มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคยกพลเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศศึกษาดูงานรถตู้และรถโดยสารปรับอากาศ เพื่อนำแนวคิดไปปรับใช้และร่วมมือกับผู้ประกอบการในพื้นที่ ปรับปรุงรถโดยสารสาธารณะที่ปลอดภัย
27 เม.ย. 2558 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ภายใต้โครงการโครงการรถโดยสารปลอดภัย พาเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคศึกษาดูงานบริษัท SWP ออโต้เซอร์วิส ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบริษัทสยามเฟิสท์ทัวร์ จำกัด
นางสาวนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงศึกษาดูงานครั้งนี้ว่าเพื่อให้เครือข่ายผู้บริโภค เข้าใจระบบริหารจัดการที่ดีของบริการรถโดยสารสาธารณะ ทั้งคุณภาพบริการและมาตรฐานด้านความปลอดภัย และให้เครือข่ายได้นำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตัวเอง รวมทั้งเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายผู้บริโภค และผู้ประกอบการ
หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคกล่าวด้วยว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการต่อเนื่อง ภายใต้โครงการรถโดยสารปลอดภัย ที่มูลนิธิฯ ได้ทำอยู่เพื่อพัฒนาคุณภาพรถโดยสารและให้ผู้บริโภคได้ตระหนักถึงสิทธิของตัวเอง ซึ่งการพาเครือข่ายมาดูงานครั้งนี้หวังให้เครือข่ายได้เห็นต้นแบบของรถที่ปลอดภัย และนำกระบวนการและเทคนิคต่างๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยออกแบบร่วมกับผู้ประกอบการไปยุกต์ใช้เพื่อสร้างความร่วมกับหน่วยงานผู้ให้บริการในพื้นที่ของตัวเอง
ด้านนางสาวสรวีย์ พลตาล กรรมการผู้จัดการ บริษัท SWP ออโต้เซอร์วิส กล่าวถึงการให้บริการว่าบริษัทให้ให้บริการรถตู้ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิตทั้งหมด 3 เส้นทาง มีเส้น นั่นคือ 1.มธ.รังสิต – ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต 2. มธ. รังสิต – มธ.ท่าพระจันทร์ และ มธ. รังสิต- อนุสาวรีย์ชัยฯ โดย 3 เส้นทาง
“จากเหตุการณ์ของแพรวา ที่เกิดรถคว่ำบนโทลเวย์ ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้บริษัทรู้ว่ารถตู้ไม่มีระบบควบคุมความปลอดภัยเลยปรึกษากับทาง มธ.ว่าจะสามารถควบคุมระบบอย่างไรได้บ้างให้มีความปลอดภัยมากขึ้น เพราะนักศึกษาก็คือบุคลากรที่จะต้องเติบโตไปเป็นกำลังของชาติต่อไป ทาง มธ.จึงขอให้ทางบริษัทมีการเพิ่มเติมเรื่องระบบความปลอดภัย เช่น ให้ติดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง จัดทำระบบ GPS ที่ตรวจเชครถตู้โดยสารได้ตลอดเวลา จัดให้มีป้ายชื่อเส้นทางรถ เบอร์รถ และคนขับภายในรถ และ มีเสียงตามสายให้ข้อมูลเกี่ยวกับรถ ข้อปฏิบัติกับผู้โดยสารทั้งท่ารถและในนรถโดยสาร และมีสายด่วนให้ผู้โดยสารแจ้งเหตุร้องเรียนได้เช่น พนักงานขับรถเกิน 100 กม./ชม. ซึ่งตรงนี้จะมีสัญญาณเตือนเมื่อขับรถเร็วเกินกำหนด” กรรมการผู้จัดการกล่าว
ทางด้าน นายอทิวราห์ ชายวิชัย เจ้าหน้าที่บริการบริษัท สยามเฟิสท์ ทัวร์ เผยข้อมูลมาตรฐานความปลอดภัยในการให้บริการว่า บริษัทได้มีการติดตั้งระบบ GPS CCTV กล่องดำ เพื่อติดตามความปลอดภัยของผู้โดยสาร หากพบพนักงานขับรถเกินกำหนด คือ 80-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะมีระบบแจ้งเตือนไปยังรถคันนั้น และมีมารตรการลงโทษด้วยการหลักโบนัททั้งหมดภายในครั้งแรกที่ทำผิด นอกจากนี้ภายในรถยังมีเครื่องอำนวยความสะดวก เช่น เบาะนวดไฟฟ้า อุปกรณ์เอนเตอร์เทรน ฯลฯ
“บริษัทมีการติดตั้ง GPS เพื่อติดตามพฤติกรรมการขับขี่ของพนักงานขับรถ เช่น จอดรถไม่ดับเครื่อง วิ่งนอกเส้นทาง ความเร็วรถเกิน ถ้าเกิดจะมีการแจ้งเตือนไปยังพนักงานขับรถทุกครั้ง การออกตัวและเบรกรุนแรง ซึ่งหากทำผิดจะมีผลต่อโบนัททันที นอกจากนี้เจ้าที่ต้องทำรายงานส่งผู้บริหารในแต่ละเดือนอีกด้วย” นายอทิวราห์กล่าว
ขณะที่ นายทองหล่อ ขวัญทอง ผู้ประสานงานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดยโสธร กล่าวว่า ในการดูงานครั้งนี้ทำให้เห็นความต่างของการบริการของบริษัท แม้จะจ่ายเงินเท่ากันแต่คุณภาพและบริการที่ได้ต่างกันสิ้นเชิง รัฐควรจะเข้ามาดูแลเรื่องนี้ให้รถโดยสารในเมืองไทยมีมาตรฐานที่ดีขึ้น นอกจากนี้ผู้บริโภคเองก็ต้องสร้างความปลอดภัยให้กับตัวเองก่อน เช่น การคาดเข็มขาดนิรภัย เป็นต้น
“ต้องการให้รัฐเข้ามาดูแลให้เข้มงวด แม้สิมีกฎหมาย ประกาศข้อบังคับ แต่หากบ่บังคับใช้ก็บ่เป็นประโยชน์ แล้วผู้โดยสารเองก็ต้องพิทักษ์สิทธิตัวเองคืนกัน อย่างคาดเข็มขัดนิรภัย เป็นต้น” นายทองหล่อ กล่าว
ด้าน นางพวงทอง ว่องไว มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา กล่าวถึงสิ่งที่ได้จากการดูงานครั้งนี้ว่า ได้เห็นระบบการทำงานโดยรวมซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทำงาน ทำให้เข้าใจสถานการณ์ รวมถึงการแก้ไขปัญหาของบริษัท ซึ่งจะนำสิ่งที่ได้ไปเสนอกับหน่วยงานให้แก้ไขบริษัทที่ยังขาดมาตรฐานในการสร้างความปลอดภัยให้กับผู้โดยสาร จะอ้างว่ามีข้อจำกัดไม่ได้ เพราะมีบริษัทตัวอย่างที่ทำได้จริงแล้ว
“สิ่งที่น่าสนใจของสยามเฟิสท์คือมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุ เช่น มีการดูแลรถทุกวัน อีกอย่างคือการเอาใจใส่ของคนขับรถ มันอยู่ที่การเอาใจใส่ของบริษัท ป้องกันดีกว่าแก้ นี่คือหัวใจของคนทำงาน” นางพวงทองกล่าว