้าหน่วยป้องกันและรักษาป่าที่ ชม. ๓๔ (แม่ตะละ)
8. หัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์
9. หัวหน้าองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
10. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ทุกแห่ง
11. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ทุกแห่ง
12. ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านจันทร์
13. ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสามัคคีสันม่วง
14. ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยยา
15. ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแจ่มหลวง
16. ผู้อำนวยการโรงเรียนแม่แดดน้อย
17. ผู้อำนวยการโรงเรียนสหมิตรวิทยา
18. ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยปู
19. ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านขุนแม่รวม
20. ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่ตะละเหนือ
21. ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอกัลยาณิวัฒนา
22. หัวหน้าหน่วย ธ.ก.ส.สาขากัลยาณิวัฒนา
23. หัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่แจ่มน้อย
24. หัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่แจ่ม
25. หัวหน้าสถานีพัฒนาเกษตรพื้นที่สูงบ้านเสาแดง
26. หัวหน้าชุดประสานการคุ้มครองและพัฒนาชุมชน
27. กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ทุกหมู่บ้าน
28. สมาชิก อบต. ทุกหมู่บ้าน
29. โครงการ รุ่นที่ 11/1 กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก/แผนสนับสนุนโครงการขนาดเล็กของชุมชน (GEF SGP)
30. ทีวีไทย เวทีสาธารณะ
คณะดำเนินงาน
นายอิส่า พนาเกรียงไกร ประธานเครือข่ายลุ่มน้ำแม่ละอุป
นายอุดม ชื่นชูไพร ที่ปรึกษาเครือข่ายลุ่มน้ำแม่ละอุป
นายเลเหม่ ศิลป์มิตรภาพ ประธานเครือข่ายลุ่มแม่แจ่มอำเภอกัลยาณิวัฒนา
นายวิจิตร์ พนาเกรียงไกร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3
นายพาเกเชอ เกรียงไกรสโมสร ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่3
นายสุดจา ลิขิตเบญจกุล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4
นายโส่งา ลิขิตเบญจกุล ผู้นำฮีโข่บ้านห้วยบะบ้า
นายสรพงษ์ ลีลามีทรัพย์ แกนนำชุมชนบ้านห้วยบะบ้า
นายอุทิศ ปฐวีบรรพต แกนนำชุมชนบ้านห้วยบะบ้า
นายโมพอ คุณขุนคีรี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2
นายเกียรติศักดิ์ โชคพารุ่งเรือง จนท.มูลนิธิรักษ์ไทย
นายวรศักดิ์ พานทอง ปลัดอำเภอกัลยาณิวัฒนา (ฝ่ายความมั่นคง)
นายพร้อมพล สัมพนธโน นายกสมาคมปกา เกอะ ญอเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
นายสุทิน เลิศดำเนิน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1
นายเอกชัย จรูญพูนมงคล ประธานเครือข่ายลุ่มน้ำขุนแม่รวม
นายประวิทย์ สุริยะมณฑล ประธานสภาแอะมือเจะคี
นายบุญเพิ่ม ฤทัยกริ่ม เลขาสภาแอะมือเจะคี
นายชาตรี แดนพงพี TKBC ที่ 150
นายเฉลิมชัย พิริยะวรกุล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที 3
นายชัยรัตน์ ม่วงคีรีคำ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1
นางมูเลพอ เลิศนวัตกรรม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2
นายพนา พัฒนาไพรวัลย์ (ครูปัญญาฯ) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
นายสว่างชัย ศิลป์มิตรภาพ รองผู้บริหารโรงเรียนบ้านแจ่มหลวง