ชาวเมืองโต๋น ประท้วงต้านเขื่อนสาละวินในเวทีหารือโครงการ

ชาวเมืองโต๋น ประท้วงต้านเขื่อนสาละวินในเวทีหารือโครงการ

20150704213828.jpg

20150704214022.jpg

7 เม.ย. 2558 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (the Shan Human Rights Foundation) รายงานว่าชาวบ้านในรัฐฉานกว่า 150 คน ประท้วงต่อต้านแผนการสร้างเขื่อนสาละวินตอนบน หรือเขื่อนเมืองโต๋น (Mong Ton Dam)  ระหว่างเวทีประชุมหารือเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวซึ่งจัดขึ้นที่เมืองโต๋น ทางใต้ของรัฐฉาน ประเทศเมียนมา โดยบริษัทสัญชาติจากออสเตรเลีย  Snowy Mountain Engineering Corporation (SMEC) เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2558

20150704213923.jpg

ชาวบ้านที่มาจากพื้นที่ต่างๆ ของเมืองโต๋น ชูป้ายต่อต้านเขื่อน และยื่นแถลงการณ์ให้แก่เจ้าหน้าที่ของบริษัท SMEC ชี้ให้เห็นถึงความกังวลต่อการขาดสันติภาพและความสงบในระยะยาว อีกทั้งความกังวลว่าโครงการดังกล่าวอาจทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทั้งเมือง หมู่บ้าน และวัด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองกุ๋นฮิง (Kunhing)
 
หลังจากเวทีปรึกษาหารือ ที่มีผู้เข้าร่วมคือเจ้าหน้าที่รัฐ และกลุ่มผู้ที่สนับสนุนรัฐบาล รวมทั้งทหารอาสาสมัครในท้องถิ่น ชาวบ้านได้ไปที่วัด Pittakat Hong Dhamma และจัดพิธีทางศาสนาเพื่อขอให้ปกป้องแม่น้ำสาละวิน

20150704213947.jpg
 
ทั้งนี้ เขื่อนเมืองโต๋นจะเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดบนแม่น้ำสาละวินในพม่า มีกำลังผลิตไฟฟ้าถึง 7,000 เมกะวัตต์ โดย 90%ของไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกส่งไปยังประเทศจีนและไทย อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นี้จะยาวออกไปครอบคลุมพื้นที่จำนวนมากของรัฐฉาน
 
เขื่อนนี้เป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัทไชน่าทรีจอร์จคอร์เปอเรชั่น (China Three Gorges Corporation), ไชน่าเซาท์เทิร์น พาวเวอร์ กริด (China Southern Power Grid) และ Sinohydro รวมทั้ง บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล และ เมียนมา อินเตอร์เนชั่นแนลกรุ๊ป ออฟ เอนเทรอเพรอเนอ (IGE) (the International Group of Entrepreneurs Co. (Myanmar))

แถลงการณ์ โดย ชาวชุมชนเมืองโต๋น รัฐฉาน
วันที่ 6 เมษายน 2558

1. ในเรื่องการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการประเมินผลกระทบทางสังคม (SIA) สำหรับโครงการพลังน้ำสาละวินตอนบน (เมืองโต๋น) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อน และโรงผลิตไฟฟ้าบริเวณช่วงกลางแม่น้ำสาละวิน ห่างจากหมู่บ้านวันศาลา (Wan Sala village) 19 กิโลเมตร ประชาชนชาวเมืองโต๋นมีความคิดเห็น ดังนี้

ก.  เราคิดว่ากรอบระยะเวลาในการเตรียมการ EIA และ SIA สำหรับโครงการพลังน้ำสาละวินตอนบน (เมืองโต๋น) ภายในเดือนกรกฎาคม 2558 นั้นสั้นเกินไป และไม่น่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะเตรียมการได้ทัน

ข.  หากสร้างเขื่อนขึ้น ทั้งเมือง หมู่บ้าน และสถูปเจดีย์ต่างๆ ในพื้นที่สาละวินตอนบนจะถูกน้ำท่วม

ค.  การตกลงหยุดสู้รบเพิ่งจะเริ่มขึ้นและยังไม่สงบเรียบร้อยดี จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรอ 2 – 3 ปี เพื่อให้เกิดสันติภาพและความสงบเรียบร้อยขึ้นก่อนที่จะดำเนินการเรื่องต่างๆ

ง.  ประชาชนในรัฐฉานต่างก็ดีใจเรื่องสัญญาการหยุดสู้รบ หลังจากต้องทนทุกข์จากสงครามมานานหลายปี แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ต้องกังวลกับเมือง และหมู่บ้านที่กำลังจะถูกน้ำท่วมจากโครงการพลังน้ำสาละวินตอนบน (เมืองโต๋น)

จ.  น้ำท่วมจะสร้างผลกระทบโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองกุ๋นฮิง (Kunhing) ที่ตั้งอยู่ตามแนวสาละวิน บ้านเรือน ทุ่งนา และวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ต่างๆ จะถูกทำลาย
 
2. ดังนั้น ชาวชุมชนโมงโตนจึงคัดค้านการสร้างเขื่อนและโรงผลิตไฟฟ้าที่ห่างจากหมู่บ้านวันสาละ 19 กิโลเมตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพลังน้ำสาละวินตอนบน (เมืองโต๋น)

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ