เสียงจากนครพนม เมื่อ “ไก” เกลื่อนโขง น้ำขึ้น-ลง ผันผวนในหน้าแล้ง

เสียงจากนครพนม เมื่อ “ไก” เกลื่อนโขง น้ำขึ้น-ลง ผันผวนในหน้าแล้ง

26 มกราคม 2565 สมาชิกเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.) รายงานระดับน้ำโขงจากบ้านนาทาม ต.พระกลางทุ่ง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม เพิ่มระดับสูงขึ้น 3 เซนติเมตร หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมา น้ำโขงในบริเวณดังกล่าวมีปริมาณลดลงจนเห็นสันดอนทรายเกิดปรากฏการณ์น้ำโขงใส และมี “ไก” ซึ่งเป็นสาหร่ายน้ำจืดสีเขียวในลำน้ำจำนวนมาก ส่งผลกระทบวิถีคนลุ่มน้ำโขง ชาวบ้านจึงระดมเก็บตัวอย่าง “ไก” ส่งนักวิชาการเพื่อตรวจสอบ

อำนาจ ไตรจักร ชาวบ้านริมโขง เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.)  ลงพื้นที่วัดระดับน้ำพบว่า ระดับน้ำโขงบริเวณน้ำบ้านนาทามช่วงเช้าที่ผ่านมา พบว่ามีความเปลี่ยนแปลง ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 กว่า 3 เซนติเมตร แม้ในช่วงฤดูแล้ง

“นี่คือสภาพแม่น้ำโขงบริเวณท่าน้ำบ้านนาทาม ต.พระกลางทุ่ง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม น้ำโขงขึ้นประมาณ 3 เซนติเมตร โดยใช้เสาหลักในการวัดระดับน้ำซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน และขณะนี้บริเวณท่าน้ำบ้านนาทามก็กำลังมีการสร้างเขื่อนกั้นตลิ่งพัง ซึ่งเป็นอีกโครงการที่ทำให้ระบบนิเวศแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงไป  ส่วนระดับน้ำโขงที่ขึ้น-ลง ผันผวนนั้นทำให้ ไก หรือ เทา หายไปเพราะน้ำขึ้นท่วม ทั้งที่ไม่ใช่ฤดูฝนแต่น้ำยังขึ้นต่อเนืองมา 2-3 วันแล้ว  ก็ต้องระวังพวกอุปกรณ์การเกษตรและเครื่องมือหาปลา ที่ต้องเก็บขึ้นไว้ที่สูง”

จากเหตุการณ์ณ์ความผันผวนของแม่น้ำโขงและความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.) จากหลายพื้นที่ตลอดลำน้ำโขงและลำน้ำสงคราม ทั้ง จ.เลย หนองคาย นครพนม และอุบลราชธานี  ได้มีการระดมความร่วมมือจากชาวบ้านสำรวจและเก็บตัวอย่าง “ไก” ทั้งในแม่น้ำโขงและลำน้ำสงคราม ส่งตัวอย่างสายพันธุ์ ประสานหน่วยงานหาแนวทางจัดการใช้ประโยชน์

อิภสิทธิ์ สุนทราวิรัตน์ กรรมการกลุ่มชุมชนคนฮักปากชม พร้อมแกนนำกลุ่ม ได้ทำการสำรวจ “ไก”หรือ “ไค” หรือ “เทา” สาหร่ายแม่น้ำโขงบริเวณท่าเรือแม่น้ำโขงบ้านคกไผ่ ต.ปากชม อ.ปากชม จ.เลย ซึ่งพบว่า ปีนี้น้ำโขงมีปริมาณน้อย น้ำใสทำให้ไกเกิดจำนวนมากและส่งผลกระทบต่อเครื่องมือหาปลาของชาวประมง  ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่พยายามสำรวจข้อมูลผลกระทบและหาแนวทางแก้ไข ซึ่งที่ผ่านมามีชาวบ้านบางรายได้พยายามนำไกไปใช้ทำปุ๋ยหมัก ใช้เป็นอาหารสัตว์ และส่งตัวอย่างสายพันธุ์ให้กับกรมประมง เพื่อวิจัยหาแนวทางการใช้ประโยชน์ต่อไป

นอกจากนี้ แกนนำลุ่มน้ำสงคราม โดย วิมลจันทร์ ติยะบุตร ได้นำทีมงานวิจัยเก็บตัวอย่างไก หรือชาวบ้านเรียกว่า “เทา” ที่หนองหวาย ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม เพื่อส่งตัวอย่างสายพันธุ์เปรียบเทียบกันด้วย และจากการสอบถาม จันทร์ ดีบุดชา บอกว่า ช่วงนี้แก่แล้วจะมีอายุประมาณ 15 วัน เทาจะขึ้น หรือเจริญเติบโตได้ดีในช่วงวันเดือนข้างขึ้นแล้วจะแก่ตัว ส่วนถ้าในเดือนข้างแรมจะไม่เกิด หรือ เจริญเติบโตช้า ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้ตรงกันกับ สอน จำปาดอก กรรมการกลุ่มฮักน้ำโขง จ.อุบลราชธานี ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ขณะที่ทำการสำรวจไกบริเวณน้ำโขง ที่ ต.สำโรง อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี

อย่างไรก็ตาม สอน จำปาดอก และแกนนำกลุ่มคนอื่น ๆ จะทำการเอาตาข่ายดักไก และสังเกตการเจริญเติบโตของไกในแม่น้ำโขงอีกรอบ ถึงข้างขึ้น ข้างแรม แสงกลางวัน กลางคืน มีผลอย่างไร แต่ที่แน่ ๆ คือน้ำใส น้ำน้อยมาก แสงแดดส่งถึงพื้น ไกปีนี้จึงมาไวผิดปกติกว่าทุกปีจึงมีการรวบรวมตัวอย่าง “ไก” หรือ “เทา” เพื่อนำส่งไปนักวิชาการเพื่อแยกสายพันธุ์และหาแนวทางนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป

เช่นเดียวกับ อำนาจ ไตรจักร ทีมงานวิจัยไทบ้าน ได้ปักหมุดรายงานเข้ามากับ Application C-site เมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา รายงานสถานการณ์น้ำโขงลดลงเร็วผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการแพร่ขยายของสาหร่ายน้ำจืดสีเขียว “ไก” หรือ “เทา” จำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อชาวประมงหาปลาได้น้อยมาก และทำให้ “ตาข่ายดักปลา” เครื่องมือประมงพื้นบ้านเสียหาย รวมถึงวิถีเกษตรริมโขงที่ได้รับผลกระทบจากการระบบนิเวศแม่น้ำโขงที่เปลี่ยนแปลง

“และอีกจุดคือสวนมะเขือเทศที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง มีสภาพแห้งเหี่ยวเนื่องจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ไม่ค่อยออกผล ปลูกผักอะไรก็ไม่ค่อยจะดี ราคาก็ตก ชาวบ้านบอกว่าตั้งแต่ที่มีสถานการณ์โควิดเข้ามาซ้ำอีกก็ยิ่งแย่โดยเฉพาะมะเขือเทศแทบจะไม่ได้ทุนคืน”

นอกจากนี้ ชาวบ้านลุ่มน้ำโขง 8 จังหวัด นักวิชาการ และเครือข่ายองค์กรสิ่งแวดล้อม  ได้จัดเสวนาออนไลน์ : จับสัญญานการเปลี่ยนแปลง “ไก เกลื่อนโขง” ในวันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.00 – 16.00 น. เพื่อแลกเปลี่ยนถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่าบ่งบอกอะไร ผลกระทบที่จะตามมาทั้งต่อวิถีชีวิตผู้คนและสิ่งแวดล้อมจะเป็นอย่างไร  

ภายใต้ความร่วมมือของ โฮงเฮียนฮักแม่น้ำโขง /สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต /เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.) /สถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง (Mekong Community Institute – MCI) / ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม /สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม Green news /สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ Thai PBS  โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ ตัวแทนชาวบ้าน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง อ้อมบุญ ทิพย์สุนา ตัวแทนเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน ตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน  ธีระพงศ์ โพธิ์มั่น สถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง (Mekong Community Institute – MCI) ดร.ทัตพร คุณประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ดร.ชวลิต วิทยานนท์ นักวิชาการอิสระด้านความหลากหลายทางชีวภาพ  และดำเนินวงเสวนา โดย กมล สุกิน บรรณาธิการ สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม Green news  ซึ่งสามารถติดตามชมสดออนไลน์ได้ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ GreenNews ThaiPBS นักข่าวพลเมือง The North องศาเหนือ และอยู่ดีมีแฮง

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

Prev

May 2025

Next

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

28
29
30
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
1

26 May 2025

Nothing to show.

เข้าสู่ระบบ