การมีอยู่ของกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ในสายตาของ ‘เดชา คำเบ้าเมือง’

การมีอยู่ของกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ในสายตาของ ‘เดชา คำเบ้าเมือง’

20150302202714.jpg

นายเดชา คำเบ้าเมือง เจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพอีสาน  ย้ำการมีอยู่ของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นอีกช่องทางสำคัญในการร้องเรียน และตรวจสอบการถูกละเมิดสิทธิของประชาชนที่ชาวบ้านสามารถเข้าร้องเรียนหรือปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับสิทธิได้ 

+ การมีอยู่ หรือไม่มีอยู่ของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเกี่ยวข้องกับคนภาคประชาสังคมอย่างไร?

ต้องบอกก่อนว่าถ้าเราไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานไหน เราก็จะไม่รู้สึกว่ามันสำคัญ แต่หน่วยงานนี้มีความสำคัญนะ อย่างสมัยนี้ถ้าไม่มีนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ หรือที่เราเรียกกันว่า “หมอนิรันดร์” คิดว่าก็คงไม่มีใครมาสนใจมาทำ มาแก้ไขปัญหา รับเรื่องร้องเรียนของชาวบ้าน  

ในขณะเดียวกันหน่วยงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่งที่จริงถ้าลองไปอ่านบทบาทอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานนี้ จะรู้ว่ามีบทบาทต่อชุมชนมากเหมือนกัน ซึ่งประชาชนสามารถร้องเรียนในช่องทางนี้ได้  และถ้าจำไม่ผิดเขาสามารถฟ้องร้องช่วยชาวบ้านได้ด้วยซ้ำไป  แต่ปัญหาคือไม่มีบุคคลที่เราจะสามารถติดต่อประสานงานได้ เราเลยไม่รู้สึกถึงความสำคัญของผู้ตรวจการแผ่นดินฯ

เช่นเดียวกับไทยพีบีเอสถ้ายังสื่อสารเป็นปากเป็นเสียง มีพื้นที่สื่อสารเรื่องของชาวบ้าน เช่น ข่าวพลเมืองที่ช่วยให้ชาวบ้านได้สื่อสาร  แล้วถ้าวันหนึ่งจะยุบไทยพีบีเอสไป พวกเราก็ไม่เห็นด้วย แต่ในทางกลับกับถ้าไทยพีบีเอสไม่ได้เห็นความสำคัญของเรื่องราวชาวบ้าน คนตัวเล็กตัวน้อย ผมก็เห็นว่าถ้าจะยุบก็ยุบไป

แล้วอย่างที่ผ่านมาการมีกรรมการสิทธิฯ มาช่วยขับเคลื่อนวาระทางสังคม เรื่องสิทธิความเดือดร้อนของชาวบ้านอย่างไรบ้าง?

ที่ผ่านมา ตั้งแต่ชุดแรกที่มีหลายคนรวมถึงหมอนิรันทร์ในชุดปัจจุบันเขาก็ทำหลายอย่าง ยกตัวอย่าง เช่น  กรณีเหมืองแร่โปรแตช จ.อุดรธานี  กรรมการสิทธิมนุษยชนชุดเก่าก็มีรายงานเรื่องนี้ไว้หลายอย่างหลายประเด็น จนมาถึงการทำงานของหมอนิรันทร์ พอมีเราปัญหาก็ร้องเรียนมาไปหาหมอ หมอก็เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบ ทำให้เราได้ข้อมูลได้เอกสาร เพื่อใช้ในการฟ้องร้องต่อศาลปกครองต่อไป ผมคิดว่านี่เป็นบทบาทเป็นช่องทางที่ชาวบ้านสามารถเข้าร้องเรียนหรือปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับสิทธิได้  ซึ่งขนาดในปัจจุบันมีช่องทางแบบนี้อยู่เราก็เคลื่อนไหวได้แค่นี้ แล้วถ้าไม่มีเราจะไปร้องกับใคร

ถ้าถอดบทเรียนเพื่อปรับแก้การทำงานที่ผ่านมาของกรรมการสิทธิมนุษยชน คิดว่ามีเรื่องอะไรบ้าง?

อันแรก คิดว่าต้องคุยกันในวงของพี่น้องแต่ละประเด็นโดยเฉพาะเนื้อหางาน  ซึ่งในส่วนผมเองผมมองว่า  เราไม่สามารถจะบอกว่ากรรมการสิทธิต้องเป็นอย่างไร และไม่สามารถได้ดั่งใจชาวบ้านได้ทั้งหมด แน่นอนบางคน ยิ่งถ้าเป็นกลุ่มการเมืองจะมองกรรมการสิทธิเป็นสีเหลือง  แต่ถ้าเราพูดถึงการละเมิดสิทธิมันเป็นปัญหาร่วมกัน ซึ่งกรรมการชุดใหม่นี้ก็มีหลายคนที่เราคัดค้านตั้งแต่ต้น เพราะมีหลายคนที่เคยละเมิดสิทธิชาวบ้านมาก่อน เมื่อเราเห็นคนพวกนี้มาทำงานเราก็ต้องยอมรับ  และอีกอย่างที่สำคัญคือ  องค์กรนี้ต้องเป็นอิสระทางการเมือง แต่ก็ยังขึ้นอยู่กับมุมมองด้านสิทธิของแต่ละบุคคลด้วย ซึ่งการมีหมอนิรันทร์ ผมว่าช่วยให้มีช่องทางที่จะติดต่อ ติดตามร้องเรียน ในกระบวนนี้ได้

20150302202732.jpg

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ