“สัปดาห์ที่แล้วเป็นเรื่องของหัวใจ แต่ว่าสัปดาห์นี้เป็นเรื่องของปอดและลมหายใจของทุกคน”
มีอะไรใหม่ ต่างไปจากเดิม?
“ไม่ใช่รู้เเค่เรา รู้เขาด้วย”…เพราะมีลมหายใจเดียวกัน … ปีนี้เป็นปีเเรกของการขยายความร่วมมือ จากเฉพาะภาคเหนือตอนบน ไปสู่เพื่อนบ้าน อย่าง สปป.ลาว ผ่านคณะภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ ประเทศลาว (ມະຫາວິທະຍາໄລສຸພານຸວົງ)
ซึ่งเป็นเรื่องบังเอิญ ที่เมื่อช่วงปลายปี 2566 อาจารย์สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยาได้ชวนพวกเราทีมไทยพีบีเอส จัดการอบรมเชิงปฏิบัติด้านการผลิตสื่อสำหรับนิสิตและนักศึกษาให้กับมหาวิทยาลัยพะเยาและ มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาความร่วมมือกัน
และต่อมา ทางสภาลมหายใจภาคเหนือ สถานีฝุ่น สสส. และไทยพี่บีเอส เห็นตรงกันว่า ช่วงฤดูฝุ่นปีนี้ น่าจะเชื่อมงาน ต่อยอดให้น้อง ๆ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ ร่วมรายงานในเเพลตฟอร์มของสถานีฝุ่นตลอดฤดูฝุ่นควันที่เรา สองประเทศต่างก็เผชิญปัญหานี้ร่วมกัน
เพราะฉะนั้นปีนี้ สถานีฝุ่นจะต่างไปจากเดิมที่ 2 ปีก่อนหน้า ที่เราจะมีรายงานทุกวัน ในช่วงบ่ายโมง ตั้งเเต่วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ แต่ปีนี้เปลี่ยนใหม่ เป็นสัปดาห์ละ 1 วัน เป็นอย่างน้อย โดยจะมีรายการทุกบ่ายโมงของ วันอังคาร ขยายพื้นที่เพิ่มเติมจากเดิม เนื้อหาจากภาคเหนือตอนบน แต่ปีนี้ขยายพื้นที่ ที่บางวันจะมีเนื้อหาจากประชาชนที่ผ่านช่องทาง C-SITE ของไทยพีบีเอส และรายการทุกตอนจะมีรายงานจาก ฝั่ง สปป.ลาว ที่น้อง ๆ คณะภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ ร่วมไปถึงในช่วงเดือนมีนาคม จะมีอาสาสมัครในพื้นที่ สปป.ลาว ในนาม โทรโข่งลุ่มน้ำโขง : ໂທລະໂຄ່ງລຸ່ມແມ່ນໍ້າຂອງ เรียบเรียงและรายงานเข้ามาเพิ่มเติมอีกด้วย
กว่าจะเริ่มก่อร่าง…เป็นปี 3
ปีนี้สถานฝุ่นมาภายใต้ความร่วมมือกันของสถาบันการศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยพะเยา และปีนี้เพิ่มขึ้นก็คือมหาวิทยาลัยสุภาณุวงศ์ สปป.ลาว เป็นผู้เรียบเรียงเนื้อหา
ก่อนหน้าพวกเราทีมสถานฝุ่น เตรียมการกันหนักมาก
เริ่มจากการประชุมออกแบบเเพลตเทรินรายการ ตัวรูปแบบรายการ การกำหนดช่วงวันเวลา และวิธีการทำงานที่เกิดความคล่องตัวที่สุด แม้จะยังไม่สุดก็ตาม
ต่อมามีการออกแบบการเติมทักษะ ทั้งในเชิงเนื้อหา ที่ได้รับความร่วมมือจากทีมข้อมูลของสภาลมหายภาคเหนือ โดยคุณบัณรส บัวคลี่ คุณพิเชษฐ์ ตันติโรจนกุล คุณวีระยุทธ จินา ที่เติมทักษะการมองประเด็น เครื่องและเว็บไซต์ในการหาข้อเท็จจริงของการเกิดฝุ่นและจุดความร้อน
เนื้อหาเชิงวิทยาศาสตร์ จาก ผศ.ดร.ว่าน วิริยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เติมมุมมองเนื้อหาทั้งที่มาของฝุ่น PM และอันตรายของฝุ่น
พอได้ทักษะการหาข้อมูล ความรู้ในเนื้อหาเเล้ว เรื่องสำคัญคือ การออกแบบการเล่าเรื่อง ให้น่าสนใจ เเง่มุมไหนบ้างที่จะหยิบมาเล่า ซึ่งปีนี้ รศ.ดร. ภัทรา บุรารักษ์ จากสาขาการสื่อสารสื่อใหม่ มาช่วยชวนน้อง ๆ สถานีฝุ่น ได้มีไอเดียในการออกแบบ
ติดตามได้ทางไหนบ้าง
โดยเเต่ละสัปดาห์ ของสถานีฝุ่นปีนี้ น้องๆ ตัวเเทนของสถานีฝุ่นของเเต่ละมหาวิทยาลัยจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาเป็นเจ้าภาพในการจัดรายการ สามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่
เพจสถานีฝุ่น : https://www.facebook.com/DustStationTH
เว็บไซต์ Thecitizen.net : https://thecitizen.plus/
เพจ TheNorthองศาเหนือ : https://www.facebook.com/thaithenorth
และปีนี้เพิ่มขึ้นมาคือ ได้รัยความร่วมมือจากเครือข่ายวิทยุด้วย โดยรับฟังที่เว็บไซต์ เสียงสามยอด : https://worldradiomap.com/th/play/samyod_chiangmai
และฟังเสียงถ่ายทอดวิทยุที่ FM.105.75 และ FM100 CMU : https://www.fm100cmu.com/
โดยตอนแรกปีนี้ จัดโดยคณะการสื่อสารมวลชน ม.เชียงใหม่
คลิ๊กดูย้อนหลัง https://fb.watch/qlqa7mQvNo/