กลุ่มภาคประชาชนจับตาสถานการณ์การเมืองเข้ม

กลุ่มภาคประชาชนจับตาสถานการณ์การเมืองเข้ม

กลุ่มภาคประชาชนจับตาสถานการณ์การเมืองเข้ม   พีมูพถกแนวทางยังไม่เข้าร่วมแต่บางส่วนไม่พอใจการทำงานรัฐบาล กรณีล่าช้าแก้ปัญหาที่ดินจนเกิดความรุนแรงในพื้นที่ สภาองค์กรชุมชนภาคใต้ร้องให้ยุติใช้ความรุนแรงกับประชาชน

       เมื่อเวลา 11.30 น. เครื่อข่ายสภาองค์กรชุมชน และ สพม. ภาคใต้ตอนบน แถลงข่าวผ่านต่อสถานการณ์การชุมชนกรุงเทพฯ รายการวิทยุ  เครือข่ายสื่อภาคใต้   http://suephaktai.blogspot.com/  ดำเนินรายการโดยอานนท์  มีศรี 
  ร.ต สุภาพร ปราบราย  เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า  สถานการณ์การชุมนุมเช่นนี้เห็นว่ารัฐบาล ควรลดการใช้ความรุนแรง อย่าใช้ความรุนแรงต่อประชาชนเลย เรียกร้องผ่านสื่อทุกแขนงด้วยอยากให้รัฐบาลใช้วิธีการที่พูดคุยกันมากกว่า ในการใช้สิทธิการแสดงออกอย่างเต็มที่  ไม่ควรใช้ พรบ. ฉุกเฉิน เป็นช่องว่างในการกระทำความรุนแรงต่อประชาชนจะมีการแถลงข่าว โดยจังหวัดทั้ง 4 จังหวัดคือ พัทลุง นครศรีธรรมราช สตูล สุราษฏร์ธานี  โดยจะมีการประชุมกันก่อนโดยทั้ง 4 จังหวัดเหล่านี้

“ผมขอฝากไว้ว่าให้ช่วยลดความรุนแรง และให้ประชนแสดงออกได้อย่างเต็มที่  เป็นการขับเคลื่อนระดับนโยบาย”
ด้านคุณเจริญ     ยอดมณี สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง  จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี เห็นว่าคิดว่าเป็นสิทธิของประชาชนในการแสดงออกทางการเมือง การที่รัฐหรือเจ้าหน้าที่ออกมาใช้กำลังนั้นไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะผู้ชุมนุม ไม่มีอาวุธ เจ้าหน้าที่ไม่น่าจะใช้กำลัง   

“ผมต้องการให้รัฐยุติความรุนแรงดังกล่าวต่อผู้ชุมนุม การปกครองของไทยออกมาแบบนี้ ผมถือว่าฝ่ายปกครองขาดจริยธรรมแล้ว สำหรับคุณธรรมและจริยธรรมเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมี” 

คุณอับดุลรอซัก   เหมวัง      สมาชิกพัฒนาการเมืองของสตูล ความคิดเห็นในฐานะของคนสตูล มีความคิดเห็นว่า ในฐานะชาวบ้านผมเห็นด้วย เพราะชาวบ้านคนเดียวไม่ค่อยมีเสียง เสียงไม่ดังพอที่จะเรียกร้องอะไรได้เลย  จนรวมตัวกันเรียกร้องโดยการแสดงออกให้รัฐมองเห็นถึงความต้องการบาง   สิ่งที่ออกมาจากภาพข่าวที่กลุ่มชุมนุมได้รับการปฏิบัติของรัฐนั้นไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม  ผมคิดว่าผู้มีอำนาจในสังคมนั้นแหละที่ควรพิจารณาไม่ใช้ตำรวจ  ผู้มีอำนาจของรัฐ กดดันความเป็นอยู่ ของผู้ชุมนุม 

จุดยืนการประชุมครั้งนี้ ผมและกลุ่มต้องประกาศจุดยืน ว่าเราไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าวของรัฐ เราเรียกร้องให้รัฐบาลรับฟังข้อเสนอแนะของประชาชนบางเพราะรัฐไม่เคยรับฟังประชาชนเลยเช่นเรื่องแผนพัฒนาภาคใต้   สิ่งที่รัฐบาลควรกระทำคือการทบทวน ข้อเรียกร้องของประชาชนด้วย  สิ่งที่เกิดขึ้นที่สะท้อนคือ ความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเป็นการเรียกร้องและสนับสนุนให้พี่น้องชาวจังหวัดสตูล และจังหวัดอื่นขึ้นมาสมทมที่กลุ่มชุมนุมที่ กทม.  ผมขอฝาก ให้พี่น้องออกมาสมทบและเรียกร้องหรือกระทำอย่างไรก็ได้ ที่เป็นการให้กำลังใจพี่น้องของเรา นี้คือสิ่งหนึ่งที่มาถึงจุดเปลี่ยนแล้ว ขอให้พี่น้องสมทบกำลังไว้

พีมูพยังไม่ออกแถลงการณ์แต่มีมติไม่เข้าร่วมชุมนุม
               นายประยงค์ ดอกลำไย ที่ปรึกษากลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-MOVE)    กล่าวว่า วันนี้แกนนำคนสำคัญของกลุ่ม P –Move หารือกันที่ จ.สุราษฎร์ธานี ถึงสถานการณ์การเมืองที่มีผู้ชุมชนผู้สนับสนุนองค์การพิทักษ์สยามรวมตัวกันที่ลานพระรูป แและเกิดเหตุปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สะพานมัฆวานว่า  P-Move มีการแลกเปลี่ยนแนวคิดต่อแนวทางครั้งนี้มาก  ยอมรับว่ายังไม่เป็นเอกภาพ แต่ ได้ข้อสรุปคือขณะนี้จะไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด  มีจุดยืนสำคัญคือปกป้องระบอบประชาธิปไตย ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร   ในการพูดคุยมีข้อเสนอให้ออกแถลงการณ์ในนาม P-Move  ให้ชัดเจนด้วย   เนื่องจากบางพื้นที่อาจมีกลุ่มที่เคยเคลื่อนไหวร่วมกับ P-Move ในภาคอิสาน ไปร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มองค์การพิทักษ์สยามครั้งนี้  แต่ทางกลุ่ม P-Move ได้ข้อสรุปว่าจะยังไม่มีแถลงการณ์ใดและยังไม่มีมติเข้าร่วมการชุมนุมครั้งนี้  แม้บางส่วนจะไม่พอใจในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลในช่วง 1 ปี 6 เดือนที่ผ่านมาว่าหลายส่วนยังไม่คืบหน้าเช่นปัญหาที่ดิน  ป่าไม้ ที่อยู่อาศัย

                 นายประยงค์กล่าวว่า  กลุ่มฯกำลังประเมินสถานการณ์ต่อจากนี้ โดยมีสถานการณ์วิกฤติของกลุ่มเป็นปัจจัยพิจารณาร่วมด้วย เนื่องจากสมาชิกของ P-Move จากสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเพิ่งถูกยิงเสียชีวิตกรณีขัดแย้งที่ดิน ซึ่งเครือข่ายอยู่ระหว่างการหารือติดตามคดีกับทางจังหวัด   และเห็นว่าหากมีความพยายามแก้ไขปัญหาด้านที่ดินก่อนหน้านี้จะไม่มีปัญหาความสูญเสีย
 
สายใต้หวั่นรุนแรง

                นายกาจ   ดิษฐาอภิชัย  เครือข่ายชีวิตจังหวัดพัทลุง  กล่าวถึงสถานการณ์การชุมนุมในครั้งนี้ว่า ตอนนี้เส้นแบ่งความเข้าใจระหว่างประชาธิปไตยจากชนชั้นการปกครองไม่ตรงกัน การใช้สิทธิไล่รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งแสดงว่าความเข้าใจยังไม่ถูกต้อง ยึดติดกับกับสถานการณ์   เท่าที่ประเมินสถานการณ์เห็นว่ามีการเคลื่อนไหวแบบเดิมๆ เพราะตอนนี้วัฒนธรรมการชุมนุมความรุนแรงกลายเป็นความคุ้นชิน  ทางด้านรัฐบาลรีบใช้เรื่องพรบ.ฉุกเฉิน    จัดการเรื่องม๊อบซึ่งไม่เป็นผลดีเพราะใช้วิธีการแบบเผด็จการ ไม่ได้แตกต่างกับรัฐบาลอื่น ควรใช้วิธีธรรมดา ตำรวจควบคุมม๊อบ มีการกระบวนการชัดเจนเป็นไปตามระดับสากล  แต่พอใช้กระบวนการแบบนี้โอกาสความรุนแรงมีความเป็นไปได้ สถานการณ์ที่ทำได้ตอนนี้คือสร้างความเข้าใจให้กับสาธารณะชนรวมถึงกลุ่มผู้เข้าชุมนุมควรมีวินัยในการเคลื่อนไหว
                สำหรับสถานการณ์การยือดเยื้อของม๊อบ  นายกาจเห็นว่าอาจจะมีการไหลไปอีก 2 – 3 วันจนกว่าจะเปิดการอภิปราย  ซึ่งโอกาสที่จะมีสถานการณ์ใดๆ เกิดขึ้นจนอาจจะเกิดความรุนแรงก็ย่อมเป็นไปได้   ซึ่งอาจจะต้องแลกกับอะไรบางอย่าง  แต่ครั้งนี้สังคมไทย จะได้เกิดการเรียนรู้  ซึ่งถือเป็นโอกาสในการพัฒนาประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ ในส่วนของสื่อ มีส่วนหนุนที่จะเสริมสร้างความเข้าใจกับสาธารณะไม่ให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น 
   
เหนือประเมินสถานการณ์
              มีรายงานความเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนภาคเหนือที่เดินทางมาร่วมกับองค์การพิทักษ์สยามครั้งนี้ว่าในภาคเหนือตอนบนกลุ่มที่เคยสนับสนุนแนวทางของพัทธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และไม่พอใจในการบริหารงานของรัฐบาลเดินทางเข้ากรุงเทพมหานครทั้งทางรถตู้ รถโดยสารและเครื่องบิน  โดยมีเป้าหมายการเดินทางไปร่วมสบทบกันจากเดิมคาดว่าใช้ระยะเวลาไม่นานเพียง 2 วัน  ประเมินจากการเช่ารถและการเตรียมตัวเดินทางไป แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ปะทะ เครือข่ายในพื้นที่จะมีการประเมินสถานการณ์ร่วมกันอีกครั้งในค่ำนี้มีรายงานความเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนภาคเหนือที่เดินทางมาร่วมกับองค์การพิทักษ์สยามครั้งนี้ว่าในภาคเหนือตอนบนกลุ่มที่เคยสนับสนุนแนวทางของพัทธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และไม่พอใจในการบริหารงานของรัฐบาลเดินทางเข้ากรุงเทพมหานครทั้งทางรถตู้ รถโดยสารและเครื่องบิน  โดยมีเป้าหมายการเดินทางไปร่วมสบทบกันจากเดิมคาดว่าใช้ระยะเวลาไม่นานเพียง 2 วัน  ประเมินจากการเช่ารถและการเตรียมตัวเดินทางไป แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ปะทะ เครือข่ายในพื้นที่จะมีการประเมินสถานการณ์ร่วมกันอีกครั้งในค่ำนี้

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ