แม่น้ำสายขุ่นหวั่นกระทบน้ำประปา

แม่น้ำสายขุ่นหวั่นกระทบน้ำประปา

ตั้งข้อสงสัยกันมานับสัปดาห์ของคนเเม่สาย จังหวัดเชียงราย หลังมีชาวบ้านตั้งข้อสงสัยถึงความผิดปกติของลำน้ำแม่สาย ที่มีสีขุ่น เทา เพราะน้ำสายนี้ไม่เป็นเเค่ที่กั้นเขตเเดนไทย -เมียนมาเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับทำประปาของคนเเม่สาย และใช้ในการทำเกษตรอีกด้วย

เกิดอะไรขึ้นกับน้ำแม่น้ำสาย – น้ำรวก ?

ปรากฏภาพจาก โซเซียลมีเดีย กลุ่มชุมชนคนเเม่สาย โพสต์ตั้งกระทูเทียบสีของนำ้ในแม่น้ำสาย เห็นได้ขัดว่าสีขุ่น ออกเทา

เช่นเดียวกับคุณ ชาญวิทย์ สายวัน ปักหมุดรายงานผ่านแอปพลิเคชัน C-site หลังจากที่ได้เดินทางไปเที่ยวที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ได้สังเกตเห็นสีน้ำในคลองชลประทานขุ่นผิดปกติ ได้สอบถามแม่ค้าขายกาแฟ ได้ทราบว่าน้ำคลองชลปะทานที่เชื่อมมาจากแม่น้ำสายหรือแม่น้ำรวกซึ่งเป็นแม่น้ำไหลผ่านระหว่างประเทศไทยและเมียนมา ซึ่งมีสีน้ำขุ่นมาได้เดือนเศษแล้ว https://share.csitereport.com/share.php?post_id=0000038906

ภาพแม่น้ำสองสี บริเวณสบรวก สามเหลี่ยมทองคำ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 จากคุณ วรรณา คุ้มคชสีห์

และภาพนี้จากผู้ใช้งานเฟสบุ๊ค วรรณา คุ้มคชสีห์ โพสต์ จากบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ เห็นภาพสายน้ำที่มีสองสีอย่างชัดเจน

หลายคนในพื้นที่เเม่สาย เชื่อว่าเกิดจากการทำเหมืองแร่บริเวณเหนือน้ำในฝั่งประเทศเมียนมา และหน่วยงานด้านสาธารณสุขได้ประกาศเตือนการใช้น้ำในแม่น้ำสาย ทำให้ชาวบ้านต่างรู้สึกกังวลเพราะยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนจากทางการเนื่องจากระหว่างการส่งน้ำไปตรวจสอบที่คาดว่าใช้เวลานับสัปดาห์

อย่างไรก็ตามมีรายงานจาก สำนักข่าวชายขอบ ที่ระบุบถึงความคืบหน้าจาก TBC เมียนมา แม่สายขุ่น ไม่เกี่ยวกับเหมืองแร่ฝั่งท่าขี้เหล็ก สสจ.เชียงรายเรียกถกด่วน นักวิจัยแนะ 2 ทางออกการทำประปาแม่สาย

ขณะที่ พ.อ.ณฑี ทิมเสน ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจทัพเจ้าตาก ในฐานะประธานคณะกรรมการชายแดนประธานคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นไทย-เมียนมา (Township Border Committee TBC) อ.แม่สาย กล่าวว่า จากที่ได้ทำหนังสือถึง TBC เมียนมา-ไทย จังหวัดท่าขี้เหล็ก เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทาง TBC เมียนมาได้ตอบหนังสือที่ทางไทยสอบถามไปแล้ว โดยได้ยืนยันมาว่าเหมืองทั้ง 2 แห่งในเมียนมาตามที่สอบถามไปนั้น ไม่ได้ชะล้างตะกอนลงแม่น้ำ ส่วนตะกอนขาวเทาขุ่นมาจากไหน ยังไม่สามารถระบุได้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ

นายแพทย์วัชรพงษ์ คำหล้า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย  กล่าวว่า ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ทีมศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ จะมาลงพื้นที่ตรวจสอบความปลอดภัยของประปาแม่สาย โดยประชุมร่วมกับนายอำเภอแม่สาย การประปาภูมิภาคแม่สาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือติดตามสถานการณ์ความปลอดภัยของน้ำประปาแม่สาย ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย

ขณะที่ ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่ายการบริหารการจัดการน้ำ และนักวิจัยอาวุโสสถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์ม(SEI) กล่าว การแก้ไขปัญหาระยะยาวประปาอำเภอแม่สาย ควรเป็นความร่วมมือของ 2 ประเทศที่ควรติดตั้งจุดตรวจวัดคุณภาพน้ำร่วมกัน เนื่องจากแม่น้ำสายมีต้นทางมาจากประเทศเมียนมาผ่านมายังชายแดนไทยก่อนที่จะไหลลงแม่น้ำโขง

ดร.ธนพลกล่าวว่า สถานีสูบน้ำประปาภูมิภาคแม่สาย อยู่เหนือเมืองท่าขี้เหล็กโดยปกติมีปัญหาทั้งเรื่องน้ำแห้งในหน้าแล้ง ต้องการมีการทำฝายเพื่อที่จะสูบน้ำมาใช้ทำน้ำประปาได้ และหลบเลี่ยงการมีตะกอนทรายในหน้าฝนหรือฤดูน้ำหลาก อย่างไรก็ตามเท่าที่เคยลงพื้นที่ศึกษาเก็บข้อมูล แหล่งน้ำประปาจากแม่น้ำสาย การปนเปื้อน และน้ำเสียจะมีที่มา จากโรงแรมชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีการขยายตัวของชุมชนและที่พักร้านอาหาร สถานบันเทิง  และอีกแหล่งหนึ่งคือพื้นที่เกษตรที่มีการใช้สารเคมีแบบเข้มข้นที่ต้องทำระบบบำบัดน้ำเสีย

“คำแนะนำ มี 2 แนวทางประกอบกันคือ แก้ในประเทศ  และ การแก้ร่วมกัน การแก้ในประเทศโดยการหาข้อมูลจากระบบในประเทศที่ทำได้ทันคือการเช็คน้ำดิบน้ำธรรมชาติก่อนเข้าสู่การผลิตของประปาภูมิภาค  และน้ำหลังการกรองจากโรงบำบัดการกรอง ว่าแตกต่างกันอย่างไรบ้าง การตรวจวัดในแต่ละจุดที่น้ำออกมาที่ประชาชนนำมาใช้ในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เห็นว่าระบบประปามีข้อผิดพลาดท่อรั่วเสียหาย มีหรือมีสิ่งปนเปื้อนหรือไม่ ส่วนการแก้ร่วมกันคือ 2 ประเทศพูดคุยกันผ่านเวที TBC ไทย-เมียนมา”

ล่าสุด 7 กุมภาพันธ์ 2567 ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสาธารณสุข อำเภอเเม่สาย  อยู่ระหว่างลงพื้นที่จัดเก็บตัวอย่างน้ำในลำน้ำพื้นที่หาสารปนเปื้อน 

.

แม่น้ำสาย – แม่น้ำรวก เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่เป็นสัญลักษณ์ของอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีชื่อเดิมว่าแม่น้ำใส ต่อมาก็กลายมาเป็นแม่น้ำสายในปัจจุบัน

แม่น้ำสาย เป็นแม่น้ำที่เป็นพรมแดนทางธรรมชาติที่กั้นระหว่างไทยกับเมียนมา ที่มีตาน้ำอยู่แม่น้ำสายอยู่ที่ประเทศเมียนมา หลังจากนั้นก็ไหลผ่านประเทศไทยระหว่างอำเภอแม่สายกับแขวงท่าขี้เหล็กแล้วก็ไปรวมกับแม่น้ำรวก    จากนั้นก็ไหลรวมเข้ากับแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงแสน ที่เรียกสามเหลี่ยมทองคำ  ซึ่งจุดที่แม่น้ำรวกไปบรรจบกับแม่น้ำโขงที่สามเหลี่ยมทองคำ เรียกว่า สบรวก 

ชาวบ้านต่างใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสาย – แม่น้ำรวก ในการทำเกษตรกรรม แต่อย่างไรก็ตามแม่น้ำสายและแม่น้ำรวกต่างมีปัญหาการกัดเซาะของแม่น้ำทำให้ลำน้ำเปลี่ยนทิศทาง เกิดแผ่นดินงอกและแผ่นดินหด จึงเป็นเหตุพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างไทยและพม่า จนมีข้อตกลงกันในปี พ.ศ. 2483 และการสำรวจร่องน้ำลึกในปี พ.ศ. 2530-31 แต่ทั้งสองฝ่ายต่างประสบปัญหาในการรักษาตลิ่ง และยึดร่องน้ำลึกเป็นเส้นกั้นพรมเเดน

อ้างอิงจาก…transbordernews

https://transbordernews.in.th/home/?p=37149

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ