จี้รัฐบาลยกเลิกมติครม.เรื่องจัดการไฟป่า ระบุขัดแย้งธรรมชาติพื้นที่ ไม่เข้าใจหลัก ขัดแย้งมติ.เดิม

จี้รัฐบาลยกเลิกมติครม.เรื่องจัดการไฟป่า ระบุขัดแย้งธรรมชาติพื้นที่ ไม่เข้าใจหลัก ขัดแย้งมติ.เดิม

นักพัฒนาจี้รัฐบาลทบทวนและยกเลิก มติครม. 21 ม.ค. ระบุวางแนวทางจัดการไฟป่าขัดแย้งธรรมชาติพื้นที่ ขัดแย้งมติครม.เดิม

สืบเนื่องมาจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินการตามมาตรการป้องกันไฟป่าและหมอกควันประจำปี 2556 เพิ่มเติม และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่ได้รับมอบหมาย ตามที่รองนายกรัฐมนตรี(นายปลอดประสพ สุรัสวดี) เสนอ เพื่อให้การดำเนินงานตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันภาคเหนือ 9 จังหวัด ปี 2556  ซึ่งมาตรการที่จะใช้ในการป้องกันไฟป่าและหมอกควันในปี 2556 จะเปลี่ยนจากเดิม “ควบคุมการเผา” เป็น “ไม่มีการเผา” ใช้ระบบ Single Command โดยมีคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กบอ.) เป็นผู้รับผิดชอบและใช้ระบบ Area Approach โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนหน้า (Forward Command) ซึ่งสาระสำคัญของมาตรการ เช่น
1. ไม่มีการเผา
2. ใช้แนวทาง Area Approach มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ (Forward Command)
3. ใช้ระบบ Single Command โดยกลไกของกระทรวงมหาดไทย ตาม พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
4. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายปลอดประสพ สุรัสวดี) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นฝ่ายอำนวยการและควบคุมการสั่งการระดับประเทศ 
5. เบื้องต้นครอบคลุมเพียง 9 จังหวัดภาคเหนือ ใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือนครึ่ง (มกราคม-เมษายน 2556)

ซึ่งจากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 21 มกราคม 2556 ดังกล่าวนั้น ทางเครือข่ายชุมชนที่ทำงานด้านการจัดการไฟป่า และพัฒนายั่งยืนได้จัดทำข้อเปรียบเทียบถึงกระบวนการและผลกระทบจากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 8 มกราคม 2556 และมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 21 มกราคม 2556 เรื่อง การดำเนินการตามมาตรการป้องกันไฟป่าและหมอกควันประจำปี 2556 และข้อเสนอต่อการทบทวนมาตรการการป้องกันไฟป่า ดังนี้

1.ข้อเปรียบเทียบ มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 8 มกราคม 2556 และมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 21 มกราคม 2556 เรื่อง การดำเนินการตามมาตรการป้องกันไฟป่าและหมอกควันประจำปี 2556

ในด้านกระบวนการได้มาซึ่งมติ คณะรัฐมนตรี
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 8 มกราคม 2556

1.การได้มาซึ่งมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 8 มกราคม 2556 ได้ผ่านจากกระบวนการรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ที่มีความหลากหลาย ในพื้นที่ 9 จังหวัดในภาคเหนือ เช่น นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาชน ภาคท้องถิ่น หน่วยงานในระดับพื้นที่ ภาคประชาสังคม เป็นต้น ก่อนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ฯ   ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญต่อมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและถือว่าเป็นวิถีประชาธิปไตยที่เคารพการตัดสินใจจากทุกฝ่าย
2 มีการนำเอาข้อมูลทางวิชาการ มีการใช้งานวิจัย จากสถาบันการศึกษา ที่มีการค้นคว้าวิจัยทั้งที่เป็นวิทยาศาสตร์ และบทเรียนประสบการณ์จากชุมชนในการจัดการไฟป่าและหมอกควัน มาประกอบการเสนอแนวทางในการจัดการปัญหา ก่อนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ฯ

มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 21 มกราคม 2556
1 กระบวนการเป็นไปอย่างเร่งรัดและไม่ได้สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้จากช่วงเวลาที่มีความกระชั้นและเร่งรีบ วันที่ 17 มกราคม วันที่ 19 มกราคม และเสนอเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 21 มกราคม 2556
2 ไม่ได้นำเอาชุดความรู้ งานวิชาการ งานวิจัย มาเป็นองค์ประกอบในการเสนอ เหมือนกับมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 8 มกราคม 2556

ในด้านผลกระทบ
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 8 มกราคม 2556
1 การจัดการไฟป่าและหมอกควัน มีระบบการจัดการและควบคุม ที่มีกลไกปฏิบัติการชัดเจน มีช่วงเวลาในการลดเชื้อเพลิงและการควบคุมการเผาที่ชัดเจน
2 เข้าใจในระบบนิเวศน์พื้นที่ และลักษณะของป่าในแต่ละประเภท
3 ลดความขัดแย้งในการจัดการไฟป่า หมอกควัน ระหว่างชุมชนและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของรัฐที่เกี่ยวข้อง
4 ใช้แนวทางการสร้างความสามัคคี ความเข้าใจในการจัดการหมอกควันไฟป่า
5 เกิดกลไกในการจัดการปัญหาหมอกควัน ไฟป่า มีแผนการจัดการที่ชัดเจน

มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 21 มกราคม 2556
1ใช้กำลังควบคุม ปรายปราม อย่างรุนแรงและเด็ดขาด (ใช้อำนาจในการจัดการมาก)
2การใช้ทรัพยากรบุคคล หน่วยงาน กรม กองต่าง อย่างไม่เป็นระบบ ไม่มีกลไกในการดำเนินการที่ชัดเจน และงบประมาณอย่างสิ้นเปลื้อง
3 เกิดความขัดแย้งอย่างชัดเจนระหว่างชุมชนกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ไฟป่า
4 ไม่สามารถควบคุมการจัดการไฟป่าได้อย่างเป็นระบบ ทั้งในพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ป่า

2.ข้อเสนอต่อการทบทวนมาตรการการป้องกันไฟป่า
ให้กลับไปใช้มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 8 มกราคม 2556

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ