6 4 54 ตึกสูงวัดอุโมงค์ (Embedding disabled, limit reached)
ลำดับเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับย่านซอยวัดอุโมงค์ และการเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาอาคารสูงในย่าน
พ.ศ. 2507 ย่านซอยวัดอุโมงค์มีลักษณะเป็นป่า มีต้นไม้ใหญ่ และยังพบเสือในบริเวณนี้
พ.ศ. 2508-2528 ย่านซอยวัดอุโมงค์เป็นย่านพักอาศัยชั้นดีของเมืองเชียงใหม่ มีบรรยากาศสงบเงียบ ท่ามกลางธรรมชาติ ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบ้านเดี่ยว
2529-2548 เริ่มมีการก่อสร้างอาคารสูงเป็นคอนโดมิเนียมในหมู่ 14 ประชาชนต่อต้านอาคารสูงเป็นระยะๆ
2545-2550 ชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนาสำรวจนกในย่านซอยวัดอุโมงค์ถึงวัดร่ำเปิง พบนกพื้นถิ่นและนกอพยพ 91 ชนิด จากจำนวนนก 235 ชนิดของดอยสุเทพ
ปลาย พ.ศ. 2549 มีการก่อสร้างอาคารสูงเกิน 4 ชั้น ประเภทหอพัก โรงแรม และคอนโดมิเนียม จำนวนมาก ในพื้นที่ดินขนาดเล็ก ถนนแคบ ไม่มีระยะถอยร่น ไม่มีทางเดินเท้า ในย่านซอยวัดอุโมงค์ หมู่ 8, หมู่ 10, หมู่ 14 อบต.สุเทพ ทำให้เกิดความแออัด ฝุ่นควัน น้ำประปาไม่ไหล ไฟดับ กระแสไฟตก ถนนพัง ทางระบายน้ำเสียหาย รถติดมาก เกิดมลพิษทางสายตา สร้างความเดือดร้อนและความไม่พอใจแก่ผู้อาศัยอยู่ในย่านและผู้ที่ต้องผ่านบริเวณนั้น
29 ม.ค. 50 รศ. ดร. ธเนศวร์ เจริญเมือง อ. คามิน เลิศชัยประเสริฐ, ผศ. นิรุทธ์ สุพรรณชาติ และ น.ส. พีริยา สุงฆาสิทธิ์เป็นตัวแทนชาวบ้านย่านซอยวัดอุโมงค์ยื่นหนังสือถึง นายการุณ คล้ายคลึง นายก อบต. สุเทพ ขอให้แก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนเนื่องจากการก่อสร้างอาคารสูงในพื้นที่ (ปัญหา 11 ข้อ ข้อเรียกร้อง 7 ข้อ)
30 ม.ค. 50 สำนักข่าวประชาธรรมรายงาน “ชาวเชียงใหม่จี้ผู้ว่าควบคุมอาคารสูง”: ชาวเชียงใหม่ยื่นผู้ว่าฯ – อบต. ควบคุมการก่อสร้างอาคารสูงซอยวัดอุโมงค์ ชี้สร้างปัยหาชุมชนอื้อ ทั้งน้ำไม่ไหล รถติด ถนนพัง ฝุ่น ควัน เสียงดัง แจงหากไม่ควบคุมอย่างจริงจังปัญหาจะตามมาอีกเพียบ อบต.แจงไม่มีอำนาจควบคุมเต็มที่ โบ้ย กม.การควบคุมอาคารซ้ำซ้อน หากแก้ต้องทำนั้งระบบ
31 ม.ค. 50 นายธเนศวร์ เจริญเมือง ทำหนังสือถึงชาวย่านซอยวัดอุโมงค์ เชิญชวนให้มาประชุมหารือในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2550 เพื่อหาทางออกร่วมกัน
3 ก.พ. 50 ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้างอาคารสูงประชุมหารือ เพื่อขับเคลื่อนให้มีการแก้ปัญหา รวม 16 คน
6 ก.พ. 50 ทำหนังสือถึงนายก อบต.สุเทพ ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลรายชื่อผู้ได้รับอนุญาตก่อสร้างโครงการที่มีความสูงเกิน 4 ชั้น ขึ้นไป ตั้งแต่ พ.ศ. 2547-2550
6 ก.พ. 50 รศ. ดร. ธเนศวร์ เจริญเมือง, อ. คามิน เลิศชัยประเสริฐ, ผศ. นิรุท สุพรรณชาติ, นายบุญทอง ชัยวงศ์ และชาวบ้านย่านซอยวัดอุโมงค์ หมู่ 8, หมู่ 10, หมู่ 14 อบต.สุเทพ ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ (นายกฤษดาภรณ์ เสียมภักดี รองผู้ว่าฯรับแทน) ขอให้ระงับและตรวจสอบการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่บริเวณย่านซอยวัดอุโมงค์ (ปัญหา 11 ข้อ ข้อเรียกร้อง 7 ข้อ) ผู้ลงนาม 104 คน
6 ก.พ. 50 ชาวบ้านย่านซอยวัดอุโมงค์ยื่นหนังสือถึงนายอภิวัฒน์ คุณารักษ์ ผ.อ. สำนักงานสิ่งแวดล้อภาคที่ 1 และ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ขอให้ตรวจสอบและยุติโครงการก่อสร้างอาคารสูงย่านบริเวณซอยวัดอุโมงค์
6 ก.พ. 50 ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนย่านซอยวัดอุโมงค์ ออกแถลงการณ์ขอให้ยุติการก่อสร้างอาคารสูงในย่านซอยวัดอุโมงค์
6 ก.พ. 50 สำนักข่าวประชาธรรมรายงานข่าว “จี้จังหวัดสางปัญหาอาคารสูงซอยวัดอุโมงค์ หวั่นเป็นสลัมในศตวรรษที่ 21: ชาวเชียงใหม่โร่พบผู้ว่าฯจี้ควบคุม – แก้ปัญหาตึกสูง ซ. อุโมงค์ หวั่นอนาคตกลายเป็นสลัมในศตวรรษที่ 21 ด้านจังหวัดรับปากลงพื้นที่ตรวจสอบปัญหาก่อนหาทางแก้ไข
7 ก.พ.50 นายกฤษดาภรณ์ เสียมภักดี รองผู้ว่าฯ, นางพจนี ขจรปรีดานนท์ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเชียงใหม่, นายภุชงค์ อินสมพันธ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่, นายการุณ คล้ายคลึง นายก อบต. สุเทพ, รศ. ดร.บุญลือ เผือกผ่อง ประธานสภา อบต.สุเทพ และสื่อมวลชน สำรวจสภาพปัญหาในย่านซอยวัดอุโมงค์ โดยการนำของ รศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง, อ.สุชาดา นันทแกล้ว, อ. คามิน เลิศชัยประเสริฐ, นายบุญทอง ชัยวงศ์ และ คณะประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
7 ก.พ. 50 “รองผู้ว่าฯ เชียงใหม่ลงพื้นที่สำรวจตึกสูง ซ. วัดอุโมงค์”: รองผู้ว่าลงพื้นที่สำรวจปัญหาตึกสูง ซ. วัดอุโมงค์ รับเกิดปัญหาจราจรหนัก แนะ ตร.จัดการ เผยทางจังหวัดเตรียมศึกษาข้อกฎหมายจัดการปัญหาแน่ ด้านประชาชนเร่งหน่วยงานรัฐจัดการปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
10 ก.พ. 50 คณะทำงานย่านซอยวัดอุโมงค์ ประชุมหารือเพื่อแบ่งภารกิจกันทำ เพื่อผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาต่อไป เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2550
12 ก.พ. 50 ประชาชนย่านซอยวัดอุโมงค์ส่งหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ร้องเรียนความเดือดร้อนที่ได้รับจากการจัดงานพืชสวนโลก เพราะมีการสร้างอาคารสูงและมีรถบัสเข้ามาในซอยเป็นจำนวนมาก
มี.ค. 50 มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง ร่วมกับ กลุ่มศึกษาเมืองและสิ่งแวดล้อม สำรวจอาคารสูงเกิน 4 ใย่านซอยวัดอุโมงค์ หมู่ 8, หมู่ 10, หมู่ 14 มีจำนวน 54 อาคาร
6 มี.ค.
2550
ชาวบ้านยื่นหนังสือร้องเรียนนายก อบต.สุเทพ ให้โครงการก่อสร้างแต่ละโครงการปิดประกาศใบอนุญาตผู้ประกอบการ และรายละเดียดการก่อสร้างตามกฎหมาย (ลงชื่อ 6 คน)
6 มี.ค.
2550
ชาวบ้านยื่นสำเนาหนังสือร้องเรียนนายก อบต.สุเทพ ให้โครงการก่อสร้างแต่ละโครงการปิดประกาศใบอนุญาตของผู้ประกอบการ และรายละเดียดการก่อสร้างตามกฎหมาย (ลงชื่อ 6 คน) ถึง
– โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเชียงใหม่, นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่, ผู้อำนวยการสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1, ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เลขรับโยธา ที่ 581 ลว 7 มี.ค. 50
13 มี.ค. 50 นายการุณ คล้ายคลึง นายก อบต.สุเทพ มีหนังสือเชิญประชาชนประชุมจัดทำข้อบัญญัติตำบล ในวันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 เวลา 13:30 ที่วัดศรีโสดา พร้อมแนบร่างข้อบัญญัติตำบลสุเทพ และแผนที่จัดประชุม ชม 72203/ว.0268 ลว 13มี.ค. 50
23 มี.ค. 2550 นายการุณ คล้ายคลึง ตอบจดหมายถึง นายสมชัย ดวงทวีทรัพย์ แจ้งว่าได้แจ้งผู้ประกอบการให้ติดป้ายแสดงรายละเอียดโครงการ และส่งบัญชีรายชื่อผู้ได้รับใบอนุญาตสร้างอาคารสูงเกิน 4 ชั้น จำนวน 2 แผ่น ที่ ชม 72203/ 0301 ลว 23 มี.ค.50
3 เม.ย. 50 นายสรศักดิ์ วจีสัตย์ รองปลัด อบต.สุเทพ มีหนังสือเชิญ ทพ. สมชัย และ คณะ เข้าประชุมรับฟังความคิดเห็นในการวางและจัดทำผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ (ปรับปรุงครั้งที่ 3) ที่ ชม 72203/ 0346 ลว 3 เม.ย.50
3-23 ก.ค. 50 คณะทำงานย่านซอยวัดอุโมงค์สำรวจต้นไม้ใหญ่และต้นไม้หวงห้ามย่านซอยวัดอุโมงค์ หมู่ 8, หมู่ 10, หมู่ 14 พบต้นไม้หวงห้าม 716 ต้น ต้นไม้ใหญ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 ซม ขึ้นไป 349 รวม 1,065 ต้น
25 พ.ค 50 อบต. สุเทพ ประชุมกับประชาชนย่านซอยวัดอุโมงค์เพื่อพิจารณาบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างข้อบัญญัติ อบต.สุเทพ เรื่อง การควบคุมการก่อสร้างอาคารบางชนิดหรือบางประเภท
1 ส.ค. 50 ผ.ศ. นิรุท สุพรรณชาติ บันทึกภาพถ่ายจากบ้านซึ่งเคยเห็นดอยสุเทพชัดเจน แต่ปัจจุบันถูกอาคารสร้างใหม่บดบังจนเหลือช่องมองนิดเดียว
1 ส.ค. 50 นายธเนศวร์ เจริญเมือง, นายคามิน เลิศชัยประเสิรฐ, นางพิกุล ลีออง, นางศิริทร โหติการ และนางพวงทอง วงศ์ดาราวรรณ เป็นตัวแทนชาวบ้านย่านซอยวัดอุโมงค์ ส่งหนังสือถึงอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง
– ขอให้กรมโยธาธิการและผังเมืองแก้ไขข้อกำหนดการใช้ที่ดินย่านซอยวัดอุโมงค์ในผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ ให้คุ้มครองสิทธิในการอยู่อาศัยของประชาชนในย่านซอยวัดอุโมงค์ ให้เป็นย่านอยู่อาศัยแบบบางเบา สงบเงียบ ได้รับแดด ลม และสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของดอยสุเทพที่เป็นจิตวิญญาณของคนเชียงใหม่ และเพื่อเก็บรักษาบรรยากาศความเป็นเมืองเก่าแก่ของย่าน
– ขอให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างในเมืองเชียงใหม่ ให้มีเงื่อนไขที่เหมาะสมกับความเป็นเมืองประวัติศาสตร์
สำเนาส่งถึง: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, รมว. กระทรวงมหาดไทย
1 ส.ค. 50 ส่งหนังสือถึงคณะกรรมการผังเมืองแห่งชาติขอให้แก้ไขการกำหนดการใช้ที่ดินย่านซอยวัดอุโมงค์ในผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่
ที่ ยอ. 002/2550 ลว 1 ส.ค. 50
1 ส.ค. 50 ส่งหนังสือถึงโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเชียงใหม่ขอให้แก้ไขการกำหนดการใช้ที่ดินย่านซอยวัดอุโมงค์ในผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ ข้อเรียกร้องเช่นเดียวกับที่ส่งไปยังกรมโยธาธิการและผังเมือง
1 ส.ค. 50 ส่งหนังสือถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอให้ผลักดันให้มีการแก้ไขข้อกำหนดการใช้ที่ดินย่านซอยวัดอุโมงค์ในผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่
-. ขอให้ผลักดันให้กรมโยธาธิการและผังเมืองแก้ไขข้อกำหนดผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ ให้คุ้มครองสิทธิในการอยู่อาศัยของประชาชนในย่านซอยวัดอุโมงค์ ซึ่งเคยอยู่อาศัยแบบบางเบา สงบเงียบ ได้รับแดด ลม และสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของดอยสุเทพที่เป็นจิตวิญญาณของคนเชียงใหม่
– ขอให้ผลักดันให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประกาศเขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและศิลปกรรมในย่านซอยวัดอุโมงค์
– ขอให้ผลักดันให้กระทรวงวัฒนธรรมฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะแหล่งโบราณสถาน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม และฟื้นฟูเขตธรณีสงฆ์ของวัดป่าแดง (ร้าง) ให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าไปเรียนรู้และชื่นชมองค์พระเจดีย์ได้อย่างเท่าเทียม
– ขอให้ผลักดันให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างในเมืองเชียงใหม่ ให้มีเงื่อนไขที่เหมาะสมกับความเป็นเมืองประวัติศาสตร์ ที่
1 ส.ค. 50 ส่งจดหมายถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอให้แก้ไขการกำหนดการใช้ที่ดินย่านซอยวัดอุโมงค์และ พรบ. ควบคุมอาคาร
– ขอให้มีคำสั่งไปยัง อบต. สุเทพ ซึ่งกำลังจะยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลสุเทพ ห้ามมิให้มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารสู งเกิน 12 เมตร ซึ่งกำลังเป็นข้อขัดแย้งของสังคม และประชาชนเรียกร้องให้เปลี่ยนข้อกำหนดการใช้ที่ดิน และยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาแก้ไข จนกว่าข้อกำหนดการใช้ที่ดินจะผ่านการพิจารณา และประกาศให้มีผลบังคับใช้
– ขอให้มี การปรับปรุงพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง
– อาคารสาธารณะและอาคารพักอาศัยรวมให้มีที่จอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์อย่างน้อยร้อยละ 50 ของจำนวนห้อง ขนาดที่จอดรถ 2.5 x 6.0 ม. 1 คัน หรือให้มีที่จอดรถยนต์ไม่น้อยกว่า 8 คันต่อพื้นที่อาคาร 240 ตรม. เศษของ 240 ตรม.ให้คิดเป็น 240 ตรม.
– อาคารสาธารณะในพื้นที่ต้องมีพื้นที่เปิดโล่ง ไม่มีหลังคาคลุมอย่างน้อยร้อยละ 30 ของที่ดิน และมีพื้นที่สีเขียวที่ปลูกต้นไม้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ดินของโครงการ
– ในย่านซอยวัดอุโมงค์ อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้ถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อยด้านละ 10 เมตร ถ้าถนนสาธารณะกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อยด้านละ 10 เมตร
– ภายในความสูงของอาคารไม่ว่าจากจุดใดจุดหนึ่ง ต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบ วัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคารนั้นที่สุด แต่ไม่เกิน 12 เมตร
ความสูงของอาคารให้วัดแนวดิ่งจากระดับถนนหรือระดับพื้นดินเดิมขึ้นไปถึงส่วนของอาคารที่สูงที่สุด
– โครงการอาคารสูงเกิน 12 เมตรที่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างไปแล้ว แต่ผู้ประกอบการยังไม่ได้ก่อสร้างภายใน 1 ปี ขอให้ยื่นขออนุญาตใหม่ตามเงื่อนไขใหม่ที่กำหนด ที่ ยอ. 005/2550 ลว 1 ส.ค. 50
1 ส.ค. 50 ส่งหนังสือถึง รมว.กระทรวงวัฒนธรรม ขอให้ฟื้นฟูที่ธรณีสงฆ์และอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในย่านซอยวัดอุโมงค์ โดยการดำเนินการทำนุบำรุงแหล่งโบราณสถาน และศิลปกรรมในย่านซอยวัดอุโมงค์ ทั้งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ โดยเฉพาะเจดีย์กู่ป้อเจ้าแม่เจ้าของพระญาติโลกราช โดยฟื้นฟูเขตธรณีสงฆ์ มีการจัดภูมิทัศน์ให้สมพระเกียรติพระญาติโลกราชที่จะมีพระชนมายุครบ600 ปี ในปี พ.ศ. 2552 ขอให้กรมศาสนางดต่ออายุการให้เช่าที่ธรณีสงฆ์วัดป่าแดง (ร้าง) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่
1 ส.ค. 50 ส่งหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ขอให้งดการให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ย่านซอยวัดอุโมงค์
1 ส.ค. 50 ส่งหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักงานศิลปากรที่๘ เชียงใหม่ขอให้ฟื้นฟูและดูแลแหล่งโบราณ สถานในย่านซอยวัดอุโมงค์
1 ส.ค. 50 ส่งหนังสือถึงคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ขอให้ประกาศย่านซอยวัดอุโมงค์ หมู่ 8, หมู่ 10, หมู่ 14 เป็นเขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม เพราะมีแหล่งศิลปกรรมที่สำคัญหลายแห่งและมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นระบบนิเวศน์เชิงดอยสุเทพ มีผลกระทบต่อการไหลเวียนของอากาศในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน ไม่ให้ระบบนิเวศถูกถูกคุกคามมากกว่าที่เป็นอยู่ และเพื่อคุ้มครองระบบนิเวศของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งประสบวิกฤตหมอกควัน กระทบสุขภาพคนในเมืองเชียงใหม่ และเศรษฐกิจของเมืองซึ่งอยู่บนฐานของธุรกิจการท่องเที่ยว
1 ส.ค. 50 ส่งหนังสือถึงเลขาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอให้ประกาศให้ย่านซอยวัดอุโมงค์เป็นพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
20 ส.ค. 50 เกิดเพลิงไหม้ห้องพักในอาคารสูงที่เพิ่งสร้างเสร็จ อยู่ปากซอยวัดอุโมงค์
26 ส.ค. 50 กลุ่มชาวบ้านย่านซอยวัดอุโมงค์ หมู่ 8, หมู่ 10, หมู่ 14 ร่วมกับ ชาวบ้านหมู่ 8, หมู่ 10 และหมู่ 14 ต.สุเทพ ร่วมกับ โครงการผลักดันนโยบายสาธารณะสำหรับย่านซอยวัดอุโมงค์ มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง, มูลนิธิที่นา, โครงการเมืองยั่งยืน สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมจัดงาน “สามัคคีรวมใจ ย่านซอยวัดอุโมงค์ครั้งที่ 1” สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ วัตถุประสงค์ของการจัดคือ
หนึ่ง เพื่อเผยแพร่ให้พี่น้องย่านซอยวัดอุโมงค์รู้จักสิ่งดีๆที่ตนเป็นเจ้าของ เช่น โบราณสถาน แหล่งเรียนรู้ทางจิตวิญญาณ แหล่งศึกษาธรรมชาติ ต้นไม้ใหญ่และไม้หวงห้าม นกนานาชนิด ฯลฯ
สอง เพื่อให้ผู้อาศัยในย่านนี้ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการดูแลและปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมย่าซอยวัดอุโมงค์
สาม เพื่อให้พี่น้องย่านซอยวัดอุโมงค์ได้พบปะสังสรรค์ และสร้างสัมพันธ์อันดี เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสร้างแบบอย่างท้องถิ่นเข้มแข็ง
มีการนำเสนอความสำคัญของวัดป่าแดงและเจดีย์ร้างกู่พ่อเจ้าแม่เจ้าของพระญาติโลกราช,โบราณสถานล้ำค่าวัดอุโมงค์, นกน่ารักในย่านซอยวัดอุโมงค์, และระดมความคิดเห็นย่านซอยวัดอุโมงค์วันหน้า
มีการทำนิทรรศการพริ้นท์บนไวนีล ให้ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของย่าน มรดกทางวัฒนธรรมที่มีในย่าน แผนที่แสดงตำแหน่งอาคารสูงในย่าน ข้อเท็จจริงการไหลเวียนของคุณภาพอากาศในแอ่งที่ราบเชียงใหม่ – ลำพูน และผลกระทบอาคารสูงที่เกิดขึ้น
17 ก.ย. 50 รศ.ดร. ธเนศวร์ เจริญเมือง ตัวแทนชาวบ้านย่านซอยวัดอุโมงค์ ทำหนังสือเชิญวิทยากร งาน “สามัคคีรวมใจ ย่านซอยวัดอุโมงค์ครั้งที่ 2 – ผังเมืองกับความอยู่ดีมีสุขของย่านซอยวัดอุโมงค์” ที่จะจัดในวันที่ 30 ก.ย. 50
– นายบุญญวัฒน์ ทิพทัส เป็นวิทยากรหัวข้อ “แนวทางการอนุรักษ์เมืองเชียงใหม่”
– นาย สุวิทย์ ดิษยวงศ์ กรรมการสภาสถาปนิก เป็นวิทยากรหัวข้อ “วิธีการแก้ปัญหาอันเนื่องมาจากการวางผังเมือง”
1 ต.ค. 50 – ผู้อาศัยย่านซอยวัดอุโมงค์และใกล้เคียง ทำหนังสือถึงนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลสุเทพ(ในอนาคต) (ปลัดเทศบาล อบต.ปัจจุบัน) เรียกร้องให้มีการจัดระเบียบการจราจรในซอยวัดอุโมงค์และซอยย่อย (มีผู้ลงชื่อ 17 คน พร้อมแผนที่พื้นที่ที่มีปัญหา)
– นายสรศักดิ์ วจีสัตย์ รองปลัดเทศบาลตำบลสุเทพ ได้ทำแนวปฏิบัติ ให้เทศบาลฯรับผิดชอบการร้องเรียน โดยให้ลงไปแก้ไขและแจ้งผู้ประกอบการไม่ให้ลูกค้าละเมิดกฎหมาย ในเรื่องที่จอดรถ และกองช่างเสนอนายกฯให้ประสานตำรวจภูธรเชียงใหม่ห้ามจอดและหยุดรถในซอย มีผลบังคับ 30 ม.ค. 50 เป็นต้นมา
11 ต.ค. 50 นางดวงจันทร์ เจริญเมือง ทำหนังสือถึงปลัดเทศบาลตำบลสุเทพ อ้างถึงหนังสือลงวันที่ 6 ก.พ. 50 ขอข้อมูลผู้ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารในหมู่ 8, หมู่ 10, หมู่ 14 ในเทศบาลตำบลสุเทพ ตั้งแต่ พ.ศ. 2547-2550 ขอรายละเอียดชื่อโครงการ, ชื่อเจ้าของ, ที่ตั้งอาคาร, ขนาดที่ดิน, ขนาดอาคารทั้งหลัง, จำนวนห้องพัก, จำนวนที่จอดรถและพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ, ความสูงอาคาร, ผังบริเวณ, แปลนชั้นล่าง, ภาพตัดขวางอาคาร และแผนที่ภาษีแสดงชื่อเจ้าของที่ดินในพื้นที่หมู่ 8, หมู่ 10, หมู่ 14
22 ต.ค. 50 นายธัญศักดิ์ แสงศรีจันทร์ ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกเทศมนตรีตำบลสุเทพ มีหนังสือถึงนางศิริทร โหติการและคณะ ว่าได้จัดระเบียบการจราจรแล้วโดย แจ้งศูนย์การจราจรตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ฝ่าฝืน, ติดป้ายห้ามจอดเพิ่มเติม, ขอสถานีตำรวจภูพิงค์ จัดตำรวจอาสาสอดส่องดูแล
2550-2552 ยังคงมีการก่อสร้างอาคารสูงเพิ่มขึ้นในย่านซอยวัดอุโมงค์ แต่ชาวบ้านไม่ได้รับข้อมูลที่ขอจากเทศบาลตำบลสุเทพ
2553 – ปากซอยหมู่บ้านพุทธรรม หมู่ 14 ซึ่งจัดสรรที่ดินเพื่อสร้างบ้านอยู่อาศัยแบบบ้านเดี่ยว มีการก่อสร้างอาคารหอพักจำนวน 21 ห้อง สูง 4 ชั้น บนพื้นที่ 86 ตารางวา ถนนด้านหน้ากว้าง 8,40 เมตร ด้านข้างกว้าง 4 เมตร ถูกกำหนดเป็นพื้นที่สีส้ม ตามข้อกำหนดผังเมืองรวม ความหนาแน่นต้องไม่เกิ น 50 คนต่อไร่และอาคารสูงเกิน 5 ชั้น พื้นที่ใช้สอยน่าจะมากกว่า 2,000 ตารางเมตร มองจากถนน อาคารหลังนี้ได้บดบังวิวดอยสุเทพซึ่งเป็นสมบัติสาธารณะ และเป็นจิตวิญญาณของคนเชียงใหม่ มองจากชั้นสองของอาคารพักอาศัย อาคารนี้กำลังจะบดบังวิวของพระธาตุดอยสุเทพ ศูนย์รวมจิตใจของคนเชียงใหม่
ในกระบวนการก่อสร้างมีรถขนปูนซึ่งมีน้ำหนักมากมักจะจอดคอยเพื่อรอเทปูน แต่น้ำหนักที่มากทำให้ถนนและไหล่ถนนทรุดเสียหาย ท่อประปาแตกบ่อยครั้ง
9 ต.ค. 53 ชาวบ้านย่านซอยวัดอุโมงค์ประชุมกันเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาอาคารสูงที่มีการก่อสร้างขึ้นจำนวนมาก ในย่านซอยวัดอุโมงค์ และร่วมกันก่อตั้ง “ชมรมรักษ์ย่านซอยวัดอุโมงค์(ต.สุเทพ) มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อคือ
หนึ่ง เพื่อดูแลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้อยู่อาศัยในเขตหมู่ที่ 8, 10, 14
สอง เพื่อดูแลและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเขตหมู่ที่ 8, 10, 14
และนัดหมายกันเพื่อขอพบนายกเทศมนตรีตำบลสุเทพในวันอังคารที่ 12 ตุลาคม
9 ต.ค. 53 สมาชิกชมรมรักษ์ย่านซอยวัดอุโมงค์บันทึกภาพความเสียหายจากรถบรรทุกปูนและขนวัสดุก่อสร้างที่ทำให้ถนนทรุดและเป็นหลุม เป็นอันตรายต่อผู้สัญจรโดยเฉพาะมอร์เตอร์ไซด์
12 ต.ค. 53 สมาชิกชมรมรักษ์ย่านซอยวัดอุโมงค์ (ต. สุเทพ) จำนวน — คนเข้าพบนายกเทศมนตรีตำบลสุเทพเพื่อร้องเรียนสภาพปัญหาต่างๆ และขอให้ระงับการก่อสร้างอาคารสูงที่กำลังดำเนิน พร้อมขอสำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร และแปลนของแต่ละโครงการ พร้อมขอข้อมูลจำนวนประชากร
นายกให้เจ้าหน้าที่ไปลอกใส่เศษกระดาษมาให้ ข้อมูล ณ วันนี้ หมู่ 1 มีประชากร 678 คน หมู่ 8 มีประชากร 737 คน หมู่ 10 มีประชากร 1594 คน และ หมู่ 14 มีประชากร 1311 คน รวม 1,311 คน รวม 4,320คน
4 พ.ย. 53 เวลา 10:35 นางศิริทร โหติการ ผู้ประสานงานชมรมรักษ์ย่านซอยวัดอุโมงค์ ติดตามผลการขอข้อมูลจากเทศบาลตำบลสุเทพ โดยประสานกับ นายพายัพ แจ่มหม้อ (ผ.อ. กองช่าง เทศบาลตำบลสุเทพ) ซึ่งแจ้งว่า – กำลังจะเอาเรื่องเข้าบอร์ดประชุมคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร
– ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่ง แม้จะมี พ.ร.บ. หรือเทศบัญญัติ
– กรณีแบบแปลนต้องทำหนังสือแจ้งผู้ประกอบการ ถ้าเขาไม่อนุญาตก็เปิดเผยไม่ได้
– ถ้าผู้ประกอบการอนุญาต ผู้ขอจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย (30 กว่าบาทต่อแผ่น) ในการถ่ายเอกสาร
5 พ.ย. 53 นางประพิณ กาชัย ประธานชมรมรักษ์ย่านซอยวัดอุโมงค์ ส่งหนังสือถึง ประธานคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ว่า เทศบาลตำบลสุเทพ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการประปาส่วนภูมิภาค ไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนขอไปนานสองสัปดาห์เศษแล้ว
5 พ.ย. 53 นางประพิณ กาชัย ประธานชมรมรักษ์ย่านซอยวัดอุโมงค์ ส่งหนังสือถึง เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ขอรายชื่อโครงการที่มีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมในตำบลสุเทพและเชียงใหม่