ณ ตอนนี้ หากเอ่ยสองยูทูปเบอร์ชาวเกาหลีใต้ที่กำลังเป็นโด่งดังอยู่ในโลกออนไลน์ หลายคนน่าจะรู้จัก สองคนนี้ทำให้กระแสการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และท่องเที่ยวชุมชนในเมืองไทยกลับมาได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น ทีมงานองศาเหนือเลยอยากชวนสองคนนี้ไปเที่ยวป่าชุมชนด้วยกันสักทริป หนึ่งในนั้นคือที่นี่ ป่าชุมชนบ้านป่าไผ่ ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ชวนไปนอนกลางป่า ทำอาหารพื้นบ้าน และเรียนรู้เรื่องราวคนกับธรรมชาติที่เป็นโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับชุมชน อันเกิดจากากรจัดการท่องเที่ยวที่ได้รับสิทธิจากกฎหมาย ผ่านตัว พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. 25662
แล้ว 1 วัน ของเส้นทางธรรมชาติของป่าชุมชนบ้านป่าไผ่มีอะไร ไปสำรวจกันเลย
1.มีโบราณสถาน วัดวาอาราม ที่สำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ของคนเวียงแหง สามารถเดินทางโดยใช้รถของชุมชน ด้วยน้องเขียว เหนี่ยวทรัพย์คันนี้ จอดแวะที่วัดพระธาตุนายาง เพื่อให้สักการะพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองเวียงแหง เอาใจสายมู ที่เชื่อกันว่าจะช่วยในเรื่องของความก้าวหน้าด้านการงาน และเป็นจุดที่สามารถชมวิวตัวอำเภอเวียงแหง ที่มีน้ำแม่แตงหล่อเลี้ยงผู้คน และพื้นที่เกษตรกรรมริมสองข้างทาง
2.มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชุมชนบ้านป่าไผ่ เนื้อที่ 498 ไร่ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นป่าชุมชนกับกรมป่าไม้ ตาม พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. 2566 ที่มีฐานเรียนรู้หลายอย่าง เริ่มจากอาหารจากป่า อย่าง ‘ข้าวแหง’ ที่ดอกนำมาทำอาหารได้ รสชาติออกเปรี้ยวนิด อมขม กินแล้วสดชื่นดี นอกจากนี้ก็ยังมีสมุนไพรป่าหลากชนิด หน่วยข้าวเย็น สะค่าน โด่ไม่รู้ล้ม พืชหัวที่อยู่ใต้ดิน หรือดอกไม้ป่าต่าง ๆ หากมาช่วงหน้าฝนจะมีพวกไผ่ป่า อย่างหน่อไร่ ไผ่บง ให้เก็บไปทำอาหารได้หลายอย่าง
มีนักล่าที่เปลี่ยนมาเป็นนักเล่า เล่าเรื่องวิถีพรานกับป่าและการอนุรักษ์ในปัจจุบัน ตั้งแต่เรื่องต้นไม้ใหญ่ สัตว์ป่า อย่างรอยเท้าในพื้นที่ทรายที่เห็นมองออกกันไหมว่าเป็นรอยอะไร เดี๋ยวท้ายบทความจะมาเฉลยนะ
พี่นักเล่า เล่าถึงเรื่องไม้ป่า ที่ชื่อว่าเบี้ย ที่คนเมืองใช้แทนเงินในการประกอบพิธีขึ้นบ้านใหม่ เนตัวแทนของความเจริญรุ่งเรื่อง เงินทาองไหลมาเทมา เล่าเรื่องสมัยเป็นพราน ออกล่าสัตว์ในอดีต กับการส่องสัตว์ การดูตาของสัตว์แต่ละชนิดเมื่อสะท้อนแสงไฟ หรือสัตว์ใหญ่ที่ไม่ควรไปข้องแวะด้วย อย่างพวกกระทิง ควายป่า หรือช้าง ที่ต้นไม้ขนาดท่อนขา หรือขนาดคนโอบก็อาจจะไม่สามารถหยุดยั้งสัตย์ใหญ่เหล่านี้ยามเกรี้ยวกราดได้ หรือความเคารพในเจ้าป่าเจ้าเขา ที่ทุกครั้งจะมีการบอกกล่าว มีการนำอาหารคาวหวาน แบ่งอาหารคาวหวานถวาย เพื่อความเป็นมงคลในการเข้าป่า จะได้ปลอดภัย และยังคงทำกันอยู่ในทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร
มีม่อนเอื้องเงิน ดงพืชตระกูลกล้วยไม้ ที่มีดอกสีขาว ข้างในสีแดง ที่จะออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม จากโครงการพาน้องกลับบ้าน และมีเนินเขากวาง พืชตระกูลเฟิร์น 4 สายพันธุ์ หูช้างไทย ปีกผีเสื้อ สายผ้าม่าน และเขากวาง
มีสีสันของดอกไม้ป่าที่แตกต่างกันตามฤดูกาล
มีอุโมงค์ไผ่ ที่เป็นที่ให้เช็ดอิน ถ่ายรูปตอนเดินลอดอุโมงค์ ซึ่งไผ่เหล่านี้คือหน่อไร่ ช่วงหน้าฝนจะออกหน่อให้สามารถเก็บไปรับประทาน ชาวบาน้บอกว่าหน่อไร่เป็นหน่อที่ลำที่สุด หรืออร่อยที่สุดเมื่อเทียบกับไผ่ชนิดอื่น หากมาช่วงหน่อออกก็จะสามารถช่วยกันเก็บไปทำเป็นอาหาร หรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริกตอนตั้งแคมป์ได้เลย
มีดงมะกอก ที่เป็นลานกางเต๊นท์ หรือจัดกิจกรรมกลางป่า ที่ปกคลุ่มด้วยผืนต้นไม้สีเขียว ตอนนี้ก็มีพืชป่าสีแดงออกผล และเป็นจุดที่เป็นลานโล่งสำหรับทำกิจกรรมรอบกองไฟ เล่าเรื่องราวของคนกับป่า และทานอาหารประกอบอาหารกันที่นี่ จุดนี้ชื่อว่าตกมะกอก เนื่องจากว่ามีต้นมะกอกป่าอยู่จำนวนมาก และก็เป็นจุดที่เป็นลานโล่งตามธรรมชาติอยู่แล้ว ชาวบ้านแค่มาร่วมกันดูแลไม่ให้หญ้ารก และเป็นจุดรวมพลยามที่จะออกไปลาดตระเวณ หรือช่วงที่ทำแนวกันไฟป่า
และมีจุดชมวิว ดอยหัวช้าง ที่จะสามารถขึ้นไปชมวิวของอำเภอเวียงแหงมุมสูง มีน้ำแม่แตง หรือ แม่น้ำแตง เป็นวสายน้ำที่หล่อเลี้ยงพื้นที่และวิถีการทำเกษตรกรรมของคนในพื้นที่ และน้ำแห่งนี้ยังเป็นต้นน้ำของน้ำปิงอีกด้วย
ข้อมูลกรมป่าไม้ระบุว่าทั่วประเทศมีชุมชนที่ขึ้นทะเบียนป่าชุมชน ตาม พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 11,131 ชุมชน ในพื้นที่ ราว 6.28 ล้านไร่ (6,282,747) อยู่ในภาคเหนือ 3,775 ชุมชน และเชียงใหม่ 448 ป่าชุมชน ในพื้นที่ 551 หมู่บ้าน .ซึ่งป่าชุมชนบ้านป่าไผ่เป็นหนึ่งชุมชนที่พยายามจัดการออกแบบการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนเพื่อเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว อยากชวนมาร่วมโหวตภาพอนาคตของคนในป่าชุมชน
ภาพที่1 ป่าชุมชนแบบเดิม
ชุมชนมีการจัดการป่าชุมชนผ่านกติกาของพื้นที่ มีการทำแผนที่และแบ่งสัดส่วนการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ตามภูมิปัญญาดั้งเดิม เป็นที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน ป่าใช้สอย ป่าอนุรักษ์ และป่าจิตวิญญาณ สามารถเข้าไปเก็บหาของป่า และมีกองทุนจากทรัพยากร แต่ทำได้เฉพาะชุมชนที่มีความเข้มแข็ง และยังมีจำนวนน้อย คนส่วนหนึ่งยังเข้าไม่ถึงข้อมูล และยังไม่เข้าใจกฎหมายใหม่ เลยตกขบวน ส่วนคนที่พอเข้าใจบ้างก็พยายามทำแผนของชุมชนที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ยังขาดงบประมาณสนับสนุน การสร้างสาธารณูปโภคทำได้จำกัด และการจัดการ จัดเก็บงบประมาณ รายได้ ยังไม่มีระเบียบทางกฎหมายรองรับ ทำให้การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากป่าแบบยั่งยืนชะงักตัว คนรุ่นใหม่ยังไม่เป็นโอกาสในการสร้างงานจากป่า จึงออกไปเรียนและทำงานนอกชุมชน ประชากรในชุมชนมีแนวโน้มลดลง
ภาพที่2 ป่าชุมชนแบบลองผิด ลองถูก
ชุมชนที่มีความเข้มแข็งพยายามใช้กลไกกฎหมาย เป็นเครื่องมือในการจัดการชุมชน ขยับร่วมกับคณะกรรมการป่าชุมชนจังหวัด เชื่อมโยงป่าชุมชนกับ ต้นทุนเดิม ทำแผนเรื่องการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชมมิติต่างๆ ผ่านการลองผิดลองถูก แต่ยังขาดบุคคลากรและงบประมาณ ทำให้มีโมเดลในการใช้ประโยชน์จากป่าหลากหลาย แต่อาจไม่ต่อเนื่อง หรือใช้เวลาค่อนข้างนานในการหาโมเดลที่เหมาะสมกับพื้นที่ แต่พื้นที่ที่ไปได้จะสามารถสร้างงานใหม่ๆ เกิดผู้ประกอบการท้องถิ่น เช่น ธุรกิจที่พัก โฮมสเตย์ ฟาร์มสเตย์ การวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจจากพืชป่า สมุนไพร คาร์บอนเครดิต เกิดเป็นกองทุนในการพัฒนาชุมชน การสร้างสาธารณูปโภคยังทำไม่ได้ จากเงื่อนไขของกฎหมาย มีเครือข่ายป่าชุมชนเกิดขึ้น แต่ยังไม่มีความเข้มแข็ง
ภาพที่3 ป่าชุมชนแบบจัดการร่วม
เกิดการใช้ป่าชุมชนที่หลากหลายตามบริบทของพื้นที่ โดยการออกแบบร่วมของชุมชน รัฐ และท้องถิ่น จากการปรับปรุงกฎหมายให้มีระเบียบชัดเจนและขยายนิยามของป่าชุมชนครอบคลุมพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ชุมชนดูแล มีการกระจายอำนาจไปสู่คณะกรรมการป่าชุมชนระดับจังหวัดและท้องถิ่น ชุมชนและท้องถิ่นสามารถเก็บรายได้จากการใช้ประโยชน์จากป่า มีกองทุนชุมชนที่ใช้การดูแลป่า และพัฒนาพื้นที่ภายใต้แผนการใช้ประโยชน์ที่ออกแบบร่วม เกิดรูปแบบทางเศรษฐกิจที่ชุมชนเลือกได้ ไม่ว่าจะเป็น ป่าชุมชนเชิงเศรษฐกิจ ป่าชุมชนแบบวิถีดั้งเดิม ป่าคาร์บอนเครดิต ป่าชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว การสร้างสาธารณูปโภคทำได้ตามความเหมาะสม โดยรัฐและท้องถิ่นทำหน้าที่ประสานงาน และพัฒนาคนท้องถิ่นให้มีความเชี่ยวชาญในการร่วมทำแผน ศึกษาการใช้ประโยชน์จากป่าในมิติต่างๆ เกิดเป็นนักป่าไม้ชุมชน นักป่าไม้ระดับตำบล ไปเสริมให้ชุมชนในเขตพื้นที่ป่ามีความเข้มแข็งมากขึ้น คนรุ่นใหม่กลับมาในชุมชน เพราะเห็นโอกาสในการมีรายได้ ขยายเป็นเครือข่ายป่าชุมชนในระดับต่าง ๆ กระจายทั่วประเทศ ที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้กันอย่างสม่ำเสมอ และมีระบบฐานข้อมูลกลาง ทำให้เห็นศักยภาพของป่าชุมชนในการลดโลกร้อน
(เฉลย: รอยเท้าที่เห็น คือรอยเท้าหมาไน ใครทายถูกบ้างไหมครับ)