ผลสำรวจคนเชียงใหม่คิดอย่างไรกับเชียงใหม่มหานคร

ผลสำรวจคนเชียงใหม่คิดอย่างไรกับเชียงใหม่มหานคร

 

คนเชียงใหม่ ร้อยละ 59.78 เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานคร

ส่วน ร้อยละ 43.58 ยังไม่แน่ใจว่าร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานครจะเป็นไปได้

 

เชียงใหม่มหานคร เป็นแนวคิดที่มาจากความต้องการแก้ไขปัญหาระบบบริหารราชการส่วนกลางและ   ส่วนภูมิภาคที่มีการรวมศูนย์อำนาจการบริหารจัดการไว้ที่เดียว โดยมีรัฐบาลเป็นผู้บังคับบังชา ซึ่งการรวมศูนย์อำนาจบริหารจัดการ การตัดสินใจ การดำเนินการปฏิบัติการ กลายเป็นความซับซ้อนระบบใหญ่โต      ไร้ประสิทธิภาพ ไม่สอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชน ประชาชนขาดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง (ประชาไทย,10 กรกฎาคม 2556)       เพื่อการกระจายอำนาจการปกครองอย่างแท้จริง     ตามแนวคิดพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานคร ที่ต้องการยกฐานะจังหวัดเชียงใหม่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัด คืนอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นตัดสินใจ มีอิสระในการกำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต สวัสดิการ การศึกษา สาธารณสุข การจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่สอดคล้องกับชุมชนท้องถิ่น อำนาจการบริหารจัดการบุคลากร และเข้าถึงการตรวจสอบของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานได้(หนังสือฉบับร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานคร,3 มีนาคม 2554)

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนเชียงใหม่ ในหัวเรื่อง “คนเชียงใหม่คิดอย่างไรกับเชียงใหม่มหานคร” จำนวน 930 ราย ระหว่างวันที่ 3 กุมภาพันธ์ – 20 กุมภาพันธ์ 2557 โดยสอบถามเกี่ยวกับความพร้อมของคนเชียงใหม่และความเป็นไปได้ของร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งมีผลการสำรวจดังต่อไปนี้

เมื่อถามถึงความพร้อมของจังหวัดเชียงใหม่ต่อการเปลี่ยนเป็นเชียงใหม่มหานคร พบว่า ร้อยละ 58.15  มองว่าจังหวัดเชียงใหม่มีศักยภาพและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 41.84 มองว่าจังหวัดเชียงใหม่ยังไม่พร้อมที่จะมีเปลี่ยนแปลง

ในขณะที่ถามถึงการเปลี่ยนเป็นเชียงใหม่มหานครนั้น พบว่า ร้อยละ 59.78 เห็นด้วย ซึ่งให้เหตุผล         ออกเป็น 2 ด้าน คือ 1)ในแง่การบริหารจัดการเมืองด้วยตนเอง เช่น เชียงใหม่มีศักยภาพเพียงพอที่บริหารเมืองได้ด้วยตนเอง การบริหารจัดการด้วยตนเองสามารถตรวจสอบได้ง่าย รวดเร็ว และโปร่งใส่กว่า 2)ในแง่การพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น เชียงใหม่เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพพร้อมพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต และยังเป็นศูนย์กลางระบบเศรษฐกิจของภาคเหนือตอนบน ส่วน ร้อยละ 40.21 ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) ในแง่ความพร้อมของจังหวัดเชียงใหม่ เช่น การจัดผังเมืองและขนส่งมวลชนยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่            คนเชียงใหม่บางส่วนยังขาดความรู้ เรื่อง พระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานคร 2) ในแง่เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น ค่าครองชีพของประชาชนจะสูงขึ้น ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมเมืองและสังคมชนบท พื้นที่สีเขียวและประเพณีวัฒนธรรมที่สวยงามจะหายไป 3) ในแง่การทุจริตคอรัปชั่น เช่น อำนาจการปกครองจะขึ้นอยู่กับคนกลุ่มใดกลุ่มคนหนึ่ง อาจเป็นการเปิดโอกาสให้นักการเมืองท้องถิ่นทุจริตคอรัปชั่น

                เมื่อถามถึงความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงเมืองเชียงใหม่ พบว่า อันดับที่ 1 ร้อยละ 77.82 กังวลปัญหาการจราจร(รถติด) อันดับที่ 2 ร้อยละ 52.60 กังวลเรื่องอำนาจในการปกครองตกอยู่กับกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง อันดับที่ 3 ร้อยละ 51.52 กังวลเรื่องพื้นที่สีเขียวแหล่งธรรมชาติจะหายไป ทรัพยากรธรรมชาติในเชียงใหม่จะลดลง       อันดับที่ 4 ร้อยละ 49.23 กังวลเรื่องการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรม อันดับที่ 5 ร้อยละ 46.52 กังวลเรื่องความเหลื่อมล้ำระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท อันดับที่ 6 ร้อยละ 41.30 กังวลเรื่องการเพิ่มขึ้นของสถานบันเทิง (ผับ บาร์ ร้านเหล้า) อันดับที่ 7 อื่นๆ ร้อยละ 7.93 กังวลเรื่อง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของชุมชน แรงงานต่างด้าวเข้าเมืองเพิ่มมากขึ้น และประสิทธิภาพในการจัดการขยะในที่สาธารณะและสิ่งแวดล้อม

                ทั้งนี้เมื่อถามถึงความเป็นไปได้ของร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานคร คนเชียงใหม่ ร้อยละ 43.58     ยังไม่แน่ใจว่าร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานครจะเป็นไปได้ ในขณะเพียง ร้อยละ 6.41 เท่านั้นที่มั่นใจว่าร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานครมีความเป็นไปได้

                สำหรับปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง พบว่า อันดับที่ 1 ร้อยละ 82.28 ปัญหาด้านจราจร อันดับที่ 2 ร้อยละ 71.84 ปัญหาระบบขนส่งมวลชน อันดับที่ 3 ร้อยละ 63.26 ระบบการจัดการด้านขยะมูลฝอย อันดับที่ 4 ร้อยละ 53.04 การจัดแบ่งโซนของพื้นที่เศรษฐกิจและพื้นที่อยู่อาศัย อันดับที่ 5 ร้อยละ 52.17 ปัญหาอาชญากรรม อันดับที่ 6 ร้อยละ 45.54 ปัญหาน้ำเน่าเสียในเขตชุมชนเมือง อันดับที่ 7 ร้อยละ 39.89 ปัญหาคุณภาพน้ำประปา (ความสะอาด และเพียงพอ) อันดับที่ 8 ร้อยละ 36.84 ปัญหาน้ำท่วมเมือง อันดับที่ 9 อื่นๆ ร้อยละ 10.00  ปัญหาคอรัปชั่นเอาผลประโยชน์เข้าตนเอง การจัดผังเมืองและขนส่งมวลชนยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่

                จากผลการสำรวจดังกล่าวพบว่า คนเชียงใหม่กว่าครึ่งเห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งมองว่าเป็นโอกาสในการพัฒนาจังหวัด แต่ก็มีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยซึ่งบอกว่ายังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ                       ร่างพระราชบัญญัติ   จึงเป็นหน้าของจังหวัดเชียงใหม่เองที่ต้องมีการประชาสัมพันธ์และประชาคมให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน รวมถึงเร่งแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น การจราจร ระบบขนส่งมวลชน ขยะมูลฝอย เพื่อให้สอดรับกับความต้องการที่แท้จริงของคนเชียงใหม่

รายละเอียด

1. ท่านคิดว่าจังหวัดเชียงใหม่มีความพร้อมในการเปลี่ยนเป็นเชียงใหม่มหานครหรือไม่
     1.มีความพร้อม    ร้อยละ 58.15        2.ยังไม่มีความพร้อม  ร้อยละ 41.84

2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับ จังหวัดเชียงใหม่จะเปลี่ยนเป็นเมืองมหานครแห่งที่ 2 ของประเทศ
    1.เห็นด้วย    ร้อยละ 59.78  ให้เหตุผลออกเป็น 2 ด้าน
    1. ในแง่การบริหารจัดการเมืองด้วยตนเอง เช่น เชียงใหม่มีศักยภาพเพียงพอที่บริหารงานได้ด้วยตนเองการบริหารจัดการด้วยตนเองสามารถตรวจสอบได้ง่าย รวดเร็ว และโปร่งใส่กว่า
    2. ในแง่การพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น เชียงใหม่เป็นจังหวัดขนานใหญ่ที่มีศักยภาพพร้อมพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต และยังเป็นศูนย์กลางระบบเศรษฐกิจของภาคเหนือตอนบน
    2.ไม่เห็นด้วย    ร้อยละ 40.21 ให้เหตุผลออกเป็น 3 ด้าน
    1. ในแง่ความพร้อมของจังหวัดเชียงใหม่ เช่น การจัดผังเมืองและขนส่งมวลชนยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ คนเชียงใหม่บางส่วนยังขาดความรู้ เรื่อง พระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานคร
    2. ในแง่เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น ค่าครองชีพของประชาชนจะสูงขึ้น ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมเมืองและสังคมชนบท พื้นที่สีเขียวและประเพณีวัฒนธรรมที่สวยงามจะหายไป
     3. ในแง่การทุจริตคอรัปชั่น เช่น อำนาจการปกครองจะขึ้นอยู่กับคนกลุ่มใดกลุ่มคนหนึ่ง อาจเป็นการเปิดโอกาสให้นักการเมืองท้องถิ่นทุจริตคอรัปชั่น

3. ท่านมีความกังวลในเรื่องใดบ้าง ถ้าจังหวัดเชียงใหม่เปลี่ยนเป็นเชียงใหม่มหานครแล้ว
อันดับที่ 1 ร้อยละ 77.82 กังวลปัญหาการจราจร(รถติด)    อันดับที่ 2 ร้อยละ 52.60 กังวลเรื่องอำนาจในการ
                 ปกครองตกอยู่กับกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง
อันดับที่ 3 ร้อยละ 51.52 กังวลเรื่องพื้นที่สีเขียวแหล่ง    
                 ธรรมชาติจะหายไป ทรัพยากรธรรมชาติใน
                 เชียงใหม่จะลดลง    อันดับที่ 4 ร้อยละ 49.23 กังวลเรื่องการเพิ่มขึ้นของ
                 อาชญากรรม
อันดับที่ 5 ร้อยละ 46.52 กังวลเรื่องความเหลื่อมล้ำ
                 ระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท    อันดับที่ 6 ร้อยละ 41.30 กังวลเรื่องการเพิ่มขึ้นของ
                 สถานบันเทิง (ผับ บาร์ ร้านเหล้า)
อันดับที่ 7 อื่นๆ ร้อยละ 7.93 กังวลเรื่อง ค่าครองชีพของประชาชนสูงขึ้น ประเพณีวัฒนธรรมที่สวยงามจะหายไป 
               รวมถึง แรงงานต่างด้าวเข้าเมืองเพิ่มมาก

4. ท่านคิดว่า ร่าง พ.ร.บ. เชียงใหม่มหานคร มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด (ทำเครื่องหมาย )
มากที่สุด 5
ร้อยละ 6.41    มาก 4
ร้อยละ 25.32    ปานกลาง 3
ร้อยละ 43.58    น้อย 2
ร้อยละ 16.95    น้อยที่สุด 1
ร้อยละ 7.71

5. ท่านคิดว่าหากจังหวัดเชียงใหม่ต้องการจะเปลี่ยนเป็นเชียงใหม่มหานคร ควรต้องเร่งแก้ไขปัญหาในเรื่องใดบ้าง
อันดับที่ 1 ร้อยละ 82.28 ปัญหาด้านจราจร    อันดับที่ 2 ร้อยละ 71.84 ปัญหาระบบขนส่งมวลชน  อันดับที่ 3 ร้อยละ 63.26 ระบบการจัดการด้านขยะมูลฝอย    อันดับที่ 4 ร้อยละ 53.04 การจัดแบ่งโซนของพื้นที่เศรษฐกิจและพื้นที่อยู่อาศัย  อันดับที่ 5 ร้อยละ 52.17 ปัญหาอาชญากรรม    อันดับที่ 6 ร้อยละ 45.54 ปัญหาน้ำเน่าเสียในเขตชุมชนเมือง  อันดับที่ 7 ร้อยละ 39.89 ปัญหาคุณภาพน้ำประปา (ความสะอาด และเพียงพอ)    อันดับที่ 8 ร้อยละ 36.84 ปัญหาน้ำท่วมเมือง  อันดับที่ 9 อื่นๆ ร้อยละ 10.00 เช่น ปัญหาคอรัปชั่นเอาผลประโยชน์เข้าตนเอง ปัญหาแรงงานต่างด้าวที่เพิ่มขึ้น การจัดผังเมืองและขนส่งมวลชนยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่

ข้อมูลทั่วไป
1. เพศ    1.ชาย    ร้อยละ 42.28        2.หญิง    ร้อยละ 57.71

2. อายุ    1.ไม่เกิน 20 ปีขึ้นไป       ร้อยละ 31.84         2. ระหว่าง 21 – 30 ปี     ร้อยละ 24.56  3. ระหว่าง 31 – 40 ปี      ร้อยละ 19.13         4. ระหว่าง 41 – 50 ปี     ร้อยละ 14.45  5. ตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป    ร้อยละ 10.00

 3. การศึกษา    1.ประถมศึกษา        ร้อยละ 2.68        2.มัธยมต้น             ร้อยละ 1.22    3.มัธยมปลาย/ปวช.  ร้อยละ 16.75      4.อนุปริญญา/ปวส.  ร้อยละ 12.73  

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ