ตรวจสุขภาพดอยอินทนนท์ STAND BY ME 11-12 กพ.นี้

ตรวจสุขภาพดอยอินทนนท์ STAND BY ME 11-12 กพ.นี้

กิจกรรม    โครงการสำรวจนกประจำปีอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
สถานที่       อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
เวลา      111111+++!!๑๑-๑๒ กุมภาพันธุ์ ๒๕๕๕

โครงการสำรวจนกประจำปีอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ณ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

เยอะนะ 2.wmv (Embedding disabled, limit reached)

หลักการและเหตุผล

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีพื้นที่ ๔๘๒ ตารางกิโลเมตร คลอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม อำเภอจอมทอง อำเภอแม่วางและอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ มียอดดอยสูงเป็นอับดับหนึ่งของประเทศไทย คือสูงถึง ๒,๕๖๕ เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ด้วยความสูงและที่ตั้งของดอยอินทนนท์ซึ่งอยู่จุดเชื่อมต่อของเขตชีวภูมิศาสตร์หลายเขต จึงทำให้มีระบบนิเวศน์สภาพป่าที่หลากหลาย ได้แก่ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าสนเขาและป่าดิบเขารวมทั้ง ป่าดิบเขาสูงหรือป่าเมฆ ส่งผลให้มีพันธุ์สัตว์โดยเฉพาะนกมีความหลากหลายชนิดพันธุ์ โดยพบนกที่สำรวจแล้วเกือบ ๔๐๐ ชนิด หรือราวร้อยละ ๔๐ ของพันธุ์นกทั้งหมดที่พบในประเทศไทย โดยบางชนิดไม่พบที่อื่นในประเทศ เช่น นกกระจิ๊ดคอเทา (Ashy-throated Warbler) บางชนิดเป็นนกที่สวยงามและพบได้ยาก เช่น นกปีกแพรสีเขียว(Green Cochoa) และนกปีกแพรสีม่วง(Purple Cochoa) นอกจากนี้ยังมีชนิดพันธุ์ย่อยที่ไม่พบที่ใดในโลก ได้แก่ นกกินปลีหางยาวเขียวชนิดพันธุ์ย่อยอ่างกา(Green-tailed Sunbird  Aethopyga nipalensis angkanensis) อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์จึงนับเป็นแหล่งอนุรักษ์นกใกล้สูญพันธุ์ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของโลก

อย่างไรก็ตาม ระบบนิเวศน์ของดอยอินทนนท์ในช่วงที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปัญหาที่อุทยานฯประสบมีมากมาย ตั้งแต่การบุกรุกพื้นที่ ไฟป่า การล่าสัตว์ การใช้ยาฆ่าแมลงในพื้นที่เกษตรกรรมโดยรอบและในพื้นที่ใจกลาง รวมถึงปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาการท่องเที่ยวและปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น แต่อีกมุมหนึ่ง หลายพื้นที่กลับมีการฟื้นตัวดีขึ้นจากการดำเนินการฟื้นฟูสภาพป่าและการอนุรักษ์  ดังนั้นการประเมินความสมบูรณ์ของพื้นที่หรือ” สุขภาพ” ของดอยอินทนนท์ จึงมีความจำเป็นเพื่อสะท้อนให้เห็นแนวโน้มของปัญหาหรือประเมินผลการดำเนินงานอนุรักษ์

"นก" เป็นสัตว์ที่มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์และสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดสถานภาพของระบบนิเวศน์ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันมีนกหลายชนิดที่เคยสำรวจพบในอดีตแต่กลับไม่พบเห็นอีกเลยในพื้นที่มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ตัวอย่างเช่น เป็ดก่า นกมุดน้ำ นกเงือกคอแดง นกกก นกเงือกกรามช้าง และนกกระเต็นดำขาวใหญ่ เป็นต้น 

การติดตามสำรวจชนิดพันธุ์นกในลักษณะ census ซึ่งเป็นการสำรวจอย่างเป็นระบบในช่วงเวลาจำกัด ณ เวลาและสถานที่เดียวกันทุกปี จึงเป็นงานวิจัยที่นักดูนกทั่วไปมีส่วนร่วมได้และเป็นวิธีการที่ค่อนข้างเป็นวิทยาศาสตร์ มีความไวและความแม่นยำเพียงพอในการเฝ้าระวัง “สุขภาพ” ของระบบนิเวศน์ดอยอินทนนท์ได้เป็นอย่างดี  ชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนก่อตั้งจากการรวมตัวของกลุ่มดูนกท้องถิ่น จึงริเริ่มจัดการสำรวจนกประจำปีที่ดอยอินทนนท์ขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์เป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๓ เป็นต้นมา

วัตถุประสงค์
๑.   สำรวจและรวบรวมรายชื่อนกที่พบในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
๒.   เพื่อใช้นกเป็นดัชนีชี้วัดและติดตามการเปลี่ยนแปลงความสมบูรณ์ระบบนิเวศน์ดอยอินทนนท์
๓.   สร้างฐานข้อมูลให้กับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์เพื่อใช้ในการจัดการอุทยานฯต่อไป
๔.   ส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความสนใจ อนุรักษ์นกและธรรมชาติ
๕.   ส่งเสริมกิจกรรมดูนกและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้แพร่หลาย

สถานที่      อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

วิธีดำเนินงาน
๑.   ประชาสัมพันธ์ให้นักดูนกและผู้สนใจเข้าร่วมสำรวจ
๒.   ดำเนินการสำรวจนกในอุทยาน โดยแบ่งกลุ่มสำรวจนกให้ครอบคลุมระบบนิเวศน์ต่างๆทั่วอุทยานฯ
๓.   สรุปรวบรวม เปรียบเทียบ ชนิดและปริมาณนกที่พบเพื่อดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี
๔.   รวบรวมทำรายงานเสนอ ผู้เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

ผู้รับผิดชอบโครงการ   
ชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา ร่วมกับ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์  ๗๖/๑ หมู่ ๑๔ ซอย ๕ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ๕๐๒๐๐

กำหนดการปีนี ตามไฟล์แนบเลยค่ะ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ