มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ชวนผู้สนใจชมหนังและอภิปรายเกี่ยวกับเขื่อนดอนซะโฮง ในวันที่ 30 มกราคม 2558 เวลา 13.00-16.45 น. ที่ชั้น 4 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Film Screening and Discussion on Don Sahong Dam
THE GREAT GAMBLE ON THE MEKONG- ARE WE KILLING THE MEKONG DAM BY DAM?
30th January 2015 at 13.00-16.45
4th Floor meeting room, Operational Building, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University
13.00 – Welcome, film screening and discussion
14.00 Panel discussion on Don Sahong Dam Q&A and pubic debate. Speakers include
Dr. Kraisak Chunhawan, Former senator
Dr. Richard Friend, Thailand Environment Institute (TEI)
Premrudee Daoreung, Foundation for Ecological Recovery
สำหรับความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเขื่อนดอนสะโฮงที่ภาคประชาชนเรียกร้องให้ชะลอโครงการนั้น ล่าสุด สำนักนายกฯ และกรมทรัพยากรน้ำ รับข้อเสนอภาคประชาสังคม เตรียมยื่นหนังสือให้ MRC ชะลอการสร้างเขื่อนดอนสะโฮง พร้อมจัดเวทีปรึกษาหารือใหม่ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น
เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2558 เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุม 2 ชั้น 2 อาคารสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเดิม ได้มีการพูดคุยเจรจากันระหว่างกลุ่มสมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล และเครือข่ายชุมชนคนหาปลาริมน้ำโขง กับกรมทรัพยากรน้ำ และสำนักนายกรัฐมนตี ในเรื่องปัญหาการสร้างเขื่อนดอนสะโฮง ที่ประเทศลาว
โดยภายหลังจากกการพูดคุยเจรจาเสร็จสิ้น ได้มีข้อสรุปคือ
1. สำนักนายกรัฐมนตรี จะทำบันทึกการเจรจาในวันนี้ ส่งให้กรมทรัพยากรน้ำ และภาคประชาชน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.1 กรมทรัพยากรน้ำจะทำหนังสือถึงคณะกรรมาธิการแม่โขง(MRC) แจ้งเรื่องยังไม่ขอส่งรายงานการจัดเวทีทั้ง 6 ครั้งที่ผ่านมา ต่อ MRC เนื่องจากถูกคัดค้านจากประชาชนจำนวนมาก
1.2 กรมทรัพยากรน้ำจะทำหนังสือถึง MRC ว่าเนื่องจากประชาชนชาวไทยจำนวนมากคัดค้านการสร้างเขื่อนดอนสะโฮง กรมทรัพยากรน้ำ ในฐานะตัวแทนประเทศจึงเห็นว่า สปป.ลาว ควรชะลอ ยุติ การดำเนินการใด ใด เกี่ยวกับเขื่อนดอนสะโฮง ไว้ก่อน
1.3 จะมีการลงไปดูพื้นที่ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2558 จำนวนประมาณ 120 – 150 คน โดยมีองค์ประกอบ คือมีภาคประชาชน สื่อมวลชน นักวิชาการ โดยกรมทรัพยากรน้ำ หรือ MRC จะเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
1.4 จะมีการจัดเวทีการปรึกษาหารือล่วงหน้าและข้อตกลง(PNPCA) ใหม่ โดยรายละเอียดการจัดเวทีจะมีการกำหนดร่วมกันกับภาคประชาชน ริมน้ำโขง 8 จังหวัด
1.5 จะมีการตั้งกรรมการร่วมกับภาคประชาชน เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลในลุ่มน้ำโขง โดยมีองค์ประกอบคือ ภาคประชาชน 8 จังหวัดริมน้ำโขง นักวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. จะมีการประชุมร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำ อีกครั้ง เพื่อพิจารณารายละเอียด ต่าง ๆ