การปลูกพืชเสริมในสวนยางพารา
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของจังหวัดพะเยาแต่กว่าที่ต้นยางพาราจะสามรกรีดเพื่อนำน้ำยางไปขายในท้องตลาดได้นั้นจะต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย6-7 ปีและในระหว่างรอนั้นเกษตรกรจะขาดรายได้เพื่อมาดูแลครอบครัวเกษตรกรจึงหันมาปลูกพืชเสริมในสวนยางพาราในการปลูกพืชเสริมนั้นเกษตรกรจะพิจารณาจากชนิดของพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และภูมิอากาศแบ่งเป็นสองช่วงคือช่วงแรกต้นยางอายุ3 ปีช่วงที่สองต้นยางอายุ3 ปีขึ้นไปซึ่งแต่ในล่ะช่วงพืชที่ปลูกจะไม่เหมือนกันคือในช่วงแรกเกษตรกรจะปลูกพืชล้มลุกเพราะเก็บเกี่ยวได้เร็วให้ผลผลิตได้เร็วและเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดเช่นข้างโพดมะละกอสับปะรดและกล้วยส่วนในช่วงที่สองเป็นพืชที่ไม่ต้องการแสงแดดเพราะระยะนี้ต้นยางเริ่มโตแล้วจึงเหมาะกับพืชจำพวกเงาะและมะม่วงในการปลูกควรปลูกห่างจากโคนต้นยางพาราประมาณ1.5 เมตรและใส่ปุ๋ยตามความต้องการของพืชส่วนพืชที่เกษตรกรไม่นิยมได้แก่มันสำปะหลังอ้อยและละหุงในการปลูกพืชเสริมนั้นเจ้าของสวนยางพาราจะไม่สามารถหารายได้จาสวนยางแต่จะสามารถหารายได้จากพืชที่ปลูกไว้ “เวลาเราปลูกพืชแต่แรกยางมันเล็กอยู่รายได้จะไม่มีจากตรงนั้นซักบาทภายใน7ปีจะไม่มีเราต้องใส่เพื่อเสริมเข้าไปเพื่อมีรายได้จาส่วนนั้นมาซื้อปุ๋ยซื้ออะไรมาใส่” และปลูกพืชเสริมนี่ไม่กลัวพืชมาแย่งอาหารต้นยางพาราหรอค่ะ“เพราะว่าภายใน3 ปีรากยางมันจะไม่ไปไหนปลูกได้ถึง3 ปี” พืชเสริมที่นิยมปลูกได้แกอะไรบ้างคะ“ส่วนมากจะเป็นข้าวโพดสัปปะรดถั่ว” ถ้าต้นยางโตเต็มที่แล้วจะทำอะไรกับพืชเสริมหรอค่ะ“ ก็ไม่ต้องปลูกหลังจากนั้นก็หารายได้จากส่วนนั้นได้” ก็คือตัดทิ้ง“ตัดทิ้ง” และพืชเสริมต้องใช้เวลาเท่าไหร่จึงจะสามาราขายได้ค่ะ“ แล้วแต่อย่างข้าวโพดก็ประมาณ3 เดือนสัปปะรดก็ปีสองปีปลูกได้อยู่” ต้นยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญก็จริงอยู่แต่กว่าต้นยางพาราจะโตจนสามารถใช้งานได้นั้นการปลูกพืชเสริมจึงเป็นอีกทางหนึ่งที่หารายได้ของเกษตรกรค่ะ