พอช. ร่วมเครือข่าย Kick Off ประชุมสัมมนาระหว่างประเทศ การพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing Conference) “คำตอบคือชาวชุมชน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง มุ่งแก้ปัญหาควายากจน สร้างคน-ชุมชนเข็มแข็ง”

พอช. ร่วมเครือข่าย Kick Off ประชุมสัมมนาระหว่างประเทศ การพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing Conference) “คำตอบคือชาวชุมชน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง มุ่งแก้ปัญหาควายากจน สร้างคน-ชุมชนเข็มแข็ง”

4a8a3247

ศูนย์ประชุมแห่งสหประชาชาติ  / วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาระหว่างประเทศการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing Conference) ภายใต้แนวคิด “คำตอบคือชาวชุมชน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แก้ไขปัญหาควายากจน สร้างคนและชุมชนที่เข้มแข็ง กุญแจสู่ความยั่งยืน” ชูประเด็น “การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing)” โดยมี นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน  กล่าวรายงาน ทั้งนี้ มีคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ผู้แทนจากประเทศต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกกว่า 13 ประเทศ และผู้แทนภาคส่วนต่างๆ ทั้ง การเคหะแห่งชาติ หน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน และประชาสังคม นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำชุมชน องค์กรระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ และธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวนกว่า 200 คน ณ ศูนย์ประชุมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Convention Center – UNCC)  กรุงเทพมหานคร

          กระทรวง พม. โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมกับมูลนิธิศูนย์ศึกษาที่อยู่อาศัยแห่งเอเซีย มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย วิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันอาศรมศิลป์ และเครือข่ายสถาปนิกชุมชน (CAN) หน่วยงานภาคีสนับสนุนและองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ UN-ESCAP, UN-HABITAT, International CO-Habitat Network, Development Planning Unit, University College of London, Habitat for Humanity ร่วมจัด การประชุมสัมมนาระหว่างประเทศการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing Conference)  : “คำตอบคือชาวชุมชน  ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  แก้ไขปัญหาควายากจน สร้างคนและชุมชนที่เข้มแข็ง กุญแจสู่ความยั่งยืน” ชูประเด็น  “การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing)” ที่ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 – 4 กรกฎาคม 2567

2

นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) กล่าวว่า ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเมือง โดยในส่วนโครงการการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และการแก้ปัญหาชุมชนแออัดที่ชุมชนนั้น รัฐบาลได้เห็นชอบและให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ผ่านกระทรวง พม. โดย พอช. มาตั้งแต่ปี 2546 ภายใต้โครงการบ้านมั่นคง ซึ่งมีผลการดำเนินงานอย่างกว้างขวางในเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ และขยายผลไปสู่การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง ชุมชนริมรางรถไฟ บ้านมั่นคงชนบท บ้านพอเพียง และโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับคนไร้บ้าน เพื่อความมั่นคงและคุณภาพชีวิตของชาวชุมชนและสังคมโดยรวม

          นายอนุกูล กล่าวว่า วันนี้เป็นการเปิดงานประชุมระหว่างประเทศการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing Conference) เพื่อระดมความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนเรื่องของบ้านมั่นคงในพื้นที่เมืองต่างๆ ซึ่งเราพยายามขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมชุมชนเป็นหลักในการที่จัดทำที่อยู่อาศัย การมองถึงคุณภาพชีวิตของการมีส่วนร่วม ดังนั้นการมีส่วนร่วมของชุมชนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญในการขับเคลื่อนบ้านมั่นคง โดยเฉพาะโครงการบ้านเช่าสำหรับพี่น้องคนไร้บ้าน ซึ่งมีรายได้ยังไม่ชัดเจน ฉะนั้นเพื่อให้ได้มีโอกาสในการมีที่อยู่อาศัย จึงได้ทำโครงการบ้านเช่า เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำอาชีพและสามารถจ่ายค่าเช่าได้ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการวางแผนการเงิน อย่างไรก็ตามเรื่องของเศรษฐกิจและรายได้ยังเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงว่า สามารถรับภาระในระหว่างการมีบ้านได้หรือไม่ นอกจากนี้เรายังต้องส่งเสริมคุณภาพชีวิตในมิติอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณภาพของคนในครอบครัว ซึ่งทุกภาคส่วน เช่น สถาบันการศึกษา ชุมชน และภาคีเครือข่ายต่างๆ ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเสริมพลังให้ชุมชนเข้มแข็ง

          การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีผลต่อความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในเรื่องที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญโดยผู้มีรายได้น้อยเป็นกลุ่มเปราะบาง ซึ่งอาจปรับตัวได้ยากลำบากกว่าในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนั้นการพัฒนาที่อยู่อาศัยกับผู้มีรายได้น้อยจึงเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลและภาคีเครือข่ายจะต้องช่วยกันผลักดันให้เป็นวาระสำคัญอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เราจะมีความก้าวหน้าในการพัฒนาที่อยู่อาศัยเป็นอย่างมากแต่ยังมีความท้าทายอยู่เช่นกัน ซึ่งการประชุมสัมมนาตลอดระยะเวลา 4 วันนี้ เป็นการเปิดเวทีเรียนรู้และแลกเปลี่ยนกันในด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชนที่ดำเนินการอยู่ในเอเชียและภูมิภาคอื่นๆ รวมถึงการสนับสนุนความร่วมมือรวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยชุมชนที่นำไปสู่การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ระหว่างผู้นำชุมชนและผู้ขับเคลื่อนงานในพื้นที่จากประเทศต่างๆ ในเอเซีย ซึ่งจะส่งผลต่อแนวทางนโยบายขององค์กร หน่วยงาน ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ  รวมถึงการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชน และอีกเรื่องที่สำคัญคือการเป็นเจ้าภาพ ซึ่งประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพในการประชุมวันนี้ ซึ่งเป็นหน้าต่างที่สำคัญที่บอกให้โลกได้รับรู้ว่าเรากำลังให้ความสำคัญและกำลังขับเคลื่อนเรื่องที่อยู่อาศัยต่อไป”

Img 5253

นายกฤษดา  สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) ระบุว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ไขและพัฒนาที่อยู่อาศัยมาอย่างต่อเนื่อง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้จัดทำ ‘แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)’ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยของประชาชนที่มีรายได้น้อยทั่วประเทศประมาณ 3 ล้านครัวเรือน  โดยการเคหะแห่งชาติรับผิดชอบดำเนินการประมาณ 2 ล้านครัวเรือน  พอช. จำนวน 1,053,702 ครัวเรือน ทั้งนี้โครงการบ้านมั่นคง เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดและการไม่มีที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยอย่างเป็นระบบ โดยครอบคลุมชุมชนทั้งหมดของเมือง มีการสำรวจข้อมูลความเดือดร้อน และใช้ข้อมูลเพื่อวางแผนการแก้ไขปัญหาเชิงรุก จัดทำแผน แนวทาง และรูปแบบการแก้ไขปัญหาที่มีความหลากหลายตามสภาพปัญหาของชุมชน และแผนการพัฒนาเมือง รวมทั้งยังเน้นให้เกิดกระบวนการทำงานและจัดการร่วมกันระหว่างชุมชนและท้องถิ่น โดยมีกลไกการทำงานร่วมกันเป็นคณะกรรมการเมือง ซึ่งประกอบไปด้วย เทศบาล ชุมชน หน่วยงานท้องถิ่น ร่วมกันวางแผนและพัฒนาชุมชนแออัด

“พอช. จะสนับสนุนให้ชุมชนที่มีความเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยให้มีบ้านที่มั่นคง แต่เราไม่ได้ทำเพียงแค่เรื่องบ้าน ซึ่งมีนโยบายในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีรายได้ มีระบบการสร้างรายได้ สร้างระบบการเงินของชุมชนให้เกิดการรวมกลุ่ม เกิดการสร้างเครือข่าย ซึ่งส่งผลให้ชุมชนนั้นมีความเข้มแข็ง จะเห็นรูปธรรมได้จากการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าว คลองเปรมประชากร คลองแม่ข่า การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนริมรางรถไฟ และมีนโยบายเกี่ยวกับโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งในลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง–กรุงเทพฯ โดย Asian Development Bank และWorld Bank ซึ่ง พอช. จะต้องดำเนินการจัดทำแผนรองรับที่อยู่อาศัยประชาชนที่จะได้รับผลกระทบ ประมาณ 8,000 ครัวเรือน ภายใต้การศึกษาในพื้นที่ขององค์กรการเงินระหว่างประเทศทั้งสององค์กรเพื่อประกอบการพิจารณาในมาตรการการช่วยเหลือประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบดังกล่าวของรัฐบาลไทย ในการรองรับประชาชนอย่างครอบคลุมและรอบด้านต่อไป”

Img 5327

ทั้งนี้การพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท โดย พอช. มีผลการดำเนินงานภายใต้ ดังนี้  1. “โครงการบ้านมั่นคง” การพัฒนาที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อยในชุมชนแออัด/ชุมชนบุกรุก โดยมีเป้าหมายแก้ปัญหาความไม่มั่นคงในการอยู่อาศัย  เพื่อสร้างชุมชนที่มั่นคง “บ้าน…ที่มากกว่าคำว่าบ้าน” เป้าหมายตามแผนแม่บท 20 ปี จำนวน 690,000 ครัวเรือน ผลการดำเนินงานสะสม นับตั้งแต่ปี 2546 – ปัจจุบัน (มีนาคม 2567) จำนวน 133,382 ครัวเรือน 2. การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง เป็นการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในการกำหนดมาตรการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดและการสร้างที่อยู่อาศัยรุกล้ำแนวลำคลองและทางระบายน้ำ จากการสนับสนุนโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ส่งผลให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการและ สิ่งแวดล้อมที่ดี ตลอดจนปรับเปลี่ยนสถานะจากผู้รุกล้ำ เป็นผู้อยู่อาศัยที่ถูกระเบียบ เป้าหมายตามแผน 20 ปี จำนวน 11,004 ครัวเรือน มีผลการดำเนินงาน แบ่งเป็น (1) คลองลาดพร้าว 3,553 ครัวเรือน (2) คลองเปรมประชากร 1,364 ครัวเรือน1.คนไร้บ้าน มีการฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มคนไร้บ้าน โดยสนับสนุนการสร้างชุมชนใหม่ของคนไร้บ้าน และศูนย์พัฒนาชีวิตคนไร้บ้าน 3 ศูนย์ รองรับคนไร้บ้าน 1,395 ราย/698 ครัวเรือน ในกรุงเทพ(ปทุมธานี) ขอนแก่น และเชียงใหม่ 4. บ้านพอเพียง “ซ่อมสร้างบ้านคนจน” เป็นการสนับสนุนการซ่อมสร้างบ้านผู้ด้อยโอกาส ผู้มีรายได้น้อยในชนบท ซึ่งมีที่อยู่อาศัยและที่ดินแล้ว แต่สภาพบ้านทรุดโทรม เกิดการปรับปรุง ซ่อมแซม และก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้กับผู้ด้อยโอกาส มีเป้าหมายรวม 352,000 ครัวเรือน จากการดำเนินงานในปี 2560 – ปัจจุบัน (มีนาคม 2567)  เกิดการปรับปรุง  ซ่อมแซมและก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้กับผู้ด้อยโอกาส ครอบคลุม 77 จังหวัด ใน 4,904 ตำบล ผู้รับผลประโยชน์ 145,262 ครัวเรือน

จากการดำเนินงานส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท และเกิดความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคีพัฒนา เช่น การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน รวม 22 หน่วยงาน ในโครงการบูรณาการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในพื้นที่ คทช. ในระยะเวลา 5 ปี , การสร้างหลักประกันยามชราภาพและความมั่นคงในคุณภาพชีวิตของชุมชนผ่านการออม  ร่วมกับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ยกระดับการออมให้กับผู้มีรายได้น้อย ได้เข้าถึงการออมแบบครอบคลุมทุกชุมชน  ดำเนินการในพื้นที่นำร่อง 50 แห่ง

Img 5451

ทั้งนี้ในเวทีประชุมสัมมนาระหว่างประเทศการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing Conference) มีการปาฐกถาพิเศษ “ธรรมะการทำงานในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคมที่อยู่อาศัยร่วมกันให้เข้มแข็ง” โดย พระธรรมพัชรญาณมุนี (พระอาจารย์ชยสาโร) โดยท่านได้แสดงธรรมะเกี่ยวกับการทำงานไว้ว่า คนเรามีอุดมคติ คิดว่าเราทำดี ทำถูก คิดว่าคนอื่นคิดไม่ถูก ทำไม่ถูก ทำให้เรายึดตัวเองเป็นตัวตั้งในการทำงาน ถ้าเราปรับตรงนี้ใหม่ ด้วยการพยายามเข้าใจเหตุ ปัจจัยที่ทำให้เกิดสิ่งนั้นขึ้น มองดูตัวเราเอง สิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา กับคนอื่นที่เกี่ยวข้อง พยายามเรียนรู้ให้เข้าใจคนอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยความเมตตา ความเข้าใจนี้ จะทำให้เราเห็นภาพใหญ่ของสิ่งที่เราเป็น ความคิดของเราจะเปลี่ยนไป เราจะเข้าใจว่า เราเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ใหญ่กว่าอย่างไร และคนอื่นเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ใหญ่กว่านั้นอย่างไร

ด้วยความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรา เข้าใจเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นกับผู้อื่น เราจะเข้าใจว่าทำไมจึงเกิดสิ่งนั้นขึ้น สิ่งใดเป็นเหตุให้เกิดสิ่งนั้น เราจะมองสิ่งที่เกิดขึ้นและคนอื่นๆ อย่างเข้าใจและมีเมตตา เราจะสามารถเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้เราสามารถจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้น ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งได้ดีขึ้น อย่างมีเมตตา ถ้าเราสามารถปรับตรงนี้ได้ เราจะสามารถจัดเนื้อหาความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างตัวเรา คนอื่นๆและสิ่งที่เกิดขึ้น เราจะมองทุกอย่างเหมือนเราเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้เราทำงานได้ดีขึ้น

“การทำงานนั้นต้องมีสติ การทำงานกับส่วนรวมอาจจะมีความเห็นต่าง อาจไม่เหมือนกับสิ่งที่เราคิด ก็ต้องยอมรับฟังความเห็นของคนอื่น การทำงานแบบมีส่วนร่วม ต้องมีการพูดคุย ประชุมกันเป็นเนืองนิจ และการทำงานชุมชนต้องเป็นคนที่เสียสละ”

Img 5534

พร้อมทั้งวงเสวนา ประกอบด้วย วงเสวนาทำไมจึงต้องเป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยร่วมกันโดยชุมชน? : Why Collective Housing?” มีผู้ร่วมเสวนา คือ นายกิร์ติชา (Mr. Kirtee   Shah ) ผู้อาวุโส ประธานองค์กร ASAG ประเทศอินเดีย , นางลัจนา มานันดาร์ (Mrs. Lajana  Manandhar) เลขาธิการร่วมมูลนิธิศูนย์ศึกษาที่อยู่อาศัยแห่งเอเชีย และประธานองค์กร LUMANTI ประเทศเนปาล , Mrs. Van Liza ประธานองค์กร Women for the World ภาคประชาสังคมทำงานสนับสนุนการสร้างที่อยู่อาศัยของคนยากจน ชุมชนประเทศพม่า , Miss Jane Weru ประธานกรรมการบริหาร Akiba Mashinani Trust สนับสนุนการแก้ปัญหาของชุมชนและการพัฒนาที่อยู่อาศัย ประเทศเคนยา , Miss Adriana Allen อาจารย์จาก University College of London, Development Planning Unit, ประเทศอังกฤษ , Mrs. Lea Oswald ผู้ประสานงานองค์กร UrbaMonde และ Co-Habitat Network เครือข่ายสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ที่แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนบ่อนไก่ กทม. ในประเทศไทย  ดำเนินรายการ โดย คุณสุทธิชัย หยุ่น

8

การนำเสนอ “ที่อยู่อาศัย กุญแจสู่ความมั่นคงทางสังคมและมนุษย์ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนนโยบายและแนวปฏิบัติระดับชาติของประเทศไทย” โดย นางสาวสมสุข  บุญญะบัญชา ประธานอนุกรรมการโครงการบ้านมั่นคง พอช. และการเสวนาแลกเปลี่ยน  “การพัฒนาที่อยู่อาศัย เพื่อความมั่นคงของมนุษย์ ขุมชนและสังคม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน นโยบาย และแนวปฏิบัติในประเทศไทย” โดย นางสนอง รวยสูงเนิน  การพัฒนาที่อยู่อาศัยทั้งเมืองชุมแพ , นางดวงพร บุญมี  การพัฒนาที่อยู่อาศัยริมคลอง  , นางทองเชื้อ วระชุน โครงการที่อยู่อาศัยชุมชนริมทางรถไฟ , นางกรรณิการ์ ปู่จินะ  โครงการที่อยู่อาศัยศูนย์คนไร้บ้าน , นายละอองดาว สีลาน้ำเที่ยง  โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยและถิ่นฐานชนบทเข้มแข็ง บ้านมั่นคงชนบท , นางสาวเฉลิมศรี  ระดากูล รองผู้อำนวยการ พอช. ที่เน้นย้ำการเปลี่ยนแปลงต้องมาจากคนในชุมชนและท้องถิ่นให้ความร่วมมือ ดำเนินรายการโดย นางทิพย์รัตน์  นพลดารมย์ ที่ปรึกษา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

Img 5920

โดยในช่วงท้ายของการประชุมในวันนี้ มีเวทีการนำเสนอโครงการตัวอย่างที่ได้รับรางวัล การพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชนในเอเชีย และในระดับโลก ประกอบด้วย Mr.Khondaker Hasibul, Kabir Bangladesh, City-wide housing development and riverside participatory redevelopment in Jhenadah city ประเทศบังกลาเทศ , มานติ โจชิ (Lumanti Joshi) Nepal, City-wide upgrading in Kalaya City Mr.Gugun Muhammad, Indonesia, Cooperative housing of the poor , Mariolga Julia Pacheco  , เจน วาลู (Jane Weru) จากประเทศเคนยา ดำเนินรายการโดย ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ และ ดร.กฤษณะพล วัฒนวันยู

Img 5119
Img 5087

Img 5420
Img 5926

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

Prev

May 2025

Next

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

28
29
30
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
1

26 May 2025

Nothing to show.

เข้าสู่ระบบ