เพชรบุรี ชุมชนบ้านถ้ำเสือ / ระหว่างวันที่ 1 – 3 มีนาคม 2567 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ร่วมกับ กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) และแกนนำเครือข่าย 15 ป่าชุมชนต้นแบบ จากทั่วประเทศ ร่วมกันจัด เวทีสรุปบทเรียน และวางแผนทิศทางการขับเคลื่อนการจัดการป่าชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมี ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เป็นประธานในเวทีสรุปบทเรียนในครั้งนี้ โดยจัดขึ้นที่ ชุมชนบ้านถ้ำเสือ ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยมีผู้เข้าร่วม กว่า 75 คน
การจัดเวทีสรุปบทเรียนและวางแผนทิศทางการขับเคลื่อนการจัดการป่าชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้จัดทำขึ้นเพื่อสรุปการทำงานการจัดการป่าชุมชนพื้นที่ต้นแบบของเครือข่ายป่าชุมชนในพื้นที่ 15 พื้นที่ 15 จังหวัด ภายใต้โครงการขับเคลื่อนการจัดการป่าชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สู่การจัดทำข้อเสนอข้อเสนอการทำงานในระดับพื้นที่และข้อเสนอในเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่กำกับพรบ.ป่าชุมชน ในการจัดการสรุปบทเรียนในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ร่วมกับ หน่วยงานภาคีความร่วมมือ 8 หน่วยงาน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของป่าชุมชนในระดับประเทศในพื้นที่ 15 พื้นที่เพื่อ เป็นต้นแบบในการพัฒนาเครือข่ายชุมชน 15 พื้นที่ ที่ได้รับการคัดเลือกพื้นที่ จากหน่วยงานภาคี และพื้นที่ ป่าชุมชน ที่ได้จัดตั้งตาม พ.ร.บ. ป่าชุมชนปี 2562 และที่สาธารณะที่มีการรักษาป่าชุมชน เพื่อเป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบการรักษาป่าชุมชนในรูปแบบต่างๆ เวทีสรุปบทเรียนครั้งนี้ จะได้แนวทางการขับเคลื่อนป่าชุมชน สู่แนวทางการขับเคลื่อน ปี 2568-2570 จากบทเรียนการขับเคลื่อนการจัดการป่าชุมชนและผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งในด้านข้อเด่น ด้านที่เป็นอุปสรรคและแนวทางข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดการบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาป่าชุมชน
ปาฐกถาพิเศษ “ป่าชุมชน กับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน”
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) กล่าว การจัดการป่าชุมชนทุกที่จะมีความต่างกัน แต่ต้องการทำทั่วประเทศ และมาร่วมเรียนรู้การทำงานกับพื้นที่ต้นแบบนำร่อง โดยการดำเนินงานว่าทำอย่างไรจะสามารถจัดการป่าได้ โดยทุกแห่งที่ทำต้องไม่เหมือนกัน เป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ มาร่วมเรียนรู้ เช่น การทำสมุนไพร การปลูกต้นไม้ที่ต่างกัน (ไม้ใช้สอย) การ ทำฝาย ฯลฯ และเมื่อพื้นที่อื่นมาเรียนรู้พื้นที่ต้นแบบจะทำให้สามารถขับเคลื่อนงานไปได้ เช่นเดียวกับการพัฒนาประเทศที่มีการพัฒนาในศูนย์กลาง โดยไม่กระจายให้ครอบคลุม จะทำให้ประเทศไม่เกิดการพัฒนา หากเราไม่ลงไปพัฒนาที่ชุมชน ชุมชนก็ไม่เกิดความเข้มแข็ง เราต้องทำให้ชุมชนที่อ่อนแอ สามารถยืนได้ด้วยตนเอง เช่น การมีสถาบันการเงินของชุมชน/การทำหนี้ระบบออกไปจากชุมชน ให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองได้ ลุกขึ้นยืนได้ การส่งเสริมสุขภาพให้ชุมชนพึ่งตนเอง (หนึ่งแพทย์ชนทต่อหนึ่งชุมชน) เพื่อให้มีนักบริบาลชุมชน ให้ชุมชนเข้มแข็ง ฯลฯ
โครงการป่าชุมชน ก็เป็นหนึ่งในนั้น ที่ให้ชุมชนมีความอุมดสมบูรณ์ มีพื้นที่การทำงานที่อุดมสมบูรณ์ จะทำให้ชาวบ้านมีรายได้จากป่า สร้างมูลค่าเพิ่มจากป่าชุมชนที่มีความยั่งยืน ให้ทุกคนยืนได้อย่างทั่วถึงชุมชนก็จะเข้มแข็งตามไปด้วย
ปัจจุบันเอกชนถูกกดดันเรื่องการอนุรักษ์เรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะนี้ก็มีการคิดเรื่องคาร์บอนเครดิต โดยต้องมาทำงานร่วมกับชุมชนเพิ่มมากขึ้น เพราะในอนาคตสินค้าอาจไม่สามารถส่งไปที่ยุโรปได้ และหากสินค้าใดมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นจำนวนมาก ก็จะต้องมีการรับผิดชอบเรื่องในเรื่องดังกล่าวด้วย
จึงมีแนวคิดการส่งเสริมคาร์บอนเครดิต เพื่อชดเชยจากการทำลายสิ่งแวดล้อมไป ซึ่งจะมีการส่งเสริมการขายคาร์บอนเครดิต จากป่าชุมชนที่ชุมชนทำ จะเป็นแหล่งคาร์บอนเครดิตที่ดีที่สุดในโลก และนอกจากนี้ยังมีการ Matching โครงการของบริษัทเอกชนคู่กับชุมชน โดย BOI มีมาตรการส่งเสริมบริษัทเอเอกชนที่มีการสนับสนุนงบให้กับชุมชน จะมีการหักลดหย่อนภาษีเงินได้ให้กับบริษัทเอกชนหากทำโครงการป่าได้ สามารถเปลี่ยนทุกอย่างได้ เป็นการใส่วิตามินให้กับประเทศ และเป็นเรื่องที่ชาวบ้านทำเอง ชาวบ้านได้ประโยขน์จากป่าเอง โครงการจัดการป่าชุมชน เมื่อเราทำไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นหัวรถจักรสำคัญในการเคลื่อนงานทั้งประเทศ
เราต้องทำชุมชนให้เป็นป่าชุมชนที่สมบูรณ์แบบ โดยทุกพื้นที่ต้องไม่เหมือนกัน เป็นต้นแบบ ตำรา พระไตรปิฎกของชุมชนอื่นที่เหลือ และขยายผลไปพื้นที่อื่น เป็น 2 เท่าในแต่ละปี เช่น จาก 15 เป็น 30 จาก 30 เป็น 60 ฯลฯ และเป็นพี่เลี้ยงให้กับพื้นที่อื่นได้ ให้สามารถพื้นที่โตขึ้นได้ด้วยตนเอง และชุมชนทั่วไปก็จะมีซุบเปอร์มาร์เก็ตเป็นของตนเอง
บทบาทของ สสส.ในการดำเนินงานจัดการป่าชุมชน
รศ.ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา คณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 2 สสส. กล่าวว่า หากเราสามารถทำให้คนในพื้นที่อยู่ในพื้นที่ของเขาเองได้ จะทำให้สุขภาพของชุมชนดีในทุกมิติ และมีป่าอยู่ใกล้บ้านจะทำให้มีอาหารสำหรับการดำรงชีพ เช่น ผักหวาน เห็ดโคน เห็นเผาะ ยา ฯลฯ และนอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนได้อีกทางด้วย ก็จะทำให้ชุมชนเกิดความยั่งยืน สสส. มีความยินดีในการขับเคลื่อนการจัดการป่าสู่ความยั่งยืน
เสวนา “การส่งเสริมด้านนโยบาย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนป่าชุมชน”
นางนันทนา บุณยานันต์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้ การสร้างความรู้เรื่องกฎหมายป่าชุมชนเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งต้องเริ่มจากคณะกรรมการป่าชุมชนจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการปรับอบรมเริ่มจาก 1.เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่บอกต่อ 2.อบรมคณะกรรมป่าชุมชนจังหวัดการผ่านระบบออนไลน์ 3.สร้างหลักสูตรการอบรมออนไลน์ 4.ห้องสมุดออนไลน์(คู่มือภาคประชาชน)บรรจุอนุบัญญัติติ 23 ฉบับ
ป่าชุมชนที่จัดตั้งทุกแห่ง 1 ป่า จะมีเจ้าหน้าที่ 1 คนแผนการจัดป่าชุมชน และแผนที่ในอนาคตจะถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามกฎหมาย “ป่าชุมชนคือป่าไม้หมู่บ้าน” ซึ่ง 68 จังหวัด มีเครื่องทำบัตรประจำตัวป่าไม้หมู่บ้าน คณะกรรมการ ป่าไม้หมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ป่าชุมชน(แต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการจังหวัด) ตัวอย่างที่ดำเนินการแล้ว จังหวัดภูเก็ต เพราะฉะนั้นให้ทั้ง 68 เริ่มดำเนินการให้ครบพื้นที่
การที่จะดำเนินงานในพื้นที่ป่าชุมชน สิ่งต้องมี 1.แผนการจัดการป่าชุมชน( 5 ด้าน สิ่งที่เพิ่มคือพัฒนาและใช้ประโยชน์) พร้อมขออนุญาตผู้ว่าราชการจังหวัด เช่น จัดทำห้อง,ทำศาลา 2.แผนที่ ***ทุกอย่างสามารถทำได้แต่ต้องมีระบุอยุ่ในแผนที่นำเสนอต่อผู้ว่าฯ
การตัดไม้ ล้มขอน/นอนไพร ไม่สามารถทำได้เนื่องจากทางนักกฎหมายยังไม่เห็นด้วย หากมีเจตนาทำให้เกิดการล้มขอน/นอนไพร
สร้างกลไกการทำงานร่วม เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ตัวอย่างเช่น ป่าครอบครัว(บ้านท่าลี่ จังหวัดขอนแก่น รวมกลุ่ม 2 แสนต้นเทียบเท่ากับ 1,000 ไร่) เพื่อขายคาร์บอนเครดิต
นายเดโช ไชยทัพ ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ)
การแก้ไขกฎหมายป่าชุมชน สามารถแก้ไขได้ แต่ยังไม่คณะทำงาน เพราะฉนั้นจะต้องมีความชัดในการมีคณะทำงานเพื่อรวบรวมข้อในการแก้ไขและศึกษาการแก้ไข ซึ่งเป็นการแก้ในลำดับรอง(มาตรา 17) เพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น
พื้นที่ใดที่จัดตั้งเป็นป่าชุมชนแล้วไม่อยู่ในพื้นที่ป่าเดิม บังคับใช้โดยพรบ.ป่าชุมชน ปัญหาคือประชาชนที่ใช้กฎหมายไม่รู้กฎหมายและข้อติดขัดในการประสานงานกับหน่วยงาน
ดร.ชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ (สสส.)
บทบาทสำคัญของ สสส. จะทำอย่างไรให้ 15 พื้นที่ เป็นพื้นที่ต้นแบบเพราะฉะนั้นงานต่างๆที่รวบรวมผู้ประสบปัญหามาแลกเปลี่ยน ทาง สสส.จะช่วยสนับสนุนให้เกิดขับเคลื่อนงานต่อไป และมีแนวทางดำเนินงานต่อไป เนื่องจากการจัดป่าที่ล้มเหลว ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพของประชาชน ทางสสส.จึงเข้าร่วมและสนับสนุนโครงการป่าชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งที่ผ่านมาทาง สสส.มีการเรียนรู้คู่ไปกับชุมชน พบว่าโครงการป่าชุมชนเป็นทางออกที่ดีมาก
เสวนา “แนวทางการเสริมพลังป่าชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”
ผู้แทนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.สำนัก 2) : มีการดูแลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหลายมิติ หากเสนอของบประมาณกับทาง สสส. ให้มุ่งประเด็นไปที่เรื่องสุขภาพ ซึ่งเครือข่ายป่าชุมชนสามารถรวมกลุ่มในการขับเคลื่อน กระตุ่นและผลักดัน ให้ดำเนินงานตามแผน หากมีการขับเคลื่อนงานทาง สสส. พอช. จะเป็นพี่เลี้ยงในการจับคู่การขอบรับงบในส่วนอื่นๆที่มากกว่า สสส. พอช.
ผู้แทนกองบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : ทางกองทุนฯมีงบประมาณในการที่สนับสนุนเพื่อการพัฒนาเครือข่าป่าชุมชนให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย 1.คณะกรรมการป่าชุมชน 2.องค์กรเครือข่ายป่าชุมชน หมวดงบประมาณ 1.การดำเนินงาน 2.ติดตามประเมิน 3.จัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่ ซึ่งการเขียนโครงการ ซึ่งมีการปรับกระบวนการและแบบฟอร์ม ขนาดโครงการ (โครงการ บริบทพื้นที่ สภาพปัญหา) ปรับขนาดเล็กลงและขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น
ช่องทางการติดต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โทร 02-265-6589 02-265-6594
นายวิชัย นะสุวรรณโน รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พอช.จะผู้หนุนเสริมในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงงบประมาณ
นายสิทธิ สว่างจิตต์ หัวหน้างานเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยว องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) : มี 9 พื้นที่ (หมู่เกาะช้าง พัทยา สุโขทัย กำแพงเพชร เลย น่าน สุพรรณบุรี สงขลา,นครศรี เชียงราย สมุทรปราการ) มีหน้าที่ประสาน สนับสนุนในเรื่ององค์ความรู้ เครื่องมือต่างๆ ในการส่งเสริมพื้นที่ ให้เกิดเป็นพื้นที่ท้องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ผู้แทนมูลนิธิสืบนาคะเสถียร : ผลักดันนโยบาย สร้างการเปลี่ยนแปลง ในเรื่องการจัดการทรัพยากร และมีหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ มีภารกิจเป็นพี่เลี้ยงป่าชุมชนทุกมิติ การบริหารจัดการเบื้องต้นให้อยู่ที่หัวหน้าหน่วย เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา ซึ่งในปี 2567 จะเริ่มอบรม 24 หน่วย ในดือนมีนาคม 2567
นายระวี ถาวร ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) : มีเป้าหมายในการจัดการภูมิทัศน์ ป่าไม้ภาคพลเมือง หน้าที่หลัก พัฒนาศักยภาพกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ยกระดับพื้นที่ป่าและ 1.คู่มือการทำแผนป่าชุมชน 2.ฝึกอบรม 3.เครือข่าย โดยการขยายกลไก ทำระบบฐานข้อมูลป่า กำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์จังหวัด ในด้านนโยบายที่จะทำต่อเรื่องการแก้ไขกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ป่า
การจัดเวทีสรุปบทเรียนในครั้งนี้ เป็นการเปิดพื้นที่ให้กับแกนนำของชุมชนที่ขับเคลื่อนเรื่องป่าชุมชน ได้สรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนประสบการณ์และปัญหาที่ผ่านมา ช่องทางการแก้ไข และได้เห็นความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนที่พร้อมจะสนับสนุน โครงการป่าชุมชน เพื่อแก้ปัญหาทุกมิติให้กับชุมชน โดยขับเคลื่อนงานร่วมกัน เครือข่ายป่าชุมชนจะสามารถเชื่อมโยงการพัฒนา และยกระดับสู่ความยั่งยืน พื้นสีเขียวเต็มพื้นที่
Cr. ข้อมูล นางสาวกุลสตรี ทิวแก้ว บริหารงานข้อมูล