“เงินติดคลังงบมาช้า ไฟลามนอกเขต ขาดบุคลากรชำนาญ” 3 ปัญหาหลัก ท้องถิ่นแก้ไฟ-ฝุ่น
“แม่แจ่ม พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ การรับเงินสนับสนุนจากกรมที่ถ่ายโอนภารกิจประมาน 5 หมื่น 6 ต้องใช้ซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ระบุมาเท่านั้น แล้วพื้นที่เป็นดอยสูงชัน แบกของขึ้นไปตายพอดี เงินอุดหนุนจากตรงนี้หาพื้นที่จัดการเองได้เลยได้หรือไม่ ?”
ตัวอย่าง เสียงความกังวลและคำถามจากผู้นำท้องถิ่นในการใช้งบเรื่องฝุ่นในพื้นที่ ผ่านวง สตง.ตอบท้องถิ่น ลุยฝุ่น-ไฟ อย่างไรไม่สะดุด?
North interviews กับ คุณ มณเฑียร เจริญผล ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
ปัญหาฝุ่นควันที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยข้อจำกัดของแต่ละพื้นที่มีอำนาจหน้าที่อยู่ในพื้นที่ของเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลของตนเอง เพราะฉะนั้นประเด็นปัญหาใหญ่ที่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมองเห็น คือ
หนึ่ง ไฟป่าไม่ได้เกิดเฉพาะเทศบาลใดเทศบาลหนึ่ง ไม่ได้เกิดขึ้นบนพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลใดตำบลหนึ่งแต่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพราะฉะนั้นปัญหาคือเวลาเกิดไฟ ฝุ่นในพื้นที่ ในการที่จะแก้ปัญหาไฟป่านอกเขตพื้นที่ของได้ นี่คือปัญหาเรื่องที่หนึ่ง
สอง คือเรื่อง ข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ ซึ่งปีนี้ 2567 ประเด็นปัญหาของไฟป่าคืองบประมาณที่ท้องถิ่นจะขอรับ เงินจากรัฐบาลส่วนกลางเป็นงบประมาณที่ล่าช้าในปีนี้ ในปีนี้จะดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ก็ต้องรองบประมาณที่จะได้มาก่อน ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนนี้คือขั้นตอนการเตรียมมการของพื้นที่ แต่ในการดำเนินงานด้วยงบประมาณได้มาเท่าไหร่และเมื่อไหร่ในพื้นที่ก็จะดำเนินงานแก้ไขปัญหาในพื้นที่ในการเตรียมการขั้นตอนได้
แต่ต้องดูว่างบประมาณจะได้มาเร็วหรือไม่ปีนี้เพราะงบประมาณปีนี้ล่าช้าไปแล้ว
สามคือ กำลังพล บุคลากรในการทำงาน ซึ่งต้องเป็นบุคลากรที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญในเรื่องของการดับไฟป่าในพื้นที่ค่อนข้างมีจำนวนจำกัด ซึ่งหลายหน่วยงานในพื้นที่เมื่อเวลาเกิดสถานการณ์ประเชิญเหตุก็จะตั้งงบประมาณของตนเอง เช่นกรมป่าไม้ กรมอุทยาน หน่วยงาน ป้องกันสาธารณภัย พยายามที่จะตั้งงบประมาณแต่กำลังพลและบุคลากรมีเพียงหยิบมือ เพราะฉะนั้นบุคลากรปัญหาคือจะทำอย่างไรให้การใช้จ่ายงบประมาณเกี่ยวกับ บุคลากรไม่เกิดการซ้ำซ้อน
วิธีแก้ 3 ปัญหาหลักท้องถิ่น
สำคัญที่สุดคือการ บูรณาการ ให้ความสำคัญและจริงจังกับการแก้ไขเรื่องนี้
3 ปัญหาหลักที่กล่าวมาข้างต้น คือ สิ่งที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ได้ วิธีการแก้ไขปัญหาอย่างนึงที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมองเห็นคือต้องมีการบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหานี้
เพราะฉะนั้นการบูรณาการคือการแก้ไขปัญหาบูรณาการระหว่างหน่วยงานเพราะพื้นที่ไม่ได้เกิดขึ้นทีเดียว และบางทีบางอย่างเกินอำนาจของท้องถิ่นเช่นเกิดไฟในพื้นที่ของป่าไม้หรืออุทยาน เพราะฉะนั้นการบูรณาการให้ท้องถิ่นบูรณาการร่วมกันกับท้องถิ่นคือการแก้ไขปัญหาในพื้นที่เท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ไฟเกิดขึ้นในพื้นที่กรมอุทยานหรือเขตป่าไม้เพราะฉะนั้นในการบูรณาการต้องบูรณาการระดับจังหวัดลงมา ระดับป่าไม้ ระดับอุทยานต้องมาร่วมกับท้องถิ่น เพราะไม่บูรณาการปัญหาก็จะไม่ถูกแก้ไขในเรื่องของพื้นที่ที่เกินขอบเขตอำนาจของท้องถิ่นที่จะดำเนินการแก้ไขได้
สอง คือ งบประมาณท้องถิ่นมีงบประมาณของตนเองส่วนนึงแต่งบประมาณไม่ได้มาเพื่อดำเนินการแก้ไขไฟป่าอย่างเดียว ซึ่งแก้ไขปัญหาสาธารณูปโภคในพื้นที่ ถนนหนทางสาธารณูปโภคของท้องถิ่น เพราะฉะนั้นตัวงบประมาณที่ท้องถิ่นมีอยู่ต้องใช้ในหลากหลายอย่าง เพราะฉะนั้นในส่วนของงบประมาณต้องมาดูกัน เพราะเชื่อว่างบประมาณอย่างเช่นในพื้นที่หน่วยงานของจังหวัดเชียงใหม่ทุกหน่วยงานต้องยกประเด็นเรื่องของการจัดการปัญหาฝุ่น และของบประมาณ และตัวงบประมาณกระจายอยู่ทุกหน่วยงาน แต่ถ้าเอางบประมาณมาบูรณาการกันในภาพรวมถ้าเราเห็นงบประมาณภาพรวมในการแก้ไขปัญหาไฟป่าของแต่ละหน่วยงานร่วมกัน ว่ามีจำนวนเท่าไหร่เอามาดำเนินการแก้ไขปัญหาทั้งเรื่องพื้นที่ งบประมาณ และสุดท้ายคือเรื่องคน จะแก้ไขปัญหาที่พูดมาได้เกือบทั้งหมด
พูดถึงแค่เฉพาะส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ ยังไม่พูดถึงนโยบายที่รัฐบาลจะต้องทำในปีนี้
เมื่อเงินกองกลางยังติดคลัง ระเบียบในการใช้เงินอุดหนุนท้องถิ่น ทางท้องถิ่นสามารถทำเรื่องเบิกจ่ายและบูรณาการก่อนได้หรือไม่ ?
ท้องถิ่นจะมีเงินอยู่ 2 ก้อน คืนเงินของท้องถิ่นเอง มีการเบิกจ่ายตามเทศบัญญัติซึ่งเป็นรายรับที่ได้มา สามารถไปดำเนินการได้โดยไม่ต้องรออะไร เพราะฉะนั้นในตัวของงบประมาณในส่วนของเค้าเองสามารถดำเนินการได้ แต่เพียงงบประมาณของเค้าเองไม่ได้มาทำเรื่องฝุ่นควันเพียงอย่างเดียว ต้องดูแลสาธารณูปโภคของชุมชนของประชาชนตามแผนเทศบัญญัติที่มี เพราะฉะนั้นคือการที่ต้องไปดูเรื่องของงบประมาณที่ท้องถิ่นมีและข้อบัญญัติ
ซึ่งเวลาท้องถิ่นทำงบประมาณจะมีข้อบัญญัติอะไรบ้าง เพราะฉะนั้นหากเทศบาลไหนหรือท้องถิ่นไหนตั้งงบประมาณเรื่องนี้ออกมาโดยใช้งบประมาณตนเองสามารถดำเนินการได้แต่บางท้องถิ่นอาจมองว่านี่คืองบประมาณที่ควรจะใช้แล้วรองบของส่วนกลาง ซึ่งจะมีปัญหาและผลกระทบเพราะแผนของท้องถิ่นไม่ได้มีงบประมาณเรื่องเหล่านี้อยู่ ไปทำถนนสะพาน แก้ไขปัญหาขยะในชุมชน เรื่องการดำรงค์ชีพประชาชน ก็จะกระทบด้านนั้นทันทีนี่คือส่วนที่จะเกิดขึ้นต้องเข้าใจว่าท้องถิ่นมีงบประมาณอยู่สองอย่าง
แล้วแบบใดถึงจะง่ายต่อการที่จะเบิกจ่ายแก้ไขปัญหาแบบเฉพาะหน้าอย่างง่าย ?
ในส่วนงบประมาณของท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายได้ด้วยระเบียบที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระเบียบแผนของมหาดไทย ระเบียบเรื่องการตั้งงบประมาณระเบียบเรื่องการช่วยเหลือประชาชน ตรงนี้มีระเบียบให้เบิกจ่ายอยู่แล้วหากมีงบประมาณก็สามารถดำเนินการเรื่องนี้ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการซื้อหน้ากากให้ประชาชน เรื่องของการเกิดไฟในพื้นที่ที่พักอาศัยประชาชน สามารถทำได้เลยด้วยงบประมาณที่ท้องถิ่นมี แต่ภาพใหญ่ของงบประมาณส่วนใหญ่ในท้องถิ่นเป็นเรื่องของการป้องกันไฟป่า ซึ่งงบประมาณในมือท้องถิ่นส่วนใหญ่จะดูแลประชาชนเป็นหลักแต่ในเรื่องของการป้องกันแนวกันไฟอุปกรณ์ อาจจะต้องพึ่งงบประมาณที่มาจากรัฐบาลส่วนกลางจากสภา ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาแบบนี้
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินให้ความสำคัญกับประเด็นฝุ่นอย่างไร ?
ในปฏิญญากรุงเทพฯเมื่อปี 2564 มีประเด็นถูกกำหนดไว้คือประเด็นอุบัติใหม่คือเป็นเรื่องไม่ว่าจะเป็น โควิด-19 ประเด็นฝุ่น Pm 2.5 สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่กำหนดไว้ในปฏิญญากรุงเทพฯ ที่มีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทั่วโลกมาคุยกันและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมาร่วมกำหนดนโยบายว่า นโยบายตรวจเงินแผ่นดินตั้งแต่ปี 2565-2570 ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเน้นการตรวจประเด็นอุบัติใหม่ประเด็นภัยพวกนี้ที่มีผลกระทบต่อเรื่องสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพประชาชน เป็นสิ่งที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมีแนวทางมีพันธกิจและมีภารกิจที่กำหนดไว้แล้วว่าจะให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ ตามนโยบายที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด
การบูรณาการเป็นหัวใจสำคัญแต่วิธีการตรวจสอบในพื้นที่จะอย่างไร มีความแตกต่างอย่างไร ?
ต้องเข้าใจก่อนว่า 1.เวลาลงตรวจเราตรวจตามกฏหมายระเบียบในการตรวจสอบ อย่างน้อยในการใช้เงินต้องตรวจตามกฏหมาย แต่สิ่งหนึ่งที่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจในข้อระเบียบแล้วยังตรวจเชิงแนะนำนี่คือสิ่งที่กฎหมายใหม่ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทำเพราะฉะนั้นในการตรวจตามกฏหมายระเบียบถ้ามีปัญหาอุปสรรคอะไรหรือมีข้อเสนอแนะแนวทางอะไรที่จะควรปฏิบัติสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินก็จะตรวจและมีข้อเสนอแนะ ในการเสนอแนะเสนอแนะต่อฝ่ายบริหารต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นหน้าที่ที่เราต้องทำ ไม่ได้ตรวจจับผิด สมัยก่อนสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินคุณคิดว่าจับผิด แต่เมื่อออกกฏหมายใหม่แล้วมาตรวจแล้วเราจะตรวจสอบเชิงแนะนำคือสิ่งสำคัญที่สุดในกฎหมายฉบับนี้
ฝากข้อกังวลของ ท้องถิ่น อปท. ที่ไม่กล้าใช้เงินของตนเอง
สิ่งที่ทางสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินย้ำมาตลอดคือเราจะทำอะไรในการใช้จ่ายเงินแผ่นดินต้องยึดตามหลักกฏหมาย ยึดตามระเบียบ คือหากมีกฎหมายหรือระเบียบเขียนให้ทำได้ทำเลยไม่ต้องกลัวใคร เพราะสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจตามกฎหมายและระเบียบ นั่นคือสิ่งที่เราต้องยึดแบบนี้
และอีกเรื่องที่อยากเน้นคือการบูรณาการปัญหาไฟป่าไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ และไม่ใช่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งแต่เป็นปัญหาระดับประเทศ ทุกคนต้องลงมาช่วยกัน เอาแค่ในจังหวัดก่อน แต่จริง ๆ ปัญหามันใหญ่กว่านั้น