คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยบุกยื่น สนช.-นายกฯ หยุดร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยบุกยื่น สนช.-นายกฯ หยุดร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์

20150102163557.jpg

เมื่อวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมา คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ ต่อนายกรัฐมนตรี ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ทำเนียบรัฐบาล และศารตราจารย์พรเพชร วิชิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่รัฐสภา เพื่อให้ชะลอการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ….ฉบับกระทรวงแรงงาน เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) และเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติ (สนช.)

ชาลี ลอยสูง รองประธานคสรท. กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับดังกล่าวอยู่ระหว่างช่วงกระทรวงแรงงานผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เข้าสู่การพิจารณาของครม. และสนช.ตามลำดับ โดยเดิมภาคประชาชนได้มีการเสนอร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ซึ่งมีการร่วมรวมลายมือชื่อกว่าหมื่นชื่อ ในช่วงของรัฐบาลที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ถูกนำมาพิจารณา ซึ่งเมื่อรัฐบาล คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) เข้ามาบริหารประเทศทางคสรท.ได้มีการยื่นร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับบูรณาการของประชาชน ให้แก่ คสช. สนช. และสปช. (สภาปฏิรูปแห่งชาติ) แล้วอีกครั้งซึ่งก็ยังไม่มีการตอบรับจากผู้กำหนดนโยบายแต่อย่างใด
ในขณะที่กระทรวงแรงงานมีความเร่งรีบในการเสนอร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. …. ฉบับกระทรวงแรงงาน โดยไม่มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง และไม่มีการเปิดเผยร่างกฎหมายต่อสาธารณะ ทั้งที่เป็นกฎหมายที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อแรงงานในประเทศไทยเป็นอย่างมาก คสรท.ได้มีการจัดประชุมพิจารณาร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับกระทรวงแรงงานซึ่งพบปัญหา ดังนี้

1. เป็นร่างพ.ร.บ.ที่ยังมีความขัดแย้งและไม่สอดคล้องกับหลักการของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98  โดยเฉพาะในมาตรา 4 การบังคับใช้กับกลุ่มเป้าหมายยังมีการกีดกันกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น กิจการรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และกิจการอื่นๆตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา อีกทั้งยังไม่ครอบคลุมไปถึงกลุ่มลูกจ้างที่อยู่ในภาคธุรกิจหรือกิจการขนาดเล็กซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำตามมา สะท้อนว่าแรงงานยังไม่มีสิทธิที่จะรวมตัวจัดตั้ง หรือเข้าเป็นสมาชิกองค์กรของตนได้อย่างอิสระ และมาตรา 5 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานสามารถออกประกาศ และระเบียบใดๆได้ ซึ่งอาจกระทบสิทธิลูกจ้าง เพราะรัฐยังสามารถแทรกแซงการจัดตั้งองค์กรแรงงาน ตั้งแต่ในขั้นในขั้นตอนของการก่อตั้ง การปฏิบัติ รวมถึงการบริหารงาน กล่าวได้ว่ารัฐยังไม่สามารถให้การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวได้อย่างเพียงพอ

2. ยังไม่มีการนำสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. ….ฉบับบูรณาการแรงงานมาร่วมพิจารณา ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับหลักการอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ98 ครอบคลุมแรงงานทุกภาคส่วนทั้งแรงงานในระบบอุตสาหกรรม แรงงานรับวิสาหกิจ แรงงานนอกระบบ แรงงานภาคเกษตร แรงงานข้ามชาติ มีเสรีภาพในการรวมเพื่อจัดตั้งหรือเข้าเป้นสมาชิกองค์กร ลักษณะหรือรูปแบบใดก็ได้ ทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ และจำกัดบทบาทมำให้รัฐเข้ามาแทรกแซง ควบคุม กำหนดกฎเกณฑ์อันเป็นอุปสรรคต่อการรวมตัวเพื่อจัดตั้ง หรือเข้าเป็นสมาชิกองค์กรของคนทำงาน โดยมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนกรอบคิดแรงงานสัมพันธ์จากเดิมที่เป็นแบบ “นายกับบ่าว” ที่ให้อำนาจแก่ฝ่าย “นายจ้าง” ให้มีอำนาจเหนือ “ลูกจ้าง” ไปสู่ “หุ้นส่วนสังคม และเศรษฐกิจ” (Social partnership) ที่มองว่า “ผู้ว่าจ้าง” กับ “คนทำงาน” เป็น “หุ้นส่วน”ที่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน การตัดสินใจที่จะมีผลกระทบกับทั้งสองฝ่ายในการทำงานร่วมกันจึงต้องใช้หลักการตัดสินใจร่วมกัน บนพื้นฐานของความเสมอภาคเท่าเทียมและเป็นธรรม

เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการเข้าถึงความเป็ยธรรมในการทำงานของแรงงานทุกภาคส่วน คสรท.จึงยื่นหนังสือเพื่อขอให้ดำเนินการดังนี้

1. ให้ชะลอการนำเสนอร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. ….ฉบับกระทรวงแรงงาน เข้าสู่การพิจารณาของครม. และสนช. และให้มีการจัดเวทีประชาพิจารณ์ร่างพ.ร.บ.ฯอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมผู้มีส่วนร่วมได้เสียอย่างรอบคอบ

2. ในกรณีไม่สามารถยับยั่งการดำเนินการตามข้อ 1 ได้ขอให้ครม.เห็นชอบร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. …. ฉบับบูรณาการแรงาน และนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสนช. เพื่อให้มีร่วมกฎหมายของภาคประชาชนควบคู่ร่วมไปกับร่างพ.ร.บ.ฯของกระทรวงแรงงาน เพื่อแสดงถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการกำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อการเข้าถึงความเป็นธรรม ส่วนสนช.ให้สมาชิก 20 คน นำเสนอร่างพ.ร.บ.ฯฉบับบูรณาการแรงงานเข้าสู่การพิจารณาสนช. เพื่อการมีส่วนร่วม เพราะทธิขั้นพื้นฐานของแรงงาน คือสิทธิในการรวมตัว และเจรจาต่อรอง ต้องได้รับการคุ้มครอง และปกป้องอย่างจริงจัง

พีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสนช. ได้กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ของกระทรวงแรงงานเข้ามาสู่การพิจารณา แต่จะรับเรื่องไว้ก่อน การพิจรณากฎหมายก้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอยู่แล้วด้วยการเชิยตัวแทนเข้ามาเป็นกรรมาธิการ แต่ต้องเข้าใจว่าสามารถเข้ามาร่วมได้หลายคน แต่ก้สามารถเข้ามาเป็นอนุกรรมาธิการ ที่ปรึกษาก้มีส่วนร่วมได้

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ