เวทีเสวนา ช่วงที่ 3 ในเวทีการประชุมสัมมนาระหว่างประเทศการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing Conference) ภายใต้แนวคิด “คำตอบคือชาวชุมชน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แก้ไขปัญหาควายากจน สร้างคนและชุมชนที่เข้มแข็ง กุญแจสู่ความยั่งยืน” ที่จัดขึ้น ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Convention Center – UNCC) กรุงเทพมหานคร ดำเนินรายการโดย ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ และ ดร.กฤษณะพล วัฒนวันยู
Mr.Khondaker Hasibul, Kabir Bangladesh, City-wide housing development and riverside participatory redevelopment in Jhenadah city ประเทศบังกลาเทศ เล่าว่า อยากจะเรียกตัวเองว่าเราเป็นสถาปนิกชุมชน ทำงานเครือข่ายในระดับท้องถิ่น หลายๆ ท่านมาจากชุมชนของชาวสถาปนิกที่ เราทำโครงการเล็กๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการอันยาวนาน บ้านโดยชุมชนจะนำไปสู่ด้านอื่นๆ สิ่งที่เราทำ เราร่วมกันสรรค์สร้างร่วมกับชุมชน ทำอย่างไรให้ชุมชนที่ไม่มีใครเหลียวมองให้กลายเป็นชุมชนที่มีความสามรถ ชุมชนต่างๆ อาจจะไม่ได้อยู่ในแผนการพัฒนา อยู่ในมุมมืด จะมีจุดของชุมชนที่เราดำเนินโครงการ เป็นการร่วมมือจากชุมชน และสถาปนิกมามีส่วนร่วมออกแบบ มีชุมชน และผู้คนมาร่วมในกระวนการ
บ้านที่มีชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อนในระดับจังหวัด “เมือง Jhenadah” มีการพูดคุยกับคนยากจนให้เขาเห็นแผน เห็นภาพฝันร่วมกัน ร่วมกับเทศบาล นอกจากนั้นแล้ว 1 ปีผ่านไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้หญิงมีการสร้างบ้าน รวม 2 ชุมชน 38 หลังคาเรือน สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงชุมชนแออัดให้เป็นชุมชนที่ดีขึ้น หลายคนได้เข้าไปอยู่อาศัย มีตั้งคำถามกับกลุ่มผู้หญิงเหล่านี้ว่า แล้วสถาปนิกทำอะไรบ้าง เขาก็บอกว่าสถาปนิกทำให้ชุมชนกล้าที่จะทำและสร้างบ้าน และมีการขยายในพื้นที่ต่างๆ ในประเทศบังคลาเทศ นอกจากกลุ่มผู้หญิงแล้ว ก็มองถึงคนที่อยู่ในเมือง เพราะคนที่อยู่ในเมืองจะไม่สามารถออกแบบเมืองของตนเองได้ ก็เลยไปเริ่มกับเด็กและเยาวชน มีการตั้งคำถาม “เมืองหรือบ้านแบบไหนที่เขาต้องการ” มีการหารือร่วมกับสถาบันการศึกษาในการพัฒนาเมือง มีการวาดแผนที่ร่วมกัน มีการทำกระบวนการกับกลุ่มวัยรุ่น มีการคุยกับกลุ่มผู้ชายผู้มีรายได้น้อย แต่ละคนก็มีความหวังที่แตกต่างกัน หลังจากนั้นค้นพบว่า ทุกอย่างมุ่งไปที่แม่น้ำ เพราะมีแม่น้ำในเมือง เริ่มมีขยะ มีมลพิษ อยากให้แม่น้ำดีขึ้น จึงมีการตั้งกลุ่มและเครือข่ายร่วมกัน ทั้งกลุ่มนักวิชาการ นักการศึกษา เยาวชน ฯลฯ ทำงานร่วมกับเทศบาล เพื่อให้เมืองนั้นดีขึ้น มีชุมชน เครือข่ายสถาปนิก ทั้งเนปาล ไทย อินเดีย และเชิญนักวิชาการจากหลายๆ ประเทศ มาทำเวิร์กชอปร่วมกัน 7 วัน เป็นมุมมองทางการเมืองที่เข้ามาร่วมด้วย ก็มีการทำกระบวนการ ทำความเข้าใจกับคนในเมืองต่างๆ เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วม หน่วยงานภาครัฐและชุมชนที่เข้ามาร่วม จะทำให้เมืองมีความหมายและมีตัวตนมากขึ้น และทุกคนที่มาจากชุมชนต่างๆ ทั้งคนที่อยู่ในชุมชน นอกชุมชน มีการนำเสนอและแลกเปลี่ยนกระบวนการ ทำให้เทศบาลเห็นความสามารถของผู้หญิงที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง มีการตั้งสมมติฐานว่าจะสร้างพื้นที่ใกล้แม่น้ำ จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากเราทำเส้นทางเดินใกล้ๆ แม่น้ำ ทำการสันทนาการ จึงมีการเสนอแผนกับหน่วยงานภาครัฐได้ทราบ และมีการออกแบบพื้นที่บางส่วนที่อยู่ใกล้แม่น้ำ เพื่อให้เกิดโครงการร่วมกัน หลังจากนั้น 2 ปีผ่านไป เขาสามารถสร้างพื้นที่สันทนาการ พื้นที่ทางเดินริมแม่น้ำได้ ในฐานะที่เป็นสถาปนิก เราสามารถสร้างฝันของทุกคนเป็นจริง โดยนำความรู้ด้านสถาปัตยกรรมมาใช้ เราต้องทำงานกับทุกคน แม้เราจะมีงบประมาณไม่มากพอ เราสามารถทำโครงการระยะทางกว่า 4.5 กิโลเมตร ที่ร่วมสร้าสงโดยชุมชน เดิมคิดว่าจะทำไม่ได้ แต่มันก็ทำได้ และตลอดเส้นทางเดินมีทั้งห้องน้ำ ร้านค้า ก็ได้รับรางวัน Aga Khan ในปี 2022 กระบวนการดังกล่าวเป็นสิ่งที่เกิดผลสำเร็จ และได้เห็นว่าหลายๆ คนได้มีส่วนร่วม
ขอยกตัวอย่างบึงที่เราได้ทำ จากการลงพื้นที่เยี่ยมชม ทำให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมกับสถาบันการศึกษา หลายคนก็ให้ความสนใจและสำคัญ เวลามีเวิร์กชอปเป็นการเปิดพื้นที่เรียนรู้และแลกเปลี่ยน มีการนำความรู้จากสถาบันการศึกษามาเติมเต็ม เราต้องให้ชุมชนมีส่วนร่าวม มีตัวตน ผ่านการทำงานร่วม ช่วยกันสรรค์สร้าง สร้างที่อยู่อาศัยที่ดีกว่าทั้งมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และขยายความร่วมมือไปสู่มิติต่างๆ เราเป็นกระบวนการหนึ่งของธรรมชาติ จะทำอย่างไรให้การพัฒนาคน และธรรมชาติ เป็นสิ่งเดียวกัน ในอีก 40 ปีข้างหน้า เราเห็นภาพของบึงตรงนี้ในอนาคตอาจจะเป็นภาพที่เปลี่ยนแปลงไป จริงๆ แล้วธรรมชาติมีหนทางของมันเอง มีการฟื้นฟูธรรมชาติโดยตัวของธรรมชาติเอง ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาสิ่งเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นเลย
ลูมานติ โจชิ (Lumanti Joshi) Nepal, City-wide upgrading in Kalaya City เล่าว่า เมืองกัลยา เป็นพื้นที่ชนบทในประเทศเนปาล ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เราเริ่มกระบวนการโดยเราเรียนรู้จากโครงการของเมืองต่างๆ มีการลองผิดลองถูกผ่านบทเรียน และเผชิญปัญหาด้านต่างๆ ทั้งเรื่องการเงิน และชุมชน ที่ผ่านมาเราเจอปัญหาเพราะชุมชนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่เราทำงานของประเทศเนปาล เป็นเมืองเล็กๆ มีความยากจนกระจายทุกแห่ง ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงระบบน้ำ หรือสาธารณะสุข มีการรวมตัวและสร้างเครือข่ายทั่งประชาสังคม NGO ท้องถิ่น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเมืองนั้นๆ ตอนแรกที่ลงไปที่เมืองกัลยา เราอยากรู้ความต้องการผ่านเทศบาล และเริ่มมีการลงพื้นนที่ สอบถาม จัดทำข้อมูล มีการจัดทำแผนที่ทางสังคม ว่าชุมชนมีประเด็นปัญหาอะไร จึงนำมาสู่การจัดทำแผนที่ชุมชน เริ่มจาก 10 ชุมชน จนขยายไปสู่ 31 ชุมชน และสามารถระบุปัญหาต่างๆ พบว่า เขาไม่มีโอกาส ไม่มีความเป็อยู่ที่ดี บางครั้งเป็นปัญหาที่เขามองไม่เห็นว่าเขามีปัญหาอะไรบ้าง ที่ผ่านมามีการขับเคลื่อนงานร่วมกัน มีการจัดระเบียบ และกระบวนการชุมชน เราเป็นตัวกลางให้ชุมชนทำความรู้จัก สร้างเครือข่าย และร่วมหาวิธีการบริหารจัดการด้านการเงินร่วมกัน มีการทำเรื่องสินเชื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ
“สหกรณ์ผู้หญิง DeepShikha” มีกองทุนออม 1,406,000 USD เป็นกลุ่มผู้หญิงที่มีความสามารถในการเชื่อมโยงกับเครือข่ายออื่น ได้ที่ดินจากรัฐบาล และนำมาสร้างอาคาร ทำให้ผู้หญิงที่อยู่ในชุมชนมีความมั่นใจว่าเขาทำได้ แม่ของพวกเรามีความสุขในการแก้ไขปัญหาความท้าทายที่เขาได้ร่วมมือกัน จะเห็นได้ว่ามีการรวมตัวกันของคนจน 1 ปีผ่านไป ได้รับรางวัลจากเทศบาล และจะเห็นว่าเยาวชนในชุมชนมีความกระตือรือต้น ที่อยากจะทำโครงการในหลายๆ ด้าน เห็นได้ว่าเด็กหลายคนหยุดเรียน มีการตั้งศุนย์เรียนรู้ของเด็กและเยาวชน ทำให้อัตราการหยุดเรียนก่อนวัยอันควรลดลง สิ่งที่ค้นพบคือ หลายๆ คนไม่รู้ว่าการไปขอสิทธิ หรือกระบวนการต่างๆ ทางราชการนั้นอย่าสงไร ก็มีศูนย์ทรัพยากรของเมือง เป็นการแบ่งปันข้อมูลของเมืองในหลายๆ ด้าน เป็นสถานที่สำหรับเยาวชน เป็นพื้นที่ให้เยาวชนทำกิจกรรมร่วมกัน ในทุกๆ ปี มีการประชุมวางแผนปฏิบัติการ ที่จะระบุถึงปัญหาและระบุถึงโครงการสำคัญที่จะได้รับการปรับปรุง ตลอดจนจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งเห็นว่าหลายโครงการต้องได้รับการสนับสนุนจาภาครัฐ และมีการทำเวิร์กชอปร่วมกัน ทำให้เห็นกระบวนการและระบุถึงปัญหาความต้องการร่วมกันได้ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาล พร้อมทั้งมีความร่วมมือกับสถาปนิก จะเห็นได้ว่าผู้หญิงเป็นหลัก และมีส่วมร่วมในการพัฒนา มีการทำงานร่วมกับช่าง เป็นการพัฒนาความรู้ ระหว่างการก่อสร้างทำให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการสร้างบ้านของเขา
ชุมชน 34 ครอบครัว ที่อาศัยอยู่ใกล้ๆ พื้นที่ในชนบท ชุมชนสามารถเจรจาที่ดินใกล้เคียง โดยความร่วมมือกับสถาปนิกชุมชนร่วมขอสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลในการสร้างที่อยู่อาศํย มีการจัดตั้งคณะกรรมการในการสร้างบ้าน เราเองมีการตั้งกองทุนสนับสนุนการทำงานของชุมชนในเขตเมือง เป็นเงินที่มาจากการสร้างบ้าน การพัฒนาความเป็นอยู่ โดยส่วนใหญ่ เป็นเงินทุนที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินกองทุนบริหารชุมชน มีเยาวชนในหมู่บ้านมีส่วนเกี่ยวข้อง ในชุมชนแบ่งเป็ฯ ผู้หญิง เยาวชน เด็ก ชุมชน มีการทำงานร่วมกับเทศบาล สิ่งที่เกิดขึ้นจะต้องใช้เวลา มีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาทุกอย่าง
Mr.Gugun Muhammad, Indonesia, Cooperative housing of the poor เล่าถึงการพัฒนาที่อยู่อาศัยและสร้างระบบสหกรณ์ที่อยู่อาศัย เมืองจาร์กาตา จากประเทศอินโดนิเซีย ว่า เราพัฒนาที่อยู่อาศัยในรูปแบบของกัมปง ตอนนี้ลดลงเพราะมีการพัฒนาโครงการใหญ่ๆ เมื่อก่อนคนในกัมปง มีอยู่ 10 ล้าน ตอนนี้มีอยู่ 1 ล้านคน คนจนย้ายออกไป เรื่องของการบริหารจัดการที่ไม่เป็นธรรม คนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ คนที่มีเงินมีศักยภาพ แต่คนจนทำอย่างนั้นไม่ได้ ปัญหาไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียว แต่รัฐบาลเองก็ไม่เอื้อกับคนจน ส่วนใหญ่ภาครัฐมองว่าคนจนคือคนผิดกฎหมาย ไม่ควรอยู่กับเมือง เป็นมามากกว่า 2 ทศวรรษแล้ว มีการบังคับให้ย้ายออกจากืพ้นที่ 2,500 ครั้ง เฉพาะปีนั้นปีเดียว ตัวเลขที่ถูกบังคับย้ายถิ่นมีมากกว่านี้อีก ทางออกอยู่ตรงไน รัฐบาลมีทางเดียวคือคนจนให้ย้ายออกจากพื้นที่ไป ถือเป็นการทำลายชีวิต ทำลายเศรษฐกิจ หลังจากนั้น 1-2 ปีผ่านไป คนที่เคยอยู่ในบ้านที่รัฐบาลจัดให้ก็กลับมาอยู่ในชุมชนแออัด ทำให้เห็นถึงการพัฒนากับรัฐบาลนั้นไม่มีจบ
Mariolga Julia Pacheco เล่าถึงโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของชุมชนประเทศปอร์โตริโก ทวีปอเมริกากลาง โดยผู้แทนจากโครงการกองทุนที่ดินชุมชน ประเทศเปอร์โตริโกว่า เปอร์โตริโก ตั้งอยู่ในภูมิภาคทะเลแคริบเบียน ทางทิศตะวันออกของสาธารณรัฐโดมินิกัน ปวยร์โตรีโกเป็นดินแดนที่เล็กที่สุดของเกรตเตอร์แอนทิลลีส มีพื้นที่รวมเกาะปวยร์โตรีโก เกาะเล็กๆ จำนวนหนึ่ง ปวยร์โตรีโกถือเป็นดินแดน ของสหรัฐอเมริกา จากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ คนเข้าไปและพยายามสร้างบ้าน เกิดเป็นชุมชนบริเวณป่าโกงกาง ตอนนี้มีคนอยู่อาศัย 1 หมื่นกว่าคนที่อาศัยอยู่ และมีการตกสำรวจ มีคนตกงานเยอะ ปี 2002-2004 มีการร่วมประชุมกับชุมชน 8 แห่ง มีการทำสัญญาเช่า 10 ปี ในการแก้ปัญหาด้านที่ดิน มีการให้ใช้สิทธิที่ดิน มีโมเดลของสหรัฐ หลังจากนั้นก็เปลี่ยนการเมือง และมีการทำแผนการพัฒนา ประมาณปี 2007-2008 เราใช้การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน หลังจากนั้น 2009 มีการนำที่ดินกลับคืน มีการฟ้องร้อง เราจึงมีการร่าง กม. ขึ้นไปใหม่ ในลักษณะของโฉนด ซึ่งเป็นเรื่องของสิทธิการใช้ที่ดิน และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของที่ดิน และปี 2015 เราได้รับรางวัล เป็นการรับรองคุณค่าของงานที่เรานั้นทำ ทุกคนและทุกภาคส่วนมาร่วม เป็นการเปิดโอกาสไปสู่หลายๆ สิ่ง และโครงการที่พัฒนาจากตรงนั้น เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมตั้งแต่ปี 2022 มีการขุดลอก เป้นช่วงการพัฒนาบ้านของหลายๆ ครอบครัว มีการทบทวน และวางทิศทางในการพัฒนา การพัฒนาจะมีคน 3 ส่วนคือ 1) ชุมชน 2) หน่วยงานที่มีบทบาทในการเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน 3) กลุ่มภาคีเครือข่าย ทำให้มีคณะทำงาน ผู้นำชุมชน 128 คน มีเครือข่ายต่างๆ เกิดขึ้น ทั้งเยาวชน ผู้นำ มีการรวมตัวกัน มีการรวมเงินหรือทุนร่วมกัน
เจน วาลู (Jane Weru) จากประเทศเคนยา เล่าถึงการพัฒนาปรับปรุงพัฒนาชุมชนว่า แอฟริกาเป็นทวีปหนึ่งที่เติบโตอย่างรวดเร็ว มีสัดส่วนที่ใหญ่กว่าทวีปอื่นๆ ประเทศเคนยามีอัตราการเกิด 3.44%ต่อปี ทำให้เมืองมีความเติบโตเกิดขึ้นด้วย ในเคนยามีประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชาชนทั้งหมดเข้ามาอาศัยในเขตเมือง และมาอยู่ในชุมชนแออัด ทำให้เห็นภาพการมาอยู่อาศัยในชุมชนแออัดที่มีจำนวนมากในอนาคต หากเราไม่ทำอะไรเลยในอนาคต พวกเราก็จะอาศัยอยู่ในปัจจุบัน ชุมชนแออัดในเมืองมูกูรู (Mukuru) จะเป็นอย่างไร หากไม่ได้รับการแทรกแซงจากรัฐบาลง
Mukuru เป็นชุมชนแออัด ที่หนาแน่นมาก มันยากในการวางโครงสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ บริเวณนี้ ฉะนั้นในการที่จะเปลี่ยนแปลงนั้นยากจริงๆ เราต้องมีการวางแผนที่ดี และเนื่องจากเราขาดโครงสร้างพื้นฐานในปี 2020 เรามีสหพันธ์ชุมชนแออัดทำการศึกษา และค้นพบว่า เรามีห้องน้ำ 3,863 ห้อง ที่ให้บริการ 400,000 คน ส่วนใหญ่เป็นส้วมหลุม ทำให้เราเห็นท่อน้ำ ขยะ ของเสียที่ปล่อยออกมา มันขาดการให้บริการแก่ชุมชน พื้นที่ชุมขนแออัดนั้นมีการให้บริการแบบไม่เป็นทางการมีการคิดเพิ่มเติม 172-400% เป็นเหมือนบทลงโทษคนจนที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก “สภาพชุมชนแออัดเป็นเช่นไร” มีการแบ่งปันข้อมูลกับรัฐบาล เพราะไม่มีการให้บริการกับประชาชน หากรัฐบาลแทรกแซงกับประชาชน จะทำให้ชุมชน ประกาศ Mukuru เป็นพื้นที่พิเศษในการพัฒนา จึงมีการวางแผนและพัฒนา มีความท้าทายในการทำ ที่จะต้องวางแผนและการทำงานร่วมกับชุมชน มีทั้งชุมชน NGO เพื่อวางแผน Mukuru ในการจัดหาน้ำ การวางสาธารณูปการ การปรับโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงสุขาภิบาล ปรับปรุงระบบน้ำ มีการลงทุนในด้านดังกล่าว
และในปี 2023 ได้รัฐบาลใหม่เข้ามา และมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาทีอ่ยู่อาศัย คนทุกคนในประเทศตจ่าย 1.5% จากรายได้ของตนเอง เป็นการสมทบเงินกองทุนดังกล่าว หลายครั้งมีการคัดค้าน เพราะคนจ้องเผชิญกับความยากลำบาก เพราะค่าครองชีพสูงขึ้น และอีกปีเราเจอวิกฤน้ำท่วม มีประชาชนอาศัยอยู่ริมแม่น้ำ หลายชุมชนที่อาศัยริมคลองได้รับผลกระทบน้ำท่วม ทำไมเรามีกองทุนที่อยู่อาศัย แต่เราไม่สามารถนำเงินมาใช้ได้ ในประเทศเคนยาเองก็มีวิกฤต และมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาปฏิวัติ หลายคนที่คนรุ่นใหม่ไม่พอใจกับประเทศ ไม่พอใจกับรัฐบาล เพราะประเทศกู้เงินเป็นจำนวนเยอะมาก และรัฐบาลก็ประสบปัญหาในการจ่ายเงินคืน พยายามรัดเข็มขัด และเพิ่มในส่วนของค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น เรื่องภาษี ทำให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาปฏิวัติ และเขาเองก็ไม่ต้องการ กม. ที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย จะต้องทบทวนกันใหม่ว่าเงินกองทุนนั้นไปใช้อะไรได้บ้าง แต่เงินนั้นเขามองว่าจะต้องนำเงินไปใช้ในทางที่ถูก ผู้นำบางคนบอกให้พวกเรารัดเข็มขัด แต่เวลาที่เข็มขัดที่รัฐบาลคาดเอวคือกุดขี่ จึงทำให้คนรุ่นใหม่รับไม่ได้ ฉะนั้น เราจะเดินอย่างไรหลังจากนี้ เราจะต้องจ่ายหนี้คืน เราจะต้องมีการรัดเข็มขัด เราต้องมีแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหา รวมถึงการหารือกับภาครัฐยังมีอยู่ ก็หวังว่าสิ่งเหล่านี้จะยังอยู่ และเราจะต้องต่อสู้กันต่อไป
อย่างไรก็ตามผู้แทนจากหน่วยงาน องค์กร ตลอดจนขบวนองค์กรชุมชนทั้งประเทศไทย และผู้แทนจากประเทศต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกกว่า 13 ประเทศ จะมีการแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชนเป็นฐาน พร้อมทั้งเสนอแนวทาง ตลอดระยะเวลาอีก 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 2-4 กรกฎาคมนี้ ณ โรงแรมปริ้นซ์พลาเลซ กทม.