บุกรื้อถอนทำลายพืชผลปฏิรูปที่ดินดอยหล่อ ทุนใหญ่เอาคืน-ชาวบ้านเร่งปฏิรูปที่ดินให้ชัด

บุกรื้อถอนทำลายพืชผลปฏิรูปที่ดินดอยหล่อ ทุนใหญ่เอาคืน-ชาวบ้านเร่งปฏิรูปที่ดินให้ชัด

บุกรื้อถอนทำลายพืชผลปฏิรูปที่ดินดอยหล่อ
ทุนใหญ่เอาคืน-ชาวบ้านเร่งจี้ปฏิรูปที่ดินให้ชัด

ความคืบหน้ากรณีมีการเข้าบุกรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและพืชผลในที่ดิน 700 ไร่ที่ อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่  วันนี้ 6 ต.ค. 2554 เวลา 9.00 น. กองเลขาฯสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือรายงานว่ามีการเข้าพื้นที่เพื่อรังวัดสอบเขตของที่ดินให้ชัดเจนอีกครั้ง หลังจากวานนี้มีการบุกรื้อทำลายสิ่งปลูกสร้างและพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้านกลุ่มปฎิรูปที่ดินบ้านดอยหล่อเกือบทั้งหมด  บรรยากาศในพื้นที่  ชาวบ้านต่างอยู่ในภาวะเศร้าโศกเสียใจและความคับแค้นกับภาพพืชผลต้นมะม่วงและลำใยที่ถูกทำลายไปต่อหน้าต่อตา..บางครอบครับยากจนแม้ที่อยู่อาศัยยังเช่าที่วัดอยู่และเข้าทำกินในที่ดินแปลงดังกล่าว   มีครอบครับผู้พิการขาไม่สามารถไปรับจ้างหาเงินได้แต่ได้ ปลูกลำใยไว้กำลังจะได้เก็บเกี่ยวผลผลิตในอีกไม่กีเดือนข้างหน้าแต่ก็ถูกทำลายไปกับเหตุการณ์ครั้งนี้

 เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันนี้ (5 ตุลาคม 2554) เวลา 8.00 น. ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ได้สนธิกำลังมากกว่า 500 นาย พร้อมกองกำลังของบริษัทรักษาความปลอดภัย ซึ่งเจ้าของที่ดินทั้ง 13 รายได้ว่าจ้างและมอบอำนาจให้มาดำเนินการรื้อถอน ได้เข้าไปในที่ดิน 700 ไร่บริเวณตรงข้ามที่ว่าการอำเภอดอยหล่อ    นำแทรกเตอร์เข้าไล่รื้อพืชผล (ต้นมะม่วง ลำไย  ผลไม้) และสิ่งปลูกสร้าง (บ้าน 1 หลัง) ของชาวบ้าน

ขณะปฎิบัติการรวมทั้งการเดินทางไปที่โรงพักดอยหล่อเพื่อประสานงานก็ยังพกพาอาวุธปืนอยู่อย่างเด่นชัด  ชาวบ้านประมาณ 20 คนได้เข้าเจรจากับบริษัทรปภ.แต่ไม่สามารถพูดคุยกันได้จึงถอยออกจากพื้นที่เพื่อให้ไปเจรจากันนอกพื้นที่ ขณะที่ชาวบ้านกำลังเดินทางออกจากพื้นที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและชายฉกรรจ์ที่ใช่เสื้อยืดสีเขียวขี้ม้าคลายเสื้ยยืดที่ใส่ฝึกที่หน้าอกมีข้อความเขียนว่า"ผดุงคุณธรรม"ได้ทำการจับกุมแกนนำชาวบ้านจำนวน 5 คน และเจ้าหน้าที่มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ ซึ่งเข้าไปช่วยเจรจาขึ้นรถไปยังโรงพัก

ในเวลาเดียวกันกับที่นายสุแก้ว ฟุงฟู กรรมการสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ(สกน.)ซึ่งได้รับการประสานงานจากชาวบ้านให้มาช่วยเจรจาได้เดินทางมาถึงยังที่เกิดเหตุ จึงถูกคนของบริษัทเข้ากระชากตัวลงจากรถและรุมทำร้ายร่างกาย จนได้รับบาดเจ็บบริเวณใบหน้าและถูกลากตัวไปขึ้นรถ 

จากนั้นผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินได้นำตัวนายสุแก้ว ฟุงฟูไปส่งให้ตำรวจที่โรงพักดอยหล่อ  เมื่อตำรวจสอบปากคำแล้ว ไม่มีหมายจับจึงปล่อยตัวนายสุแก้ว และนายศราวุฒิ (เจ้าหน้าที่มูลนิธิ) พร้อมชาวบ้านอีก 4 คน ส่วนชาวบ้านอีก 3ราย  ได้แก่ นางบัวผัน แสงคง นางคำนวล(ไม่ทราบนามสกุล)และนายณรงค์ แก้วมงคล ถูกจับกุมดำเนินคดีในข้อหาบุกรุก เนื่องจากมีหมายจับตามบันทึกแจ้งความของเจ้าของที่ดิน ล่าสุดได้ประกันตัวออกมาสู้คดีแล้ว

กองเลขาฯสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ ให้ข้อมูลว่าที่ดินแปลงนี้เดิมมีสภาพเป็นที่ดินรกร้าง สภาพเป็นป่าละเมาะ ชาวบ้านใช้เป็นที่เลี้ยงวัว ควาย ไม่มีผู้ใดครอบครองเป็นเจ้าของ ต่อมาได้มีโครงการเร่งรัดเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารโลก โดยได้มีนายทุนจากจังหวัดเชียงใหม่ ตระกูลชินวัตร (นางจันทร์สม ชินวัตร ป้าของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ได้นำที่ดินผืนนี้ไปเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินพื้นที่ประมาณ 700 กว่าไร่

ต่อมานางจันทร์สม ผู้ขอออกโฉนดได้ขายที่ดินต่อให้บริษัทพรพรหมพาราไดซ์ ซึ่งมีกิจการสวนสนุกที่อ.หางดง (ปัจจุบันเลิกกิจกรรมไปแล้ว) เพื่อพัฒนาที่ดินดังกล่าวเป็นพื้นที่ธุรกิจและสวนเกษตร แต่ปี 2540 เกิดวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ที่ดินดังกล่าวกลายเป็นหนี้ NPLs ประกาศขายทอดตลาดและมีนายทุนจากนอกพื้นที่มาประมูลซื้อ (จำนวน 13 ราย) ในจำนวนนั้นมีแพทย์หญิงปิยะรัตน์ รัตนวานิช พี่สาวของพลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช อดีตส.ว.สรรหารวมอยู่ด้วย

ปี 2545 ชาวบ้านดอยหล่อและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งเป็นเกษตรกรไร้ที่ดินทำกิน จำนวนประมาณ 120 ครอบครัวได้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว โดยไม่ทราบว่าที่ดินมีเอกสารสิทธิหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยพบว่ามีผู้ใดเข้าทำประโยชน์ จนกระทั่งในปี 2547 จึงเริ่มมีบุคคลมาแสดงตนว่าเป็นเจ้าของที่ดินแต่ก็ไม่สามารถชี้ขอบเขตที่ดินของตนได้ชัดเจนว่าอยู่ตรงไหน

ในขณะที่ชาวบ้านได้ร่วมกับสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ(สกน.)และเครือข่ายปฎิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.) เรียกร้องกับรัฐบาลให้ดำเนินการตรวจสอบเอกสารสิทธิในพื้นที่ จึงพบว่ามีการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน ตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ในปี 2533 แต่ถูกทอดทิ้งรกร้างไว้ โดยไม่เคยเข้ามาทำประโยชน์มามากกว่า 10 ปี ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดิน
 ชาวบ้านจึงได้เรียกร้องให้รัฐบาลนำที่ดินดังกล่าวมาปฏิรูปให้ชาวบ้านและคนจนรวมทั้งเรียกร้องให้ทำการตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างต่อเนื่องหลายมารัฐบาล แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า ในขณะที่นายทุนได้ทยอยดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีกับแกนนำมาโดยตลอด

ในปี 2551 ชาวบ้านซึ่งเป็นสมาชิกของสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) และเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ได้เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดินขึ้นเพื่อเป็นกลไกในการกระจายการถือครองที่ดินประกอบกับเรียกร้องให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า จนกระทั่งรัฐบาลชุดที่แล้วได้อนุมัติการจัดตั้ง “สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน” ขึ้นในรูปแบบองค์การมหาชนและมีมติครม.เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 และ 8 มีนาคม 2554 ให้ดำเนินการนำร่องในพื้นที่ 5 หมู่บ้าน จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน และอนุมัติงบประมาณดำเนินการจำนวน 1,167 ล้านบาท โดยจะขยายไปยังพื้นที่อื่นๆต่อไป แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากมีการยุบสภา ต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ขึ้นก่อน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการรอการแต่งตั้งกรรมการบริหารฯ
 
 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ