ปฏิบัติการพลเมืองภาคเหนือ ชงประเด็นสาธารณะสำคัญของภาค ในสถานการณ์เลือกตั้ง 54

ปฏิบัติการพลเมืองภาคเหนือ ชงประเด็นสาธารณะสำคัญของภาค ในสถานการณ์เลือกตั้ง 54

เมื่อ วันที่ 21  พ.ค. 2554 ที่ห้องประชุมพระยาวิศาลวาจา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  เครือข่ายภาคประชาสังคมภาคเหนือกว่า 30 องค์กร และ  Thaipbs  ร่วมกันจัดเวที  "ปฏิบัติการพลเมือง(ภาคเหนือ) เลือกตั้ง 54 ชี้อนาคตประเทศไทย"   เพื่อระดมความเห็นต่อสถานการณ์เลือกตั้ง และแลกเปลี่ยนแนวทางการทำงนรวมถึงพัฒนาข้อเสนอจากภาคประชาชนให้เป็นนโยบาย สาธารณะที่จะแก้ไขปัญหาประเทศ

คุณวิทยา ครองทรัพย์  เลขาธิการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ภาคธุรกิจเชียงใหม่เห็นควรผลักดันรถไฟความเร็วสูง  เพราะต้นทุนการขนส่งนักลงทุนในพื้นที่สูงสู้ต่างประเทศไม่ได้  ถ้าสร้างได้จะลดต้นทุนการขนส่งจาก 15  เปอร์เซ็นต์ เหลือ 3 เปอร์เซ็นต์ กรณีเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยว  แต่นักท่องเที่ยวมาน้อยเมื่อเทียบกับห้องพักในโรงแรม เพราะการขนส่งไม่สอดคล้อง  ส่งผลกระทบเชิงสังคม  ได้ยื่นข้อเสนอไปทางรัฐบาลที่ผ่านมา  เห็นว่าถ้ามีจะส่งผลดีและส่งผลต่อเศรษฐกิจ  และควรให้นักลงทุนเอกชนเป็นผู้ลงทุน   
นอกจากนั้นยังมีประเด็นการมีส่วน ร่วมในการบริหารจัดการในพื้นที่  เช่นกรณีศูนย์การประชุมนานาชาติที่ก่อสร้างที่เชียงใหม่  ภาคธุรกิจในพื้นที่เห็นว่าควรมีส่วนร่วมบริหาร

ในประเด็นการลงทุนสาธารณูปโภค ตัวแทนผู้พิการแสดงความเห็นต่อกรณีรถไฟฟ้าความเร็วสูงว่า  สาธารณูปโภคในพื้นที่ยังไม่สอดคล้องกับการใช้งานของผู้พิการและผู้สูงอายุ หากจะการลงทุนเพิ่มอยากให้คำนึงถึงจุดนี้
ด้านนายสุริยันต์  ทองหนูเอียด ตัวแทนจากครป. กล่าวว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอการพัฒนาสาธารณูปโภค  (รถไฟ)ในมิติการเดินทางและการขนส่ง เพราะจะทำให้คนเหนือได้บริโภคสินค้าที่ถูกลง  และเป็นการพัฒนาการขนส่งสาธารณะ
 
ตัวแทนเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น  กล่าวว่า ถ้าจะเสนอนโยบายพรรคการเมืองในสถานการณ์เลือกตั้ง เห็นว่านโยบายกระจายอำนาจสู่การจัดการตนเองเป็นเรื่องสำคัญ  เพราะการบริหารปัจจุบันรวมศูนย์อยู่กรุงเทพ  ยกตัวอย่างกรณีม็อบที่ผู้ว่าฯจัดการไม่ได้   เมื่อส่งเรื่องถึงส่วนกลาง ก็เพียงตั้งคณะกรรมการ ฯมาแก้ไขปัญหานั้น  เห็นว่าพรรคการเมืองควรมีนโยบายกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น   โดยเห็นพ้องกับประเด็นของคณะกรรมการปฏิรูป (ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ)
 
นายสาคร  สงมา นักพัฒนาเอกชนจากจ.พิษณุโลก กล่าวว่า  ควรเสนอเรื่องการขายข้าวในนโยบายของการประกันรายได้ว่าพรรคการเมืองมีนโย บายอย่างไร  นอกจากนี้ข้อเสนอที่ควรเสนอร่วมคือ  การกระจายการถือครอง ที่ดินแต่บริบทจะแตกต่างจากข้อเสนอระหว่างภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง   และ  กองทุนเยียวยาภัยพิบัติทางธรรมชาติ   นอกจากนี้ยังเห็นด้วยข้อกับเสนอลดอำนาจส่วนกลาง สร้างอำนาจท้องถิ่น  ยุบราชการส่วนภูมิภาค คิดค้นกลไกใหม่ในจังหวัด

นายบุญยืน วงศ์สงวน  นักพัฒนาเอกชนจากเครือข่ายชาวนาภาคเหนือตอนล่าง กล่าวว่า ควรแก้ไขพ.ร.บ.ค่าเช่า  (ที่นา)   เพราะไม่สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป จากเดิมทำนาปีละครั้งมาเป็นทำนา 3  รอบ เช่า 3 ครั้งใน
ที่นาแปลงเดียวแ  ละเป็นปัญหาใหญ่เกษตรกรภาคกลาง เพราะต้นทุนหมดไปกับค่าเช่า  ต้องศึกษาระบบที่เหมาะ
สม

อย่าง ไรก็ตาม นายประยงค์  ดอกลำใย จากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินกล่าวว่า    ประเด็นพรบ.เช่าที่นา มี 2 มุมอง   มีข้อเสนอไม่ให้แก้ไขพรบ.เช่านา   เพราะชาวนาได้เปรียบ  เพราะกฏหมายเช่าเกิดจากการเคลื่อนของสหพันธ์ชาวนาว่ามีกฏหมายคุ้มครอง  ว่าให้เช่าอย่างน้อย 6 ปี และเมื่อผู้เช่าต้องการจะขายที่ดินต้องให้โอกาสชาวนาก่อน

ซึ่งเงื่อนไขนี้เจ้าของที่ไม่อยากให้เช่า   มีมุมมองต่างอยู่  ยังไม่แน่ใจว่าจะเสนออย่างไร  แต่อีกฝ่ายอยากให้แก้

นายมะลิ ทองคำปลิว  สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง จ.พิษณุโลก กล่าวว่า เรื่องการประกันได้ของชาวนา  มีการรับประกันราคามาตั้งแต่สมัยหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์   การจำนำตกอยู่กับกลุ่มทุน โรงสี พ่อค้า  เพราะการทำใบประทวนข้าวเป็นการขายกระดาษ  และหมุนข้าวจำนำกับรัฐบาล  ตอนนี้พ่อค้าเรียกร้องให้ทำเหมือนเดิม การประกันรายได้  เป็นวิธีทำให้เงินตรงสู่เกษตรกร แต่เงินที่เข้าไปไม่เท่าเทียม  เพราะกำหนดราคากลางเวลา 1 กับวันที่ 15  แต่เวลาคีย์ข้อมูลไม่พร้อมกัน ราคาเลยต่างกัน  ซึ่งแก้ไขจัดการได้
 
คุณประยงค์ กล่าวว่า  กรณีที่ดินมีการเคลื่อนมานานและขณะนี้มีการการเคลื่อนระดับชาติ  เครือข่ายปฏิรูปที่ดิน  และขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม โดยปัญหามีดังนี้  1.ปัญหาจากการกระจุกตัวของที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์  เพราะที่ดินมีเอกสารสิทธิ์อยู่ในมือคนกลุ่มเดียว  คนจนเข้ามาไม่ถึงที่ดิน 2.การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นธรรม  12-15 ล้านคนเข้าไปอยู่ในที่ดินของรัฐ จากการประกาศเขตอุทยาน  3. การสูญเสียที่ดินที่เหมาะสม
จากเกษตรกรรมไป สู่การลงทุน     เพราะไม่มีผังเมืองและการกำหนดเขตที่ชัดเจน  พื้นที่เกษตรอยู่ในเขตชลประทานถูกเปลี่ยนเป็นบ้านจัดสรร  ทำให้ไม่สามารถทำการเกษตรได้

ข้อเสนอเครือข่ายปฏิรูปที่ดินมีดังนี้ 

  • กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน โดนมีภาษีที่ดินก้าวหน้า  ที่กระทบกับภาคอสังหาริมทรัพย์   ซึ่งทำให้เกิดการต้านจากนักลงทุน 
  • ถ้ามีการกำหนดภาษีจริง จะทำให้เกิดการคายที่ดินจากคนมีที่ดินเยอะๆ  แต่มีการยกเว้นที่ดินบางส่วน  เช่นที่ดินส่วนทรัพย์สิน ฯ ควรเสียภาษี เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม  กรณีที่ดินของทหาร ที่ราชพัสดุ ก็ควรเสีย  กำลังร่างอยู่ 
  • จัดตั้งธนาคารที่ดิน โดยมีรายได้เชื่อมโยงจากการจัดเก็บภาษีที่ดิน  โดยต้องมีมาตรการรองรับสิทธิกรรมสิทธิ์ชุมชนที่รัฐบาลที่ผ่านมามีการทำโฉนด ชุมชน   
  • คุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม  นายทุนซื้อได้แต่ต้องเป็นด้านการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร

ตัวแทนจากกลุ่มเพื่อนไร้พรมแดน  กล่าวว่า นโยบายแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน มีแต่นโยบายด้านความมั่นคง  และส่งกลับ  ข้อเสนอคือ  ควรมีการดูแลโดยเฉพาะและมีการพิจารณาสถานะที่ซับซ้อน มีการคัดกรองก่อนส่งกลับ  โดยภาคประชาชนมีส่วนร่วมคัดกรอง
 
ตัวแทนกลุ่มเฟคบุ๊คเชียงใหม่  กล่าวว่า มีกรณี เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ ที่เกิดจากบริษัทขนาดใหญ่มาอยู่จำนวนมาก  มีการพัฒนาด้านไอที  แต่เชื่อมเรื่องเศรษฐกิจ   ข้อเสนอการเชื่อมโยงเมื่อเกิดการพัฒนาในพื้นที่จะส่งผลอย่างไร  ในการรองรับ   การกระจายอำนาจจากรัฐ  การต่อยอดเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชน  อยากให้นักการเมืองเสนอให้ชัดเจน  และควรนิยามคำว่า "ประชาธิปไตย"  ให้ชัด
 
ตัวแทนจากสภาเด็กและเยาวชน กล่าวว่า สัญชาติและสิทธิ   ยังไม่มีการจัดการ เช่น เด็กและเยาวชนที่เกิดในประเทศไทย  การจัดการตนเอง ระบบสุขภาพ งานพัฒนาด้านเยาวชน  ยกตัวอย่างกรณีสภาเด็กและเยาวชน ที่สุดท้ายไม่มีงบหนุนเสริม   ข้อเสนอควรมีกองทุนให้เยาวชนพัฒนาโดยเยาวชนจัดการเอง การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน  มาตรการด้านสุขภาพ และระบบการรักษาพยาบาล  และมีกองทุนส่งเสริมสุขภาพ
คุณ มะลิ ยังตั้งคำถามกับระบบอุตสาหกรรมในประเทศไทย  ว่า ประเทศไทยพัฒนาด้านอุตสาหกรรมมากพอแล้ว แต่ผลที่มักกล่าวอ้างกันคือการลงทุนด้านอุตสาหกรรมจะทำให้ประชาชนในประเทศ กินดีอยู่ดี  มีเงินใช้ แต่ปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ดีขึ้นเลย  ข้อเสนอคือ  ควรลงทุนด้านความมั่นคงด้านอาหาร   ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และฟื้นฟูวัฒนธรรม
 
คุณนันทา  เบญจศิลารักษ์ ข่าวประชาธรรม กล่าวว่า   สิ่งที่เสื้อเหลืองและเสื้อแดงนำเสนอในระดับโครงสร้าง เราควรนำเสนอต่อพรรคการเมืองด้วยเพื่อดูว่ามีความเห็นอย่างไร  เช่น ข้อเสนอการประกันเสรีภาพประชาชน  การชุมนุม  ระบบศาลและกองทัพ การตรวจสอบพรรคการเมือง  และสถาบันต่างๆ

คุณมุกดา จาก จ.พะเยา กล่าวว่า  มีความพยายามจัดการกับปัญหามานาน ไปในระดับชาติ หลายอย่างแก้ไขไม่ได้   ข้อเสนอให้พื้นที่จัดการตนเองเพื่อแก้ไขตนเองในระดับพื้นที่ได้  มีภูมิปัญญาในพื้นที่ มีกลไกระดับหมู่บ้าน  (สภาองค์กรชุมชน)  มีเครื่องมือที่ร้อยกันและกฏหมายเปิด  (จัดการภาษีจากภาษีมูลค่าเพิ่ม  แบ่งสัดส่วนลงชุมชนให้จัดการ)

คุณพรพิศ ผักไหม  ตัวแทนกลุ่ม Redfam fund กล่าวว่า  ทุกคนเบื่อการเมือง นักการเมือง นักการเมืองหน้าเดิมเพียงแต่เปลี่ยนพรรค  อยากตรวจสอบการเมืองได้  อยากให้เกิดการเคารพกติกา  เกิดความเป็นธรรมในกรณีถูกริดรอน  ซึ่งเรื่องนี้นักการเมืองควรมองด้วย  และอยากให้เรามองเรื่องนี้มากขึ้น
 
ตัวแทนสมาคมปกากญอเพื่อการพัฒนายั่งยืน กล่าวว่า    เราไม่ควรลืมประเด็นชาติพันธ์   หลักประกันความมั่นคงที่ดินของผู้อาศัยในเขตป่า  10 ล้านคนทั่วประเทศ ที่อยู่ก่อนกฏหมาย  หากเอากฏหมายมาจับ เกิดปัญหากับกลุ่มคนชาติพันธุ์ทั้งหมด
 
คุณบุษยา  คุณากรสวัสดิ์จากกลุ่มเชียงใหม่จัดการตนเอง เสนอถึงประเด็นการบริหารราชการที่รวมศูนย์แต่คนยังไม่เข้าใจ  เลยเชื่อมตัวเองยาก  เสนอ ประเด็นจัดการตนเองให้เป็นสาธารณะ  ให้สังคมเข้าใจในโครงสร้างและให้ข้อเปรียบเทียบ  และประเด็นปฏิรูปภาษี ที่รวมศูนย์อยู่
ที่ประชุมสรุปประเด็นหลักที่ภาคเหนือต้องการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเพื่อนำไปสู่นโยบายสาธารณะคือ
1.นโยบายกระจายอำนาจ  / ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจและภาษี             

  • เห็นพ้องกับประเด็นของคณะกรรมการปฏิรูปฯ
  • เสนอลดอำนาจส่วนกลาง  เพิ่มอำนาจท้องถิ่น   
  • ยุบราชการส่วนภูมิภาค  คิดค้นกลไกใหม่ในจังหวัด
  • การจัดการตนเองระดับจังหวัดระดับชุมชน
  • ปฏิรูปการจัดเก็บและกระจายภาษี  กระจายภาษีระดับชุมชน
  • เปิดพื้นที่ให้ภาคประชาชนร่วมจัดการ

2.นโยบาย ทางเศรษฐกิจ (กรณีระบบขนส่ง  รถไฟความเร็วสูง การบริหารศูนย์ประชุมนานาชาติ        -มิติการลงทุน  สร้างสรรค์อัตลักษณ์ที่แท้ของเมือง

3.นโยบายหลักประกันราคาข้าวและผลผลิตทางการเกษตร  และการค้า               

  • ข้อเสนอเรื่องการขายข้าว  (จากภาคเหนือล่าง)   แนวทางการจำนำ หรือประกันรายได้ /การแก้ไข พ.ร.บ.เช่านา   ต้นทุนการผลิต ปุ๋ย ยา  หนี้สิน
  • ราคาผลผลิตทางการเกษตร  มันสำปะหลัง  ข้าวโพด
  • เศรษฐกิจระหว่างประเทศ  (เปิดเสรีการค้า)

4.นโยบายการกระจายการถือครองที่ดิน               

  • การกระจายการถือครองอย่างเป็นธรรม-ภาษีที่ดินก้าวหน้า
  • ธนาคารที่ดิน  เพื่อรองรับการเข้าถึงที่ดิน
  • มาตรการการรองรับสิทธิในรูปแบบกรรมสิทธิ์ชุมชนเช่น  โฉนดชุมชน
  • นโยบายที่ทำกินในเขตป่า  ของกลุ่มชาติพันธุ์  ความมั่นคงที่อยู่อาศัย

5.นโยบายด้านการศึกษาเยาวชน

  • ให้การศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้รู้เท่าทัน  ประเด็นของเยาวชนและการศึกษา
  • สร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชน  การเปิดพื้นที่ให้กับเด็กและเยาวชน
  • (ยุบกองทุนกู้ยืม  ให้เรียนฟรี) / การตระหนักรู้เรื่องสิทธิประชาธิปไตยของเยาวชน

6.นโยบายหลักประกันทางสังคม  ความมั่นคงในชีวิต         

  • มาตรการทางสวัสดิภาพและระบบสุขภาพ
  • ครอบคลุมทุกกลุ่ม  แรงงานนอกระบบ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ หลัก ประกันเรื่องความปลอดภัย  และไม่ถูกกระทบจากความรุนแรงหรือการดูถูกเหยียดหยาม

7.แรงงานข้ามชาติ /สัญชาติ   -วิพากษ์นโยบายที่จัดการคนข้ามชาติยังใช้แนว  นโยบายความมั่นคงเป็นหลักซึ่งสร้างปัญหามากกว่าแก้

  • เสนอให้มีนโยบายโดยเฉพาะคำนึงถึงสถานะและสิทธิมนุษยชนและภาคประชาชนควรมีส่วน ร่วม  เรื่องสัญชาติของเยาวชนไม่ใช่แค่คนข้ามชาติและเป็นคนในที่ยังไร้สัญชาติ

8.นโยบาย ด้านความยุติธรรม  สื่อและเสรีภาพประชาชน     

  • หลักประกันในเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเรื่อง กฎหมายการชุมนุมในที่สาธารณะ
  • การให้ความเป็นธรรมกับผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมฯ  คนที่มีความเห็นต่างทางการเมือง

ที่ประชุมซึ่งมีทั้งกลุ่มคนที่ทำสื่อด้านสื่อภาคพลเมือง และสื่อThaiPBS  ได้เห็นพ้องร่วมกันสื่อสารประเด็นของภาคเหนือออกไปในหลายลักษณะ เช่น การใช้สื่อใหม่  สื่อวิทยุ  การเสนอข่าวของนักข่าวพลเมือง  การถ่ายทอดสดทางอินเตอร์เน็ตเมื่อเกิดความเคลื่อนไหวการแลกเปลี่ยนแนวคิดใน ประเด็นที่เกี่ยวข้อง  การจัดเวทีเชิงประเด็นเป็นระยะเพื่อให้เกิดเป็นวาระทางสังคม  และจะมีเวทีดีเบทกับพรรคการเมืองในประเด็นสำคัญต่อไป  โดยเครือข่ายภาคเหนือ จะร่วมกับ ThaiPBS  จัดเวทีสื่อสารประเด็นสำคัญของภาคประชาชนภาคเหนือ ผ่านการจัดการเดีเบทกับนักการเมืองที่อาสามาเป็นผู้แทน

ขณะที่เครือข่ายในภาคใต้ อิสาน และภาคกลาง เตรียมการจัดเวทีดีเบทในรายภาคเช่นกัน  ภายในเดือนมิถุนายน ก่อนจะจัดเวทีดีเบทหัวหน้าพรรคการเมืองครั้งใหญ่ในวันที่ 1  ก.ค. ก่อนการเลือกตั้ง 3 ก.ค.นี้

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ