จากหมายน้อยถึง ก.พลังงาน : การรีบเร่งชงแผนผลิตไฟฟ้า (PDP) ให้ คสช. เป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่ง

จากหมายน้อยถึง ก.พลังงาน : การรีบเร่งชงแผนผลิตไฟฟ้า (PDP) ให้ คสช. เป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่ง

28 พฤษภาคม 2558, ภาคประชาสังคมออกแถลงการณ์ กรณีการอนุมัติแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ (PDP) เรียกร้องกระทรวงพลังงานต้องปฏิบัติตามกฎหมายพลังงาน-เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น หลังจากมีรายงานข่าวระบุว่ากระทรวงพลังงานได้ดำเนินการสรุปโครงงานเร่งด่วนซึ่งต้องดำเนินการภายใน 1-6 เดือนข้างหน้า  เพื่อเสนอให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจพิจารณาอนุมัตินั้น โครงการเร่งด่วนดังกล่าวรวมถึงการขออนุมัติแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) ฉบับใหม่

สำหรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือที่เรียกกันว่า แผนพีดีพี เป็นแผนกำหนดการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าชนิดต่างๆ เช่น นิวเคลียร์ เขื่อน ถ่านหิน แก๊ส หรือพลังงานหมุนเวียน เพื่อเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นระยะเวลา 15 -20 ปี ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ภายใต้แผนพีดีพี ฉบับที่10 (ทบทวนครั้งที่3) ซึ่งกำหนดรายละเอียดของแผนการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าชนิดต่างๆ รวมกันกว่า 50,000 เมกะวัตต์ (ปัจจุบันกำลังผลิตของประเทศรวม 33,000 เมกะวัตต์) ในช่วง พศ.2553 – 2573 คิดเป็นมูลค่าการลงทุนของทั้งแผน กว่า 2 ล้านล้านบาท

การปรับปรุงและออกแผนพีดีพีฉบับใหม่มักจะมีข้ออ้างว่า เพื่อให้แผนการลงทุนสอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สูงกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ในแผนเดิม ดังนั้นแผนฉบับใหม่นอกจากจะเป็นโอกาสให้มีการปรับเปลี่ยน ชนิด-ขนาด-ทำเล ของโรงไฟฟ้าแล้ว ก็มักจะมีการเพิ่มโครงการใหม่ๆ และผู้ลงทุนตามไปด้วย

ดังนั้นเพื่อป้องกันการลงทุนผิดพลาดเกินจริง การแสวงหาประโยน์โดยมิชอบ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน กฎหมายกำกับกิจการพลังงาน จึงได้กำหนดให้กระบวนการทำแผนพีดีพี และการอนุมัติ จะต้องมีความความโปร่งใส โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ  การประเมินผลกระทบ และได้รับความเห็นของคณะกรรมการอิสระกำกับกิจการพลังงาน ประกอบการพิจารณาอนุมัติของกรรมการพลังงานแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

ภาคประชาสังคมหลายองค์กรที่ทำงานติดตามประเด็นพลังงานมาตลอด มีความเห็นว่า การรีบเร่งเสนอเรื่องแผนพีดีพีให้พิจารณาอนุมัติในช่วงเวลานี้ เป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่ง

แผนพีดีพีเป็นเรื่องใหญ่ระดับประเทศ มีกระบวนการที่ใช้เวลานาน เนื่องจากมีผลผูกพันในระยะยาว เกี่ยวข้องกับงบประมาณมหาศาล บรรจุโครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงต่างๆ จำนวนมาก ทั้งในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ และในระดับสากลมีการทำการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Impact Assessment-SEA) สำหรับแผนทั้งหมด ไม่ใช่ศึกษาผลกระทบเพียงรายโครงการ

ที่ผ่านมา การคาดการณ์ความต้องการพลังงานของประเทศ และการลงทุนนั้นเกินจริงมาตลอด ทำให้การการสูญเสียทางเศรษฐกิจ และทำให้ค่าไฟสูงเกินความจำเป็น และไม่นำไปสู่การสร้างประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
ที่สำคัญ กระบวนการพิจารณาและอนุมัติแผนพีดีพี ต้องได้รับความเห็นจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จึงจะเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรีได้

การที่ปลัดกระทรวง พลังงานเร่งเสนอร่างแผนฯ ดังกล่าวให้ คสช. พิจาณาอนุมัติ จึงถือเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติกฎหมายกำกับกิจการการพลังงาน อีกทั้งไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนเข้ามีส่วนร่วม ปิดกั้นกระบวนการมีส่วนร่วมของสาธารณะ

องค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งลงนามท้ายแถลงการณ์นี้ ขอเรียกร้องให้กระทรวงพลังงานปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วน ต้องจัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างทั่วถึง 
 
ลงนามโดย

  • เครือข่ายพลังงานเพื่อสิ่งแวด ล้อมในลุ่มน้ำโขง
  • มูลนิธินโยบายสุขภาวะ
  • กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ