ขอความชัดเจนในนโยบายแรงงานข้ามชาติ เนื่องในวันแรงงานข้ามชาติสากล

ขอความชัดเจนในนโยบายแรงงานข้ามชาติ เนื่องในวันแรงงานข้ามชาติสากล

เครือข่ายแรงงานในไทยออกแถลงการณ์เนื่องในวันแรงงานข้ามชาติสากล ขอความชัดเจนจากรัฐบาลในนโยบายและแนวทางปฏิบัติต่อการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในระยะยาว เผยแรงงานข้ามชาตินับ 4 ล้านคนเป็นกลไกสำคัญกับประเทศ ขอให้ปฏิบัติต่อกันและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียม


 
                  ทุกวันที่ 18 ธันวาคม ของทุกปี องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้ประกาศรับรองให้เป็นวันแรงงานข้ามชาติสากล ด้วยหลักการที่จะให้ทุกประเทศ ทุกฝ่าย ตระหนักถึงสิทธิของแรงงานข้ามชาติ ที่อพยพจากประเทศต้นทางไปทำงานยังประเทศปลายทาง ให้ได้การปฏิบัติที่ดีจากรัฐบาลและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติด้วยความแตกต่างเรื่องเชื้อชาติ ภาษา ลัทธิความเชื่อ สีผิว และเพศสภาพ รวมทั้งการรณรงค์ให้เห็นถึงถึงความสำคัญของการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ ด้วยการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เสรีภาพขั้นพื้นฐานของแรงงานข้ามชาติ และแบ่งปัน ประสบการณ์และภาระหน้าที่ที่จะต้องทำให้มั่นใจในความคุ้มครองแรงงานข้ามชาติต้องเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและเสมอภาคกับแรงงงานท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ พบการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงาน ข้ามพรมแดนเกิดขึ้นในอัตราที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากมายในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

                เครือข่ายแรงงาน  อันประกอบด้วย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN: Migrant Workers Right Network) ได้ ร่วมกันออกแถลงการณ์เผยแพร่ทั่วไปเพื่อเรียกร้องต่อรัฐบาลและจัดกิจกรรมรณรงค์การคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติให้เกิดความทัดเทียมกับแรงงานคนไทย  โดยข้อเรียกร้องดังกล่าวประกอบด้วย

1.ให้ปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติให้เสมอกันตามกฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใดๆ ด้วยความแตกต่างเรื่องเชื้อชาติ ภาษา ลัทธิความเชื่อ สีผิว และเพศสภาพ อันเป็นหลักการที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสากลด้วยสิทธิมนุษยชน ดังเช่น แรงงานข้ามชาติ ต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายประกันสังคม หลักประกันสุขภาพ และกองทุนเงินทดแทน เป็นต้น

2.ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องสิทธิการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วมตามอนุสัญญาไอแอลโอ ฉบับที่ 87 และ 98 ให้กับแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้เกิดความรวมตัว เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน และมีเวทีเจรจาพูดคุยกับนายจ้างในประเด็นของค่าจ้างและสวัสดิการ อันเป็นเครื่องมือหนึ่งที่แรงงานข้ามชาติ สามารถใช้ในการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่จากการจ้างงาน

3.กำหนดความชัดเจนในนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนต่อการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในระยะยาว โดยเฉพาะ การจดทะเบียนใบอนุญาตทำงาน กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ รวมทั้งการบูรณาการ ร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐให้ทำงานที่สอดคล้องกันเพื่อประโยชน์ของแรงงานข้ามชาติ

4.ลดขั้นตอนในการนำเข้าแรงงานข้ามชาติทั้งระบบ พร้อมอำนวยความสะดวกในการขอใช้แรงงาน ข้ามชาติของนายจ้าง โดยไม่ต้องผ่านระบบนายหน้าเพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุน ลดค่าใช้จ่ายของแรงงาน และป้องกันมิให้แรงงานข้ามชาติถูกเอารัดเอาเปรียบ

5.แรงงานข้ามชาติต้องมีสิทธิและเสรีภาพในการเปลี่ยนนายจ้างได้

6.รัฐบาลควรกำหนดให้สถานประกอบของแรงงานข้ามชาติจัดให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กในสถานประกอบการ

เครือข่ายแรงงานระบุข้อมูลว่า   การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติเข้ามาในประเทศไทย เริ่มขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2520 เมื่อประเทศไทยเปิดตัวเองเข้าสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ในช่วงเวลานั้น มีการเคลื่อนย้าย ประชากรจากชนบทสู่เมือง แรงงานในภาคเกษตรกรรมและภาคการผลิตอื่นๆ เริ่มขาดแคลนแรงงาน เนื่องจาก ต้องสูญเสียแรงงานให้กับภาคอุตสาหกรรม ในขณะเดียวกัน สภาพปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของ ประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้ง ลักษณะภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่เอื้ออำนวยต่อการข้ามแดน จึงทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาทำงานในประเทศ ไทยเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ มีแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย จากประเทศต่างๆ เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และอื่นๆ รวมประมาณกว่า 4 ล้านคน เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตทำงาน 1, 972, 504 คน ซึ่งแบ่งเป็นผู้เข้าประเทศอย่างถูกกฎหมาย 698, 777 คน และเข้าประเทศผิดกฎหมาย 1, 273, 727 คน และคาดว่า ยังมีผู้เข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย และยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนอีกกว่า 2-3 ล้านคน

แรงงานข้ามชาติเหล่านี้ มีส่วนสำคัญอย่างมากในการสร้างพลังการผลิตและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ ทั้งจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้ ประกอบการกลับยังคงพบการเอารัดเอาเปรียบแรงงาน โดยมิคำนึงถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิของแรงงาน ข้ามชาติและการจ้างงานที่เป็นธรรม (Decent work) เช่น การกดราคาค่าจ้าง การทำงานในสภาวะที่ เสี่ยงต่ออันตรายและไม่ถูกสุขอนามัย การกักขังหน่วงเหนี่ยวเยี่ยงทาสและการค้ามนุษย์ การสร้างกระบวน การในการพิสูจน์สัญชาติที่มีความล่าช้าและมีความซับซ้อน สร้างความยากลำบากให้แก่ตัวแรงงาน แต่เอื้อต่อ การเข้ามาแสวงหากำไรของกลุ่มนายหน้าต่างๆ เมื่อแรงงานต้องเข้าสู่เรื่องราวที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย พบว่าแม้ตัวแรงงานเป็นผู้เสียหาย แต่ด้วยยังอยู่ในฐานะของผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ทำให้ต้องมี การดำเนินคดีในเรื่องผู้หลบหนีเข้าเมืองกับแรงงานด้วย เป็นต้น ปัญหาของแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ จึงยังคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามและแก้ไขปัญหาร่วมกันทั้งฝ่ายรัฐบาล นายจ้าง ขบวนการสหภาพแรงงานไทย และ แรงงานข้ามชาติเองเพื่อสิทธิของแรงงานข้ามชาติและเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศในสายตานานาชาติซึ่งมีความละเอียดอ่อน

       

     

 สำหรับกิจกรรมที่เครือข่ายร่วมกันจัดรณรงค์เนื่องในวันแรงงานข้ามชาติ วันที่ 18 ธันวาคม  ณ หมู่บ้านมหาชัยวิลล่า – ศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร   กำหนดการคือ
๘.๓๐ น. แรงงานข้ามชาติรวมตัวกันที่หมู่บ้านมหาชัยวิลล่า
๙.๐๐ น. เคลื่อนขบวนไปยังศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร
๑๑.๐๐น. ขบวนถึงศาลากลางจังหวัดถึงสมุทรสาคร ผู้นาแรงงานไทย แรงงานข้ามชาติ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน กล่าวปราศรัย
๑๒.๐๐ น. ยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
จากนั้น  งานวัฒนธรรมของแรงงานข้ามชาติ

 

อีกกิจกรรมที่เชียงใหม่ 

กำหนดการงานวันแรงงานข้ามชาติสากล วันที่ 18 ธันวาคม 2556 เวลา 18.00 น. – 22.00 น. ณ วัดกู่เต้า
………………………………………………………………………………………………
18.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมงาน
18.30 น. พิธีเปิดงานวันแรงงานข้ามชาติสากล
โดย จัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ *
18.40 น. การแสดงบนเวที
18.50 น. วีดีทัศน์ “กฎหมายไม่กดสิทธิ”
19.00 น. เวทีเสวนา “แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่แรงงานข้ามชาติต้องเผชิญ”
ร่วมเสวนาโดย
– สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ *
– สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงใหม่ *

ดำเนินการเสวนาโดย : มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์
19.45 น. ยื่นหนังสือข้อเรียกร้องของแรงงานข้ามชาติ ต่อตัวแทนของหน่วยงานรัฐ
20.00 น. การแสดงบนเวที
20.30 น. กิจกรรมบนเวที
– ถาม – ตอบ ปัญหา
– อ่านบทกวี และ เปิดแสดงความคิดเห็น
21.00 น. การแสดงบนเวที
21.30 น. พิธีปิดงาน
* วิทยากรผู้ร่วมเวทีเสวนา อยู่ระหว่างการประสานงาน

 

ขอบคุณภาพประกอบจากทีมสื่อไทขอบคุณภาพประกอบจากทีมสื่อไทยไทย 

 

อีกกิจกรรม

“แนวปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานย้ายถิ่นและการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ” เนื่องในวันแรงงานข้ามชาติสากล 22 ธันวาคม 2556

เวลา 09.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมตลาดทะเลไทย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

โดย
ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ร่วมกับ มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN)
Seafarers Union of Burma (SUB)
ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือลูกเรือประมง Seafarers Action Center (SAC)
เครือข่ายความร่วมมือแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย Migrant Union Network in Thailand (MUNT)
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และชมรมคนทำข่าวสมุทรสาคร

เวลา 09.00 น. ลงทะเบียน
09.30 น. กล่าวรายงาน
โดย ศาสตราจารย์ ดร. สุภางค์ จันทวานิช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย และนายสมพงค์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิฯ
09.40 น. กล่าวเปิดและบรรยายพิเศษ
“ แนวปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานย้ายถิ่นและการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ”
โดย ว่าที่ ร.ต.ท.อาทิตย์ บุญญะโสภัต ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
10.00 น. พิธีมอบหนังสือรับรองให้กับสถานระกอบการ 6 แห่งที่มีแนวปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานข้ามชาติ
และถ่ายภาพร่วมกัน โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
และมอบของที่ระลึกให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร โดย กลุ่มเครือข่ายความร่วมมือแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย (MUNT)
10.20 กล่าว “แนวปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย”
โดย น.ส. พรประไพ กาญจนรินทร์
อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
พิธีมอบหนังสือรับรองโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาทร
10.30 น. กล่าว “แนะนำโครงการวิจัยการปฏิบัติที่ดีในด้านการปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติใน
อุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย โดย ศาสตราจารย์ ดร. สุภางค์ จันทวานิช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย
10.40 น. อภิปรายนำเสนอข้อคิด แนวปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานข้ามชาติ
โดย ผู้แทนสถานประอบการ ตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนแรงงานและฝ่ายอื่นๆ
11.00 น. แนะนำ SAC และ MUNT และ ข้อเสนอด้านแรงงานข้ามชาติในระดับจังหวัด
12.00 น. การแสดงวัฒนธรรม และรับประทานอาหารกลางวัน
12.30 น. ชมสื่อวีดีทัศน์ “แรงงานเพื่อนบ้านมหาชัย” ไทยพีบีเอส
การแลกเปลี่ยนพูดคุย ซักถาม โดย ทีมงาน ไทยพีบีเอส
13.30 น. ดนตรีโฟล์คซอง ไทย และพม่า และการแสดงวัฒนธรรม (ต่อ)
16.30 น. มอบของที่ระลึกผู้แสดงทางวัฒนธรรม
16.00 น. ปิดเวที

 

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ