ถึงตอนนี้หลายพื้นที่ยังมีคนประสานขอกลับบ้าน ทั้งกลับมารักษาตัวส่วนหนึ่ง และเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ถูกส่งต่อไปยังชุมชนบ้านเกิดเพื่อทำการกักตัวในชุมชนส่วนหนึ่ง อย่างพื้นที่จังหวัดลำปางที่ถือว่า เป็นจังหวัดแรก ที่รับคนกลับบ้านถึงปัจจุบัน ซึ่งตอนนี้ตัวเลขผู้ขอกลับมาบ้านที่จังหวัดลำปางตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ยอดรวมแล้วกว่า 1,007 คิดเป็น 57.05%
ในชุมชนเอง หลังมีการรับคนกลับบ้าน ทางชุมชนเองก็มีการจัดการต่อ ที่ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณสุข แต่เป็นเรื่องปากท้อง ให้คนที่เลือกกลับมาบ้านแล้วตัดสินใจไม่กลับไปใช้ชีวิตต่างจังหวัดอีก สามารถไปต่อได้ในพื้นที่
ประชาชนไปต่อ : ในสถานการณ์นี้คงมีคนที่เลือกกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านเกิด หลังจากหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะพื้นที่ ๆ เป็นเมืองใหญ่ปริมาณคนหนาแน่ การแพร่ระบาดมากที่สุดคือกรุงเทพ และปริมณฑล รวมถึงเขตอุตสาหกรรมตามจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดเป็นจำนวนมาก เมื่อเกิดการระบาดอย่างหนักทำให้เศรษฐกิจทั่วประเทศเกิดการชะงั้นตัว ธุรกิจขนาดต่าง ๆ เริ่มมีการปิดตัวลงมีการปลดพนักงาน ลูกจ้าง เป็นจำนวนมาก ประกอบกับระบบสาธารณสุขในบางพื้นที่มีปัญหา เมื่อการเลิกจ้างงานเกิดขึ้นมาก ทำให้คนต่างจังหวัดที่ทำงานอยู่ในพื้นที่เหล่านั้น เลือกตัดสินใจบอกลา หันหลังให้หัวเมืองใหญ่ ๆ แล้วกลับมาตั้งต้นยังบ้านเกิดของตัวเอง
เพื่อให้ชุมชนเองเกิดความมั่นใจในป้องกันการแพร่เชื้อ การกักตัว 14 วัน นั้นคือวิธีในป้องกัน และเป็นใช้วิธีการคัดกรองกับบุคคลเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงนำเชื้อมาระบาดในชุมชนและครอบครัว ปฏิบัติตามหลักการของสาธารณสุขให้ถูกต้องเมื่อคนเดินทางเข้าชุมชนก็จะทำการกักตัวเอง 14 วัน ที่บ้านของตนหรือเป็นพื้นที่ที่ชุมชนต่าง ๆ จัดเตรียมไว้ให้
เช่นที่นี่ บ้านแม่ฮ่าง ต.นาแก อ.งาว จ.ลำปาง ด้วยพื้นที่ตรงนี้ หลัก ๆ เขาทำการเกษตร บ้านแม่ฮ่าง ต.นาแก อ.งาว จ.ลำปาง อยู่ห่างจากเมืองลำปาง ประมาน 102 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางเข้าเมืองกว่า 1 ชั่วโมง 43 นาที เป็นชุมชนชาวไทยภูเขา 148 ภายในชุมชนบ้านแม่ฮ่างมี 2 ชนเผ่าในหมู่บ้านเดียวกัน คือ อาข่า และ กะเหรี่ยง โดยพื้นที่อยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท จังหวัด ลำปาง คนในชุมชนส่วนใหญ่เลยมีอาชีพทำการเกษตร การเข้าพื้นที่กลับถิ่นฐานด้วยการกักตัว 14 วันสังเกตอาการ แต่การออกแบบด้วยต้นทุนที่ชุมชนมีทางการเกษตร จึงนำทักษะที่เรียนรู้กว่า 10 ทักษะนี้มาเสริม ประกอบด้วย
- การทำปุ๋ยน้ำ
- การทำปุ๋ยหมัก
- การทำปุ๋ยชีวภาพ
- การทำฮอร์โมนพืช
- การปลูกกล้าผัก
- การปลูกกาแฟ
- การทำแปลงเกษตรผสมผสาน
- การทำน้ำยาอเนกประสงค์
- ตกแต่งกิ่ง
- การเย็บปักถักร้อย
เน้นความรู้ในรูปแบบนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทชุมชนที่มีการอาชีพทำเกษตรทั้งหมด และเพื่อสามารถรองรับอาชีพที่ทำในชุมชนได้ สัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมของชุมชนที่ในอนาคตจะเปิดรับเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรในอนาคต
ซ้ายมือ คือ พี่ผู้ใหญ่ อรุณ // บ้านแม่ฮ่าง ต.นาแก อ.งาว จ.ลำปาง เห็นว่าในช่วงที่กลับบ้านมา ในชุมชนมีจำนวน 16 คน และติดต่อกลับมาเรื่อย ๆ จากการเก็บข้อมูลและพูดคุยแลกเปลี่ยน หลายคนบอกว่ากลับมาครั้งนี้ไม่กลับไปอีกแล้ว ผู้ใหญ่จึงเอาทักษะอาชีพที่ในชุมชน แต่ด้วยบริบทพื้นที่ชุมชนนี้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร จึงคิดเสริมทักษะการเกษตรแบบครบวงจรให้กับลูกหลานที่กลับมา
“เราต้องเอาคนของเรากลับบ้านมา ดูแลมาอยู่ใกล้กับพี่น้อง กลับมาแล้วสามารถทำมาหากินในพื้นที่ได้ ปลูกอะไรก็ได้ทำอะไรก็ได้ พื้นฐานของคนที่มีเขาทำได้หมด แล้วเขาจะอยู่แบบนี้แบบยั่งยืน โดยที่ไม่ต้องกลับไปหางานทำในเมือง”
พี่คนกลาง คือ พี่ส้ม เป็นชาวบ้านในชุมชน เป็นคนที่มีความรู้ในชุมชนมาช่วยเติมทักษะให้กับคนที่กลับมาและอยู่ระหว่างการกักตัว
“พื้นที่และบริบทชุมชนของเรา เป็นการทำการเกษตรร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าเราไม่เน้นเรื่องการทำเกษตร แต่ละคนที่กลับมาอยู่บ้านก็เอาตัวไม่รอด”
ขวามือ คือพี่ยุ้ย คือหนึ่งในผู้ที่เลือกกลับมาบ้าน ออกจากอาชีพสาวโรงงาน อยู่ที่โรงงานก็เสี่ยง และคิดว่าไม่กลับไปทำงานโรงงานแล้ว แต่ที่แน่ ๆ แกได้ทักษะใหม่คือการปลูกกล้า พืชผล ทำปุ๋ยหมัก พี่แกบอกว่าจะต่อยอด
“ทางผู้นำชุมชนบอกว่าถ้าเกิดกลับมาแล้วมากักตัว ทางชุมชนจะมีกิจกรรมให้ทำขณะกักตัว แล้วแต่ว่าเราจะเลือกทำกิจกรรมไหน เพื่อที่ในระยะเวลา 14 วันที่เรากลับมากักตัว จะได้ความรู้กลับไป หลังจากเรียนมา 14 วัน แม้เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เราก็นำมาสานต่อจากที่เราเรียนมา เราก็มาปลูกมาทำที่บ้านต่อ เรารู้ว่าอีกหน่อยบ้านเราจะเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว แล้วจึงคิดว่าเราควรจะทำผักปลอดสารพิษ และเอาผักที่เราปลูก เอามาขายเอามาวางขายในชุมชน”
ส่วนการสอนจะมีชาวบ้านที่เป็นปราชญ์ชุมชน และ ทีมครูจาก กศน. อำเภองาว จังหวัดลำปาง ออกแบบแผนการสอนแบ่งเป็น 2 ลักษณะ
- สอนแบบเว้นระยะห่างในการสอนระหว่างผู้ที่ให้การอบรมและผู้กักตัว โดยจะนำอุปกรณ์ไปไว้ให้ อาจใช้วิธีการสอนผ่านไลน์ หรือการเว้นระยะห่าง ส่วนทาง กศน. จะมีคลิปวิดีโอการสอนที่ผลิตขึ้นเองสแกนคิวอาร์โคด
- ในการลงมือปฏิบัติจริง ก็จะต้องมีมาตการเว้นระยะห่างกัน สวมแมสป้องกัน
วิธีการกักตัวขอชุมชนบ้านแม่ฮ่างและเรียนรู้ทักษาะอาชีพใหม่นี้ควบคู่ไปด้วย วิธีการแบบสมัครใจของผู้กักตัวนั้นว่าต้องการเรียนก่อนกลับเข้าบ้านหรือไม่ โดยชุมชนบ้านแม่ฮ่าง มีบ้าน ใช้พื้นที่สวนเกษตรกว่า 10 แห่ง ของชาวบ้าน ที่อยู่ห่างจากชุมชนนำมาเป็นพื้นที่รองรับลูกหลานก่อนที่จะกลับเข้ามาในชุมชนต้องมากักตัว ยังเตรียมวิทยากรชุมชนประมาณ 5 คนที่มีความรู้ความสามารถด้านการเกษตรที่มีประสบการณ์จากการที่ทางชุมชนได้ส่งไปอบรมด้านทางการเกษตรของหน่อยงานต่าง ๆ นำมาถ่ายทอดให้กับผู้ที่กักตัว โดยความรู้จากชุมชนที่ถ่ายทอดจะเน้นเรื่องเกี่ยวกับการทำเกษตรเป็นหลัก โดยให้สอดคล้องกับบริบทชุมชนที่มีการอาชีพทำเกษตรทั้งหมด ให้ความรู้ด้านเกษตรที่สามารถรองรับอาชีพในพื้นที่ได้ ทางชุมชนบ้านแม่ฮ่างร่วมมือกับทาง กศน. อำเภองาว จังหวัดลำปาง ออกแบบแผนการสอนเป็นแต่ละรายการ โดยเน้นด้านอาชีพ ให้กับผู้ที่กักตัว 14 วัน
นี่อาจเป็นหนึ่งวิธีที่ชุมชนคิดและพยายามลุกขึ้นมาเพื่อจัดการภายใต้ต้นทุนที่ตัวเองมี เพื่อพร้อมรองรับลูกหลานกลับมาที่บ้าน พวกเขาไม่ได้มองแค่ปัญหาโควิดที่อยู่ตรงหน้า หากมองไประยะยาว หากลูกหลานเลือกที่จะกลับบ้านมากขึ้น จะสามารถอยู่ได้ แม้จะเป็นเวลาเพียง 14 วันในการเรียนรู้ช่วงสั้น ๆ แต่ความรู้นี้ จะพาชุมชนยืนระยะอีกยาวไกล