ม.พะเยา พัฒนาตำรับยา (ชนิดเม็ดฟู่) บำบัดผู้ป่วยติดยาเสพติด กลุ่มแอมเฟตามีน

ม.พะเยา พัฒนาตำรับยา (ชนิดเม็ดฟู่) บำบัดผู้ป่วยติดยาเสพติด กลุ่มแอมเฟตามีน

จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. 2565 และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2564 ซึ่งได้ยกเลิกกัญชาและพืชกระท่อมจากยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ประกอบกับข้อมูลรายงานติดตามสถานการณ์กรมราชทัณฑ์ ปี 2566 แยกตามลักษณะคดี พบว่า คดี คดียาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากเมื่อเทียบกับคดีอื่นที่พบในประเทศไทย จากข้อมูลข้างต้น ทีมผู้วิจัย ประกอบด้วย ภญ.ธีราธร สังหร่าย ผศ.ดร.ภญ.มาลีรักษ์ อัตต์สินทอง และดร.ปรีชา หนูทิม ได้พิจารณาและเห็นความสำคัญของการบำบัดผู้ติดยาเสพติด โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยยาเสพติดสามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างราบรื่นและป้องกันการกลับไปเสพติด จึงจำเป็นจะต้องใช้กระบวนการฟื้นฟูทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จากการรวบรวมตำรายา พบว่า ตำรับยาคัมภีร์แผนไทยของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ เล่ม 3 แสดงตำรับยาทำให้อดฝิ่น “…ให้เอาขี้ยา 2 สลึง เถาวัลย์เปรียงพอประมาณ กันชาครึ่งกำ ใบกระท่อม เอาให้มากกว่ายาอย่างอื่น ต้มกิน ให้กินตามเวลาที่เคยสูบฝิ่น เมื่อกินไป 1 ถ้วยให้เติมน้ำ 1 ถ้วย ให้ทำดังนี้จนกว่ายาจะจืด เมื่อกินจนน้ำจืดแล้ว ยังไม่หายให้ต้มกินหม้อใหม่ต่อไป…” ซึ่งตำรับนี้ต่อมาทางกระทรวงสาธารณสุขได้เปลี่ยนชื่อเป็นตำรับยาอดยาบ้า เพื่อให้ทันสมัยต่อยุคปัจจุบัน ซึ่งไม่ได้พบการใช้ฝิ่นอย่างแพร่หลายเหมือนในอดีต

           ทีมผู้วิจัยได้แสดงการทำนายสารสำคัญในการจับกับโมเลกุลเป้าหมาย kappa-opioid receptor ด้วยโปรแกรม AutoDock4.2 โดยพิจารณา binding energy, %member in cluster และ H-bond พบว่า mitragynine มีความสามารถเหนือกว่า cannabidiol (CBD), tetrahydrocannabinol (THC) และ genistein-7-O-[α-rhamnopyranosyl-(16)]-β-glucopyranoside (GTG) ตามลำดับ และพัฒนารูปแบบยาเตรียมตำรับลดการติดยาจากตำรับยาทำให้อดฝิ่นชนิดเม็ดฟู่ ประกอบด้วยกัญชา 83.32 กรัม เถาวัลย์เปรียง 56.68 กรัม ใบกระท่อม 170 กรัม และน้ำ 5 ลิตร นำไปต้มเป็นเวลา 4-6 ชั่วโมง จากนั้นนำไปกรองและนำสารสกัดไปเข้าสู่กระบวนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง จนได้สารสกัดเป็นของแข็งสีน้ำตาลอมดำ จากนั้นนำสารสกัดที่ได้เข้าสู่การทำตำรับเม็ดฟู่ โดยการผสมกับแลคโตส โซเดียมไบคาร์บอเนต กรดทาทาริก และกรดซิตริก ซึ่งผงยาที่ได้มี angle of repose เท่ากับ 19.79 เม็ดยามีความแข็ง 10.042 กิโลกรัม ความหนา 4.573 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 12.738 มิลลิเมตร น้ำหนัก 0.9883 กรัม ความกร่อนร้อยละ 0.04 และเม็ดยาแตกตัวภายในเวลา 5 นาที หลังตอกเม็ดด้วยเครื่องตอกเม็ดยาอัตโนมัติแบบหมุน ในหนึ่งเม็ดพบสารสำคัญหลัก คือ mitragynine 0.0413 มิลลิกรัม พบโลหะหนักสารหนู ตะกั่วและปรอทในปริมาณที่ไม่เกินกำหนด และไม่พบแคสเมียม ไม่พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงและเชื้อราอัลฟาท๊อกซิน ไม่พบเชื้อจุลชีพ Staphylococcus aureus, Salmonella spp., Clostridium spp., และ Escherichia coli.


อ้างอิง

1. รายงานติดตามสถาณการณ์กรมราชทัณฑ์ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 กรกฎาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: www.correct.go.th/stathomepage/warroom.php

2. ธีราธร สังหร่าย, มาลีรักษ์ อัตต์สินทอง, ปรีชา หนูทิม. โครงการพัฒนารูปแบบยาเตรียมตำรับลดการติดยาจากตำรับยาทำให้อดฝิ่นชนิดเม็ดฟู่. มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566. 7-11 สิงหาคม 2566. โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ.

ผศ.ดร.ภญ.มาลีรักษ์ อัตต์สินทอง

อาจารย์สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา


ยาอดยาบ้า ชนิดเม็ดฟู่

ยาอดยาบ้า ชนิดเม็ดฟู่

ยาอดยาบ้า ชนิดเม็ดฟู่

ยาอดยาบ้า ชนิดเม็ดฟู่

ยาอดยาบ้า ชนิดเม็ดฟู่

ยาอดยาบ้า ชนิดเม็ดฟู่

ยาอดยาบ้า ชนิดเม็ดฟู่

ยาอดยาบ้า ชนิดเม็ดฟู่

ยาอดยาบ้า ชนิดเม็ดฟู่

ยาอดยาบ้า ชนิดเม็ดฟู่

ยาอดยาบ้า ชนิดเม็ดฟู่

ยาอดยาบ้า ชนิดเม็ดฟู่

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ