จริยธรรมสื่อภูมิภาคยุคหลอมรวม
สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติรวม กับหน่วยงานสื่อพื้นที่ และถาบันการศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ จัดงานครบรอบ 15 ปี สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ภายใต้งาน “จริยธรรมสื่อภูมิภาคยุคหลอมรวม”
ปาฐกถาพิเศษ “เปิดตำนานสื่อมวลชนภาคเหนือ”
ดร.เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ประธานสภาวัฒนธรรมเชียงใหม่
ในยุคแรกๆ เชียงใหม่เริ่มมีสื่อ ก็คือสื่อหนังสือพิมพ์ และพัฒนามา ก็มีสื่อวิทยุ และสื่อทีวี แต่ไม่ว่าจะสื่ออะไรก็ตาม สื่อมวลชนเชียงใหม่ ไม่มีใครทำร้ายกัน ต่างช่วยเหลือเกื้อหนุนกัน
ไม่ว่าจะยุคไหนๆ การทำสื่อ จริยธรรมของสื่อมวลชนสำคัญมาก เราจะทำอะไรอย่างไรก็ได้ แต่เราในฐานะสื่อ ต้องรู้ถึงความเหมาะสม สิ่งที่ขาดไม่ได้ในฐานะสื่อ ก็คือความรับผิดชอบต่อสังคม ขอให้เรารักษาไว้
นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ในยุคปัจจุบัน เมืองเราเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมคนก็เปลี่ยนทั้งผู้ส่งสื่อ และผู้บริโภคสื่อ เราเองต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ก้าวไปอย่างไม่หยุดหยั่ง
เมื่อก่อน เราจะบริโภคข่าว ก็ตอนเช่าๆ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ แต่ปัจจุบัน เราเองในฐานะผู้บริโภค สามารถเลือกได้ ว่าเราจะบริโภค ข่าวตอนไหน เวลาไหน ที่ไหนก็ได้ หากเรื่องนั้นไม่ทำให้เราเสียโอกาส แต่เราแค่รู้ช้ากว่าคนอื่นเท่านั้น ดังนั้นสื่อมวลชนในยุคใหม่ ก็ต้องปรับตัวให้ทัน เช่น บก.ข่าว ก็ต้องเหนื่อยขึ้น เพื่อที่จะไม่ทำให้ผู้บริโภค และตัวเราเสียโอกาส
ช่องทางที่หลากหลาย เมื่อเรามีพื้นที่การสื่อสารส่วนตัว ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะสื่อสาร เมื่อเขาเขียนได้ ถ่ายภาพได้ และมีพื้นที่ที่จะสื่อสาร เขาก็สื่อสารได้ และทุกคนก็พร้อมที่จะสื่อสาร
การหลอมรวมสื่อ
สื่อออนไลน์ ในปัจจุบันมีการแข่งขัน จนทำให้เกิดการคลาดเคลื่อน หรือการบิดเบือนได้ แต่การทำสื่อที่ปลอดภัย และสร้างสรรค์ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรจะมีคือ จริยธรรมการทำสื่อ …ควรมีการควบคุมกันและกัน และมีการตรวจสอบ เพื่อความถูกต้อง และมีคุณภาพของสื่อการทำสื่อ ไม่ว่าจะมีความสำเร็จมากแค่ไหน แต่ถ้าหากว่าไม่มีจริยธรรมก็ไม่มีความหมาย
อ.สดศรี เผ่าอินจันทร์ อดีตคณบดีคณะการสื่อสารมวลชน ม.เชียงใหม่กล่าว
จริยธรรมมี 3 มิติ คือ
1. จิตวิญญาณของสื่อ ได้แก่ จุดมุ่งหมายของการนำเสนอ
2. ประสิทธิภาพในการทำสื่อ คือ ทำสื่อเป็นแบบ multiplatform ได้
3. สำนึกในคุณธรรม และจริยธรรม
การเท่าทันสื่อ เมื่อได้ข่าว อย่าเชื่อในครั้งแรกทั้งหมด เราต้องกลั่นกรอง คือควรจะหาที่มาที่ไปของข่าว หรือเนื้อหา ของข่าวด้วย
คุณนิรันดร์ เยาวภาว์ นายกมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าว
ความเปลี่ยนแปลงของการนำเสนอสื่อในปัจจุบัน ได้แก่ ช่องทางที่หลากหลายมากขึ้น แหล่งที่มาของเนื้อหาก็มากมาย การนำเสนอสื่อบางครั้งมันจะเรื่องของผลประโยชน์เข้ามา
เมื่อเกิดการแข่งขัน ทำให้ต้องรวดเร็ว พลาดข่าวไม่ได้ ทำการลอกข่าว เพื่อไปนำมาเสนอ จนนำไปสู่การละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การแชร์ลิงค์
การนำเสนอเรื่องราวในปัจจุบัน ทำให้เรารู้จักคำว่า ข่าวภาคพลเมือง เพราะช่องทางมันหลากหลาย แต่ว่ามันไม่ได้ผ่านการคัดกรอง แต่ก็มีข้อดีตรงที่มีความรวดเร็ว
อ.อินทร์สม ปัญญาโสภา (บรรณาธิการ นสพ.ไทยนิวส์)กล่าว
จากหนังสือ สู่วิทยุ มาโทรทัศน์ ถึงแม้ว่าจะเป็นคนรุ่นเก่า แต่ก็ต้องรู้จักที่จะเรียนรู้สิ่งที่เข้ามาใหม่
ผศ.ดร.กมลณัฏฐ์ พลวัน รองคณบดีฝ่ายวิชาการวิจัยและวิเทศัมพันธ์ คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏเชียงใหม่กล่าว
ปัจจุบันการนำเสนอเรื่องราว การกลั่นกรองค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะมาจากความรู้สึก
การใช้สื่อออนไลน์ มันไม่ใช่แค่การหลอมรวมสื่อ แต่มันถือว่าเป็นการหลอมรวมโลก เพราะมันไม่มีเส้นแบ่ง เป็นเรื่องของการเปิดกว้าง