คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยยื่น สนช. ค้านร่างกฎหมายประกันสังคมตัดสิทธิว่างงาน

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยยื่น สนช. ค้านร่างกฎหมายประกันสังคมตัดสิทธิว่างงาน

20153001133529.jpg

รองประธานสนช. ประธานกรรมาธิการรับข้อเสนอคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย พร้อมให้ตั้งตัวแทน 5 คน นำข้อมูลพร้อมข้อเสนอเข้าร่วมประชุมวันที่ 2 ก.พ. นี้ที่รัฐสภา

วันทื่ 29 มกราคม 2558 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)ได้เข้ายื่นหนังสือถึงพลเอกประยุทธ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีทำเนียบรัฐบาล และศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัยประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ที่รัฐสภา เพื่อคัดค้านกฎหมายประกันสังคมที่ตัดสิทธิกรณีว่างงานผู้ใช้แรงงานลาออกจากงานร้อยละ 30 และจำกัดสิทธิ เมื่อการสิ้นสุดการเป็นลูกจ้างของแรงงานข้ามชาติและแรงงานไทยให้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคสรท.กล่าวว่าร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่.. ) พ.ศ….ได้เข้าสภาและรับหลักการในวาระ 1 ในวันที่ 31 ตุลาคม 2557 และแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ….การพิจารณากฎหมายดังกล่าวก็ได้สิ้นสุดเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2558 ที่ผ่านมาจะเข้าวาระ 2 ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2558

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เห็นว่ากระบวนการพิจารณากฎหมายประกันสังคมได้ตัดสิทธิประโยชน์ว่างงานที่ผู้ประกันตนสมัครใจลาออกจากงานอันมีเหตุจำเป็น เช่น ผู้ใช้แรงงานที่มีโรคประจำตัวป่วยบ่อยและคนในครอบครัวเจ็บป่วย หรือไม่มีคนดูแลลูกหลานหรือเหตุอื่นๆ ที่มีความจำเป็นต้องลาออกจากงาน มีสิทธิได้รับเงินร้อยละ 30 เป็นเวลา 90 วัน ซึ่งเงินจำนวนที่จะได้รับจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของครอบครัว

จึงต้องการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้คงสิทธิการสมัครใจลาออกจากงานไว้เหมือนเดิมรวมทั้งการได้รับสิทธิที่ผู้ใช้แรงงานข้ามชาติ ผู้ใช้แรงงานไทย ที่ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วสิ้นสุดการทำงานและการเป็นผู้ประกันตน เมื่อแรงงานข้ามชาติต้องเดินทางกลับประเทศจึงเป็นสิทธิที่ควรจะได้รับเงินบำเหน็จนั้นคืนเมื่อเดินทางกลับบ้านโดยไม่ต้องรออายุครบ 55 ปี 

20153001133703.jpg

ตามกฎหมายที่จำกัดสิทธิไว้และยังเห็นข้อจำกัดของกฎหมายที่หลายประเด็นที่ยังไม่เปลี่ยน เช่น กระบวนการมีส่วนร่วมการตัดสินใจการบริหารจัดการกองทุน ความเป็นอิสระ ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งในขณะนี้อยู่ในช่วงการปฏิรูปเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎหมายให้เกิดความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำให้ผู้ใช้แรงงาน แต่ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ) พ.ศ….ทำให้เกิดปัญหาและอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง

ด้วยเหตุผลดังกล่าวทางคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงงานไทยซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ แรงงานข้ามชาติ และองค์กรพัฒนาเอกชน จำนวน 27 องค์กร จึงขอคัดค้านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่จะผ่านร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ) พ.ศ…. เพื่อขอให้สนช.ดำเนินการพิจารณาแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้แรงงาน

ด้านนายสมพร ขวัญเนตร ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก กล่าวว่า ประเด็นการตัดสิทธิประกันสังคมกรณีลาออกจากงานจากงานแล้วร่างกฎหมายประกันสังคมที่กำลังมีการพิจารณาอยู่มาตัดสิทธิกรณีว่างงานนั้น ไม่เป็นธรรมต่อต่อผู้ประกันตน 10 กว่าล้านคน ประเด็นหลักที่ผู้ประกันตนที่ถูกนายจ้างเลือกใช้วิธีการบีบบังคับให้ลูกจ้างลาออก โดยมีการยื่นข้อเสนอเรื่องเงินให้ก้อนหนึ่งพอประมาณเพื่อแลกกับการให้ลูกจ้างลาออก อาจเป็นเพราะนายจ้างต้องการปรับเปลี่ยนสภาพการจ้าง การย้ายสถานประกอบการ หรือนายจ้างต้องการกลั่นแกล้งลูกจ้างจากการรวมตัว หรือการพิพาทแรงงาน หรือปรับเปลี่ยนระบบงานใหม่ คนสูงอายุ การเลิกจ้างอาจส่งผลให้ลูกจ้างนำประเด็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ฟ้องร้องเรียกร้องกลับเข้าทำงาน หรือค่าเสียหายเพิ่มได้ การที่ร่างกฏหมายประกันสังคม มีการตัดสิทธินี้จงถือว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อนายจ้างในการที่จะบีบให้ลูกจ้างลาออก ซึ่งสังเกตุได้จากการลาออกจำนวนมากๆของลูกจ้างในแต่ละบริษัทในช่วงวิกฤตการต่างๆที่เกิดขึ้นหนือช่วงปลายปีเป็นต้น แถมยังบางกรณีมีการขึ้นสู่ศาลแรงงานก็ถูกไกล่เกลี่ยให้ยอมความ ด้วยสายป่านลูกจ้างสั้น สู่ในศาลใช้เวลานาน ก็ต้องยอมลาออกรับค่าชดเชย 

หนึ่งในแรงงานที่เดินทางมาจากจังหวัดขอนแก่นเล่าว่า ตนได้ทำงานกับบริษัทแห่งหนึ่งในระยองและถูกนายจ้างอ้างเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน บอกเลิกสัญญาจ้าง ด้วยบริษัทที่ทำงานจะมีการทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างเป็นรายๆไปตนเงนายจ้างทำสัญญาจ้างรวม 12 ปี และปีหน้าจะครบ 12 ปีนายจ้างอ้างทำงานไม่ได้ตามประสิทธิภาพจึงบอกเลิกสัญญาล่วงหน้า ซึ่งก็พยายามหางานล่วงหน้าอยู่แต่ยังไม่ได้ และคิดว่า หากสัญญาจ้างหมดตนจะใช้ว่างงานอย่างไร เพราะนายจ้างให้เขียนใบลาออกล่วงหน้าไว้แล้ว คิดว่าการออกแบบนี้ หากยังหางานไม่ได้ก็จะได้ใช้กรณีว่างงานร้อยละ 30 อย่างน้อย 3 เดือน

ทั้งนี้ในส่วนของรองประธานสนช.ที่เป็นตัวแทนมารับหนังสือ และประธานกรรมาธิการวิสามัญร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ได้ตอบกับทางตัวแทนคสรท.ว่า ในวันที่ 2กุมภาพันธ์ ให้ทางคสรท.แต่งตัวแทนมา 5 ท่านเพื่อมาชี้แจงในที่ประชุมต่อประเด็นข้อเสนอพร้อมให้นำข้อมูลปัญหาผลกระทบมาชี้แจ้งด้วย ด้วยร่างกฎหมายประกันสังคมที่เสนอมาเป็นของกระทรวงแรงงานการจะแก้ไขจึวต้องดูอยู่ว่าจะทำอย่างไร ในส่วนของกรรมาธิการฯก็มีตัวแทนของแรงงานเข้าเป็นกรรมาธิการฯ อนุกรรมาธิการฯ ที่ปรึกษาฯด้วย ส่วนนี้ก็มีข้อเสนอในที่ประชุมอยู่แล้ว ฉะนั้นก็ให้เสนอตัวแทนมาพูดคุยกันในวันดังกล่าว 
ในส่วนตัวแทนกระทรวงแรงงาน ผู้อำนวยการกองนิติการสำนักงานประกันสังคม ได้มาร่วมกับรับเรื่องกับส่วนของศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักปลัดสำนักนายกรับมนตรีที่สำนักก.พ.ร.(สำนักคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ) โดยได้กล่าวถึงร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมที่อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างฯว่า ทางกระทรวงแรงงานให้เป็นดุลยพินิจของทางสนช.ในการพิจารณาอยู่แล้ว แต่ทางกระทรวงฯก็มีแนวทางในการปฏิบัติตามอยู่แล้ว และอาจมีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเพื่อดูแลประเด็นนี้

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน

20153001133715.jpg

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ