วิกฤติซ้อนวิกฤติ ของพี่น้องชาวกะเหรี่ยงภาคเหนือ

วิกฤติซ้อนวิกฤติ ของพี่น้องชาวกะเหรี่ยงภาคเหนือ

ร่วมพูดคุยกับ : คุณสรศักดิ์ เสนาะพรไพร เครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.)

เมื่อกล่าวถึง “อาหาร” สำหรับคนไทยส่วนใหญ่จะนึกถึง ข้าว เป็นปัจจัยหลักของชีวิต เนื่องจากอาหารให้พลังงานแก่ร่างกาย ข้าวจึงมีความสำคัญกับคนทุกคน และสำหรับผู้คนในทุกสถานการณ์ วันนี้น้ำใจจากกะเหรี่ยงเหนือ สู่กะเหรี่ยงบางกลอย-รวบรวมข้าว 7 ตันช่วยพี่น้อง ในสถานการณ์โควิดทำชาวบ้านที่เคยรับจ้างส่งเงินจากเมืองกลับมาจุนเจือครอบครัวต้องตกงาน 158 ครอบครัว และกำลังเดือดร้อนอยู่ แต่ในสถานการณ์นี้ภายใต้ความห่วงใย และการช่วยเหลือกันและกันของพี่น้องชาติพันธุ์มีวิกฤติซ่อนอยู่

ขนข้าว

โพสต์โดย โพควา โปรดักชั่น เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2020

องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! วันนี้คุยเรื่อง วิกฤติซ้อนวิกฤติ ของพี่น้องชาวกะเหรี่ยงภาคเหนือ ร่วมพูดคุยกับ : คุณสรศักดิ์ เสนาะพรไพร เครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.)

กิจกรรมหลักที่มาจากด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ทั่วโลกเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศสิ่งที่เกิดจากสิ่งเหล่านี้ นำไปสู่สภาพแวดล้อมสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนสนใจ คือ มีการตั้งโจทย์ว่าใครเป็นผู้ก่อเหตุนี้ขึ้นให้สิ่งแวดล้อมมันเสื่อมเสียหาย สุดท้ายมีข้อสรุปที่เป็นเชิงทัศนคติหรืออคติว่าปัญหาที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเกิดจากภาคการเกษตรโดยเฉพาะ ในส่วนของภาคเหนือในส่วนของการทำเกษตรแบบธรรมชาติ ไร่หมุนเวียน เกษตรที่ต้องมีการใช้ไฟ มันถูกสรุป และสร้างภาพให้เป็นแบบนั้น

จากกระแส และทรรศนะหรือวิธีการคิดแบบนี้ มันก็ตามไปด้วยของการกำหนดนโยบายของกฎหมายกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไปควบคุม การทำเกษตรที่เราว่ามันเหมาะสมของพื้นที่สูงที่มันมีลักษณะที่มีความสลับซับซ้อนทั้งทางกายภาพหรือภูเขาสูงที่ราดชัน ซึ่งมันมีพัฒนาการที่ผ่านมาคือ ไร่หมุนเวียน

ที่มาของประเด็นปัญหาเพราะว่าระบบแบบนี้ถูกกีดกัน ในมาตรการของการใช้ไฟ มีมาตราการณ์ในเรื่องของมาตรการให้ปรับวันเวลาให้เผา ในการเปิดพื้นที่ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือทำให้หลายพื้นที่หลายชุมชนไม่สามารถเตรียมพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน บางพื้นที่เตรียมแล้วแต่ไม่ได้เผา บางพื้นที่เผาแล้วก็ถูกดำเนินคดี ถูกคุกคาม สิ่งนี้มีปัญหาทั้ง ๆ ที่ส่วนจังหวัดชุมชนและท้องถิ่นร่วมกับท้องที่และผู้ใหญ่บ้านยื่นข้อเสนอไป แต่ประเด็นนี้การยื่นข้อเสนอขึ้นไปเป็นนโยบายหรือทางจังหวัด นี่เป็นโจทย์ว่าการรับรู้ข้อมูลจากส่วนกลางในพื้นที่มันย้อนแย้งกัน

พูดถึงการช่วยเหลือการทำกิจกรรมเรื่องข้าวแลกปลา ปลาแลกข้าวเป็นในเชิงวิธีคิด ในเชิงปรัชญา ในเชิงการอนุรักษ์เศรษฐกิจในเชิงวัฒนธรรมหลังจากนั้น เนื่องจากว่าพี่น้องชาวเผชิญปัญหาคล้ายพี่น้องกะเหรี่ยง ปกติพี่น้องชาวเลจะต้องออกไปหาปลามีการประกาศเขตอุทยานการตลาดทางทะเลไม่สามารถที่จะต้องไปหาปลาได้ ในขณะเดียวกันพี่น้องกะเหรี่ยงที่อยู่ในป่าถูกประกาศเขตอุทยานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทำให้พี่น้องเหล่านั้นไม่สามารถออกไปเก็บของป่าทำมาหากินในที่ตรงนั้นได้

การที่ออกมาทำแบบนี้กันคือ 1 เป็นการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน 2 เป็นเรื่องของการเรียนรู้ เรื่องของปัญหาที่มันเกิดขึ้นว่ามันเกิดจากอะไรและคิดช่วยกันคิดค้นหามีข้อเสนอให้กับทางรัฐบาลตรงนี้อย่างไร เพราะส่วนตัวคิดว่าทางรัฐบาลคงไม่มีความรู้ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อเสนอดี ๆ หรือไม่มีทักษะที่จะบริหารจัดการตรงนี้ แก้ไขปัญหาอย่างไรพวกเราจึงคิดว่าเราน่าจะต้องกันช่วยเรื่องนี้ ไม่อย่างนั้นเรื่องนี้จะลามไปแล้วผลกระทบตรงนี้จะ กระจายเป็นวงกว้างขึ้น

สิ่งที่เราทำในวันนี้ข้าวที่ระดมมา แบ่งปันพี่น้องชาวเลหลัก ๆ คือพี่น้องกะเหรี่ยงภาคเหนือ 5 จังหวัดเป็นหลักมี ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง และลำพูนที่เรากำลังประสานอยู่แต่เรายังประสานไปได้ไม่ทั่วถึง ข้าวที่ได้มาจะมี ส่วนหนึ่งเป็นข้าวสาร ส่วนหนึ่งเป็นข่าวเปลือก ข้าวสารนำไปกินส่วนข้าวเปลือกไว้ปลูกต่อข้าวที่จะสามารถพัฒนาตรงนี้ได้และสามารถที่จะเก็บจัดการเมล็ดของตัวเองได้ แต่สิ่งที่ยังติดคือการเพราะปลูกข้าวของทางใต้อาจจะเป็นเรื่องยาก ตอนนี้คืออย่างเช่นชาวบ้านบางกลอยที่มีการอพยพในปี 2014 – 2015 ในระยะเวลาเกือบ 10 ปี 5 -10 ปีในระยะเวลานี้สิ่งที่มันเกิดขึ้น คือ อุทยานหรือหน่วยที่รับผิดชอบอพยพลงมาหน่อยเพราะพวกเขาไม่สามารถที่จะหาที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการเพาะปลูกของตนเองได้ และการเยียวยาเบื้องต้น คือยังไม่ครบถ้วนรอบด้านทำให้เกิดการตั้งหลักไม่ได้ ถามว่าชาวบ้านที่บางกลอยเป็นอย่างไรบ้างก็พูดถึงว่าทำมาหากินโดยอิสระกรพึ่งพาตัวเองแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แม่ว่าจะมีหลาย ๆ โครงการที่เข้ามาสิ่งนั้นเป็นเพียงแค่การเยียวยาเบื้องต้น

และในตอนนี้เราพยายามที่จะมีเรื่องของระบบการบริหารจัดการข้าว สิ่งเราอยากจะเสริมเข้าไปคืออยากส่งเสริมให้กับคนในชุมชน ไม่ใช่แค่พี่น้องที่เป็นชาวบางกลอยหาที่ทำกินไม่ได้ หรือในส่วนของภาคเหนือในพื้นที่การทำกินเดิมของตัวเองก็ยังไม่สามารถที่จะปลูกข้าวของตนเองได้ เนื่องจากว่าการเตรียมพื้นที่อยู่ในมาตรการของการห้ามเผา สองมีการเผาแล้วมีการยึดพื้นที่ของชาวบ้านทำให้ชาวบ้านไม่กล้าเข้าไปเตรียมและปลูกข้าวในพื้นที่ไร่ของตนเอง มันกระทบหลาย ๆ พื้นที่ในภาคเหนือ

เรื่องที่น่ากังวลคือข้าวที่เรานำมาเป็นผลผลิตจากข้าวปีที่แล้ว  ที่มีเหลือพออยู่แล้วที่จะแบ่งปันได้แต่ในปีนี้ในหลายพื้นที่หลายชุมชนไม่สามารถที่จะเพาะปลูกข้าวหรือไร่ต่าง ๆ ได้ ปีนี้เราจึงคิดว่ามันต้องมีผลกระทบตามมาแน่นอน เรื่องของการช่วยเหลือการแบ่งปันการเยียวยากันถ้าเกิดวิกฤตต่อไปในอนาคต จริง ๆ แล้วสิ่งเหล่านี้มีหลักฐานทางวิชาการอยู่เพียงแต่ว่ากรมป่าไม้หรือหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ได้ทำทฤษฎีหรือแนวคิดในเรื่องนี้มาใช้เท่าที่ควร ซึ่งจะมี นอกจากความหลากหลายทางชีวพื้นถิ่นซึ่งจะมีผลในระนะยาวในเรื่องของการบริหารและเรื่องอาหารที่จะตามมา

ไร่หมุนเวียน สิ่งที่จะต้องอธิบายเรื่องนี้คือแก้คำนิยามว่าไร่หมุนเวียนคืออะไร นกะเหรี่ยงเรียกว่า คึ ถ้าแปลเป็นภาษาไทยมันเป็นระบบ ลำดับขั้นตอน คือ การมอบหมายให้ทั้งพื้นที่ที่เป็นระบบกายภาพในเรื่องการเตรียมพื้นที่ในรอบ 1 ปี ว่ามีกี่ขั้นตอนมีกี่กระบวนการมันป็นทั้งในแง่ของกระบวนการทางสังคมสาสตร์ มนุษย์ มันเป็นในแง่ของมันแต่มันยากในการอธิบายให้เห็นชัด

แต่ขอสรุปแบบง่าย ๆ คือระบบไรหมุนเวียน หรือ คึ มันมีวิธีการทำเกษตรแบบเป็นระบบวิถี เป็นขั้นเป็นตอนเป็นช่วงเวลา ในเชิงกระบวนการผลิต ในขณะเดียวกันถ้าพูดกันในแง่ของการใช้ประโยชน์ ในรอบ 12 เดือนมันก็มีผลประโยชน์ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันตามฤดูกาล ได้ผลผลิตออกมาที่เป็นประโยชน์และแตกต่างกัน และมีเรื่องที่เกี่ยวข้องคือการพื้นตัวของต้นไม้ การพื้นตัวข้องป่า การพื้นตัวของนิเวศน์ มันมีช่วงเวลาจังหวะของมันเช่น 7 ปีโครงสร้างก็จะเป็นชั้น 7 ชั้น ถ้าสองรอบ 7 ชั้นโครงสร้างป่าก็จะมี 14 ชั้นนี่คือเป็นองค์ความรู้ของคนพื้นที่สูงและคนพื้นที่สูงจะเข้าใจเรื่องระบบนิเวศน์ของป่าซึ่งภายใต้โครงชั้นทั้ง 7 ชั้น 14 ชั้นนั้นมีหลากหลายองค์ประกอบ

มันจะมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่างการทำไร่หมุนเวียน กับ ไร่เลื่อนลอย ทั้งสองอย่างมันถูกกำหนดของด้วยมาตรการหลักเกณฑ์ของคน คนที่ไม่เคยทำไม่เคยอยู่พื้นที่ตรงนี้มากำหนดกฎเกณฑ์จึงทำให้ความคลาดเคลื่อนที่เข้าใจผิด สองคือชุมชนกะเหรี่ยงที่เคยทำไร่หมุนเวียนชุมชนกะเหรี่ยงเหล่านี้มีการเรียนรู้และการปรับตัวเพื่อที่จะรองรับกับสภาพถูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลง มันเยอะมากการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวตรงนี้มักไม่ได้พูดถึง ทั้งในแง่โอกาสที่ผ่านมาเจอทั้งอุปสรรคซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ถูกสื่อออกไปให้เกิดความเข้าใจ ทั้งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในพื้นที่หลาย ๆ พื้นที่ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาชาวบ้านเขาก็ทำงานทำแนวกันไฟร่วมกันพอมีการสั่งการแบบนี้ทุกคนที่ทำงานร่วมกับชาวบ้านไม่สามารถทำอะไรได้เลย

คิดว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มันอาจจะเข้าใจได้ไม่หมด แต่กระบวนการเรียนรู้มันสามารถจะเข้าใจและสร้างกระบวนการเรียนรู้อาจจะไม่ได้นำไปสู่เรื่องการเปลี่ยนแปลง ที่ทันทีทันใดแต่การเรียนรู้เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของการปับตัวที่เหมาะสมถ้าทุกผ่านเปิดใจยอมรับมันก็จะสามารถอยู่ร่วมกันได้ แต่ถ้าในพื้นที่มีการประสานแล้วเกิดการแทรกแซงโดยไม่มีความรู้หรือเกิดเปลี่ยนกระบวนการโดยที่ไม่มีการการมีส่วนร่วมจะทำให้เกิดปัญหา

การทำไร่หมุนเวียนในปีนี้ในช่วงเวลาแบบนี้ คือ ฤดูกาลมันเปลี่ยนไปแล้วจะให้มันหยุดเลยมันเป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ฤดูกาลตรงนี้มันย้อนกลับมา ทีนี้สิ่งที่จะต้องคิดต่อและเป็นประเด็น ในเรื่องของการถกและการพูดคุย หลังจากที่ชาวบ้านในพื้นที่ให้ความร่วมมือกับทางรัฐแล้ว และในช่วงเวลาที่ต้องใช่ไฟเผาในพื้นที่ตรงนี้ไม่สามารถใช้ไฟได้อย่างปกติสุข หรือปกติวิถีทีนี้เราจะมีแผนช่วงเหลือเยียวยาให้กับคนเหล่านี้ได้อย่างไร คิดว่ามีหลายร้อยครอบครัวในทางภาคเหนือ ต่อจากนี้คงคิดเรื่องของโครงการผังระบบเศรษฐกิจ และการเยียวยา สังคมต้องตั้งโจทย์ตรงนี้ และเรื่องของบทเรียน ถอดบนเรียนในเรื่องของการบริหารจัดการแบบนี้มีผลกระทบในวงกว้างและเรื่องของความรุนแรงของวิกฤตความขัดแย้ง ระหว่างชุมชนกับชุมชน ชุมชนกับเจ้าหน้าที่มันจะมีการรับมือหรือมีการเตรียมความพร้อมเรื่องนี้อย่างไร เพราะมนุษย์ทุกคนอยู่ได้ด้วยการกินอาหาร เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่คิดเผื่อซึ่งกันและกันเราไม่มีน้ำใจต่อกันมันจะเกิดความขัดแย้งที่ตามมา

เรื่องที่อยากขยับคือของมติรัฐมนตรี 2 สิงหาคม ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกะเหรี่ยงและชาวเล อยากที่จะสร้างความเข้าใจและสร้างกระบวนการเรียนรู้ในสังคมเรื่องนี้เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน ถ้าเราดูในเรื่องของทิศทางมาดูเรื่องของปัญหาปากท้อง สุขภาพ ทรัพยากร ดูเรื่องเศรษฐกิจไปควบคู่กันทั้งหมด สร้างความร่วมไม้ร่วมมือ พัฒนาในการทำงานที่ทุกฝ่ายร่วมกันได้ เกิดการแลกเปลี่ยนในการเรียนรู้มีเทคโนโลยีเป็นทิศทางที่สังคมจะเดินและรับผิดชอบร่วมกัน

Live องศาเหนือ Special 300420

Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ !วันนี้ชวนคุณผู้ชมคุยเรื่อง วิกฤติซ้อนวิกฤติ ของพี่น้องชาวกะเหรี่ยงภาคเหนือ.ร่วมพูดคุยกับ : คุณสรศักดิ์ เสนาะพรไพร เครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.)

โพสต์โดย The North องศาเหนือ เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2020

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ