สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่ชายแดนใต้ ไม่เพียงปัญหาเรื่องหลักที่ต้องเผชิญกับความไม่สงบในพื้นที่ แต่เด็กและเยาวชนสามชายแดนใต้ยังมีปัญหา จากบริบทพื้นที่ที่ไม่เอื้ออำนวยอื่นๆ อีกมากมายที่ส่งผลให้เกิดปัญหาทุพโภชนาการในเด็ก ที่มีแนวโน้มที่น่ากังวลมากที่สุด ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กในระยะยาว
จากการรายงานของ ยูนิเซฟ พบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อัตราเตี้ยแคระแกร็น ของเด็กวัยนี้ ในจังหวัดยะลา ปัตตานีและนราธิวาส ก็น่ากังวล ซึ่งส่วนใหญ่เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเป็นเด็กที่มาจากครอบครัวที่ยากจน เป็นโจทย์สำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข ทั้งปัจจัยเชิงโครงสร้างที่มีอิทธิพลต่อความยากจน ทำอย่างไรที่จะให้ชาวบ้านในพื้นที่ มีรายได้ที่เพียงพอที่จะเลือกซื้อ อาหารที่มีคุณภาพให้กับเด็ก รวมถึงการสนับสนุนของหน่วยงานท้องถิ่นและความรู้ๆต่างๆของนักวิชาการและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
วันนี้ออกเดินทางมาที่ ต.ตาลีอายร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เรามาล้อมวงพูดคุย ณ ฟาร์มตัวอย่าง ณ ปายดี จุดนี้ปกติจะเป็นพื้นที่ ตลาดนัดของชาวบ้านขายผักผลไม้ และเป็นพื้นที่ทำกิจกรรม ซึ่งส่วนใหญ่คนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกร ทำไร่ ทำสวน บางส่วนต้องไปทำงานรับจ้างข้างนอก ให้เด็กอยู่กับตายเป็นในลักษณะของครอบครัวแหว่งกลาง เรียกว่าเป็นครอบครัวแหว่ง เราชวนตัวแทนกว่า 40 ชีวิต ที่เกี่ยวข้อง ทั้งแม่ๆ และเด็กๆ จาก 3 พื้นที่ ตำบลตาลีอายร์ ตำบลโคกโพธิ์โคกโพธิ์และตำบลบางตาวา ในจ.ปัตตานี ภาควิชาการและหน่วยงานท้องถิ่น มาล้อมวงพูดคุย
กนกรัตน์ เกื้อกิจ. ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า การที่เราจะแก้ปัญหาเรื่องเด็กกับภาวะโภชนาการ เรามีข้อมูลพุ่งเป้าเป็นข้อมูลที่เรามีการสํารวจเชิงวิทยาศาสตร์ อย่างเช่นข้อมูลของยูนิเซฟและสํานักงานสถิติแห่งชาติที่มีการสํารวจใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งดูแล้วตกใจ ข้อมูลเรื่องภาวะโภชนาการของเราไม่ได้ดีขึ้นเลย ที่ผ่านมามีทั้งหลายหน่วยงานที่ทุ่มในเรื่องขององค์ความรู้แล้วก็งบประมาณ แต่ทําไมข้อมูลถึงไม่ได้ดีขึ้น คือค่าเฉลี่ยของของภาคใต้อยู่ที่ 9 จังหวัดปัตตานีอยู่ที่ 13 เราเจอปัญหาเรื่องอะไรทําไมภาวะโภชนาการ เด็กถึงมีน้ำหนักน้อย ขาดสารอาหาร เป็นประเด็นที่ทําให้เรารู้สึกตกใจ วันนี้เราคิดว่าแผนหรือว่าของงบประมาณหรือว่านโยบาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแก้จน ซึ่งเป็นนโยบายร่มใหญ่ เพราะตอนนี้ในหลายประเทศมีเรื่องของSDG ที่พูดถึงเรื่องของการขจัดความหิวโหยและการยากจนว่าในปี 2028 นับจากนี้อีก 5 ปี ความยากจน การขจัดความหิวโหย ต้องหมดไปจากโลกนี้ เราต้องตั้งเป้าร่วมกัน ผู้นําท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันอาจจะไม่ต้องรอนโยบาย วันนี้ถ้าเราเห็นปัญหาของในชุมชนแล้วปัญหาของเด็กแล้ว เรามาตั้งวงคุยเพื่อแก้ปัญหาได้เลย
แล้วตั้งเป้าหมายไปว่าเหมือนทําเป็นประเด็นวาระวาระของชุมชน วางเป้าหมายจากนี้อีก 10 ปีหรือว่า 5 ปี เด็กในชุมชนตาลีอายต้องเป็นนักกีฬา ต้องมีร่างกายที่แข็งแรง ติดโรงเรียนนายร้อยจปร. เพราะว่าเค้ามีกําหนดเรื่องน้ำหนักส่วนสูง ซึ่งมีโควต้าเฉพาะ 3 จังหวัด
มนัสมีน เจะโนะ ผู้ช่วยคณบดีฝายวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ กล่าวว่า จริงๆทำเรื่องแก้จนมาหลายปี แต่เรื่องโภชนาการทำเมื่อปีที่แล้ว ถามว่าแก้จนเชื่อมยังไงกับภาวะทุพโภชนาการ เราเชื่อว่าถ้าเด็กมีคุณภาพเด็กจะต้องมีไอคิวที่ดี ถึงแม้ว่าครอบครัวอาจจะไม่ได้มีฐานะดี แต่ถ้าเด็กไอคิวดีมีการศึกษาดีเด็กจะต้องมีคุณภาพแล้วก็กลับไปช่วยครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้ทําให้ครอบครัวเราพ้นความยากจน
งานแม่และเด็กเป็นปัญหาที่สําคัญในพื้นที่ ถ้าอยู่ในวงการสาธารณะสุขเราจะรู้ว่าแม่ตายก็เยอะที่สุดก็ชายแดนใต้ เเละเรื่องโภชนาการก็บ้านเราเหมือนกัน เราแก้ปัญหาให้เป็นโมเดลให้พื้นที่อื่น เราจึงลงมาศึกษาในพื้นที่ ซึ่งเราอยากรู้ว่าพื้นที่มีแนวคิดยังไง มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทําให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ เราจึงชวนหน่วยงานในพื้นที่มาคุยกัน ใช้องค์ประกอบทั้งนักวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่มาช่วยกัน ส่วนปัจจัยด้านเงินก็มาช่วย
เราสํารวจข้อมูลพบว่าประมาณ 80% มาจากครอบครัวที่มีฐานะรายได้น้อยกว่า 6,000 บาทต่อเดือน เราปฏิเสธไม่ได้ว่า รายได้มีผลต่อการจัดหาทรัพยากรหรือว่าคุณภาพอาหารที่มีคุณภาพ และวิเคราะห์กันภายใต้บริบทในพื้นที่ ซึ่งสาเหตุที่ทําให้เด็กมีภาวะทุกโภชนาการหรือว่าขาดสารอาหารในพื้นที่มี 2 ปัจจัยหลัก คือ แม่อาจจะขาดความรู้หรือว่าอาจจะมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลลูกเรื่องอาหาร เเละไม่สามารถจัดหาอาหารที่มีคุณภาพให้ลูกได้เนื่องจากปัจจัยขาดความรู้หรือว่าจะรายได้
เฟาซี เจะและ ผอ.รพ.สต. ยะหริ่ง จ.ปัตตานี กล่าวว่า ปัจจุบัน ก็พอเราจบออกมาปเราก็ทํางาน งานหลักที่ต้องทําเป็นประจําก็คืองานโภชนาการ เราก็ชั่งน้ำหนักตามที่เขากําหนดมาว่าทุก 3 เดือน เด็กที่เรารับผิดชอบมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เรื่องภาวะโภชนาการมันเรื้อรังมานานแล้ว พอมโครงการเกี่ยวกับโภชนาการลงมาก็จะฮือกันสักพักนึงเป็นกระแส ซึ่งเด็กๆ ไม่ได้รับการช่วยช่วยเหลืออย่างที่ควร พอเรามาดูความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนัก เด็กที่สมบูรณ์กับเด็กที่เกิดภาวะทุกทางโภชนาการ เราศึกษาดีๆเราก็จะเห็นความแตกต่างของเด็กสองกลุ่ม โดยเฉพาะเด็กที่ว่าขาดสารอาหาร พัฒนาการจะช้ากว่า แล้วก็จะเป็นโรคง่ายกว่าเเละป่วยบ่อยๆ ในเรื่องภาวะโภชนาการ จริงๆทรัพยากรด้านอาหารของเรามีเพียงพอเพราะเราอยู่ติดอ่าวปัตตานี แต่ว่ากระบวนการในการที่เราจะดูแลให้เด็กได้รับสารอาหารที่สมบูรณ์มันบกพร่องตรงนั้นแล้วต้องแก้คิดตรงจุด พื้นที่ของเรามีอาหารทะเลเพียงพอ ข้าวสารเราก็มี อย่างญี่ปุ่นเขาถึงไม่มุ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจแต่เขามุ่งพัฒนาทรัพยากรบุคคล ถ้าพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ทุกอย่างก็จะประสบความสําเร็จ
ไพรัตน์ จีรเสถียร ที่ปรึกษารองอธิการบดีฝ่ายวิจัยเเละพันธกิจสังคม มอ.ปัตตานี กล่าวว่า เราลงไปดูในเชิงลึกพบว่าเรื่องของรายได้ เรื่องของอาชีพที่เชื่อมโยงกัน การที่จะดูแลเรื่องด้านสุขภาพเรื่องอาหารของในครอบครัว ในเรื่องของความยากจนเราต้องไปแก้เรื่องรายได้เพียงอย่างเดียวซึ่งมันเป็นการแก้เฉพาะหน้า แต่ถามว่ามันจะแก้ปัญหาระยะยาวได้ยังไง ซึ่งมันมีผลต่อเรื่องของสุขภาพ จะทําอย่างไรในเมื่อในพื้นที่ เรามีทรัพยากรที่ดี แต่ทําไมคนในพื้นที่กลับมีปัญหาเรื่องโภชนาการ ในส่วนของงานวิจัยที่เรานําร่องเรามองถึงเรื่องของเด็กนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนส่วน หนึ่ง ลูกหลาน ทุกครอบครัวจะต้องส่งเข้าสู่ในระบบการศึกษาในเวลาที่ 8 ชั่วโมงอยู่ที่โรงเรียนจะทําอย่างไร เพราะเขาต้องกินอาหารตั้งแต่เช้าเที่ยงเข้าโรงเรียนมีอาหารเย็นก็กินอาหารเย็น
ดังนั้นอาหารตรงนี้ครับถ้าเข้าไปเติมเต็มในส่วนของโรงเรียน โดยผ่านกระบวนการการบูรณาการพัฒนาทักษะเรื่องของการผลิตและการจัดการเรื่องของคุณภาพอาหาร และสิ่งที่เห็นในเด็กยุคปัจจุบันนี้ก็คือเรื่องของความหลากหลายของอาหาร รูปลักษณ์ ถ้าเรายังทําอาหารแบบเก่าๆ แบบเดิมเดิมๆเด็กเห็นทุกวันเขาไม่ทาน ถ้าเรามีอาหารที่หลากหลายที่เป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งทางเรามาทดลอง เช่นการผลิตเห็ดเป็นแหล่งโปรตีนที่สามารถผลิตเองได้ในโรงเรียน แล้วไปทําเมนูอาหารต่างๆ แม้กระทั่งของกินเล่นขนมอะไรต่างๆที่มาจากเห็ด ปรากฏว่าได้รับการตอบรับจากเด็กๆ สะท้อนให้เห็นว่า ต้องมีการปรับรูปลักษณ์ด้วย แต่ให้อยู่ในคุณภาพทางโภชนาการที่เด็กควรจะได้รับ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหลายส่วนควบคู่กันไปพร้อมๆกับการแก้โจทย์ความยากจน
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเราชวนฟังข้อมูลให้มากขึ้นอย่างรอบด้าน
หลังจากเราอ่านข้อมูลนี้แล้ว เชื่อว่าหลายคนคงได้ข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้น คุณคิดอย่างไร ทีมงานมีการสังเคราะห์ ภาพความน่าจะเป็นหรือฉากทัศน์ เพื่อจำลองว่าแบบไหนที่ อยากจะเห็นหรืออยากจะให้เป็น ซึ่งคุณผู้ชมสามารถร่วมเเสดงความคิดเห็น ด้วยการเลือกจากภาพตั้งต้น 3 ภาพ
ฉากที่ 1 อาหารที่มากกว่าความอิ่มท้อง สร้างเครือข่ายการส่งเสริมโภชนาการในชุมชน
- มุ่งเน้นให้เด็กเข้าถึงมื้ออาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างเพียงพอ โดยสร้างเครือข่ายการส่งเสริมโภชนาการในชุมชน ให้ผู้ใหญ่และเด็กในพื้นที่มีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินการ และติดตามผล
- ต้องหาทุ่มงบประมาณและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านโภชนาการ ส่งเสริมให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กได้รับคำแนะนำและคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้สามารถดูแลโภชนาการของเด็กได้อย่างถูกต้อง
- จัดกิจกรรมที่เพิ่มความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการที่เข้าใจง่ายและเข้าถึงครอบครัวและชุมชน ซึ่งจะต้องประสานงานและความร่วมมือแบบบูรณาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยทั้งสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชุมชน ในการวางแผนและติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ
- ขณะเดียวกัน ต้องพัฒนาพื้นที่และฟื้นฟูระบบเกษตรกรรม ประมง ซึ่งเป็นฐานหลักของเศรษฐกิจครัวเรือน ให้ผู้ปกครองมีอาชีพและรายได้ที่เพียงพอในการเลี้ยงดูครอบครัว ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน\
ฉากทัศน์ 2 สวัสดิการเด็กถ้วนหน้า สร้างเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง
- เพราะเด็กเล็กเป็นวัยที่สำคัญที่สุด จึงต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิในทุกมิติอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ฉากทัศน์นี้เน้นการส่งเสริมเข้าถึงสวัสดิการคุ้มครองเด็ก ส่งเสริมสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า ตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์แรกเกิดถึงหกปี โดยไม่จำกัดเพดานเพดานรายได้ของครอบครัว ซึ่งจะต้องทำระบบฐานข้อมูลที่แม่นยำร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่และสถาบันวิชาการ
- สำหรับด้านโภชนาการ ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อาหารออกแบบเมนูเน้นเพิ่มคุณค่าทางอาหารครบถ้วน หลากหลาย ครบ 5 หมู่และเข้าถึงง่าย เน้นการใช้วัตถุดิบสดใหม่ตามฤดูกาล และกำหนดให้ส่วนผสมของเมนูอาหารกลางวันต้องมาจากผลผลิตของชุมชน ซึ่งช่วยเศรษฐกิจและภาคเกษตรในชุมชน จัดกิจกรรมเสริมสุขภาพกระจายให้ความรู้ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน ครอบครัว
- บรรจุเรื่องนี้เป็นวาระหลักของจังหวัด สนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเครือข่ายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บูรณาการดำเนินการร่วมกันพร้อมสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอ การสนับสนุนนโยบายรัฐสวัสดิการ และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนต่อยอดบนฐานทรัพยากร ความรู้และนวัตกรรม และพัฒนาเสริมทักษะแรงงาน ให้สามารถสร้างรายได้ให้คนในชุมชนมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคงลดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเด็กเล็ก
ฉาก 3 บูรณาการระบบดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
- ฉากทัศน์นี้ หนุนเสริมการแก้ปัญหาสุขภาพแบบองค์รวม เน้นส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับสุขภาวะเด็กเล็กให้ความสำคัญการป้องกัน ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัวและการดูแลแม่ตั้งครรภ์ เพิ่มบริการในชุมชนและให้คำปรึกษาและการสนับสนุนในการดูแลเด็กด้วยอาหารที่มีโภชนาการและเหมาะสมแต่ละช่วงวัย
- เพิ่มความคุ้มครองทางสังคม ระบบสวัสดิการเกื้อกูลในชุมชน กองทุนอาหาร เพื่อให้พวกเขาได้รับอาหารและโภชนาการที่เพียงพอ ทั้งยามปกติและยามวิกฤติ
ตั้งประเด็นนี้ให้เป็นวาระแห่งชาติ คำนึงถึงความสอดคล้องเชิงนโยบายและกฎหมายครอบคลุมทุกภาคส่วน ตั้งเป้าหมายและกระบวนการติดตามความก้าวหน้าในระดับภาคส่วนและครัวเรือน ศึกษาวิจัยและติดตามผล เช่น การทำการศึกษาวิจัยในบริบทเฉพาะของจังหวัดปัตตานี เพื่อหาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น และติดตามผลการดำเนินงาน ขณะเดียวกันรัฐบาลได้เดินหน้าเรื่องการแก้ปัญหาความยากจน ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากและความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งต้องใช้เวลา งบประมาณ และนโยบายในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง
คุณผู้อ่านสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นและเลือกภาพอนาคตนี้ได้ ที่ลิงก์ด้านล่างนี้