อยู่ดีมีแฮง : หอมข้าว ชาวสกล Sakon Rice Cupping

อยู่ดีมีแฮง : หอมข้าว ชาวสกล Sakon Rice Cupping

ในชีวิตประจำวัน ทุกมื้ออาหารคนไทยกิน ข้าวเป็นอาหารหลัก แต่ถ้าให้ถามว่าเรารู้จักข้าวที่เรากินดีแค่ไหน โดยทั่วไปคนก็อาจจะนึกถึงเฉพาะสายพันธุ์ที่ตัวเองคุ้นเคย อย่างข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอรรี่ ซึ่งนับว่ารู้จักเพียงไม่กี่เปอร์เซนต์เท่านั้น

ผลกระทบที่ตามมาคนไทยบริโภคข้าวแต่สายพันธุ์ที่รู้จักตามท้องตลาดเท่านั้น เพราะขาดความรู้ ความเข้าใจ  ในอนาคตอาจจะส่งผลให้สายพันธุ์ข้าวเรากินกันขาดความหลากหลายและนำไปสู่

การขาดความมั่นคงทางอาหาร ทำลายวิถีการเกษตรแบบดั้งเดิม

หากแต่ทางออกของปัญหานั้น จำเป็นต้องมีการสื่อสารอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสายพันธุ์ข้าวให้มากขึ้น  โดยมุ่งเน้นให้ผู้บริโภคตระหนักถึงคุณค่า และมีปรับเปลี่ยนการบริโภคให้มีความหลากหลาย ไม่ใช่กินแต่สายพันธุ์ตามท้องตลาดอย่าง ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว แต่เพียงเท่านั้น

วันนี้เราพาทุกคนมาที่กรุงเทพ ณ งานหอมข้าวสกล Sakon Rice Cupping อีกหนึ่งในความพยายามของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อยากจะผลักดันข้าวสายพันธุ์ดั้งเดิม และยังคงรักษาความหลากหลายของสายพันธุ์ข้าวท่องถิ่นเอาไว้ โดยสายพันธุ์ข้าวท้องถิ่น กลุ่มอนุรักษ์ 

 “ข้าวคำแรกที่เราเอาเข้าปากตั้งแต่เด็ก มันคือข้าวสีขาว อย่างวันนี้เราจะเห็นว่าข้าวสีขาวแทบจะไม่มีเลย เราจะต้องหาสื่อหรือหาอะไรมาช่วยในการให้ความรู้เกี่ยวกับข้าว ข้าวมันมีลักษณะพิเศษของมัน ไม่ใช่แค่ทางผ่านของกับข้าว” ธรรมวิทย์ ลิ้มเลิศเจริญวานิช หรือพี่เสือ กลุ่มสกลจังชั่นพูดถึงความตั้งใจของเขาในการจัดงานในครั้งนี้

“งานนี้จริงๆแรกเริ่มมา มันเป็นงานชิมข้าวของชุมชน บ้านโคกสะอาดกลุ่มข้าวหอมดอกฮังอยู่แล้ว ต้นปีที่ผ่านมาผมก็ได้ไปร่วมงาน เราเห็นถึงความน่าสนใจของการชิมข้าวที่เขาจัดกันเองในรูปแบบของชุมชน เราก็เลยมองว่ามันน่าจะไปพัฒนาต่อยอดได้” จากงานชิมข้าวในระดับชุมชนถูกยกระดับสู่งานชิมข้าวในระดับสากล โดยมีเชิญนักชิมหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านรสชาติ ไม่ว่าจะเป็นแชมป์ชิมกาแฟ เป็นการสร้างความร่วมมือจากหลายภาคส่วน

ภายในงานกิจกรรมก็จะแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ 1.การเสวนาเรื่องของข้าว 2. การชิมข้าว 3.การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ในส่วนแรกของงานจะเป็นการเสวนาเรื่องข้าว โดยวิทยากรจากกลุ่มข้าวหอมดอกฮัง ขึ้นมาพูดถึงบริบทของข้าวในภาคอีสาน และความหลากหลายของข้าวแต่ละสายพันธุ์

ในการชิมข้าวจะแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆก็คือข้าวเหนียวกับข้าวเจ้าเราก็จะมีการโหวตทดลองให้คะแนนข้าว เรื่องของรสชาติ กลิ่น สี สัมผัส ทุกๆอย่าง นอกจากนี้ยังนำเทคนิคการ Cupping กาแฟมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความเที่ยงตรงที่สุด และนำไปต่อยอดได้ง่ายๆ

หลังจากที่ได้ชิมข้าวแต่ะสายพันธุ์แล้วก็จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านรสชาติ ทางด้านการตลาด ทางด้านการผลิตข้าวมารวมกัน และนำมาวิเคราะห์กันว่าเราจะเอาสิ่งที่ได้ในวันนี้ไปพัฒนาต่อยอดเกี่ยวกับข้าวยังไงได้บ้าง ข้าวจะมีศักยภาพทางการตลาดยังไง และจะผลักดันให้ข้าวไปต่อในสังคมวงกว้างได้อย่างไร

“กาแฟมันค่อนข้าง International  มันเป็นวัฒนธรรม ผมว่าข้าวก็ทำได้เหมือนกัน เราก็ต้องใช้เวลากับมันคือต้องให้ความรู้คนว่าข้าวแต่ละตัว มันมีประโยชน์ยังไงมันสามารถเอาไปต่อยอดทำอาหารอะไรได้ หรือว่าเอาไปใช้ประกอบอะไรได้ เราก็เลยมองว่ามันน่าจะไปพัฒนาต่อยอดได้ เรารู้อยู่แล้วว่ามันไปต่อได้มากกว่านี้”

งาน Sakon Rice Cupping อาจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่ค่อยๆ ก่อร่างสร้างขึ้น ทำให้ผู้บริโภคในเมืองอย่างพวกเราได้ตระหนักถึงความใส่ใจที่มาของอาหาร  และการรักษาความหลากหลายของสายพันธุ์ซึ่งเป็นอีกมิติของความมั่นคงของอาหาร ที่เมื่อขาดความสนใจจนเกิดผลเสียมากมายกว่าที่เราคิดกัน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ