เครือข่ายคนจนเมือง ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ที่อยู่อาศัยต้องเป็นสิทธิที่ทุกคนเข้าถึงได้

เครือข่ายคนจนเมือง ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ที่อยู่อาศัยต้องเป็นสิทธิที่ทุกคนเข้าถึงได้

ขบวนรณรงค์เนื่องในวันที่อยู่อาศัยสากล

เครือข่ายสลัม 4 ภาค ร่วมหลายองค์กร จัดขบวนรณรงค์เนื่องในวันที่อยู่อาศัยสากล ย้ำจุดยืน ‘การมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง คือ สิทธิขั้นพื้นฐาน’ พร้อมเดินขบวนไปทำเนียบฯ ย้ำแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน  

2 0

UN – HABITAT   หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’ เริ่มตั้งแต่ปี 2528  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกให้ความสำคัญกับสถานการณ์การอยู่อาศัยและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ตลอดจนตระหนักถึงสิทธิพื้นฐานของการมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมของประชากรทุกคนบนโลก

3 0

องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันที่อยู่อาศัยสากล (World Habitat Day) ซึ่งปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2567 กอรปกับที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชนแออัดที่อยู่ในที่ดินของ รฟท. มีการอนุญาตให้ชุมชนได้เช่าที่ดินของ รฟท. เพื่อที่อยู่อาศัย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1  กุมภาพันธ์ 2565 ที่ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นำที่ดินมาแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับชุมชนที่ตั้งอยู่ในที่ดินของ รฟท.  ตามแนวปฏิบัติมติคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย (คกร.) เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2543 ซึ่งได้มีชุมชนนำร่องจำนวน 61 ชุมชน และต่อมาได้มีมติเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติในการเช่าที่ดิน รฟท. สำหรับ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบราง 300 ชุมชน 27,084 ครัวเรือน ทั่วประเทศ

4 0
เครือข่ายคนจนเมือง ได้มีข้อเสนอเพื่อยื่นต่อรัฐบาล

กรุงเทพฯ/ล่าสุด วันนี้ 24กันยายน67 เครือข่ายสลัม 4 ภาค เครือข่ายชุมชนคนเมืองผู้ได้รับผลกระทบรถไฟ (ชมฟ.) เครือข่ายชุมชนริมรางเมืองย่าโม เครือข่ายที่อยู่อาศัยคลองเตย เครือข่ายบ้านมั่นคงเมืองและชนบท เครือข่ายชุมชนริมราง เครือข่ายคนแป๋งเมือง เชียงใหม่  เครือข่ายคนไร้บ้าน ร่วมกันเดินรณรงค์พร้อมเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล โดยมี นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นผู้รับเรื่องเพื่อให้นายกรัฐมนตรี หรือผู้แทนรัฐบาลมาชี้แจงแถลงต่อประชาชนในวันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่อยู่อาศัยโลก ตามที่ UN ได้ประกาศไว้

5 0
  ข้อเสนอยื่นต่อรัฐบาล

ข้อเสนอเครือข่ายคนจนเมืองยื่นต่อรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหา มีดังนี้

  1. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน การมอบสัญญาเช่าสำหรับชุมชนที่ได้ผ่านขั้นตอนการตรวจพื้นที่ร่วมกับการรถไฟฯ แล้ว พร้อมทำสัญญาเช่า แต่ยังไม่มีการเซ็นสัญญา จึงขอให้กรุณาเร่งรัดให้ได้ทำสัญญาเช่าในวันที่ 7 ตุลาคม 2567 นี้เพื่อเป็นผลงานของ รมว. และ การรถไฟฯ จำนวน 13 ชุมชน
  2. ให้รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน การมอบสัญญาเช่าสำหรับมุชนที่ได้สัญญาเช่าเรียบร้อยแล้ว

(และมีอีกหลายชุมชนที่อยู่ระหว่างการให้สัญญาเช่าของการรถไฟ ได้มีหน่วยงานภายในของ รฟท. ตรวจสอบที่ดินร่วมทำ (ทด.3) ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะทำสัญญาเช่าเรียบร้อยแล้ว แต่ติดอยู่ขั้นตอนรอความเห็นจากฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง มาหลายเดือน จึงโปรดให้ รมว. กรุณาเร่งรัดดำเนินการให้

  1. ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบนโยบายให้กระบวนการการเช่าที่ดินของ รฟท. สำหรับ 300 ชุมชน 27,084 ครัวเรือน ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับ รฟท. กลับมาอยู่ในหน่วยงานของ รฟท. ตามเช่นเดิม เนื่องจากการเช่า ที่ดินของชุมชน เป็นการเช่าเพื่อที่แก้ปัญหาอยู่อาศัยไม่ใช่เพื่อการพานิชย์ อีกทั้งเพื่อไม่ต้องให้บริษัทเอสซีเอสเซท ที่มีบุคลากรจำกัด และยังไม่มีปะสบการณ์ในการเช่าที่ดินลักษณะดังกล่าวต้องมารับภาระงานชุมชน

4 ขอให้รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมเป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาแก้ไขสัญญาเช่าที่ไม่เป็นธรรมแก่ชุมชน  ระหว่าง การรถไฟฯ และชุมชน เนื่องจากสัญญาเช่าที่เซ็นในปี 2567  มีการเพิ่มเงื่อนไขให้ รฟท. สามารถยกเลิกสัญญาเช่า หากต้องการใช้ที่ดิน ซึ่งเป็นการหักล้างเจตนารมณ์ของการให้ชุมชนได้เข่าที่ดิน 30 ปี เพื่อความมั่นคงในที่อยู่อาศัยเพราะหาก รฟท. สามารถตัดสินใจยกเลิกสัญญาเช่าได้ ย่อมทำให้สัญญาที่ระบุระยะเวลา 30  ปี หมดความหมายเพราะสัญญาถูกยกเลิกได้ง่าย

  1. ขอให้รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมเป็นประธานในการแก้ไขปัญหาที่ไม่มีข้อยุติ สำหรับชุมชนที่คงค้างค่าเช่าเดิมเพื่อการแก้ไขปัญหา อาทิ การจัดตัดคืนพื้นที่เช่าและคิดอัตราค่าเช่าใหม่  การติดตามต่อสัญญาเช่าให้เป้นปัจจุบัน  สำหรับชุมชนที่หมดอายุสัญญาเช่า เพื่อดำเนินการขอระบบ
  2. ขอให้รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหา คณะกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหา 2 ระดับ คือ (1) ระดับกระทรวง โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมเป็นประธานคณะกรรมการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ที่กำกับดูแลบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด เป็นรองประธาน คณะกรรมการ (2) ระดับหน่วยงาน โดยมีผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานคณะทำงาน ซึ่งคระกรรมการทั้ง 2 ระดับ ให้มีองค์ประกอบของภาคประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย เป็นต้น
6 0
7


8
9
10



author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ