การสนับสนุนชาวปกากะญอในเรื่องอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของตนเอง และการส่งเสริมสังคมให้เรียนรู้วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ปกากะญอ เป็นมาตรการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวปกากะญอที่คณะรัฐมนตรีได้ประกาศไว้เป็นมติ ไว้เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553
แต่ป้ายหน้าศูนย์ราชการประจำอำเภอกัลยาณิวัฒนากำลังเป็นไปตามมตินั้นจริงหรือ ?
ป้ายศูนย์ราชการอำเภอกัลยาณิวัฒนา คือสิ่งปลูกสร้างใหม่ล่าสุดของที่นี่ และยังจะมีอีกหลายๆ ป้ายตามมา คนในชุมชนจึงกังวลและตั้งข้อสังเกตุถึงภาษาที่ 3 ที่ปรากฏบนป้าย โดยเห็นว่าน่าจะใช้ภาษาที่คนท้องถิ่นส่วนใหญ่ที่นี่ใช้ เพราะนอกจากจะอ่านเข้าใจแล้ว ยังเป็นการสืบทอดเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นอีกด้วย
ชาวปกากะญอ มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง และพยายามสืบทอดต่อลูกหลาน โดยทุกวันอาทิตย์กลุ่มที่นับถือคริสต์ศาสนา จะมีการสอนภาษาปกากะญอและบันทึกคัมภีร์ในโบสถ์ด้วยภาษาเขียนของตนเอง สำหรับคนปกากะญอที่อำเภอกัลยาณิวัฒนาแห่งนี้ ก็ใช้ทั้งภาษาพูดและเขียนในชีวิตประจำวัน
นักภาษาศาสตร์ล้านนายืนยันว่า ภาษาพูดและเขียนของล้านนากับปกากะญอมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน
หากความหลากหลายทางวัฒนธรรมจะปรากฏอยู่และสืบทอดกันได้ด้วยภาษา ป้ายที่ปรากฏอยู่ในแผ่นดินที่มีเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์โดดเด่นแห่งนี้ จึงไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแต่บอกสถานที่ แต่ทุกตัวอักษรหมายถึงสิ่งที่จะบ่งบอกตัวตนของคนที่ภูมิใจในชาติพันธุ์ของตนเอง
นักข่าวพลเมืองเหนือ จ.เชียงใหม่ รายงาน
ข่าวพลเมืองป้ายชื่ออำเภอกัลยาณิวัฒนา (Embedding disabled, limit reached)
ความเห็นจาก อ. เกริก อัครชิโนเรศ นักวิชาการประจำโครงการสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ ม.ช.
ป้ายอำเภอกัลยาฯความเห็นอ เกริก (Embedding disabled, limit reached)
ความเห็นจากพระชาวปกากะญอ วัดสวนดอก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ป้ายอำเภอกัลยาความเห็นพระ (Embedding disabled, limit reached)