โรคและภัยสุขภาพที่พบบ่อยหลังน้ำลด รู้ไว้ ป้องกันได้ด้วยตนเอง

โรคและภัยสุขภาพที่พบบ่อยหลังน้ำลด รู้ไว้ ป้องกันได้ด้วยตนเอง

                  ภาวะน้ำท่วมได้ผ่านพ้นเขตพื้นที่ ภาคเหนือตอนบนไประยะหนึ่งได้ทิ้งร่องรอยความเสียหายไว้ทั้ง ชีวิต และทรัพย์สิน ต่อจากนี้เข้าสู่ภาวะหลังน้ำลด ก็ยังมีโรค และภัยสุขภาพรอซ้ำเติมอยู่

โรค และภัยสุขภาพที่พบบ่อยหลังน้ำลด รู้ไว้ ป้องกันได้ด้วยตนเองมีดังนี้

โรคทางเดินหายใจ  (เช่น หวัด หวัดใหญ่ ปอดบวม)
อาการ  ครั่นเนื้อครั่นตัว  มีไข้  ปวดศีรษะ  คัดจมูก มีน้ำมูก ไอ จาม เจ็บคอ ปวด เมื่อยตามร่างกาย  อ่อนเพลีย  เบื่ออาหาร
     วิธีป้องกัน   – ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ โดยหลีกเลี่ยงการเล่นน้ำหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน  ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น เช็ดตัวให้แห้งอยู่เสมอ และสวมเสื้อผ้าให้หนาพอหากอากาศเย็น
                   – หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นหวัด
                        – ปิดปากและจมูกด้วยผ้าหรือกระดาษทิชชูเวลาไอ หรือจาม
                           – ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่

โรคทางเดินอาหาร  (เช่น อุจจาระร่วง อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ บิด ไทฟอยด์)
อาการ  ถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือถ่ายมีมูกเลือด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร
     วิธีป้องกัน      – รับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด ไม่บูดเสีย อาหารกระป๋องยังไม่ หมดอายุ  กระป๋องไม่บวมหรือเป็นสนิม
                     – ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก น้ำขวด
                     – ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ก่อนปรุงและเตรียมอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร และหลังการขับถ่าย
                 – ห้ามถ่ายอุจจาระลงน้ำโดยตรง  ให้ถ่ายลงในถุงพลาสติก แล้วใส่ปูนขาว จำนวนพอสมควร ปิดปากถุงให้แน่น  แล้วนำไปใส่ในถุงดำ (ถุงขยะ)
 
โรคฉี่หนู (หรือโรคเลปโตสไปโรซิส) และโรคน้ำกัดเท้า
อาการโรคฉี่หนู  มีไข้สูงทันทีทันใด  ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะบริเวณน่องและโคนขา หรือปวดหลัง  บางรายมีอาการตาแดง  มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง  ไอมีเลือดปน ตัวเหลือง  ตาเหลือง  ปัสสาวะน้อย  ซึม  สับสน
อาการโรคน้ำกัดเท้า  เท้าเปื่อยและเป็นหนอง  คันตามซอกนิ้วเท้า  ผิวหนังลอกเป็นขุย  มีผื่นพุพอง  ผิวหนังอักเสบบวมแดง
     วิธีป้องกัน        – หลีกเลี่ยงการลุยน้ำย่ำโคลนโดยไม่จำเป็น
                    – ถ้ามีบาดแผลต้องป้องกันไม่ให้สัมผัสถูกน้ำโดยสวมรองเท้าบู๊ทยาง
                         – หากต้องลุยน้ำย่ำโคลนต้องรีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งอยู่เสมอโดยเร็วที่สุด

โรคตาแดง
อาการ  ระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก  หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง อาจเริ่มที่ตาข้างหนึ่งก่อน แล้วจึงลามไปตาอีกข้างหนึ่ง
วิธีป้องกัน           – ถ้ามีฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกเข้าตาต้องรีบล้างด้วยน้ำสะอาดทันที
                  – ไม่ควรขยี้ตา อย่าให้แมลงตอมตา  และไม่ควรใช้สายตามากนัก
                       –  ผู้ป่วยโรคตาแดงควรแยกจากคนอื่นๆ และไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับคนอื่น เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ ระบาด

ไข้เลือดออก
อาการ  ไข้สูงลอย  ปวดศีรษะ  ปวดเมื่อยตามตัว  หน้าแดง  อาจมีจุดแดงเล็กๆ ตามลำตัว แขน  ขา
วิธีป้องกัน          – ระวังอย่าให้ยุงกัด โดยนอนในมุ้ง  ทายากันยุง
                       -กำจัดลูกน้ำ และแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบริเวณน้ำท่วมขัง โดยปิดฝาภาชนะเก็บน้ำ  คว่ำหรือทำลายภาชนะไม่ให้มีน้ำขัง

##### โดยเฉพาะในจังหวัดภาคเหนือตอนบนเริ่มมีสัญญาณการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูกาลระบาดของโรคทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคที่เกิดกับกลุ่มเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบรุนแรงเช่นในเด็กเล็ก อย่างโรค มือ เท้า ปาก ปอดบวม หรือไข้หวัดใหญ่ #####

ขอแนะนำลิ้งค์ที่จะพบข้อมูลเรื่องโรคต่างๆในรายละเอียดมากขึ้นดังนี้

–   ข่าวสถานการณ์อุทกภัย และข่าวกรองเตือนภัยโรคและภัยสุขภาพในช่วงน้ำท่วมที่หน้าเวบ สคร. ๑๐ ตามลิ้งค์ http://dpc10.ddc.moph.go.th/ ในส่วนนี้รวมถึงข่าวกรองเตือนภัยเรื่องโรคมือเท้าปากในโรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็กด้วย

–   แถมลิ้งค์สื่อโรคมือเท้าปากของ สสส.  http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/special_report/10478

–   สื่อสุขศึกษา รวมเรื่องการป้องกันโรคต่างๆ – เช่น, สื่อโรคน้ำในภาวะน้ำท่วมจากเวบ สคร. ๑๐ ตามลิ้งค์ http://dpc10.ddc.moph.go.th/9/

–   โรคฉี่หนู (เลปโตสไปโรซิส) จากเวบ สคร. ๑๐ ตามลิ้งค์ http://dpc10.ddc.moph.go.th/9/lepto_all.html

ที่มา สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 10

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ