ลมใต้ที่ส่งผลต่อฝุ่นในภาคเหนือ

ลมใต้ที่ส่งผลต่อฝุ่นในภาคเหนือ

“ไฟมันไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวจุดไปมันก็ราบแล้วก็อีกสัก 2 เดือนฝนมาก็ดูเขียว” อันนี้เป็นภาพมองในมุมเก่า หลังจากปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา สังคมเริ่มรู้จัก PM 2.5 และก็เริ่มรับรู้ว่ามันกระทบต่อสุขภาพ จากตัวเลขผู้ป่วยปีที่แล้ว 9 ล้านคน มันเป็นเงินนับหมื่นหมื่นล้านกับคนจำนวนมากที่ต้องตายต้องเสียชีวิต

จากบทสำภาษณ์ ดร. เจน ชาญณรงค์

มีมุมเรื่องมลพิษทางอากาศที่ต้องมานั่งคุยกันว่า หนึ่ง จะใช้ไฟเพื่อประโยชน์อย่างนั้นอย่างนี้ แต่ว่ามีคนจำนวนมากนับ 10 ล้านคนที่เกี่ยวข้องแล้วก็ได้รับผลกระทบ ตรงนี้เราอาจต้องมาดูว่าเราควรจะทำอย่างไรให้มันพอดี หรือว่าทำไปตามใจ พอดีคืออะไรที่มันพอเหมาะพอควรกับทุกคน อันนี้เป็นสิ่งที่ต้องคิด ไม่ศูนย์นะ เพราะว่าไฟยังจำเป็นกับชีวิตของบางคนอยู่ แล้วก็อากาศเองก็ยังระบายฝุ่นได้บ้างในวันที่มันระบายได้ แน่นอนมันจะมีวันที่ระบายไม่ได้ วันนั้นเราก็ควรจะต้องชะลอบ้าง แต่ว่ามันจะมีวันที่ดีที่หลายคนสามารถหยุดใช้ไฟได้

เราค่อยๆ เก่งขึ้นเรื่อยๆ  มันเกี่ยวข้องกับฝุ่นมันเกี่ยวข้องกับลม มันเป็นมลพิษที่เดินทางได้เร็วแล้วไกล มันจะไม่เหมือนมลพิษอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยไปไหน แต่พอเป็นอากาศมันขึ้นอยู่กับลม แล้วลมเป็นสิ่งที่เข้าใจยาก  เพราะว่ามันผันแปรตลอดเวลา มันไม่ได้วิ่งเป็นเส้นตรง มันเลี้ยวไปเลี้ยวมา เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา บางทีกลับมาที่เดิม ไหลหมุนวน และเป็นแบบ 3 มิติ เพราะฉะนั้นมันเป็นสิ่งที่ยาก  จนปีนี้เราเริ่มเห็นแล้วว่าการเผาในแม่ปิง อมก๋อย แม่ตื่น คือความแห้งแล้ง มันจะเริ่มจากด้านใต้ขึ้นมา มันจะเริ่มจากภาคตะวันตกไล่ขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงภาคเหนือตอนล่าง แล้วก็บังเอิญ แม่ปิง อมก๋อย แม่ตื่น เป็นกลุ่มป่า 3 กลุ่มที่อยู่ใต้สุดของภาคเหนือตอนบนแล้ว ฉะนั้นจะเป็นป่าแรกที่เริ่มไหม้ แล้วในช่วงละติจูดตรงนั้น บังเอิญเป็นป่าผลัดใบก็คือป่าเต็งรังเยอะ ป่าเต็งรังขึ้นในพื้นที่ที่แห้งแล้งน้ำไม่มี เพราะฉะนั้นต้นไม้มันเครียด เวลาป่ามันเครียด มันจะทิ้งไบ ทิ้งเยอะด้วย  ก็ยิ่งแห้งแล้งนานไบยิ่งลงมาเยอะ พอลงมามันกลายเป็นเชื้อเพลิงที่อยู่ที่พื้น ใครไปจุดนิดเดียวก็ติดแล้ว มันก็เริ่มดับยากแล้ว เพราะว่าใบไม้ทั้งป่ามันลงไปที่พื้น ตรงนี้เราเริ่มค้นพบในปีที่แล้วว่า ไฟที่เกิดแถวนี้ สุดท้ายลมจะเป็นลมใต้พัดขึ้นมาแอ่งเชียงใหม่และแอ่งลำปาง เราเริ่มเห็นแล้วว่าพอไฟขึ้น เครื่องวัดที่เชียงใหม่ก็เริ่มขึ้นตาม ภายในเวลาวันสองวัน แล้วก็เริ่มจะเห็นเป็นห้วงว่า มันเริ่มมีฝุ่นขึ้น พอไฟเริ่มจบ ฝุ่นก็เริ่มลง เราก็เริ่มตามไซเคิลนี้ไปเรื่อยๆ ความสอดคล้องของมิติเวลามันเริ่มบอกเหมือนกัน อย่างที่เริ่มเห็นแล้วว่าไฟเริ่มจะออบหลวง เชียงใหม่ก็ขึ้น พอออบหลวงจบเว้นระยะไปสักพักนึง แม่ปิง อมก๋อย แม่ตื่น ก็ขึ้น เชียงใหม่ก็เดือดร้อนอีก ฉะนั้นลักษณะนี้เราก็เริ่มเห็นเป็นรูปแบบ และค่อยๆ ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ

ประเทศเราอยู่ในพื้นที่ที่มีลมใหญ่ๆ 2 ข้าง ที่มันสู้กัน อันแรกคือลมหนาว จะเป็นทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มาจากชายฝั่งประเทศจีน เข้ามาทางเวียดนาม ผ่านลาวไปถึงไทย หน้าหนาวก็คือลมส่วนนี้ จะมีกำลังแรง มันจะสู้กับลมทางใต้ที่เรียกว่าลมมรสุม จะเป็นทิศตะวันตกเฉียงใต้ สองอันนี้จะสู้กัน ขึ้นกับว่าใครชนะ ในช่วงที่มันต่อสู้กัน มันจะมีผู้แพ้ผู้ชนะเหมือนที่ละยก ว่าใครชนะใครแพ้ ฉะนั้นนั้นมันจะมีการเปลี่ยนฤดู

ยกตัวอย่างจากฤดูมรสุมมาเป็นฤดูหนาว ตอนช่วงมรสุมจะเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ มาจากมหาสมุทรอินเดีย เอาน้ำเอาฝนเข้ามาส่วนลมหนาวจะมาด้วยความแห้งและเย็น ในช่วงหนึ่งมันจะทะเลาะกันว่าลมจะพัดไปทิศไหน แต่พอลมหนาวเริ่มคงตัวเราจะได้ลมตะวันออกเฉียงเหนือที่แห้ง คราวนี้ลมมันก็จะพัดผ่านลาวแล้วก็ลงไปทางกรุงเทพฯ ผ่านไปอันดามันเลย แต่พอถึงระยะหนึ่ง ลมหนาวมันไม่ได้มาตลอดเวลาคงที่ มันจะมีช่วง ขึ้น-ลง แรง-อ่อน ประมาณกลางเดือนธันวาคม

ลมหนาวมันจะเริ่มลงต่ำไปเรื่อยๆ ก็คือลงไปถึงอ่าวไทย แล้วมันจะมีวันหนึ่งที่ลมหนาวเริ่มย้อนขึ้นมาทางเหนือ ใต้อ่าวไทยขึ้นมา ผ่านกรุงเทพฯ ขึ้นมา ประมาณกลางเดือนธันวาคม จะเป็นลมร้อนและแห้งแล้ง  มันผ่านที่ร้อนแห้งมาทางกรุงเทพฯ มันจะเป็นจุดเริ่มต้นของความดีใจกับคนกรุงเทพฯ เพราะว่าลมที่ผ่านทะเลมาจะสะอาด กรุงเทพฯ จะค่อยๆ รอดพ้นจากปัญหา แต่เป็นความทุกข์ใจของคนที่อยู่ภาคเหนือ เพราะว่าจะเป็นลมที่ผ่านภาคกลางมา เผามาตลอด เพราะฉะนั้นค่าฝุ่นในภาคเหนือจะเริ่มขึ้น แล้วมันจะทำให้ป่าระหว่างทางแห้งมาเรื่อยๆ ลมจะค่อยๆ คงตัวมากขึ้น คนกรุงเทพฯ เขาจะเรียกลมตะเภา ก็คือเราเล่นว่าว แล้วพอป่าแห้งผสมกับเวลามีคนไปจุด ป่าที่อยู่ด้านใต้ที่สุดของภาคเหนือ เช่นแถวตาก จะเป็นพื้นที่ sensitive ฉะนั้นในช่วงความสูงละติจูดตรงนั้นจะเป็นป่าเต็งรังเป็นป่าผลัดใบ ที่มีใบไม้เยอะมากที่อยู่กับพื้น

ใครไปจุดมันก็จะติดเยอะมากเลย เพราะฉะนั้นเราเริ่มเห็นที่เชียงใหม่แล้วว่า ทันทีที่ป่า แม่ปิง อมก๋อย แม่ตื่น ชึ่งเป็นป่าแรกๆ ที่จะผลิตควันเยอะๆ พอจุดปั๊บ ค่าฝุ่นมันก็ขึ้น ในภาคเหนือน่าจะมีลมอีกอันที่เข้ามาผสมกันคือลมที่มาจากอันดามัน ผ่านประเทศพม่า จะเป็น 2 ลมที่เข้ามาเจอกัน ลมก้อนนี้ก็จะผ่านสาละวินมา สาละวินพอมีไฟก็จะเจอเข้าไปอีก ฉะนั้นเป็นไฟ 2 ก้อนที่อาจจะเกิดจาก แม่ปิง อมก๋อย แม่ตื่นก่อน แล้วสักพักหนึ่งก็จะมีลมตะวันตกเข้ามาผสม ก็จะพัดสาละวินเข้ามา เพราะฉะนั้นหลังจากไฟมากองที่ภาคเหนือ มันก็จะอยู่แถวนี้มันไปไหนไม่ได้แล้ว เพราะว่าข้างบนมันเป็นกำแพง คือเป็นตีนเทือกเขาหิมาลัย ลมนี่มันจะอัดฝุ่นติดไว้กับภูเขาแล้วมันสูง มันข้ามไม่ได้ มันก็กองไว้ด้านหน้า แล้วมันก็ขึ้นกับว่าลมเล็กลมน้อยจะพัดมันไปไหน มันจะอยู่บนฟ้า สิ่งเดียวที่เอาลงมาได้คือฝน เพราะฉะนั้นจะเป็นช่วง 4-5 เดือนที่เรามีฝุ่นเต็มฟ้าไปหมด ก็จะอยู่รอยต่อของประเทศไทย ลาว พม่า เพราะฉะนั้นจังหวัดที่ได้รับฝุ่นสะสมพวกนี้มากคือ จังหวัดน่าน ถ้าเราดู น่านจะเป็นจังหวัดที่มีคนป่วยเรื่องเกี่ยวข้องกับ PM 2.5 เยอะ ส่วนจังหวัดเชียงใหม่มีคนเยอะ ฉะนั้นเชียงใหม่ก็ถือว่าอาจจะไม่แรงเท่าน่าน แต่คนที่นี่อยู่เยอะ ผลกระทบมันจะเยอะ

สำหรับใครที่สนใจข้อมูลแบบละเอียด ลองไปอ่านต่อตามลิงค์นี้ได้ครับ href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Ffarfoon.th%2Fposts%2Fpfbid02tPwMv1bvhVaxg1isuVumvxtpdfgnAVDxtazX7SsquHZQjzv4niXFoYtDqAPw1QkVl&show_text=true&width=500


author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ